บลจ.ยูโอบีปิดไอพีโอ “กองทุนเปิดยูโอบี สมาร์ท คอมโมดิตี้” ระดมทุนได้ 400 ล้านบาท เมินลงทุนกองทองคำแบบโดดๆ เหตุเสี่ยงมากกว่าการลงทุนในกองทุนที่มีสินค้าหลากหลายในกองทุนเดียวกัน เผยเตรียมออกกองทุนเอฟไอเอฟ 1 กองทุน มูลค่า 1,600 ล้านบาท คาดเสนอขายหน่วยลงทุนได้กลางเดือน มิ.ย.นี้
นายชุติพนธ์ อัชวรานนท์ ผู้อำนวยการอาวุโส – หัวหน้าฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ สายงานพัฒนาธุรกิจ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูโอบี (ไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่บริษัทได้เปิดเสนอขายกองทุนเปิดยูโอบี สมาร์ท คอมโมดิตี้ (UOB Smart Commodity Fund : UOBSC) ซึ่งเป็นกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว (Feeder Fund) มูลค่าโครงการ 1,400 ล้านบาท และไม่กำหนดอายุโครงการ โดยได้ทำการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ระหว่างวันที่ 20 - 28 พฤษภาคมที่ผ่านมา สามารถระดมทุนได้ประมาณ 400 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม การที่นักลงทุนค่อนข้างให้ความสนใจเข้ามาซื้อขายหน่วยลงทุนในกองทุนดังกล่าว เนื่องจากนักลงทุนเริ่มมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสินค้าโภคภัณฑ์มากขึ้น โดยในปัจจุบันราคาน้ำมันได้ปรับขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 40 บาท ขณะที่ราคาข้าวก็มีราคาที่แพงขึ้น ทำให้นักลงทุนมองว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์มีแนวโน้มปรับขึ้นในระยะยาว โดยกองทุนจะเริ่มทำการเปิดเสนอขายและรับซื้อคืนครั้งถัดไปตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2551
ส่วนการออกกองทุนที่เน้นลงทุนในทองคำเพียงประเภทเดียวนั้น บริษัทไม่มีนโยบายในการออกกองทุนประเภทดังกล่าว เนื่องจากเป็นการเสี่ยงเกินไป แ ละไม่มีการกระจายการลงทุนที่ดี ส่วนกองทุนเปิดยูโอบี สมาร์ท คอมโมดิตี้จะมีการกระจายความเสี่ยงไปในตัวอยู่แล้ว หากราคาทองคำปรับขึ้นไป ก็จะมีการลดน้ำหนักในทองคำ และไปให้น้ำหนักในสินค้าโภคภัณฑ์อื่นแทน ดังนั้น การที่ราคาทองคำปรับขึ้นจึงไม่ส่งผลกระทบต่อกองทุนดังกล่าว เพราะว่ายังมีสินค้าประเภทอื่นในกองทุนด้วย ขณะที่กองทุนที่เน้นลงทุนในทองคำเพียงประเภทเดียว หากราคาทองคำปรับขึ้นไปก็จะส่งผลกระทบโดยตรงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ทั้งนี้ บริษัทเตรียมออกกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในต่างประเทศ (FIF) มูลค่าโครงการ 1,600 ล้านบาท คาดว่าจะเปิดเสนอขายหน่วยลงทุนได้ประมาณกลางเดือนมิถุนายนนี้
กองทุน UOBSC จะเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนประเภท R1C ของกองทุน DB Platinum Commodity Euro ซึ่งเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป (retail fund) ซึ่งจัดตั้งและบริหารจัดการโดย DB Platinum Advisors ประเทศลักเซมเบิร์ก บริษัทจัดการจะลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน DB Platinum Commodity Euro โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน และกองทุนจะนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
ส่วนการลงทุนในส่วนที่อยู่ในประเทศไทยนั้น บริษัทจัดการจะลงทุนในตราสารแห่งหนี้ที่มีลักษณะคล้ายเงินฝากและ/หรือตราสารแห่งหนี้ทั่วไป และ/หรือเงินฝากในสถาบันการเงินตามกฎหมายไทย ที่มีอายุของตราสาร หรือสัญญา หรือระยะเวลาการฝากเงิน แล้วแต่กรณี น้อยกว่า 1 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการสำรองเงินไว้สำหรับการดำเนินงาน รอการลงทุน หรือรักษาสภาพคล่องของกองทุน
ทั้งนี้ บริษัทจัดการอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) ที่มีตัวแปรเป็นอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น (Hedging) เท่านั้น แต่จะไม่ลงทุนในตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Notes)
ขณะที่ผลตอบแทนของกองทุน DB Platinum Commodity Euro จะอ้างอิงกับดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์ Fx Hedged Deutsche Bank Liquid Commodity Index-Mean Reversion Euro (After cost) ประกอบไปด้วยสินค้าโภคภัณฑ์ 4 หมวดได้แก่ หมวดพลังงาน หมวดโลหะมีค่า หมวดอุตสาหกรรม และหมวดสินค้าเกษตร ในสินค้า 6 ชนิด ได้แก่ น้ำมันดิบ ฮีททิ้งออยล์ ทองคำ อะลูมิเนียม ข้าวสาลี ข้าวโพด
โดยดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์จะแสดงค่าในสกุลเงินยูโร และมีการคำนวณทุกวันโดยธนาคารดอยช์แบงก์เอจี สาขาลอนดอน โดยใช้ราคาปิดรายวันของสินค้าโภคภัณฑ์ของดัชนี ดัชนีจะปรับน้ำหนักการลงทุนโดยใช้วิธี mean reversion ซึ่งน้ำหนักการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์แต่ละตัวจะเพิ่มหรือลด ขึ้นอยู่กับราคาเฉลี่ยระยะสั้นเทียบกับราคาเฉลี่ยระยะยาวของสินค้านั้นๆ ถ้าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 1 ปี ของราคาตลาดของสินค้าโภคภัณฑ์ของดัชนี มากกว่าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 5 ปี ถือว่าสินค้าโภคภัณฑ์ของดัชนีชนิดนั้นมีราคาแพง และน้ำหนักการลงทุนของสินค้าโภคภัณฑ์ของดัชนีชนิดนั้นจะถูกปรับลดลง
อย่างไรก็ตาม ถ้าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 1 ปี ของราคาตลาดของสินค้าโภคภัณฑ์ของดัชนี น้อยกว่าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 5 ปี ถือว่าสินค้าโภคภัณฑ์ของดัชนีชนิดนั้นมีราคาถูก และน้ำหนักการลงทุนของสินค้าโภคภัณฑ์ของดัชนีชนิดนั้นจะถูกปรับเพิ่มขึ้น น้ำหนักการลงทุนในแต่ละองค์ประกอบของดัชนีจะต้องมีค่ามากกว่าศูนย์เสมอ องค์ประกอบของดัชนีอาจถูกปรับเปลี่ยน ในกรณีที่มีเหตุการณ์ไม่ปกติเกี่ยวกับสินค้าโภคภัณฑ์ของดัชนีหรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง ตามที่กำหนดไว้
นายชุติพนธ์ อัชวรานนท์ ผู้อำนวยการอาวุโส – หัวหน้าฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ สายงานพัฒนาธุรกิจ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูโอบี (ไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่บริษัทได้เปิดเสนอขายกองทุนเปิดยูโอบี สมาร์ท คอมโมดิตี้ (UOB Smart Commodity Fund : UOBSC) ซึ่งเป็นกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว (Feeder Fund) มูลค่าโครงการ 1,400 ล้านบาท และไม่กำหนดอายุโครงการ โดยได้ทำการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ระหว่างวันที่ 20 - 28 พฤษภาคมที่ผ่านมา สามารถระดมทุนได้ประมาณ 400 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม การที่นักลงทุนค่อนข้างให้ความสนใจเข้ามาซื้อขายหน่วยลงทุนในกองทุนดังกล่าว เนื่องจากนักลงทุนเริ่มมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสินค้าโภคภัณฑ์มากขึ้น โดยในปัจจุบันราคาน้ำมันได้ปรับขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 40 บาท ขณะที่ราคาข้าวก็มีราคาที่แพงขึ้น ทำให้นักลงทุนมองว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์มีแนวโน้มปรับขึ้นในระยะยาว โดยกองทุนจะเริ่มทำการเปิดเสนอขายและรับซื้อคืนครั้งถัดไปตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2551
ส่วนการออกกองทุนที่เน้นลงทุนในทองคำเพียงประเภทเดียวนั้น บริษัทไม่มีนโยบายในการออกกองทุนประเภทดังกล่าว เนื่องจากเป็นการเสี่ยงเกินไป แ ละไม่มีการกระจายการลงทุนที่ดี ส่วนกองทุนเปิดยูโอบี สมาร์ท คอมโมดิตี้จะมีการกระจายความเสี่ยงไปในตัวอยู่แล้ว หากราคาทองคำปรับขึ้นไป ก็จะมีการลดน้ำหนักในทองคำ และไปให้น้ำหนักในสินค้าโภคภัณฑ์อื่นแทน ดังนั้น การที่ราคาทองคำปรับขึ้นจึงไม่ส่งผลกระทบต่อกองทุนดังกล่าว เพราะว่ายังมีสินค้าประเภทอื่นในกองทุนด้วย ขณะที่กองทุนที่เน้นลงทุนในทองคำเพียงประเภทเดียว หากราคาทองคำปรับขึ้นไปก็จะส่งผลกระทบโดยตรงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ทั้งนี้ บริษัทเตรียมออกกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในต่างประเทศ (FIF) มูลค่าโครงการ 1,600 ล้านบาท คาดว่าจะเปิดเสนอขายหน่วยลงทุนได้ประมาณกลางเดือนมิถุนายนนี้
กองทุน UOBSC จะเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนประเภท R1C ของกองทุน DB Platinum Commodity Euro ซึ่งเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป (retail fund) ซึ่งจัดตั้งและบริหารจัดการโดย DB Platinum Advisors ประเทศลักเซมเบิร์ก บริษัทจัดการจะลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน DB Platinum Commodity Euro โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน และกองทุนจะนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
ส่วนการลงทุนในส่วนที่อยู่ในประเทศไทยนั้น บริษัทจัดการจะลงทุนในตราสารแห่งหนี้ที่มีลักษณะคล้ายเงินฝากและ/หรือตราสารแห่งหนี้ทั่วไป และ/หรือเงินฝากในสถาบันการเงินตามกฎหมายไทย ที่มีอายุของตราสาร หรือสัญญา หรือระยะเวลาการฝากเงิน แล้วแต่กรณี น้อยกว่า 1 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการสำรองเงินไว้สำหรับการดำเนินงาน รอการลงทุน หรือรักษาสภาพคล่องของกองทุน
ทั้งนี้ บริษัทจัดการอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) ที่มีตัวแปรเป็นอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น (Hedging) เท่านั้น แต่จะไม่ลงทุนในตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Notes)
ขณะที่ผลตอบแทนของกองทุน DB Platinum Commodity Euro จะอ้างอิงกับดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์ Fx Hedged Deutsche Bank Liquid Commodity Index-Mean Reversion Euro (After cost) ประกอบไปด้วยสินค้าโภคภัณฑ์ 4 หมวดได้แก่ หมวดพลังงาน หมวดโลหะมีค่า หมวดอุตสาหกรรม และหมวดสินค้าเกษตร ในสินค้า 6 ชนิด ได้แก่ น้ำมันดิบ ฮีททิ้งออยล์ ทองคำ อะลูมิเนียม ข้าวสาลี ข้าวโพด
โดยดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์จะแสดงค่าในสกุลเงินยูโร และมีการคำนวณทุกวันโดยธนาคารดอยช์แบงก์เอจี สาขาลอนดอน โดยใช้ราคาปิดรายวันของสินค้าโภคภัณฑ์ของดัชนี ดัชนีจะปรับน้ำหนักการลงทุนโดยใช้วิธี mean reversion ซึ่งน้ำหนักการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์แต่ละตัวจะเพิ่มหรือลด ขึ้นอยู่กับราคาเฉลี่ยระยะสั้นเทียบกับราคาเฉลี่ยระยะยาวของสินค้านั้นๆ ถ้าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 1 ปี ของราคาตลาดของสินค้าโภคภัณฑ์ของดัชนี มากกว่าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 5 ปี ถือว่าสินค้าโภคภัณฑ์ของดัชนีชนิดนั้นมีราคาแพง และน้ำหนักการลงทุนของสินค้าโภคภัณฑ์ของดัชนีชนิดนั้นจะถูกปรับลดลง
อย่างไรก็ตาม ถ้าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 1 ปี ของราคาตลาดของสินค้าโภคภัณฑ์ของดัชนี น้อยกว่าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 5 ปี ถือว่าสินค้าโภคภัณฑ์ของดัชนีชนิดนั้นมีราคาถูก และน้ำหนักการลงทุนของสินค้าโภคภัณฑ์ของดัชนีชนิดนั้นจะถูกปรับเพิ่มขึ้น น้ำหนักการลงทุนในแต่ละองค์ประกอบของดัชนีจะต้องมีค่ามากกว่าศูนย์เสมอ องค์ประกอบของดัชนีอาจถูกปรับเปลี่ยน ในกรณีที่มีเหตุการณ์ไม่ปกติเกี่ยวกับสินค้าโภคภัณฑ์ของดัชนีหรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง ตามที่กำหนดไว้