การลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์นับว่ายังมีเสน่ห์อยู่ไม่เสื่อมคลาย และยังคงเนื้อหอมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับขึ้นสูงตามต้นทุนน้ำมันที่พุ่งสูง ขณะที่ปริมาณการผลิตมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ และภาวะโลกร้อนก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่สำคัญ ที่ส่งผลให้ผลผลิตการเกษตรลดลง ขณะที่พื้นที่การผลิตเท่าเดิม ทำให้ความต้องการใช้สินค้าโภคภัณฑ์มีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต
วันนี้ “MutualFund IPO” ขอพาไปดู กองทุนเปิดยูโอบี สมาร์ท คอมโมดิตี้ (UOB Smart Commodity Fund : UOBSC) ซึ่งจะเน้นลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ เพื่อโอกาสรับผลตอบแทนจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ อาทิ น้ำมัน ทองคำ ซึ่งจะช่วยป้องกันความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อ และเป็นการกระจายการลงทุนที่ดี
วนา พูลผล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูโอบี (ไทย) จำกัด เล่าให้ฟังว่า ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในช่วงที่ผ่านมาปรับตัวค่อนข้างดี เนื่องจากความไม่สมดุลของปริมาณการผลิตกับความต้องการจากความต้องการในการบริโภคของประเทศที่กำลังพัฒนา เช่น ราคาน้ำมันซึ่งมีราคาแพงขึ้น ความต้องการบริโภคสูงขึ้นกว่าปริมาณการผลิต โดยเฉพาะในประเทศจีน ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีการซื้อรถยนต์เพิ่มขึ้น 5 เท่า ทำให้ปริมาณการใช้น้ำมันสูงกว่ากำลังการผลิต และต้นทุนการผลิตน้ำมันซึ่งปรับสูงขึ้นกว่าเท่าตัว โดยเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ 5 ดอลลาร์สหรัฐเป็น 10 ดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ปริมาณน้ำมันที่น่าจะออกมามากจึงมีน้อยลงไปไม่ทันกับความต้องการ
อย่างไรก็ตาม คาดว่าราคาน้ำมันในปีนี้จะปรับตัวสูงขึ้นอีกเล็กน้อย และจะยืนอยู่ในระดับนี้ แต่หากมีความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศผู้ผลิตน้ำมัน เช่น กลุ่มประเทศอาหรับ ภัยธรรมชาติ อาจจะทำให้ราคาทรงตัว และลงไปไม่มาก โดยเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ที่ระดับ 100 ดอลลาร์สหรัฐและจะทำให้คนหันมาสนใจพลังงานจากธรรมชาติมากขึ้น โดยในระยะยาวพลังงานทางเลือก ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันลดลง แต่ในระยะสั้นและระยะกลางยังทรงตัว นอกจากนี้การที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ทำให้มีพื้นที่แห้งแล้งมากขึ้น ส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลง ทำให้ราคาสินค้าทางการเกษตรเพิ่มขึ้นในระยะยาว และยังถูกนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์ ขณะที่ความต้องการในข้าวโพดสูงขึ้น เพราะส่วนหนึ่งถูกนำไปใช้ทำพลังงานทางเลือก
ดังนั้น บริษัทจึงได้เปิดเสนอขายกองทุนเปิด “กองทุนเปิดยูโอบี สมาร์ท คอมโมดิตี้” ซึ่งเป็นกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว (Feeder Fund) มูลค่าโครงการ 1,400 ล้านบาท ไม่กำหนดอายุโครงการ โดยจะเปิดเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ระหว่างวันที่ 20-28 พฤษภาคม 2551 มูลค่าเงินลงทุนขั้นต่ำ 10,000 บาท
กองทุนดังกล่าวจะเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนประเภท R1C ของกองทุน DB Platinum Commodity Euro ซึ่งเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป (retail fund) ซึ่งจัดตั้งและบริหารจัดการโดย DB Platinum Advisors ประเทศลักเซมเบิร์ก บริษัทจัดการจะลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน DB Platinum Commodity Euro โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน และกองทุนจะนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
สำหรับการลงทุนในส่วนที่อยู่ในประเทศไทยนั้น บริษัทจัดการจะลงทุนในตราสารแห่งหนี้ที่มีลักษณะคล้ายเงินฝากและ/หรือตราสารแห่งหนี้ทั่วไป และ/หรือเงินฝากในสถาบันการเงินตามกฎหมายไทย ที่มีอายุของตราสาร หรือสัญญา หรือระยะเวลาการฝากเงิน แล้วแต่กรณี น้อยกว่า 1 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการสำรองเงินไว้สำหรับการดำเนินงาน รอการลงทุน หรือรักษาสภาพคล่องของกองทุน
ทั้งนี้ บริษัทจัดการอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) ที่มีตัวแปรเป็นอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น (Hedging) เท่านั้น แต่จะไม่ลงทุนในตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Notes)
ขณะที่ผลตอบแทนของกองทุน DB Platinum Commodity Euro จะอ้างอิงกับดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์ Fx Hedged Deutsche Bank Liquid Commodity Index-Mean Reversion Euro (After cost) ประกอบไปด้วยสินค้าโภคภัณฑ์ 4 หมวดได้แก่ หมวดพลังงาน หมวดโลหะมีค่า หมวดอุตสาหกรรม และหมวดสินค้าเกษตร ในสินค้า 6 ชนิด ได้แก่ น้ำมันดิบ ฮีททิ้งออยล์ ทองคำ อะลูมิเนียม ข้าวสาลี ข้าวโพด
โดยดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์จะแสดงค่าในสกุลเงินยูโร และมีการคำนวณทุกวันโดยธนาคารดอยช์แบงก์เอจี สาขาลอนดอน โดยใช้ราคาปิดรายวันของสินค้าโภคภัณฑ์ของดัชนี ดัชนีจะปรับน้ำหนักการลงทุนโดยใช้วิธี mean reversion ซึ่งน้ำหนักการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์แต่ละตัวจะเพิ่มหรือลด ขึ้นอยู่กับราคาเฉลี่ยระยะสั้นเทียบกับราคาเฉลี่ยระยะยาวของสินค้านั้นๆ ถ้าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 1 ปี ของราคาตลาดของสินค้าโภคภัณฑ์ของดัชนี มากกว่าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 5 ปี ถือว่าสินค้าโภคภัณฑ์ของดัชนีชนิดนั้นมีราคาแพง และน้ำหนักการลงทุนของสินค้าโภคภัณฑ์ของดัชนีชนิดนั้นจะถูกปรับลดลง
อย่างไรก็ตาม ถ้าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 1 ปี ของราคาตลาดของสินค้าโภคภัณฑ์ของดัชนี น้อยกว่าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 5 ปี ถือว่าสินค้าโภคภัณฑ์ของดัชนีชนิดนั้นมีราคาถูก และน้ำหนักการลงทุนของสินค้าโภคภัณฑ์ของดัชนีชนิดนั้นจะถูกปรับเพิ่มขึ้น น้ำหนักการลงทุนในแต่ละองค์ประกอบของดัชนีจะต้องมีค่ามากกว่าศูนย์เสมอ องค์ประกอบของดัชนีอาจถูกปรับเปลี่ยน ในกรณีที่มีเหตุการณ์ไม่ปกติเกี่ยวกับสินค้าโภคภัณฑ์ของดัชนีหรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง ตามที่กำหนดไว้
ส่วนน้ำหนักการลงทุน สิ้นสุด วันที่ 1 เมษายน 2551 พบว่า ลงทุนในน้ำมันดิบ 28.80% ฮีททิ้งออยล์ 16.20% ทองคำ 10.80% อะลูมิเนียม 32.50% ข้าวสาลี 2.70% และข้าวโพด 9.10%
ผลการดำเนินงานย้อนหลังของกองทุน สิ้นสุด วันที่ 30 เมษายน 2551 พบว่า สามารถให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 23.60% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ 11.53% ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือนอยู่ที่ 21.62% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ 13.73% ผลตอบแทนย้อนหลัง 6 เดือนอยู่ที่ 31.69% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ 16.04% ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ 73.08% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ 36.78% และสามารถให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่จัดตั้งกองทุนอยู่ที่ 142.59% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ 23.88%
วนา บอกว่า การลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ช่วยป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อได้ เพราะเงินเฟ้อจะสูงก็เพราะราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น ฉะนั้น ถ้าเราลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ ผลตอบแทนจาการลงทุนของเราก็ปรับตัวไปตามเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ สินค้าโภคภัณฑ์ยังเป็นทางเลือกในการกระจายการลงทุนที่ดี เพราะมีความสัมพันธ์ที่ต่ำกับสินทรัพย์ทางการเงินประเภทหุ้นและตราสารหนี้ ซึ่งสามารถช่วยลดความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนของเรา
ทั้งนี้ บลจ.ยูโอบี กำหนดเสนอขายกองทุนเปิดยูโอบี สมาร์ท คอมโมดิตี้ ถึงวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 มูลค่าเงินลงทุนขั้นต่ำเพียง 10,000 บาท จากนั้นจะทำการเปิดเสนอขายและรับซื้อคืนครั้งถัดไปตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2551...ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บลจ.ยูโอบี (ไทย) โทร. (02) 679-5577 หรือเว็บไซต์ www.uobam.co.th หรือธนาคารยูโอบี ทุกสาขา และตัวแทนสนับสนุนการขายอื่นๆ
วันนี้ “MutualFund IPO” ขอพาไปดู กองทุนเปิดยูโอบี สมาร์ท คอมโมดิตี้ (UOB Smart Commodity Fund : UOBSC) ซึ่งจะเน้นลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ เพื่อโอกาสรับผลตอบแทนจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ อาทิ น้ำมัน ทองคำ ซึ่งจะช่วยป้องกันความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อ และเป็นการกระจายการลงทุนที่ดี
วนา พูลผล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูโอบี (ไทย) จำกัด เล่าให้ฟังว่า ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในช่วงที่ผ่านมาปรับตัวค่อนข้างดี เนื่องจากความไม่สมดุลของปริมาณการผลิตกับความต้องการจากความต้องการในการบริโภคของประเทศที่กำลังพัฒนา เช่น ราคาน้ำมันซึ่งมีราคาแพงขึ้น ความต้องการบริโภคสูงขึ้นกว่าปริมาณการผลิต โดยเฉพาะในประเทศจีน ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีการซื้อรถยนต์เพิ่มขึ้น 5 เท่า ทำให้ปริมาณการใช้น้ำมันสูงกว่ากำลังการผลิต และต้นทุนการผลิตน้ำมันซึ่งปรับสูงขึ้นกว่าเท่าตัว โดยเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ 5 ดอลลาร์สหรัฐเป็น 10 ดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ปริมาณน้ำมันที่น่าจะออกมามากจึงมีน้อยลงไปไม่ทันกับความต้องการ
อย่างไรก็ตาม คาดว่าราคาน้ำมันในปีนี้จะปรับตัวสูงขึ้นอีกเล็กน้อย และจะยืนอยู่ในระดับนี้ แต่หากมีความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศผู้ผลิตน้ำมัน เช่น กลุ่มประเทศอาหรับ ภัยธรรมชาติ อาจจะทำให้ราคาทรงตัว และลงไปไม่มาก โดยเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ที่ระดับ 100 ดอลลาร์สหรัฐและจะทำให้คนหันมาสนใจพลังงานจากธรรมชาติมากขึ้น โดยในระยะยาวพลังงานทางเลือก ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันลดลง แต่ในระยะสั้นและระยะกลางยังทรงตัว นอกจากนี้การที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ทำให้มีพื้นที่แห้งแล้งมากขึ้น ส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลง ทำให้ราคาสินค้าทางการเกษตรเพิ่มขึ้นในระยะยาว และยังถูกนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์ ขณะที่ความต้องการในข้าวโพดสูงขึ้น เพราะส่วนหนึ่งถูกนำไปใช้ทำพลังงานทางเลือก
ดังนั้น บริษัทจึงได้เปิดเสนอขายกองทุนเปิด “กองทุนเปิดยูโอบี สมาร์ท คอมโมดิตี้” ซึ่งเป็นกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว (Feeder Fund) มูลค่าโครงการ 1,400 ล้านบาท ไม่กำหนดอายุโครงการ โดยจะเปิดเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ระหว่างวันที่ 20-28 พฤษภาคม 2551 มูลค่าเงินลงทุนขั้นต่ำ 10,000 บาท
กองทุนดังกล่าวจะเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนประเภท R1C ของกองทุน DB Platinum Commodity Euro ซึ่งเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป (retail fund) ซึ่งจัดตั้งและบริหารจัดการโดย DB Platinum Advisors ประเทศลักเซมเบิร์ก บริษัทจัดการจะลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน DB Platinum Commodity Euro โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน และกองทุนจะนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
สำหรับการลงทุนในส่วนที่อยู่ในประเทศไทยนั้น บริษัทจัดการจะลงทุนในตราสารแห่งหนี้ที่มีลักษณะคล้ายเงินฝากและ/หรือตราสารแห่งหนี้ทั่วไป และ/หรือเงินฝากในสถาบันการเงินตามกฎหมายไทย ที่มีอายุของตราสาร หรือสัญญา หรือระยะเวลาการฝากเงิน แล้วแต่กรณี น้อยกว่า 1 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการสำรองเงินไว้สำหรับการดำเนินงาน รอการลงทุน หรือรักษาสภาพคล่องของกองทุน
ทั้งนี้ บริษัทจัดการอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) ที่มีตัวแปรเป็นอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น (Hedging) เท่านั้น แต่จะไม่ลงทุนในตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Notes)
ขณะที่ผลตอบแทนของกองทุน DB Platinum Commodity Euro จะอ้างอิงกับดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์ Fx Hedged Deutsche Bank Liquid Commodity Index-Mean Reversion Euro (After cost) ประกอบไปด้วยสินค้าโภคภัณฑ์ 4 หมวดได้แก่ หมวดพลังงาน หมวดโลหะมีค่า หมวดอุตสาหกรรม และหมวดสินค้าเกษตร ในสินค้า 6 ชนิด ได้แก่ น้ำมันดิบ ฮีททิ้งออยล์ ทองคำ อะลูมิเนียม ข้าวสาลี ข้าวโพด
โดยดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์จะแสดงค่าในสกุลเงินยูโร และมีการคำนวณทุกวันโดยธนาคารดอยช์แบงก์เอจี สาขาลอนดอน โดยใช้ราคาปิดรายวันของสินค้าโภคภัณฑ์ของดัชนี ดัชนีจะปรับน้ำหนักการลงทุนโดยใช้วิธี mean reversion ซึ่งน้ำหนักการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์แต่ละตัวจะเพิ่มหรือลด ขึ้นอยู่กับราคาเฉลี่ยระยะสั้นเทียบกับราคาเฉลี่ยระยะยาวของสินค้านั้นๆ ถ้าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 1 ปี ของราคาตลาดของสินค้าโภคภัณฑ์ของดัชนี มากกว่าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 5 ปี ถือว่าสินค้าโภคภัณฑ์ของดัชนีชนิดนั้นมีราคาแพง และน้ำหนักการลงทุนของสินค้าโภคภัณฑ์ของดัชนีชนิดนั้นจะถูกปรับลดลง
อย่างไรก็ตาม ถ้าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 1 ปี ของราคาตลาดของสินค้าโภคภัณฑ์ของดัชนี น้อยกว่าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 5 ปี ถือว่าสินค้าโภคภัณฑ์ของดัชนีชนิดนั้นมีราคาถูก และน้ำหนักการลงทุนของสินค้าโภคภัณฑ์ของดัชนีชนิดนั้นจะถูกปรับเพิ่มขึ้น น้ำหนักการลงทุนในแต่ละองค์ประกอบของดัชนีจะต้องมีค่ามากกว่าศูนย์เสมอ องค์ประกอบของดัชนีอาจถูกปรับเปลี่ยน ในกรณีที่มีเหตุการณ์ไม่ปกติเกี่ยวกับสินค้าโภคภัณฑ์ของดัชนีหรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง ตามที่กำหนดไว้
ส่วนน้ำหนักการลงทุน สิ้นสุด วันที่ 1 เมษายน 2551 พบว่า ลงทุนในน้ำมันดิบ 28.80% ฮีททิ้งออยล์ 16.20% ทองคำ 10.80% อะลูมิเนียม 32.50% ข้าวสาลี 2.70% และข้าวโพด 9.10%
ผลการดำเนินงานย้อนหลังของกองทุน สิ้นสุด วันที่ 30 เมษายน 2551 พบว่า สามารถให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 23.60% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ 11.53% ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือนอยู่ที่ 21.62% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ 13.73% ผลตอบแทนย้อนหลัง 6 เดือนอยู่ที่ 31.69% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ 16.04% ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ 73.08% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ 36.78% และสามารถให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่จัดตั้งกองทุนอยู่ที่ 142.59% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ 23.88%
วนา บอกว่า การลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ช่วยป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อได้ เพราะเงินเฟ้อจะสูงก็เพราะราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น ฉะนั้น ถ้าเราลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ ผลตอบแทนจาการลงทุนของเราก็ปรับตัวไปตามเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ สินค้าโภคภัณฑ์ยังเป็นทางเลือกในการกระจายการลงทุนที่ดี เพราะมีความสัมพันธ์ที่ต่ำกับสินทรัพย์ทางการเงินประเภทหุ้นและตราสารหนี้ ซึ่งสามารถช่วยลดความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนของเรา
ทั้งนี้ บลจ.ยูโอบี กำหนดเสนอขายกองทุนเปิดยูโอบี สมาร์ท คอมโมดิตี้ ถึงวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 มูลค่าเงินลงทุนขั้นต่ำเพียง 10,000 บาท จากนั้นจะทำการเปิดเสนอขายและรับซื้อคืนครั้งถัดไปตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2551...ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บลจ.ยูโอบี (ไทย) โทร. (02) 679-5577 หรือเว็บไซต์ www.uobam.co.th หรือธนาคารยูโอบี ทุกสาขา และตัวแทนสนับสนุนการขายอื่นๆ