ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจวลีที่ว่า “สงครามการเมืองกลางเมือง” เสียก่อน วลีนี้มีความหมายว่า “การเอาชนะกันทางการเมืองที่เกิดขึ้นกลางเมือง” และยังไม่ได้เป็นสงครามร้อนที่เกิดจากการขัดแย้งทางการเมืองที่สองฝ่ายหรือมากกว่าใช้อาวุธสงครามเข้าประหัตประหารกัน และต้องทำความเข้าใจนิยามศัพท์สงครามกลางเมืองด้วยเช่นกัน คือ การรบพุ่งระหว่างคนในชาติเดียวกันที่มีความเห็น และผลประโยชน์ต่างกันโดยมีการสถาปนาอำนาจรัฐทับซ้อนกัน และมีพื้นที่ยึดครอง
กาชาดสากลให้ความหมายมาตรา 9 แห่งสนธิสัญญาเจนีวาดังนี้ “สงครามกลางเมืองเป็นความขัดแย้งรุนแรงจนถึงมีการใช้อาวุธต่อกันทั้งสองฝ่ายหรือมากกว่านั้น และอาจมีความรุนแรงเหมือนสงครามระหว่างรัฐ แต่เกิดขึ้นภายในประเทศนั้นประเทศเดียว”
เหมาเจ๋อตุง กล่าวถึงสงครามและการเมืองดังนี้ “การเมืองคือสงครามที่ไม่หลั่งเลือดส่วนสงครามคือการเมืองที่หลั่งเลือด”
สงครามกลางเมืองใหญ่ๆ ที่มีผลกระทบต่อสังคมเกิดมาแล้วหลายพันครั้งในเกือบทุกชาติ ตั้งแต่ 475 ปีก่อนคริสตศักราช เช่น สงครามรวมชาติจีน หรือสงครามนครคาร์เธจ หรือสงครามแห่งรัฐอิสลาม ค.ศ. 656-661 หรือสงครามเมืองอังกฤษสามครั้งคือ The Anarchy ค.ศ. 1135-1153 คือยุคไร้สันติสุข สงครามกุหลาบ (Wars of Roses) ระหว่างเจ้านครแห่งแคว้นแลงคาสเตอร์กับเจ้านครแห่งแคว้นยอร์ก และสงครามกลางเมือง (Cromwell) ค.ศ. 1642-1651 ระหว่างกษัตริย์กับรัฐสภา
สงครามกลางเมืองอังกฤษมีสาเหตุจากการชิงอำนาจปกครองประเทศ หรือการปกป้องสิทธิของกษัตริย์ หรือการป้องสิทธิของประชาชน เช่น ในสงครามขุนนางครั้งที่ 1 ค.ศ. 1215-1217 ระหว่างขุนนางกับพระเจ้าจอห์น ขุนนางสามารถทำให้พระเจ้าจอห์น ทรงลงพระนามในมหาบัตรใหญ่หรือ Magna Carta อันเป็นต้นกำเนิดรัฐธรรมนูญของอังกฤษและสหรัฐฯ
สงครามกลางเมืองสหรัฐฯ ระหว่าง ค.ศ. 1861-1865 เมื่อ 11 มลรัฐทางใต้ เห็นว่าการรณรงค์เลิกทาสของประธานาธิบดี อับราฮิม ลินคอล์นในสหรัฐอเมริกาขัดต่อผลประโยชน์ทางมลรัฐทางใต้ซึ่งต้องพึ่งแรงงานต่ำในการเก็บฝ้าย และทำกสิกรรมจึงแยกตัวออกจากสหรัฐฯ สถาปนาเป็นสหพันธรัฐแห่งอเมริกามีประธานาธิบดี เจฟเฟอร์สัน เดวิส เป็นผู้นำ และเกิดการสู้รบเกิดขึ้นเพื่อแย่งความชอบธรรมแห่งรัฐ เพราะการแยกตัวจากสหรัฐฯ เป็นการผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ รบกัน 4 ปี ทำให้มีผู้ได้รับเคราะห์กรรมจากสงคราม 1,030,000 คน ทหารตาย 620,000 คน
สงครามกลางเมืองเป็นเรื่องที่เจ็บปวดมากสำหรับชาติที่ประสบกับชะตากรรมเพราะต้องรบกันเอง และสงครามก็เป็นเรื่องหฤโหดอยู่แล้ว ไม่มีใครปรารถนาที่จะให้เกิดขึ้นเลย
ประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่มีการต่อสู้กันเองระหว่างคนไทยด้วยกัน ที่เกิดจากความขัดแย้งกันทางการเมือง เช่น กบฏบวรเดช 2476 เมื่อทหารฝ่ายหัวเมืองไม่พอใจกลุ่มทหารที่ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เพราะเกรงว่าระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จะถูกล้มล้างเป็นอย่างอื่น
กบฏวังหลวง 2492 เมื่อทหารเรือบางกลุ่มต้องการโค่นจอมพล ป.พิบูลสงคราม กบฏแมนฮัตตัน 2494 ทหารเรือบางกลุ่มจับจอมพล ป.เป็นตัวประกันบังคับให้รัฐบาลลาออกจนเกิดสู้รบสูญเสียอย่างมหาศาล เพราะเรือหลวงศรีอยุธยาถูกจม กบฏ 26 มีนาคม 2520 พลเอกฉลาด หิรัญศิริ กำลังทหารทำการโค่นล้มรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร แต่ไม่สำเร็จและสังหาร พล.ต.อรุณ ทวาทศิน อดีต ผบ.พล. เสียชีวิตตัวเองถูกประหารชีวิตตามกรรมและสงครามอุดมการณ์ 2508-2525 แต่การกบฏหลายครั้งไม่ยืดเยื้อเพราะเป็นเรื่องการแย่งชิงอำนาจระหว่างทหารด้วยกันเอง แต่เป็นบทเรียนราคาแพงของทหารอย่างแท้จริง
ปัจจุบันทหารได้เรียนรู้ถึงพลังมวลชนจากกรณี 14 ตุลาคม 2516 และ 17 พฤษภาคม 2535 ทำให้จะก่อการอะไรที่ต่อต้านประชาชนแล้วจะไม่ทำเพราะผลภายหลัง (Aftermath) นั้น ทหารต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะเรียกความเชื่อถือศรัทธากลับคืนจากประชาชน
แต่เกิดปรากฏการณ์ใหม่ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยคือ ผลประโยชน์เฉพาะบุคคลมีอำนาจเหนือการเมืองตามระบบทุนนิยมสามานย์อันหมายถึง การใช้อำนาจรัฐแสวงประโยชน์ให้กับตัวเองด้วยการโกงกินทั้งทางตรงและทางอ้อมแล้วสร้างลัทธิประชานิยมด้วยเงินของรัฐกลบเกลื่อน
อำนาจส่วนบุคคลที่เกิดจากอำนาจเงินกำลังพยายามที่จะสร้างความแตกแยกในชาติ และต้องการพัฒนาความแตกแยกนี้ให้เป็นกลยุทธ์ในการต่อรองให้พ้นผิดจากกรณีการทุจริตคดโกงของตัวเองและครอบครัว
ดังนั้นยุทธศาสตร์การเมืองที่ต้องมีหน้าฉากเป็นประชาธิปไตยด้วยการมีพรรคการเมือง แต่ปล้นชัยชนะพรรคคู่แข่งด้วยการเสี่ยงซื้อเสียง ซื้อคน ซื้อพรรคการเมืองโดยไม่หวั่นต่อการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งและความไร้จริยธรรม เพราะหากได้ใบแดงต้องเลือกตั้งใหม่ พรรคการเมืองนั้นก็ยังชนะการเลือกตั้งอยู่ดีในพื้นที่ที่ได้สร้างอิทธิพลเงินตราไว้แล้ว และนี่เป็นยุทธศาสตร์สำคัญของ พ.ต.ท.ทักษิณ
ปรากฏการณ์ต่อต้านระบอบทักษิณ ก็ต้องปรับกลยุทธ์โดยต้องยึดจุดดุลหรือ Center of Gravity ของอำนาจรัฐตามทฤษฎี เคลาสวิทซ์ นักการทหารปรัสเซียยุคนโปเลียนทฤษฎีนี้ทหารทุกคนรู้ดี ทำเนียบรัฐบาลเป็นจุดดุลของสงครามการเมืองกลางกรุง เพราะการเกาะกุมอำนาจของรัฐบาลนี้มีความชัดเจนมากเพราะทำทุกอย่างเพื่อให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550แล้วจะพ้นโทษ และได้กระทำการทุกอย่างที่ไร้หลักธรรมาภิบาล เช่น การแต่งตั้งบุคคลหลายคนที่บาดแผลทุจริตคดโกง หรือไร้คุณธรรมมีพฤติกรรมเหมือนโจร หรือเป็นคนมีอิทธิพลแบบอันธพาลเข้ามามีอำนาจรัฐตามที่มีการอภิปรายในรัฐสภาเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา เพราะฉะนั้น การต่อต้านระบบนี้จึงเป็นความชอบธรรมอย่างหนึ่งในระบบสังคมประชาธิปไตย เพราะมาตรฐานการเข้าสู่อำนาจรัฐเป็นการใช้อำนาจเงินเป็นมาตรฐานทั้งสิ้น
เหตุการณ์ที่ทำเนียบจะขยายความรุนแรงและยาวนานหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของนายสมัคร สุนทรเวช ที่ประกาศชัดเจนว่าเป็นนอมินีของ พ.ต.ท.ทักษิณที่ยังไม่สามารถพิสูจน์ว่าตัวเองบริสุทธิ์ และประกาศว่าเป็นนายกรัฐมนตรีต้นทุนต่ำ อันหมายถึงไม่ได้ลงทุนอะไรเลยมีรถบรรทุกอำนาจมาเกย เพราะพ.ต.ท.ทักษิณ หาใครไม่ได้แล้วเพราะทาบทามใครที่ดีกว่านี้เขาก็ปฏิเสธที่จะเป็นหัวหน้าพรรคพลังประชาชนที่สมาชิกส่วนใหญ่ถูกจัดตั้งด้วยเงินตราหรือเป็นผู้รับใช้พ.ต.ท.ทักษิณหรือเป็นนอมินีของนักการเมืองที่ต้องโทษเว้นวรรคการเมืองหรือพวกที่ต้องการอำนาจและเงินคืนเท่านั้น
จึงต้องขอบอกว่านายสมัคร สุนทรเวช ว่าควรยุติบทบาทนายกรัฐมนตรี และเมื่อรัฐบาลลาออกแล้วทุกสิ่งทุกอย่างก็จะกลับเป็นปกติ ขบวนการยุติธรรมก็ดำเนินการต่อไปเพื่อพิสูจน์ความผิดหรือความบริสุทธิ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ให้กระจ่างแจ้งเสียทีเพราะประชาชนไม่ต้องการแตกแยกกัน แต่ต้องการรู้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ผิดจริงหรือไม่เท่านั้น อย่าให้คนคนเดียวนำพาชาติไปสู่หายนะเป็นสงครามกลางเมืองเลย เพราะขณะนี้ล่อแหลมมาก อย่าให้ความคิดที่แตกแยกฝังในจิตสำนึกคนไทยอย่างถาวรเลย
กาชาดสากลให้ความหมายมาตรา 9 แห่งสนธิสัญญาเจนีวาดังนี้ “สงครามกลางเมืองเป็นความขัดแย้งรุนแรงจนถึงมีการใช้อาวุธต่อกันทั้งสองฝ่ายหรือมากกว่านั้น และอาจมีความรุนแรงเหมือนสงครามระหว่างรัฐ แต่เกิดขึ้นภายในประเทศนั้นประเทศเดียว”
เหมาเจ๋อตุง กล่าวถึงสงครามและการเมืองดังนี้ “การเมืองคือสงครามที่ไม่หลั่งเลือดส่วนสงครามคือการเมืองที่หลั่งเลือด”
สงครามกลางเมืองใหญ่ๆ ที่มีผลกระทบต่อสังคมเกิดมาแล้วหลายพันครั้งในเกือบทุกชาติ ตั้งแต่ 475 ปีก่อนคริสตศักราช เช่น สงครามรวมชาติจีน หรือสงครามนครคาร์เธจ หรือสงครามแห่งรัฐอิสลาม ค.ศ. 656-661 หรือสงครามเมืองอังกฤษสามครั้งคือ The Anarchy ค.ศ. 1135-1153 คือยุคไร้สันติสุข สงครามกุหลาบ (Wars of Roses) ระหว่างเจ้านครแห่งแคว้นแลงคาสเตอร์กับเจ้านครแห่งแคว้นยอร์ก และสงครามกลางเมือง (Cromwell) ค.ศ. 1642-1651 ระหว่างกษัตริย์กับรัฐสภา
สงครามกลางเมืองอังกฤษมีสาเหตุจากการชิงอำนาจปกครองประเทศ หรือการปกป้องสิทธิของกษัตริย์ หรือการป้องสิทธิของประชาชน เช่น ในสงครามขุนนางครั้งที่ 1 ค.ศ. 1215-1217 ระหว่างขุนนางกับพระเจ้าจอห์น ขุนนางสามารถทำให้พระเจ้าจอห์น ทรงลงพระนามในมหาบัตรใหญ่หรือ Magna Carta อันเป็นต้นกำเนิดรัฐธรรมนูญของอังกฤษและสหรัฐฯ
สงครามกลางเมืองสหรัฐฯ ระหว่าง ค.ศ. 1861-1865 เมื่อ 11 มลรัฐทางใต้ เห็นว่าการรณรงค์เลิกทาสของประธานาธิบดี อับราฮิม ลินคอล์นในสหรัฐอเมริกาขัดต่อผลประโยชน์ทางมลรัฐทางใต้ซึ่งต้องพึ่งแรงงานต่ำในการเก็บฝ้าย และทำกสิกรรมจึงแยกตัวออกจากสหรัฐฯ สถาปนาเป็นสหพันธรัฐแห่งอเมริกามีประธานาธิบดี เจฟเฟอร์สัน เดวิส เป็นผู้นำ และเกิดการสู้รบเกิดขึ้นเพื่อแย่งความชอบธรรมแห่งรัฐ เพราะการแยกตัวจากสหรัฐฯ เป็นการผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ รบกัน 4 ปี ทำให้มีผู้ได้รับเคราะห์กรรมจากสงคราม 1,030,000 คน ทหารตาย 620,000 คน
สงครามกลางเมืองเป็นเรื่องที่เจ็บปวดมากสำหรับชาติที่ประสบกับชะตากรรมเพราะต้องรบกันเอง และสงครามก็เป็นเรื่องหฤโหดอยู่แล้ว ไม่มีใครปรารถนาที่จะให้เกิดขึ้นเลย
ประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่มีการต่อสู้กันเองระหว่างคนไทยด้วยกัน ที่เกิดจากความขัดแย้งกันทางการเมือง เช่น กบฏบวรเดช 2476 เมื่อทหารฝ่ายหัวเมืองไม่พอใจกลุ่มทหารที่ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เพราะเกรงว่าระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จะถูกล้มล้างเป็นอย่างอื่น
กบฏวังหลวง 2492 เมื่อทหารเรือบางกลุ่มต้องการโค่นจอมพล ป.พิบูลสงคราม กบฏแมนฮัตตัน 2494 ทหารเรือบางกลุ่มจับจอมพล ป.เป็นตัวประกันบังคับให้รัฐบาลลาออกจนเกิดสู้รบสูญเสียอย่างมหาศาล เพราะเรือหลวงศรีอยุธยาถูกจม กบฏ 26 มีนาคม 2520 พลเอกฉลาด หิรัญศิริ กำลังทหารทำการโค่นล้มรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร แต่ไม่สำเร็จและสังหาร พล.ต.อรุณ ทวาทศิน อดีต ผบ.พล. เสียชีวิตตัวเองถูกประหารชีวิตตามกรรมและสงครามอุดมการณ์ 2508-2525 แต่การกบฏหลายครั้งไม่ยืดเยื้อเพราะเป็นเรื่องการแย่งชิงอำนาจระหว่างทหารด้วยกันเอง แต่เป็นบทเรียนราคาแพงของทหารอย่างแท้จริง
ปัจจุบันทหารได้เรียนรู้ถึงพลังมวลชนจากกรณี 14 ตุลาคม 2516 และ 17 พฤษภาคม 2535 ทำให้จะก่อการอะไรที่ต่อต้านประชาชนแล้วจะไม่ทำเพราะผลภายหลัง (Aftermath) นั้น ทหารต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะเรียกความเชื่อถือศรัทธากลับคืนจากประชาชน
แต่เกิดปรากฏการณ์ใหม่ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยคือ ผลประโยชน์เฉพาะบุคคลมีอำนาจเหนือการเมืองตามระบบทุนนิยมสามานย์อันหมายถึง การใช้อำนาจรัฐแสวงประโยชน์ให้กับตัวเองด้วยการโกงกินทั้งทางตรงและทางอ้อมแล้วสร้างลัทธิประชานิยมด้วยเงินของรัฐกลบเกลื่อน
อำนาจส่วนบุคคลที่เกิดจากอำนาจเงินกำลังพยายามที่จะสร้างความแตกแยกในชาติ และต้องการพัฒนาความแตกแยกนี้ให้เป็นกลยุทธ์ในการต่อรองให้พ้นผิดจากกรณีการทุจริตคดโกงของตัวเองและครอบครัว
ดังนั้นยุทธศาสตร์การเมืองที่ต้องมีหน้าฉากเป็นประชาธิปไตยด้วยการมีพรรคการเมือง แต่ปล้นชัยชนะพรรคคู่แข่งด้วยการเสี่ยงซื้อเสียง ซื้อคน ซื้อพรรคการเมืองโดยไม่หวั่นต่อการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งและความไร้จริยธรรม เพราะหากได้ใบแดงต้องเลือกตั้งใหม่ พรรคการเมืองนั้นก็ยังชนะการเลือกตั้งอยู่ดีในพื้นที่ที่ได้สร้างอิทธิพลเงินตราไว้แล้ว และนี่เป็นยุทธศาสตร์สำคัญของ พ.ต.ท.ทักษิณ
ปรากฏการณ์ต่อต้านระบอบทักษิณ ก็ต้องปรับกลยุทธ์โดยต้องยึดจุดดุลหรือ Center of Gravity ของอำนาจรัฐตามทฤษฎี เคลาสวิทซ์ นักการทหารปรัสเซียยุคนโปเลียนทฤษฎีนี้ทหารทุกคนรู้ดี ทำเนียบรัฐบาลเป็นจุดดุลของสงครามการเมืองกลางกรุง เพราะการเกาะกุมอำนาจของรัฐบาลนี้มีความชัดเจนมากเพราะทำทุกอย่างเพื่อให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550แล้วจะพ้นโทษ และได้กระทำการทุกอย่างที่ไร้หลักธรรมาภิบาล เช่น การแต่งตั้งบุคคลหลายคนที่บาดแผลทุจริตคดโกง หรือไร้คุณธรรมมีพฤติกรรมเหมือนโจร หรือเป็นคนมีอิทธิพลแบบอันธพาลเข้ามามีอำนาจรัฐตามที่มีการอภิปรายในรัฐสภาเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา เพราะฉะนั้น การต่อต้านระบบนี้จึงเป็นความชอบธรรมอย่างหนึ่งในระบบสังคมประชาธิปไตย เพราะมาตรฐานการเข้าสู่อำนาจรัฐเป็นการใช้อำนาจเงินเป็นมาตรฐานทั้งสิ้น
เหตุการณ์ที่ทำเนียบจะขยายความรุนแรงและยาวนานหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของนายสมัคร สุนทรเวช ที่ประกาศชัดเจนว่าเป็นนอมินีของ พ.ต.ท.ทักษิณที่ยังไม่สามารถพิสูจน์ว่าตัวเองบริสุทธิ์ และประกาศว่าเป็นนายกรัฐมนตรีต้นทุนต่ำ อันหมายถึงไม่ได้ลงทุนอะไรเลยมีรถบรรทุกอำนาจมาเกย เพราะพ.ต.ท.ทักษิณ หาใครไม่ได้แล้วเพราะทาบทามใครที่ดีกว่านี้เขาก็ปฏิเสธที่จะเป็นหัวหน้าพรรคพลังประชาชนที่สมาชิกส่วนใหญ่ถูกจัดตั้งด้วยเงินตราหรือเป็นผู้รับใช้พ.ต.ท.ทักษิณหรือเป็นนอมินีของนักการเมืองที่ต้องโทษเว้นวรรคการเมืองหรือพวกที่ต้องการอำนาจและเงินคืนเท่านั้น
จึงต้องขอบอกว่านายสมัคร สุนทรเวช ว่าควรยุติบทบาทนายกรัฐมนตรี และเมื่อรัฐบาลลาออกแล้วทุกสิ่งทุกอย่างก็จะกลับเป็นปกติ ขบวนการยุติธรรมก็ดำเนินการต่อไปเพื่อพิสูจน์ความผิดหรือความบริสุทธิ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ให้กระจ่างแจ้งเสียทีเพราะประชาชนไม่ต้องการแตกแยกกัน แต่ต้องการรู้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ผิดจริงหรือไม่เท่านั้น อย่าให้คนคนเดียวนำพาชาติไปสู่หายนะเป็นสงครามกลางเมืองเลย เพราะขณะนี้ล่อแหลมมาก อย่าให้ความคิดที่แตกแยกฝังในจิตสำนึกคนไทยอย่างถาวรเลย