เอเอฟพี/รอยเตอร์ – อลิอันซ์ บริษัทประกันภัยใหญ่ที่สุดของเยอรมนีและของยุโรป ประกาศเมื่อวันอาทิตย์ (31) ว่าจะขายเดรสเนอร์ แบงก์ที่เป็นธนาคารใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศ ให้กับคอมเมิร์ซแบงก์ ซึ่งอยู่ในอันดับสองเป็นเงิน 9,800 ล้านยูโร ยังผลให้อุตสาหกรรมธนาคารของเยอรมนีเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ
คำแถลงร่วมจากอลิอันซ์และคอมเมิร์ซแบงก์กล่าวว่า สัญญาการซื้อขายเดรสเนอร์จะมีการชำระเงินกันทั้งในรูปเงินสดและหุ้น นอกจากนั้นยังจะการลดพนักงานถึง 9,000 ตำแหน่ง, การก่อตั้งกองทุนในรูปแบบทรัสต์ที่มีมูลค่าเกือบ 1,000 ล้านยูโร เพื่อใช้แบกรับความเสี่ยงที่มาจากสินทรัพย์บางประการของเดรสเนอร์ ทั้งนี้ในที่สุดแล้วจะทำให้อลิอันซ์ได้หุ้นราว 30% ของคอมเมิร์ซแบงก์ใหม่ที่เกิดจากการควบรวม
“การซื้อขายครั้งนี้น่าจะเป็นการเริ่มต้นกระแสการรวมตัวในภาคการธนาคารเยอรมนี” มิเชลล์ เดกมานน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของอลิอันซ์กล่าวในคำแถลง
การควบรวมคราวนี้จะกระทำกันเป็นสองขั้นตอน และจะเสร็จสมบูรณ์ก่อนสิ้นปี 2009 อย่างไรก็ดี ยังจะต้องรอการอนุมัติจากพวกหน่วยงานกำกับดูแลด้วย
คอมเมิร์ซแบงก์ระบุว่าจะปลดพนักงานเต็มเวลา 9,000 ตำแหน่งหลังจากการเข้าเทคโอเวอร์แล้ว ซึ่งรวมพนักงาน 2,500 คนนอกเยอรมนีด้วย
มาร์ติน เบลสซิง ประธานของคอมเมิร์ซแบงก์กล่าวว่า “ข้อตกลงนี้จะทำให้เกิดตำแหน่งงานใหม่ ๆที่มั่นคงในอนาคต แต่ตอนนี้โชคไม่ดีที่ว่าเราไม่สามารถจะรับพนักงานทั้งหมดไว้ได้”
ในปีหน้า ธนาคารคาดว่าจะใช้เงินราว 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในการปรับโครงสร้างองค์กร แต่ก็คาดด้วยว่าจะสามารถประหยัดเงินได้ราว 5,000 ล้านยูโรในอนาคตโดยเฉพาะในปี 2011
นอกจากนี้คอมเมิร์ซแบงก์ก็ยังคาดว่าหลังการควบรวมจะทำให้ธนาคารมีลูกค้ารายบุคคลราว 11 ล้านรายและมีลูกค้าที่เป็นบริษัทและระดับสถาบันราว 100,000 ราย และจะมีพนักงาน 67,000 คน
ในขั้นแรกของการควบรวม จะมีการเพิ่มทุน หลังจากนั้นคอมเมิร์ซแบงก์จะเทคโอเวอร์หุ้น 60.2% ของเดรสเนอร์โดยใช้วิธีการแลกกับหุ้นของตนเองซึ่งจะคิดเป็นราว 18.4% ของหุ้นทั้งหมดที่คอมเมิร์ซแบงก์มีอยู่ นอกจากนั้น คอมเมิร์ซแบงก์จะต้องจ่ายเงินสดให้แก่อลิอันซ์ 2,500 ล้านยูโร และโอนกองทุนคอมมินเวสต์ของตนที่มีมูลค่า 700 ล้านดอลลาร์ให้แก่อลิอันซ์
หลังจากนั้นคอมเมิร์ซแบงก์ก็จะจ่ายเงินราว 975 ล้านยูโรเข้าไปในกองทุนทรัสต์ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อแบกรับความเสี่ยงจากสินทรัพย์ประเภท ตราสารหนี้หนุนหลังโดยหลักทรัพย์ ที่ตอนนี้เดรสเนอร์แบงก์เป็นเจ้าของอยู่
ส่วนในขั้นตอนที่สอง เดรสเนอร์จะถูกควบรวมเข้าไปในคอมเมิร์ซแบงก์ โดยคอมเมิร์ซแบงก์จะใช้วิธีนำเอาหุ้นของตนเองมูลค่า 3,200 ล้านยูโร มาแลกกับหุ้นที่มีอยู่ทั้งหมดของเดรสเนอร์
หลังการควบรวมแล้วจะมีสาขาทั้งหมด 1,540 แห่ง โดยคอมเมิร์ซแบงก์มีแผนจะลดลงเหลือ 1,200 แห่งภายในปี 2012
มูลค่าสินทรัพย์รวมสองธนาคารจะเท่ากับ 1.1 ล้านล้านยูโร ซึ่งยัง เป็นรอง ดอยช์แบงก์ที่มีสินทรัพย์มูลค่า 1.99 ล้านล้านยูโร
ทั้งนี้ ธนาคารใหม่ที่เกิดขึ้นจะใหญ่กว่าเดิม และหวังกันว่าจะสามารถแข่งขันดอยช์แบงก์ได้อย่างเคียงบ่าเคียงไหล่ อย่างไรก็ตาม พวกนักวิเคราะห์และบุคคลวงในแสดงความข้องใจว่า การควบรวมกันระหว่าง 2 ธนาคารที่ต่างมีผลประกอบการไม่โดดเด่นอะไรเลย จะก่อให้เกิดกิจการแชมเปี้ยนทางการเงินขึ้นมาได้อย่างไร
“มันเป็นการดีสำหรับอลิอันซ์ ในช่วง 7 ปีที่พวกเขาเป็นเจ้าของเดรสเนอร์มา พวกเขาได้เรียนรู้แล้วว่า พวกเขาไม่ได้มีกลเม็ดเคล็ดลับเกี่ยวกับการบริหารแบงก์เลย” เป็นความเห็นของ เดิร์ก เบคเกอร์ นักวิเคราะห์แห่ง ลันด์สบังกี เคปเลอร์
“แต่นี่เป็นการรวมตัวกันที่มีขนาดใหญ่มาก เราจะได้เห็นกันว่าในเวลาครึ่งปีจะมีอะไรผิดพลาดกันบ้างหรือไม่”
ทางด้าน แมตธิอัส ดูเออร์ นักวิเคราะห์ของดีซีแบงก์ เขียนในรายงานส่งถึงลูกค้าว่า “เมื่อมองดูทีแรกนั้น เราไม่ชอบธุรกรรมคราวนี้เลย การซื้อเดรสเนอร์คราวนี้มีราคาแพงกว่าที่คาดหมายกันไว้มาก”
อลิอันซ์ บริษัทประกันภัยที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป ซื้อเดรสเนอร์แบงก์เข้ามาด้วยเงิน 24,000 ล้านยูโรเมื่อ 7 ปีก่อน โดยวาดหวังว่าจะทำกำไรมหาศาลเมื่อนำเอาธุรกิจการธนาคารและประกันภัยมาไว้ด้วยกัน ทว่ากลับไม่ประสบความสำเร็จ แถม เดรสเนอร์ ไคลน์เวิร์ต วาณิชธนกิจในเครือที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงลอนดอน ก็กลายเป็นตัวปัญหา
โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดภาวะสินเชื่อตึงตัวทั่วโลกนั้น วาณิชธนกิจแห่งนี้เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้อลิอันซ์ต้องประกาศยอมตัดขาดทุนสินทรัพย์ที่กลุ่มของตนครอบครองอยู่ เป็นจำนวน 5,000 ล้านดอลลาร์
การลดตำแหน่งงานนอกเยอรมนี 2,500 ตำแหน่งภายหลังการควบรวมกับคอมเมิร์ซแบงก์ คาดกันว่าที่สำคัญจะเป็นการปลดพนักงานของเดรสเนอร์ ไคลน์เวิร์ต นี่เอง
คำแถลงร่วมจากอลิอันซ์และคอมเมิร์ซแบงก์กล่าวว่า สัญญาการซื้อขายเดรสเนอร์จะมีการชำระเงินกันทั้งในรูปเงินสดและหุ้น นอกจากนั้นยังจะการลดพนักงานถึง 9,000 ตำแหน่ง, การก่อตั้งกองทุนในรูปแบบทรัสต์ที่มีมูลค่าเกือบ 1,000 ล้านยูโร เพื่อใช้แบกรับความเสี่ยงที่มาจากสินทรัพย์บางประการของเดรสเนอร์ ทั้งนี้ในที่สุดแล้วจะทำให้อลิอันซ์ได้หุ้นราว 30% ของคอมเมิร์ซแบงก์ใหม่ที่เกิดจากการควบรวม
“การซื้อขายครั้งนี้น่าจะเป็นการเริ่มต้นกระแสการรวมตัวในภาคการธนาคารเยอรมนี” มิเชลล์ เดกมานน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของอลิอันซ์กล่าวในคำแถลง
การควบรวมคราวนี้จะกระทำกันเป็นสองขั้นตอน และจะเสร็จสมบูรณ์ก่อนสิ้นปี 2009 อย่างไรก็ดี ยังจะต้องรอการอนุมัติจากพวกหน่วยงานกำกับดูแลด้วย
คอมเมิร์ซแบงก์ระบุว่าจะปลดพนักงานเต็มเวลา 9,000 ตำแหน่งหลังจากการเข้าเทคโอเวอร์แล้ว ซึ่งรวมพนักงาน 2,500 คนนอกเยอรมนีด้วย
มาร์ติน เบลสซิง ประธานของคอมเมิร์ซแบงก์กล่าวว่า “ข้อตกลงนี้จะทำให้เกิดตำแหน่งงานใหม่ ๆที่มั่นคงในอนาคต แต่ตอนนี้โชคไม่ดีที่ว่าเราไม่สามารถจะรับพนักงานทั้งหมดไว้ได้”
ในปีหน้า ธนาคารคาดว่าจะใช้เงินราว 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในการปรับโครงสร้างองค์กร แต่ก็คาดด้วยว่าจะสามารถประหยัดเงินได้ราว 5,000 ล้านยูโรในอนาคตโดยเฉพาะในปี 2011
นอกจากนี้คอมเมิร์ซแบงก์ก็ยังคาดว่าหลังการควบรวมจะทำให้ธนาคารมีลูกค้ารายบุคคลราว 11 ล้านรายและมีลูกค้าที่เป็นบริษัทและระดับสถาบันราว 100,000 ราย และจะมีพนักงาน 67,000 คน
ในขั้นแรกของการควบรวม จะมีการเพิ่มทุน หลังจากนั้นคอมเมิร์ซแบงก์จะเทคโอเวอร์หุ้น 60.2% ของเดรสเนอร์โดยใช้วิธีการแลกกับหุ้นของตนเองซึ่งจะคิดเป็นราว 18.4% ของหุ้นทั้งหมดที่คอมเมิร์ซแบงก์มีอยู่ นอกจากนั้น คอมเมิร์ซแบงก์จะต้องจ่ายเงินสดให้แก่อลิอันซ์ 2,500 ล้านยูโร และโอนกองทุนคอมมินเวสต์ของตนที่มีมูลค่า 700 ล้านดอลลาร์ให้แก่อลิอันซ์
หลังจากนั้นคอมเมิร์ซแบงก์ก็จะจ่ายเงินราว 975 ล้านยูโรเข้าไปในกองทุนทรัสต์ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อแบกรับความเสี่ยงจากสินทรัพย์ประเภท ตราสารหนี้หนุนหลังโดยหลักทรัพย์ ที่ตอนนี้เดรสเนอร์แบงก์เป็นเจ้าของอยู่
ส่วนในขั้นตอนที่สอง เดรสเนอร์จะถูกควบรวมเข้าไปในคอมเมิร์ซแบงก์ โดยคอมเมิร์ซแบงก์จะใช้วิธีนำเอาหุ้นของตนเองมูลค่า 3,200 ล้านยูโร มาแลกกับหุ้นที่มีอยู่ทั้งหมดของเดรสเนอร์
หลังการควบรวมแล้วจะมีสาขาทั้งหมด 1,540 แห่ง โดยคอมเมิร์ซแบงก์มีแผนจะลดลงเหลือ 1,200 แห่งภายในปี 2012
มูลค่าสินทรัพย์รวมสองธนาคารจะเท่ากับ 1.1 ล้านล้านยูโร ซึ่งยัง เป็นรอง ดอยช์แบงก์ที่มีสินทรัพย์มูลค่า 1.99 ล้านล้านยูโร
ทั้งนี้ ธนาคารใหม่ที่เกิดขึ้นจะใหญ่กว่าเดิม และหวังกันว่าจะสามารถแข่งขันดอยช์แบงก์ได้อย่างเคียงบ่าเคียงไหล่ อย่างไรก็ตาม พวกนักวิเคราะห์และบุคคลวงในแสดงความข้องใจว่า การควบรวมกันระหว่าง 2 ธนาคารที่ต่างมีผลประกอบการไม่โดดเด่นอะไรเลย จะก่อให้เกิดกิจการแชมเปี้ยนทางการเงินขึ้นมาได้อย่างไร
“มันเป็นการดีสำหรับอลิอันซ์ ในช่วง 7 ปีที่พวกเขาเป็นเจ้าของเดรสเนอร์มา พวกเขาได้เรียนรู้แล้วว่า พวกเขาไม่ได้มีกลเม็ดเคล็ดลับเกี่ยวกับการบริหารแบงก์เลย” เป็นความเห็นของ เดิร์ก เบคเกอร์ นักวิเคราะห์แห่ง ลันด์สบังกี เคปเลอร์
“แต่นี่เป็นการรวมตัวกันที่มีขนาดใหญ่มาก เราจะได้เห็นกันว่าในเวลาครึ่งปีจะมีอะไรผิดพลาดกันบ้างหรือไม่”
ทางด้าน แมตธิอัส ดูเออร์ นักวิเคราะห์ของดีซีแบงก์ เขียนในรายงานส่งถึงลูกค้าว่า “เมื่อมองดูทีแรกนั้น เราไม่ชอบธุรกรรมคราวนี้เลย การซื้อเดรสเนอร์คราวนี้มีราคาแพงกว่าที่คาดหมายกันไว้มาก”
อลิอันซ์ บริษัทประกันภัยที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป ซื้อเดรสเนอร์แบงก์เข้ามาด้วยเงิน 24,000 ล้านยูโรเมื่อ 7 ปีก่อน โดยวาดหวังว่าจะทำกำไรมหาศาลเมื่อนำเอาธุรกิจการธนาคารและประกันภัยมาไว้ด้วยกัน ทว่ากลับไม่ประสบความสำเร็จ แถม เดรสเนอร์ ไคลน์เวิร์ต วาณิชธนกิจในเครือที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงลอนดอน ก็กลายเป็นตัวปัญหา
โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดภาวะสินเชื่อตึงตัวทั่วโลกนั้น วาณิชธนกิจแห่งนี้เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้อลิอันซ์ต้องประกาศยอมตัดขาดทุนสินทรัพย์ที่กลุ่มของตนครอบครองอยู่ เป็นจำนวน 5,000 ล้านดอลลาร์
การลดตำแหน่งงานนอกเยอรมนี 2,500 ตำแหน่งภายหลังการควบรวมกับคอมเมิร์ซแบงก์ คาดกันว่าที่สำคัญจะเป็นการปลดพนักงานของเดรสเนอร์ ไคลน์เวิร์ต นี่เอง