ผู้จัดการรายวัน - ตลาดหุ้นไทยดิ่งต่ออีก 10 จุด หลังนายกฯ "สมัคร" ประกาศชัดจะไม่ลาออก-ยุบสภา ส่งผลให้การเมืองไร้ทางออกและเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงบานปลาย บวกกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัว กดดันให้ตลาดหุ้นทั่วโลกทรุด ด้านนักวิเคราะห์ แนะนักลงทุนชะลอการลงทุน เพื่อจับตาการเมือง รวมถึงการลงมติคดียุบพรรคพลังประชาชน
ภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทยวานนี้ (1 ก.ย.) ดัชนีตลาดหุ้นได้ปรับตัวลดลงตั้งแต่ช่วงเช้า หลังจากที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ประกาศชัดเจนว่าจะไม่ลาออก หรือยุบสภา ส่งสถานการณ์การเมืองในประเทศไม่มีทางออก บวกกับปัจจัยต่างประเทศที่กังวลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ถดถอย ส่งผลดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดที่ 675.22 จุด ลดลง 9.22 จุด คิดเป็น 1.35% โดยระหว่างวันดัชนีปรับตัวแตะระดับต่ำสุดที่ 673.97 จุด หรือลดลงกว่า 10 จุด ขณะที่ระดับสูงสุดอยู่ที่ 678.99 จุด มูลค่าการซื้อขายรวม 6,309.78 ล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างประเทศยังคงเทขายหุ้นไทยออกมาอย่างต่อเนื่อง คือมียอดขายสุทธิ 499.62 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 132.24 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 631.85 ล้านบาท
นายรณกฤต สารินวงศ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) แอ๊ดคินซัน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า วานนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงหลังจากที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ประกาศชัดเจนว่าจะไม่ลาออกหรือยุบสภา
ตามข้อเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กดดันให้ดัชนีลดลงไปแตะระดับต่ำสุดที่ 673.97 จุด จากการเทขายหุ้นขนาดใหญ่ในกลุ่มพลังงาน และธนาคารพาณิชย์
ขณะที่แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้ (2 ก.ย.) คาดว่าตลาดจะยังคงเงียบเหงาท่ามกลางความ
ผันผวนในกรอบ 670-685 จุด จากปัจจัยหลักเรื่องของสถานการณ์การเมืองในประเทศที่
ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ ดังนั้นนักลงทุนควรจะชะลอการลงทุนก่อน เพื่อรอดูท่าทีของ
รัฐบาลและการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ต่อไป
นางสาวจิตรา อมรธรรม ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์ บล.ไซรัส จำกัด (มหาชน) หรือ
SYRUS กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยได้รับผลกระทบจาก 2 ปัจจัย คือ ปัจจับต่างประเทศในกรณี
ที่ดัชนีดาวโจนส์เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ปรับตัวลดลงถึง 170 จุด จากความกังวลปัจจัยเดิมๆ เช่น
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัว แม้ไตรมาส 2/51 จีดีพีจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่นักลงทุนไม่
เชื่อมั่นใจว่าเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังจะดี ส่งผลให้ตลาดหุ้นในเอเชียปรับตัวลดลง
"ดัชนีปรับตัวลดลง 9.22 จุด วอลุ่มเบาบาง โดยหุ้นที่มีการปรับตัวลดลงกระจายทุกกลุ่ม เช่น
พลังงาน แบงก์ แต่ช่วงเช้าหุ้นสื่อสารสามารถบวกได้จากได้รับข่าวดีเรื่อง 3 จี" นางสาวจิตรา
กล่าว
ขณะที่ปัจจัยในประเทศ หลังจากที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้มีการประกาศจะ
ไม่ลาออกและไม่ยุบสภา ในการประชุมร่วมรัฐสภาเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา และกลุ่ม
พันธมิตรฯ เองจะมีการกดดันรัฐบาลต่อเนื่อง ซึ่งทำให้การเมืองไทยยังไม่มีทางออกที่จะคลี่
คลาย ส่งผลให้นักลงทุนชะลอดูความชัดเจนทำให้มูลค่าการซื้อขายเบาบาง
สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทยวันนี้ ดัชนียังคงถูกกดดันจากปัจจัยทางการเมืองมากกว่า
ปัจจัยต่างประเทศ จากการเมืองยังไม่มีทางออก ซึ่งบริษัทยังไม่แนะนำให้นักลงทุนเข้ามา
ลงทุนในตลาดหุ้น โดยประเมินแนวรับที่ระดับ 650 จุด แนวต้าน 686 จุด แต่ปัจจุบัน
บริษัทยังไม่มีการปรับประมาณการเป้าหมายดัชนีตลาดหุ้นไทยในปีนี้ โดยคาดว่าดัชนีสิ้น
ปีนี้จะอยู่ที่ระดับ 820 จุด
"นักลงทุนชะลอซื้อขายหุ้นในช่วงนี้ เกิดจากปัจจัยด้านการเมืองที่ยังอึมครึม ทำให้ไม่กล้า
เข้ามาลงทุน ไม่ได้เกิดจากปัจจัยพื้นฐานของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งขณะนี้หุ้นที่มีปัจจัยพื้น
ฐานดี ราคาหุ้นปรับตัวลดลงจำนวนมากแล้ว"
นายสาวสุภากร สุจิรัตนวิมล ผู้ช่วยกรรมการผุ้จัดการ บล.เคทีบี กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทย
ปรับตัวลดลงตลอดทั้งวัน มูลค่าซื้อขายแค่ 6,000 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าสัปดาห์ที่ผ่านมาที่มี
มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยวันละ 9,000 ล้านบาท เนื่องจากนักลงทุนไม่มั่นใจเรื่องการเมือง และ
ความกังวลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัว รวมถึงกรณีที่บริษัท เดลล์ ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ราย
ใหญ่อันดับสองของโลก ออกมาประกาศยอดการใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีจะลดลง
จากประเด็นดังกล่าว ได้ส่งผลให้ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลดลง และนักลงทุนกังวลในเรื่อง
ราคาน้ำมันจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น หากพายุกุสตาฟอาจส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำมัน
และก๊าซในอ่าวเม็กซิโก ทำให้กดดันการลงทุน โดยหุ้นมีการปรับตัวลดลงกระจายทุกกลุ่ม
ยกเว้นสินค้าอุปโภค อุตสาหกรรมยานยนต์ บริการเฉพาะกิจ
สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทย ช่วงนี้ก็จะยังคงแกว่งตัวในกรอบแคบๆ ลักษณะปรับตัวลด
ลง ซึ่งบริษัทแนะนำให้นักลงทุนชะลอการลงทุนไปก่อน รอดูความชัดเจน โดยประเมิน
แนวรับที่ระดับ 660-680 จุด
นายอภิสิทธิ์ ลิมป์ธำรงกุล รองผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เกียรตินาคิน กล่าวว่า
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในวันนี้ที่ปรับตัวลงมาแรงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความขัด
แย้งทางการเมืองที่ยังหาทางออกไม่ได้ และมีแนวโน้มที่จะบานปลายรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จาก
การที่รัฐวิสาหกิจต่างพร้อมใจกันหยุดให้บริการเพื่อประท้วงความไม่ชอบธรรมของรัฐบาล
ซึ่งจะกระทบต่อเศรษฐกิจและการบริโภคในภาพรวม
นอกจากนี้ มุมมองในสายตานักลงทุนต่างชาติเริ่มขาดความเชื่อมั่นและประเมินตลาดหุ้น
ไทยมีความเสี่ยงสูงและทางออกของปัญหาในขณะนี้ยังคงไม่สามารถคาดการณ์ได้ เนื่อง
จากสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจได้กลายเป็นฐานสนับสนุนกลุ่มพันธมิตรที่สำคัญ ขณะที่
รัฐบาลไม่สามารถใช้กำลังปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุมได้ เพราะจะถูกกดดันเรื่องความชอบ
ธรรม นักลงทุนจึงเลือกที่จะเทขายหุ้นเพื่อลดความเสี่ยงทำให้บรรยากาศการซื้อขายซบเซา
และดัชนีฯปรับตัวลง
นอกจากนี้ ตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียที่ยืนในแดนลบจากความวิตกต่อปัญหาเศรษฐกิจ
ชะลอตัวและแรงขายของนักลงทุนต่างชาติได้ส่งผลลบต่อตลาดหุ้นไทยให้เคลื่อนไหวใน
ทิศทางเดียวกัน
สำหรับแนวโน้มในวันพรุ่งนี้ยังมีมุมมองเชิงลบต่อตลาดหุ้นไทยต่อความขัดแย้งทางการ
เมืองที่ยืดเยื้อ และมีความเสี่ยงที่จะลุกลามบานปลายไปสู่ความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะ ทำ
ให้นักลงทุนมีแรงเทขายหุ้นออกมาและถือเงินสดรอประเมินสถานการณ์นอกตลาดฯ
ส่วนการลงมติในคดียุบพรรคพลังประชาชนของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยังเป็น
ปัจจัยที่ต้องจับตามองต่อไป ทั้งนี้ไม่ว่าผลจะออกมาว่ายุบพรรคหรือไม่คงไม่กระทบกับการ
ลงทุนมากอย่างมีนัยสำคัญเพราะตลาดฯน่าจะให้น้ำหนักกับการหาทางออกจากความขัด
แย้งทางการเมืองอย่างเช่นการยุบสภา หรือลาออกมากกว่า ประเมินแนวรับที่ระดับ 660 จุด
แนวต้าน 680 จุด
นางสาวจันทนา วัฒนกูล ผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เคทีบี
จำกัด มหาชน (KTBS) กล่าวว่า ดัชนีตลาดหลักทรัพย์วานนี้ยังเงียบเหงาปรับตัวอยู่ในแดน
ลบตลอดทั้งวัน ท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังอึมครึม กดดันให้มูลค่าการซื้อขาย
ค่อนข้างเบาบางแค่กว่า 6 พันล้านบาท
"แนวโน้มตลาดในวันนี้น่าจะตกอยู่ในภาวะที่ซบเซา ภายหลังการเมืองยังไม่สามารถหา
ทางออกได้ โดยให้แนวรับที่ 660-674 จุด และแนวต้านที่ 692-700 จุด ขณะที่หุ้นที่น่าลง
ทุนจะเป็นหุ้นพื้นฐานอย่างกลุ่มอาหารที่รับจากอานิสงส์ ของค่าเงินบาทอ่อนตัวที่จะส่ง
ผลดีต่อการส่งออก" นางสาวจันทนา กล่าว
ภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทยวานนี้ (1 ก.ย.) ดัชนีตลาดหุ้นได้ปรับตัวลดลงตั้งแต่ช่วงเช้า หลังจากที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ประกาศชัดเจนว่าจะไม่ลาออก หรือยุบสภา ส่งสถานการณ์การเมืองในประเทศไม่มีทางออก บวกกับปัจจัยต่างประเทศที่กังวลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ถดถอย ส่งผลดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดที่ 675.22 จุด ลดลง 9.22 จุด คิดเป็น 1.35% โดยระหว่างวันดัชนีปรับตัวแตะระดับต่ำสุดที่ 673.97 จุด หรือลดลงกว่า 10 จุด ขณะที่ระดับสูงสุดอยู่ที่ 678.99 จุด มูลค่าการซื้อขายรวม 6,309.78 ล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างประเทศยังคงเทขายหุ้นไทยออกมาอย่างต่อเนื่อง คือมียอดขายสุทธิ 499.62 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 132.24 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 631.85 ล้านบาท
นายรณกฤต สารินวงศ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) แอ๊ดคินซัน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า วานนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงหลังจากที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ประกาศชัดเจนว่าจะไม่ลาออกหรือยุบสภา
ตามข้อเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กดดันให้ดัชนีลดลงไปแตะระดับต่ำสุดที่ 673.97 จุด จากการเทขายหุ้นขนาดใหญ่ในกลุ่มพลังงาน และธนาคารพาณิชย์
ขณะที่แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้ (2 ก.ย.) คาดว่าตลาดจะยังคงเงียบเหงาท่ามกลางความ
ผันผวนในกรอบ 670-685 จุด จากปัจจัยหลักเรื่องของสถานการณ์การเมืองในประเทศที่
ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ ดังนั้นนักลงทุนควรจะชะลอการลงทุนก่อน เพื่อรอดูท่าทีของ
รัฐบาลและการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ต่อไป
นางสาวจิตรา อมรธรรม ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์ บล.ไซรัส จำกัด (มหาชน) หรือ
SYRUS กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยได้รับผลกระทบจาก 2 ปัจจัย คือ ปัจจับต่างประเทศในกรณี
ที่ดัชนีดาวโจนส์เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ปรับตัวลดลงถึง 170 จุด จากความกังวลปัจจัยเดิมๆ เช่น
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัว แม้ไตรมาส 2/51 จีดีพีจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่นักลงทุนไม่
เชื่อมั่นใจว่าเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังจะดี ส่งผลให้ตลาดหุ้นในเอเชียปรับตัวลดลง
"ดัชนีปรับตัวลดลง 9.22 จุด วอลุ่มเบาบาง โดยหุ้นที่มีการปรับตัวลดลงกระจายทุกกลุ่ม เช่น
พลังงาน แบงก์ แต่ช่วงเช้าหุ้นสื่อสารสามารถบวกได้จากได้รับข่าวดีเรื่อง 3 จี" นางสาวจิตรา
กล่าว
ขณะที่ปัจจัยในประเทศ หลังจากที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้มีการประกาศจะ
ไม่ลาออกและไม่ยุบสภา ในการประชุมร่วมรัฐสภาเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา และกลุ่ม
พันธมิตรฯ เองจะมีการกดดันรัฐบาลต่อเนื่อง ซึ่งทำให้การเมืองไทยยังไม่มีทางออกที่จะคลี่
คลาย ส่งผลให้นักลงทุนชะลอดูความชัดเจนทำให้มูลค่าการซื้อขายเบาบาง
สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทยวันนี้ ดัชนียังคงถูกกดดันจากปัจจัยทางการเมืองมากกว่า
ปัจจัยต่างประเทศ จากการเมืองยังไม่มีทางออก ซึ่งบริษัทยังไม่แนะนำให้นักลงทุนเข้ามา
ลงทุนในตลาดหุ้น โดยประเมินแนวรับที่ระดับ 650 จุด แนวต้าน 686 จุด แต่ปัจจุบัน
บริษัทยังไม่มีการปรับประมาณการเป้าหมายดัชนีตลาดหุ้นไทยในปีนี้ โดยคาดว่าดัชนีสิ้น
ปีนี้จะอยู่ที่ระดับ 820 จุด
"นักลงทุนชะลอซื้อขายหุ้นในช่วงนี้ เกิดจากปัจจัยด้านการเมืองที่ยังอึมครึม ทำให้ไม่กล้า
เข้ามาลงทุน ไม่ได้เกิดจากปัจจัยพื้นฐานของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งขณะนี้หุ้นที่มีปัจจัยพื้น
ฐานดี ราคาหุ้นปรับตัวลดลงจำนวนมากแล้ว"
นายสาวสุภากร สุจิรัตนวิมล ผู้ช่วยกรรมการผุ้จัดการ บล.เคทีบี กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทย
ปรับตัวลดลงตลอดทั้งวัน มูลค่าซื้อขายแค่ 6,000 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าสัปดาห์ที่ผ่านมาที่มี
มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยวันละ 9,000 ล้านบาท เนื่องจากนักลงทุนไม่มั่นใจเรื่องการเมือง และ
ความกังวลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัว รวมถึงกรณีที่บริษัท เดลล์ ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ราย
ใหญ่อันดับสองของโลก ออกมาประกาศยอดการใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีจะลดลง
จากประเด็นดังกล่าว ได้ส่งผลให้ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลดลง และนักลงทุนกังวลในเรื่อง
ราคาน้ำมันจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น หากพายุกุสตาฟอาจส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำมัน
และก๊าซในอ่าวเม็กซิโก ทำให้กดดันการลงทุน โดยหุ้นมีการปรับตัวลดลงกระจายทุกกลุ่ม
ยกเว้นสินค้าอุปโภค อุตสาหกรรมยานยนต์ บริการเฉพาะกิจ
สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทย ช่วงนี้ก็จะยังคงแกว่งตัวในกรอบแคบๆ ลักษณะปรับตัวลด
ลง ซึ่งบริษัทแนะนำให้นักลงทุนชะลอการลงทุนไปก่อน รอดูความชัดเจน โดยประเมิน
แนวรับที่ระดับ 660-680 จุด
นายอภิสิทธิ์ ลิมป์ธำรงกุล รองผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เกียรตินาคิน กล่าวว่า
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในวันนี้ที่ปรับตัวลงมาแรงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความขัด
แย้งทางการเมืองที่ยังหาทางออกไม่ได้ และมีแนวโน้มที่จะบานปลายรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จาก
การที่รัฐวิสาหกิจต่างพร้อมใจกันหยุดให้บริการเพื่อประท้วงความไม่ชอบธรรมของรัฐบาล
ซึ่งจะกระทบต่อเศรษฐกิจและการบริโภคในภาพรวม
นอกจากนี้ มุมมองในสายตานักลงทุนต่างชาติเริ่มขาดความเชื่อมั่นและประเมินตลาดหุ้น
ไทยมีความเสี่ยงสูงและทางออกของปัญหาในขณะนี้ยังคงไม่สามารถคาดการณ์ได้ เนื่อง
จากสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจได้กลายเป็นฐานสนับสนุนกลุ่มพันธมิตรที่สำคัญ ขณะที่
รัฐบาลไม่สามารถใช้กำลังปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุมได้ เพราะจะถูกกดดันเรื่องความชอบ
ธรรม นักลงทุนจึงเลือกที่จะเทขายหุ้นเพื่อลดความเสี่ยงทำให้บรรยากาศการซื้อขายซบเซา
และดัชนีฯปรับตัวลง
นอกจากนี้ ตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียที่ยืนในแดนลบจากความวิตกต่อปัญหาเศรษฐกิจ
ชะลอตัวและแรงขายของนักลงทุนต่างชาติได้ส่งผลลบต่อตลาดหุ้นไทยให้เคลื่อนไหวใน
ทิศทางเดียวกัน
สำหรับแนวโน้มในวันพรุ่งนี้ยังมีมุมมองเชิงลบต่อตลาดหุ้นไทยต่อความขัดแย้งทางการ
เมืองที่ยืดเยื้อ และมีความเสี่ยงที่จะลุกลามบานปลายไปสู่ความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะ ทำ
ให้นักลงทุนมีแรงเทขายหุ้นออกมาและถือเงินสดรอประเมินสถานการณ์นอกตลาดฯ
ส่วนการลงมติในคดียุบพรรคพลังประชาชนของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยังเป็น
ปัจจัยที่ต้องจับตามองต่อไป ทั้งนี้ไม่ว่าผลจะออกมาว่ายุบพรรคหรือไม่คงไม่กระทบกับการ
ลงทุนมากอย่างมีนัยสำคัญเพราะตลาดฯน่าจะให้น้ำหนักกับการหาทางออกจากความขัด
แย้งทางการเมืองอย่างเช่นการยุบสภา หรือลาออกมากกว่า ประเมินแนวรับที่ระดับ 660 จุด
แนวต้าน 680 จุด
นางสาวจันทนา วัฒนกูล ผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เคทีบี
จำกัด มหาชน (KTBS) กล่าวว่า ดัชนีตลาดหลักทรัพย์วานนี้ยังเงียบเหงาปรับตัวอยู่ในแดน
ลบตลอดทั้งวัน ท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังอึมครึม กดดันให้มูลค่าการซื้อขาย
ค่อนข้างเบาบางแค่กว่า 6 พันล้านบาท
"แนวโน้มตลาดในวันนี้น่าจะตกอยู่ในภาวะที่ซบเซา ภายหลังการเมืองยังไม่สามารถหา
ทางออกได้ โดยให้แนวรับที่ 660-674 จุด และแนวต้านที่ 692-700 จุด ขณะที่หุ้นที่น่าลง
ทุนจะเป็นหุ้นพื้นฐานอย่างกลุ่มอาหารที่รับจากอานิสงส์ ของค่าเงินบาทอ่อนตัวที่จะส่ง
ผลดีต่อการส่งออก" นางสาวจันทนา กล่าว