เอเอฟพี – ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (บีไอเอส) ระบุว่าสถาบันการเงินทั่วโลก ต้องประกาศตัดยอดขาดทุนในมูลค่าสินทรัพย์ต่างๆ ที่อยู่ในความครอบครองของพวกตนไปแล้วถึง 503,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และก็น่าจะมีการตัดผลขาดทุนเพิ่มขึ้นอีกในช่วงหลายเดือนต่อจากนี้ไป
บีไอเอสที่เรียกขานกันว่าเป็นธนาคารกลางของธนาคารกลางประเทศต่างๆทั้งหลาย ชี้ด้วยว่า แนวความคิดที่เสนอกันว่าบรรดาประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่ ต้องพึ่งพาประเทศพัฒนาแล้ว ลดน้อยลงมากจนไม่น่าจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการที่เศรษฐกิจของพวกประเทศพัฒนาแล้วชะลอตัวรุนแรง ก็ได้ถูกทดสอบอย่างหนักในระยะไม่กี่เดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศที่ต้องพึ่งพาเงินทุนไหลเข้าจากประเทศที่พัฒนาแล้ว
นอกจากนี้บีเอสไอก็ยังบอกอีกว่าอัตราเงินเฟ้อก็เริ่มคืบคลานเข้าไปสร้างปัญหาให้ภาคครัวเรือนมากและส่งผลกระทบต่อ รายได้ของบริษัทในประเทศเฟื่องฟูใหม่อย่างรุนแรง บรรยากาศการลงทุนก็ย่ำแย่ลงไป
ในรายงานการทบทวนภาวะตลาดการเงินของโลก ช่วงระหว่างปลายเดือนพฤษภาคมจนถึงปลายเดือนสิงหาคม ที่บีไอเอสนำออกเผยแพร่เมื่อคืนวันอาทิตย์(31ส.ค.) ระบุว่าบรรยากาศในตลาดโดยรวมดีขึ้นในเดือนกรกฎาคม แต่ก็อยู่ได้ชั่วครู่เท่านั้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข่าวที่สถาบันสินเชื่อเคหะยักษ์ใหญ่สองแห่งของสหรัฐฯซึ่งก็คือ แฟนนี เม และเฟรดดี แมค ตลอดจนบริษัทประกันภัยขนาดใหญ่หลายแห่ง มีผลประกอบการขาดทุนในไตรมาสสองอย่างมหาศาลกว่าที่คาดเอาไว้ “กลายเป็นเครื่องเตือนใจว่าความกังวลเกี่ยวกับคุณภาพของสินทรัพย์น่าที่จะดำรงอยู่ต่อไปอีก”
“แม้ว่าจะมีการตัดยอดขาดทุนกันไปรวมกันถึง 503,000 ล้านดอลลาร์ โดยบรรดาธนาคารและบริษัทหลักทรัพย์ต่าง ๆ ตั้งแต่เกิดวิกฤตการเงินขึ้นในปี 2007 แต่การตัดยอดขาดทุนและการกำจัดสินทรัพย์ที่มีปัญหา ก็จะยังคงเกิดขึ้นต่อไปในช่วงหลายเดือนข้างหน้า และยิ่งเพิ่มภาวะเงินทุนตึงตัว ตลอดจนความต้องการเม็ดเงิน ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่แล้วในเวลานี้”
ในขณะเดียวกัน บีไอเอสระบุว่าประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่ที่เคยถูกมองว่าน่าจะรอดพ้นจากวิกฤตครั้งนี้ไปได้ “กลับประสบกับภาวการณ์ทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมายในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมา” และพวกประเทศที่ต้องพึ่งพาการลงทุนจากประเทศพัฒนาแล้ว อาทิ ชาติยุโรปตะวันออก น่าจะประสบความลำบากมากขึ้นอีก
เมื่อปลายเดือนมิถุนายน บีไอเอสได้ออกมาเตือนว่าเศรษฐกิจโลกอาจเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างรุนแรงจากปัญหาการขาดแคลนสินเชื่อ
นอกจากนี้บีไอเอสก็ระบุด้วยว่าตลาดซับไพรม์ไม่ได้เป็นรากเหง้าของความปั่นป่วนครั้งนี้แต่เป็นตัวจุดชนวนเท่านั้น ผู้ร้ายที่แท้จริงในเหตุการณ์นี้คือ การขาดแคลนสินเชื่ออย่างรุนแรง
บีไอเอสที่เรียกขานกันว่าเป็นธนาคารกลางของธนาคารกลางประเทศต่างๆทั้งหลาย ชี้ด้วยว่า แนวความคิดที่เสนอกันว่าบรรดาประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่ ต้องพึ่งพาประเทศพัฒนาแล้ว ลดน้อยลงมากจนไม่น่าจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการที่เศรษฐกิจของพวกประเทศพัฒนาแล้วชะลอตัวรุนแรง ก็ได้ถูกทดสอบอย่างหนักในระยะไม่กี่เดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศที่ต้องพึ่งพาเงินทุนไหลเข้าจากประเทศที่พัฒนาแล้ว
นอกจากนี้บีเอสไอก็ยังบอกอีกว่าอัตราเงินเฟ้อก็เริ่มคืบคลานเข้าไปสร้างปัญหาให้ภาคครัวเรือนมากและส่งผลกระทบต่อ รายได้ของบริษัทในประเทศเฟื่องฟูใหม่อย่างรุนแรง บรรยากาศการลงทุนก็ย่ำแย่ลงไป
ในรายงานการทบทวนภาวะตลาดการเงินของโลก ช่วงระหว่างปลายเดือนพฤษภาคมจนถึงปลายเดือนสิงหาคม ที่บีไอเอสนำออกเผยแพร่เมื่อคืนวันอาทิตย์(31ส.ค.) ระบุว่าบรรยากาศในตลาดโดยรวมดีขึ้นในเดือนกรกฎาคม แต่ก็อยู่ได้ชั่วครู่เท่านั้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข่าวที่สถาบันสินเชื่อเคหะยักษ์ใหญ่สองแห่งของสหรัฐฯซึ่งก็คือ แฟนนี เม และเฟรดดี แมค ตลอดจนบริษัทประกันภัยขนาดใหญ่หลายแห่ง มีผลประกอบการขาดทุนในไตรมาสสองอย่างมหาศาลกว่าที่คาดเอาไว้ “กลายเป็นเครื่องเตือนใจว่าความกังวลเกี่ยวกับคุณภาพของสินทรัพย์น่าที่จะดำรงอยู่ต่อไปอีก”
“แม้ว่าจะมีการตัดยอดขาดทุนกันไปรวมกันถึง 503,000 ล้านดอลลาร์ โดยบรรดาธนาคารและบริษัทหลักทรัพย์ต่าง ๆ ตั้งแต่เกิดวิกฤตการเงินขึ้นในปี 2007 แต่การตัดยอดขาดทุนและการกำจัดสินทรัพย์ที่มีปัญหา ก็จะยังคงเกิดขึ้นต่อไปในช่วงหลายเดือนข้างหน้า และยิ่งเพิ่มภาวะเงินทุนตึงตัว ตลอดจนความต้องการเม็ดเงิน ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่แล้วในเวลานี้”
ในขณะเดียวกัน บีไอเอสระบุว่าประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่ที่เคยถูกมองว่าน่าจะรอดพ้นจากวิกฤตครั้งนี้ไปได้ “กลับประสบกับภาวการณ์ทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมายในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมา” และพวกประเทศที่ต้องพึ่งพาการลงทุนจากประเทศพัฒนาแล้ว อาทิ ชาติยุโรปตะวันออก น่าจะประสบความลำบากมากขึ้นอีก
เมื่อปลายเดือนมิถุนายน บีไอเอสได้ออกมาเตือนว่าเศรษฐกิจโลกอาจเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างรุนแรงจากปัญหาการขาดแคลนสินเชื่อ
นอกจากนี้บีไอเอสก็ระบุด้วยว่าตลาดซับไพรม์ไม่ได้เป็นรากเหง้าของความปั่นป่วนครั้งนี้แต่เป็นตัวจุดชนวนเท่านั้น ผู้ร้ายที่แท้จริงในเหตุการณ์นี้คือ การขาดแคลนสินเชื่ออย่างรุนแรง