จากนโยบายการเปิดเสรีการค้า ทำให้นักลงทุนต่างชาติเข้าสู่ธุรกิจค้าปลีกในหลายรูปแบบ ทั้งดิสเค้าสโตร์ ค้าปลีกขนาดกลางและรายเล็กต้องมีการปรับตัวเพื่อรับการแข่งขันเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ในสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งผลสำเร็จของธุรกิจค้าปลีกนั้นต้องตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
ล่าสุดบริษัทซีพี ออลล์ ได้จัดการสัมมนาเพื่อให้ความรู้กับผู้ทำธุรกิจค้าปลีกจะทำอย่างไรให้เกิดความยั่งยืน โดยนายปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล กรรมการผู้จัดการ ซีพี ออลล์ ได้นำประสบการณ์ในการบริหารงานจนประสบความสำเร็จมาถ่ายให้กับผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกได้ทราบว่าสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการคือความง่าย สะดวก ความรวดเร็ว คุณภาพสินค้า ความคุ้มค่า ความทันสมัย และช่วยแก้ปัญหาเติมเต็มสิ่งที่ต้องการรวมถึงความสวย สุขภาพดีทั้งการและใจ ซึ่งผู้ประกอบการรายเล็กต้องปรับให้ตอบรับกับความต้องการของผู้บริโภค
นอกจากนี้ยังต้องมีการปรับตัวในรูปแบบของร้านและการให้บริการ กระบวนการจัดการ และการพัฒนาคัดเลือกสินค้าและบริการซึ่งรวมถึงการโปรโมชั่นและการสื่อสารไปยังผู้บริโภค ซึ่งผู้ค้าปลีกต้องมีการปรับตัวให้รวดเร็วเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงตามความต้องการของลูกค้า โดยต้องสร้างความแตกต่างในสายตาลูกค้าสร้างความคุ้มค่าและค้นหาความต้องการรวมถึงโอกาสใหม่ ๆ ในการขายสินค้าและบริการ
สำหรับแนวทางความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องธุรกิจค้ปลีกจะต้องมีการประสานความสัมพันธ์เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ทั้งภาครัฐและเอกชน สถาบันการเงิน ทั้งนี้ต้องมีการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจและมีการติดตามความเคลื่อนไหวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
อย่างไรก็ตามข้อมูลการสินค้าและการเป็นพันธมิตรกันเพื่อใช้ในการต่อรองซื้อสินค้านั้นถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะหากมีการรวมตัวกันซื้อสินค้าจากผู้ผลิตรายใหญ่หรือพ่อค้าคนกลางมักจะเสียเปรียบ ซึ่งหากซื้อจำนวนมาก ๆ ก็จะทำให้มีการต่อรองได้ดีกว่า เพราะที่ผ่านมาผู้ประกอบการรายย่อยมักจะเสียเปรียบและมองว่าพ่อค้าคนกลางเป็นเสือนอนกิน ผู้ประกอบการเหล่านี้มีอำนาจเหนือตลาด จนทำให้ผู้ประกอบการรายย่อย ไม่สามารถต่อรองการซื้อสินค้าในราคาต่ำได้ จนกระทั่งห้างดิสเคาน์สโตร์เกิดขึ้นและช่วยผู้ประกอบการรายย่อยสามารถซื้อสินค้าในราคาถูกต่ำได้ ทำให้พ่อค้าคนกลางและผู้ผลิตรายใหญ่สูญเสียผลประโยชน์จึงต้องพยายามผลักดันให้มีกฎหมายพรบ.ค้าปลีกออกมาควบคุมดิสเคาน์สโตร์ ซึ่งนายสุวิทย์ กิ่งแก้ว ผู้บริหารของซีพี ออลล์ บอกว่ารัฐไม่มีความจำเป็นที่ต้องออกกฎหมายมาควบคุมเพราะมีแนวทางในการแก้ปัญหาเช่น รัฐส่งเสริมให้มีการฝึกอบรม การสนับสนุนเงินทุนและการรวมกันเป็นพันธมิตรก็จะสามารถแก้ปัญหาค้าปลีกรายย่อยสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน
ล่าสุดบริษัทซีพี ออลล์ ได้จัดการสัมมนาเพื่อให้ความรู้กับผู้ทำธุรกิจค้าปลีกจะทำอย่างไรให้เกิดความยั่งยืน โดยนายปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล กรรมการผู้จัดการ ซีพี ออลล์ ได้นำประสบการณ์ในการบริหารงานจนประสบความสำเร็จมาถ่ายให้กับผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกได้ทราบว่าสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการคือความง่าย สะดวก ความรวดเร็ว คุณภาพสินค้า ความคุ้มค่า ความทันสมัย และช่วยแก้ปัญหาเติมเต็มสิ่งที่ต้องการรวมถึงความสวย สุขภาพดีทั้งการและใจ ซึ่งผู้ประกอบการรายเล็กต้องปรับให้ตอบรับกับความต้องการของผู้บริโภค
นอกจากนี้ยังต้องมีการปรับตัวในรูปแบบของร้านและการให้บริการ กระบวนการจัดการ และการพัฒนาคัดเลือกสินค้าและบริการซึ่งรวมถึงการโปรโมชั่นและการสื่อสารไปยังผู้บริโภค ซึ่งผู้ค้าปลีกต้องมีการปรับตัวให้รวดเร็วเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงตามความต้องการของลูกค้า โดยต้องสร้างความแตกต่างในสายตาลูกค้าสร้างความคุ้มค่าและค้นหาความต้องการรวมถึงโอกาสใหม่ ๆ ในการขายสินค้าและบริการ
สำหรับแนวทางความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องธุรกิจค้ปลีกจะต้องมีการประสานความสัมพันธ์เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ทั้งภาครัฐและเอกชน สถาบันการเงิน ทั้งนี้ต้องมีการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจและมีการติดตามความเคลื่อนไหวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
อย่างไรก็ตามข้อมูลการสินค้าและการเป็นพันธมิตรกันเพื่อใช้ในการต่อรองซื้อสินค้านั้นถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะหากมีการรวมตัวกันซื้อสินค้าจากผู้ผลิตรายใหญ่หรือพ่อค้าคนกลางมักจะเสียเปรียบ ซึ่งหากซื้อจำนวนมาก ๆ ก็จะทำให้มีการต่อรองได้ดีกว่า เพราะที่ผ่านมาผู้ประกอบการรายย่อยมักจะเสียเปรียบและมองว่าพ่อค้าคนกลางเป็นเสือนอนกิน ผู้ประกอบการเหล่านี้มีอำนาจเหนือตลาด จนทำให้ผู้ประกอบการรายย่อย ไม่สามารถต่อรองการซื้อสินค้าในราคาต่ำได้ จนกระทั่งห้างดิสเคาน์สโตร์เกิดขึ้นและช่วยผู้ประกอบการรายย่อยสามารถซื้อสินค้าในราคาถูกต่ำได้ ทำให้พ่อค้าคนกลางและผู้ผลิตรายใหญ่สูญเสียผลประโยชน์จึงต้องพยายามผลักดันให้มีกฎหมายพรบ.ค้าปลีกออกมาควบคุมดิสเคาน์สโตร์ ซึ่งนายสุวิทย์ กิ่งแก้ว ผู้บริหารของซีพี ออลล์ บอกว่ารัฐไม่มีความจำเป็นที่ต้องออกกฎหมายมาควบคุมเพราะมีแนวทางในการแก้ปัญหาเช่น รัฐส่งเสริมให้มีการฝึกอบรม การสนับสนุนเงินทุนและการรวมกันเป็นพันธมิตรก็จะสามารถแก้ปัญหาค้าปลีกรายย่อยสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน