เมื่อช่วงปี 2550 ที่ “ลุงหมัก” คุณสมัคร สุนทรเวช ถูกทาบทามให้มานั่งในเก้าอี้หัวหน้าพรรคพลังประชาชน ใครต่อใครต่างวิพากษ์วิจารณ์กันทั้งในเชิงลบและเชิงบวก แต่น่าจะเป็นเชิงลบมากกว่า เนื่องด้วยอายุอานามของ “ลุงหมัก” นั้นถือว่ามากโขอยู่ เท่านั้นยังไม่พอ คุณสมัคร สุนทรเวช ดูท่าว่าน่าจะ “ล้างมือในอ่างทองคำ” ไปเรียบร้อยแล้ว เพราะได้ไต่ระดับตำแหน่งต่างๆ ทางการเมืองมาโดยตลอด แต่วันดีคืนดีก็ตกปากรับคำ แถมกล้ายืดอกสารภาพว่าเป็น “ตัวแทน-นอมินี” ของพรรคไทยรักไทยที่เพิ่งถูกยุบไปและของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ท่าทีและท่าทางของ “ลุงหมัก” ในช่วงต้นของการเป็นหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ต้องขอบอกตามตรงว่า “ติ๋ม...ติ๋ม!” หรือ “สงบเสงี่ยมเจียมตัว” เรียกว่า พร้อมอยู่ภายใต้อาณัติของหัวหน้าพรรคตัวจริงเสียงจริง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พูดง่ายๆ ก็หมายความว่า “ยอมซ้ายหัน ขวาหัน” ตามคำบัญชาของคุณทักษิณ และแกนนำ
เหตุผลสำคัญก็เนื่องมาจากคุณสมัคร สุนทรเวช คงไม่ได้คิดอะไรมากมายก่อนหน้านั้น เพราะว่า คงจะโบกมือลาสนามการเมืองไปเรียบร้อยแล้ว แต่ถูก “กวักมือ-เชื้อเชิญ” ให้มานั่งตำแหน่งหัวหน้าพรรค ก็อาจจะคิดว่าเพียงชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น และที่สำคัญไปมากกว่านั้น ที่ “ลุงหมัก” กล่าวตลอดเวลาว่า “โลว์คอสต์-ต้นทุนต่ำ” เพราะไม่ต้องลงทุนอะไรเลย เพียงเดินเข้ามานั่งเก้าอี้แบบตัวเปล่า
จริงๆ แล้ว คุณสมัคร สุนทรเวช คงไม่ได้คิดการใหญ่อะไรมากมายนัก แต่ก็คงเชื่อว่า พรรคพลังประชาชนน่าจะได้จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมามากพอสมควร แต่ก็มิได้คิดว่าจะเกือบครึ่งของจำนวน ส.ส.ทั้งหมด 480 คน กล่าวคือ พรรคพลังประชาชนได้จำนวน ส.ส.สูงถึง 233 คน จากการเลือกตั้งทั่วไป 23 ธันวาคม 2550
และแล้วในที่สุด พรรคพลังประชาชนก็สามารถรวบรวมเอาพรรคระดับกลางและเล็กเข้ามาร่วมเป็น “รัฐบาลผสม” ได้ จึงทำให้พรรคพลังประชาชนเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล โดยแน่นอน ที่หัวหน้าพรรคต้องดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่ง “ลุงหมัก” ก็คงไม่ได้คิด “คาดฝัน-คาดหวัง” ว่าในที่สุดแล้ว จะก้าวขึ้นดำรงตำแหน่ง “นายกรัฐมนตรีคนที่ 25” ของประเทศไทย
เท่าที่เคยได้ยินการบอกกล่าวเล่าสิบ กันมาว่า ช่วงสมัยที่คุณสมัคร สุนทรเวช เดินเข้าสู่สนามการเมืองเมื่อหลายสิบปีที่แล้ว เมื่อยังหนุ่มอยู่ เคยมีหมอดูทำนายทายทักว่า “ลุงหมัก” จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย ซึ่งว่าไปแล้วคุณสมัคร สุนทรเวช อาจจะ “เชื่อครึ่ง ไม่เชื่อครึ่ง!” หรืออาจจะ “ละเมอเพ้อพก” ว่า “การทำนาย” นี้ อาจเป็นจริงสมหวังดังใจปรารถนาก็เป็นได้!
แต่เมื่อวันเวลาผ่านไปปีแล้วปีเล่า “ดวงดาว” ที่หวังไขว่คว้าก็ดูจะริบหรี่ลงทุกขณะ เนื่องด้วยการเป็นหัวหน้าพรรคประชากรไทยไม่สามารถที่จะระดมจำนวนที่นั่ง ส.ส.ได้มากที่สุด และที่สำคัญมากไปกว่านั้น คือ “ทุน” ที่นับวันปัจจัยเงินทุนนี้เริ่มเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญที่สุดสำหรับสนามการเมือง เพราะการเมืองได้เป็น “ธุรกิจ” ไปแล้ว โดยเฉพาะ “ธุรกิจการเมือง” ตั้งแต่ปี 2542-2543 เป็นต้นมา
“ลุงหมัก” คงเลิกล้มที่จะเดินทางหลายแสนลี้เหมือน “บิ๊กจิ๋ว” พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ในการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยหันหลังให้กับการเมืองไปหลายปีแล้ว ไปเอาดีทางการทำอาหารออกรายการโทรทัศน์ “ชิมไป บ่นไป” และพิธีกรรายการการเมืองทางจอโทรทัศน์
การก้าวขึ้นเป็น “ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร” เมื่อปี 2543-2549 คุณสมัคร สุนทรเวช คงคิดว่า “นี่ล่ะ! น่าจะเป็นคำทำนายของหมอดูว่าจะได้ดำรงตำแหน่งสูงสุดทางการเมือง” เพราะตำแหน่ง “ผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ” นั้น ก็ถือว่าเป็นตำแหน่งสูงสุดทางการเมืองระดับท้องถิ่นแล้ว
“ลุงหมัก” นั้นตามประวัติแล้ว ต้องบอกว่า “โชกโชน!” ในสนามการเมืองอย่างมาก โดยจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมทั้งเป็น “นักกิจกรรมตัวยง” และ “นักโต้วาที” ของ “ค่ายโดม”
หลังจากจบการศึกษาแล้วก็ได้เบนเข็มชีวิตสู่ “สื่อสารมวลชนการเมือง” ด้วยการเขียนบทความในหนังสือพิมพ์ “สยามรัฐ” และ “ชาวกรุง” และในที่สุดก็เขียนคอลัมน์ “มุมน้ำเงิน” ในหนังสือพิมพ์ “เดลิมิเรอร์” และกระโดดเข้ามาเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์นี้ช่วง 2531-2537
“ลุงหมัก” ได้เริ่มต้นชีวิตทางการเมือง ด้วยการสมัครเป็นสมาชิก “พรรคประชาธิปัตย์” เมื่อปี 2511 และเริ่มจากการลงสมัครเป็นสมาชิกสภาเทศบาลของกรุงเทพมหานคร ในปี 2514 และได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ครั้งแรกเมื่อปี 2518
การก้าวขึ้นสู่ตำแหน่ง “เสนาบดี-รัฐมนตรี” ของคุณสมัคร สุนทรเวช ตั้งแต่ปี 2518 ช่วงสมัยของ หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี ในช่วงสั้นๆ เพียงไม่กี่สัปดาห์กับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และได้เป็นรัฐมนตรีช่วยมหาดไทยอีกครั้งเพียงไม่กี่เดือนในสมัยของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช อีกครั้งหนึ่งเมื่อปี 2519
“ลุงหมัก” เริ่มโด่งดังจริงๆ จังๆ ทางการเมืองเมื่อขึ้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลสมัย คุณธานินทร์ กรัยวิเชียร และก็ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรองนายกรัฐมนตรีตามลำดับ เป็นช่วงๆ ตั้งแต่ปี 2526 จนถึงปี 2540
คุณสมัคร สุนทรเวช เป็นผู้ที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า “ขวาตกขอบ!” เนื่องด้วยโจมตี “ฝ่ายซ้าย : คอมมิวนิสต์” มาตั้งแต่เดินเข้าสู่เวทีการเมือง โดยเฉพาะเมื่อปี 2519 ได้มีบทบาทสำคัญในการปลุกระดมต่อต้านขบวนการนักศึกษา “เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519”
จากประวัติเส้นทาง “การเดินทางการเมือง” ของคุณสมัคร สุนทรเวช เราต่างต้องยอมรับว่า “โชกโชน!” ที่สุดบนสังเวียนการเมือง เรียกว่า “ล้มลุกคลุกคลาน-โชกเลือด” มายาวนานตลอด 30 กว่าปี พูดง่ายๆ คือ “ลุงหมัก” นั้นผ่าน “กระบวนศึก-กระบวนยุทธ์” ทางการเมืองจน “หนังเหนียว!” ก็แล้วกัน
ใครก็ตามที่บังอาจ “สบประมาท” หรือ “ดูหมิ่นดูแคลน” นายกรัฐมนตรี สมัคร สุนทรเวช ก็ต้องบอกได้เลยว่า “คิดผิด!” อย่างมหันต์ ความจริงที่เราต่างต้องยอมรับว่า นายกฯ สมัคร สุนทรเวช นั้น “เก๋า!” ที่สุดของบรรดานักการเมืองไทย จนสามารถเรียกขานได้ว่าเป็น “อภิมหาซูเปอร์มังกรการเมือง” จริงๆ ก็ว่าได้
จากที่เรียกว่า “ล้างมือในอ่างทองคำ” ไปแล้วตั้งแต่ปี 2547 กับตำแหน่งผู้ว่าฯ กรุงเทพมหานคร และลงสมัครเกือบได้เป็นสมาชิกวุฒิสภาเมื่อปี 2549 ซึ่งไม่ได้รับการรับรอง เพราะเกิด “รัฐประหาร-ยึดอำนาจ” เสียก่อน
คะแนนที่ “ลุงหมัก” ได้รับเลือกเป็นผู้ว่าฯ กทม. ได้คะแนนนับล้านเสียงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ของการเมืองท้องถิ่นอย่างกรุงเทพฯ และได้คะแนนจากสนามเลือกตั้งวุฒิสภาอย่างท่วมท้นเช่นเดียวกัน ส่อนัยว่า “ลุงหมัก” นั้นมี “แฟนพันธุ์แท้” เยอะมหาศาล
“แสงแดด” เชื่อว่าหลายๆ ฝ่ายคงคาดไม่ถึงว่า คุณสมัคร สุนทรเวช จะเป็นตัวเลือกของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มาให้เป็นหัวหน้าพรรคพลังประชาชน และยืดอกยอมรับด้วยว่าเป็น “นอมินี” ของทั้งคุณทักษิณ และพรรคไทยรักไทยเดิม
ในขณะเดียวกัน หลายฝ่ายก็ “ปรามาส” ว่า “ลุงหมัก” จะอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอย่างเก่งก็ไม่เกิน 6 เดือน เนื่องด้วย สารพัดคดี ทั้งส่วนตัวและยุบพรรค กอปรกับการถูกกลุ่มพันธมิตรฯ ขับไล่ เพราะเป็น “หุ่นเชิด” ให้อดีตนายกฯ ทักษิณ พูดง่ายๆ ก็คือ “ยอมทำตามคำสั่ง-ใบสั่ง” ทุกประการ
แต่กาลเวลาผ่านไป นับวันๆ เราจะสังเกตได้แจ่มแจ้งแดงแจ๋ว่า “ลุงหมัก” เริ่มมีฤทธิ์เดชมากขึ้น ในการที่จะทั้ง “ต่อรอง” และ “ประสาน” กับสถาบันหลักๆ ของชาติบ้านเมืองได้ โดยเฉพาะ “สถาบันเบื้องสูง” และ “สถาบันกองทัพ”
ประเด็นสำคัญที่ “ลุงหมัก” มีความรู้ความเข้าใจ “โครงสร้างอำนาจการเมืองการปกครองไทย” ได้ดีที่สุด โดยพยายามนำมาใช้เป็น “กำแพงอิง” อยู่ตั้งแต่นั้นมาที่เดินเข้าสู่ “ตึกไทยคู่ฟ้า”
นอกเหนือจากนั้น “ความเก๋า” ของนายกฯ สมัคร สุนทรเวช ตระหนักและสามารถทำให้ทั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และเหล่าบรรดาก๊ก ก๊วน ในพรรคพลังประชาชน “สงบ-สยบ ราบคาบ” ได้ ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงของสังคมการเมืองไทย “ระบบพรรคการเมือง” และ “จำนวนมือ ส.ส.” สำคัญและจำเป็นที่สุด เพียงแต่ “ลุงหมัก” นั้น “ตระหนัก-รู้ซึ้ง” ถึงโครงสร้างอำนาจการเมืองไทยอย่างแท้จริงและลึกซึ้งที่สุด
ทั้งนี้ “ลุงหมัก” ซาบซึ้งถึงสถานการณ์การเมืองปัจจุบันดีที่สุด แม้ว่าจะ “บ่น” ตลอดว่า “ต้นทุนต่ำ-โลว์คอสต์” แต่ก็เพราะ “ความเป็นโลว์คอสต์” ของ “ลุงหมัก” มิใช่หรือ ที่ทำให้ “ลุงหมัก” ยืนหยัดอย่างเหนียวแน่นในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้มาถึงเพียงนี้
บทความนี้เสมือนเป็นการเชียร์ลุงหมักอาจทำให้หลายๆ ฝ่าย “เหล่” มอง “แสงแดด” อย่างอารมณ์เสียก็เป็นได้
ความจริงที่เราต้องยอมรับว่า “ลุงหมัก” นั้น “เก๋า-เขี้ยวลากดิน-โชกโชน” ทางการเมืองมากจากประสบการณ์ 30 กว่าปี ดีไม่ดี “ลุงหมัก” จะอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วยการถูกขอร้องและค้ำยันไปอีกนาน ก็ไม่น่าจะคาดการณ์ผิดนัก!
ท่าทีและท่าทางของ “ลุงหมัก” ในช่วงต้นของการเป็นหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ต้องขอบอกตามตรงว่า “ติ๋ม...ติ๋ม!” หรือ “สงบเสงี่ยมเจียมตัว” เรียกว่า พร้อมอยู่ภายใต้อาณัติของหัวหน้าพรรคตัวจริงเสียงจริง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พูดง่ายๆ ก็หมายความว่า “ยอมซ้ายหัน ขวาหัน” ตามคำบัญชาของคุณทักษิณ และแกนนำ
เหตุผลสำคัญก็เนื่องมาจากคุณสมัคร สุนทรเวช คงไม่ได้คิดอะไรมากมายก่อนหน้านั้น เพราะว่า คงจะโบกมือลาสนามการเมืองไปเรียบร้อยแล้ว แต่ถูก “กวักมือ-เชื้อเชิญ” ให้มานั่งตำแหน่งหัวหน้าพรรค ก็อาจจะคิดว่าเพียงชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น และที่สำคัญไปมากกว่านั้น ที่ “ลุงหมัก” กล่าวตลอดเวลาว่า “โลว์คอสต์-ต้นทุนต่ำ” เพราะไม่ต้องลงทุนอะไรเลย เพียงเดินเข้ามานั่งเก้าอี้แบบตัวเปล่า
จริงๆ แล้ว คุณสมัคร สุนทรเวช คงไม่ได้คิดการใหญ่อะไรมากมายนัก แต่ก็คงเชื่อว่า พรรคพลังประชาชนน่าจะได้จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมามากพอสมควร แต่ก็มิได้คิดว่าจะเกือบครึ่งของจำนวน ส.ส.ทั้งหมด 480 คน กล่าวคือ พรรคพลังประชาชนได้จำนวน ส.ส.สูงถึง 233 คน จากการเลือกตั้งทั่วไป 23 ธันวาคม 2550
และแล้วในที่สุด พรรคพลังประชาชนก็สามารถรวบรวมเอาพรรคระดับกลางและเล็กเข้ามาร่วมเป็น “รัฐบาลผสม” ได้ จึงทำให้พรรคพลังประชาชนเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล โดยแน่นอน ที่หัวหน้าพรรคต้องดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่ง “ลุงหมัก” ก็คงไม่ได้คิด “คาดฝัน-คาดหวัง” ว่าในที่สุดแล้ว จะก้าวขึ้นดำรงตำแหน่ง “นายกรัฐมนตรีคนที่ 25” ของประเทศไทย
เท่าที่เคยได้ยินการบอกกล่าวเล่าสิบ กันมาว่า ช่วงสมัยที่คุณสมัคร สุนทรเวช เดินเข้าสู่สนามการเมืองเมื่อหลายสิบปีที่แล้ว เมื่อยังหนุ่มอยู่ เคยมีหมอดูทำนายทายทักว่า “ลุงหมัก” จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย ซึ่งว่าไปแล้วคุณสมัคร สุนทรเวช อาจจะ “เชื่อครึ่ง ไม่เชื่อครึ่ง!” หรืออาจจะ “ละเมอเพ้อพก” ว่า “การทำนาย” นี้ อาจเป็นจริงสมหวังดังใจปรารถนาก็เป็นได้!
แต่เมื่อวันเวลาผ่านไปปีแล้วปีเล่า “ดวงดาว” ที่หวังไขว่คว้าก็ดูจะริบหรี่ลงทุกขณะ เนื่องด้วยการเป็นหัวหน้าพรรคประชากรไทยไม่สามารถที่จะระดมจำนวนที่นั่ง ส.ส.ได้มากที่สุด และที่สำคัญมากไปกว่านั้น คือ “ทุน” ที่นับวันปัจจัยเงินทุนนี้เริ่มเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญที่สุดสำหรับสนามการเมือง เพราะการเมืองได้เป็น “ธุรกิจ” ไปแล้ว โดยเฉพาะ “ธุรกิจการเมือง” ตั้งแต่ปี 2542-2543 เป็นต้นมา
“ลุงหมัก” คงเลิกล้มที่จะเดินทางหลายแสนลี้เหมือน “บิ๊กจิ๋ว” พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ในการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยหันหลังให้กับการเมืองไปหลายปีแล้ว ไปเอาดีทางการทำอาหารออกรายการโทรทัศน์ “ชิมไป บ่นไป” และพิธีกรรายการการเมืองทางจอโทรทัศน์
การก้าวขึ้นเป็น “ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร” เมื่อปี 2543-2549 คุณสมัคร สุนทรเวช คงคิดว่า “นี่ล่ะ! น่าจะเป็นคำทำนายของหมอดูว่าจะได้ดำรงตำแหน่งสูงสุดทางการเมือง” เพราะตำแหน่ง “ผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ” นั้น ก็ถือว่าเป็นตำแหน่งสูงสุดทางการเมืองระดับท้องถิ่นแล้ว
“ลุงหมัก” นั้นตามประวัติแล้ว ต้องบอกว่า “โชกโชน!” ในสนามการเมืองอย่างมาก โดยจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมทั้งเป็น “นักกิจกรรมตัวยง” และ “นักโต้วาที” ของ “ค่ายโดม”
หลังจากจบการศึกษาแล้วก็ได้เบนเข็มชีวิตสู่ “สื่อสารมวลชนการเมือง” ด้วยการเขียนบทความในหนังสือพิมพ์ “สยามรัฐ” และ “ชาวกรุง” และในที่สุดก็เขียนคอลัมน์ “มุมน้ำเงิน” ในหนังสือพิมพ์ “เดลิมิเรอร์” และกระโดดเข้ามาเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์นี้ช่วง 2531-2537
“ลุงหมัก” ได้เริ่มต้นชีวิตทางการเมือง ด้วยการสมัครเป็นสมาชิก “พรรคประชาธิปัตย์” เมื่อปี 2511 และเริ่มจากการลงสมัครเป็นสมาชิกสภาเทศบาลของกรุงเทพมหานคร ในปี 2514 และได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ครั้งแรกเมื่อปี 2518
การก้าวขึ้นสู่ตำแหน่ง “เสนาบดี-รัฐมนตรี” ของคุณสมัคร สุนทรเวช ตั้งแต่ปี 2518 ช่วงสมัยของ หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี ในช่วงสั้นๆ เพียงไม่กี่สัปดาห์กับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และได้เป็นรัฐมนตรีช่วยมหาดไทยอีกครั้งเพียงไม่กี่เดือนในสมัยของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช อีกครั้งหนึ่งเมื่อปี 2519
“ลุงหมัก” เริ่มโด่งดังจริงๆ จังๆ ทางการเมืองเมื่อขึ้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลสมัย คุณธานินทร์ กรัยวิเชียร และก็ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรองนายกรัฐมนตรีตามลำดับ เป็นช่วงๆ ตั้งแต่ปี 2526 จนถึงปี 2540
คุณสมัคร สุนทรเวช เป็นผู้ที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า “ขวาตกขอบ!” เนื่องด้วยโจมตี “ฝ่ายซ้าย : คอมมิวนิสต์” มาตั้งแต่เดินเข้าสู่เวทีการเมือง โดยเฉพาะเมื่อปี 2519 ได้มีบทบาทสำคัญในการปลุกระดมต่อต้านขบวนการนักศึกษา “เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519”
จากประวัติเส้นทาง “การเดินทางการเมือง” ของคุณสมัคร สุนทรเวช เราต่างต้องยอมรับว่า “โชกโชน!” ที่สุดบนสังเวียนการเมือง เรียกว่า “ล้มลุกคลุกคลาน-โชกเลือด” มายาวนานตลอด 30 กว่าปี พูดง่ายๆ คือ “ลุงหมัก” นั้นผ่าน “กระบวนศึก-กระบวนยุทธ์” ทางการเมืองจน “หนังเหนียว!” ก็แล้วกัน
ใครก็ตามที่บังอาจ “สบประมาท” หรือ “ดูหมิ่นดูแคลน” นายกรัฐมนตรี สมัคร สุนทรเวช ก็ต้องบอกได้เลยว่า “คิดผิด!” อย่างมหันต์ ความจริงที่เราต่างต้องยอมรับว่า นายกฯ สมัคร สุนทรเวช นั้น “เก๋า!” ที่สุดของบรรดานักการเมืองไทย จนสามารถเรียกขานได้ว่าเป็น “อภิมหาซูเปอร์มังกรการเมือง” จริงๆ ก็ว่าได้
จากที่เรียกว่า “ล้างมือในอ่างทองคำ” ไปแล้วตั้งแต่ปี 2547 กับตำแหน่งผู้ว่าฯ กรุงเทพมหานคร และลงสมัครเกือบได้เป็นสมาชิกวุฒิสภาเมื่อปี 2549 ซึ่งไม่ได้รับการรับรอง เพราะเกิด “รัฐประหาร-ยึดอำนาจ” เสียก่อน
คะแนนที่ “ลุงหมัก” ได้รับเลือกเป็นผู้ว่าฯ กทม. ได้คะแนนนับล้านเสียงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ของการเมืองท้องถิ่นอย่างกรุงเทพฯ และได้คะแนนจากสนามเลือกตั้งวุฒิสภาอย่างท่วมท้นเช่นเดียวกัน ส่อนัยว่า “ลุงหมัก” นั้นมี “แฟนพันธุ์แท้” เยอะมหาศาล
“แสงแดด” เชื่อว่าหลายๆ ฝ่ายคงคาดไม่ถึงว่า คุณสมัคร สุนทรเวช จะเป็นตัวเลือกของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มาให้เป็นหัวหน้าพรรคพลังประชาชน และยืดอกยอมรับด้วยว่าเป็น “นอมินี” ของทั้งคุณทักษิณ และพรรคไทยรักไทยเดิม
ในขณะเดียวกัน หลายฝ่ายก็ “ปรามาส” ว่า “ลุงหมัก” จะอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอย่างเก่งก็ไม่เกิน 6 เดือน เนื่องด้วย สารพัดคดี ทั้งส่วนตัวและยุบพรรค กอปรกับการถูกกลุ่มพันธมิตรฯ ขับไล่ เพราะเป็น “หุ่นเชิด” ให้อดีตนายกฯ ทักษิณ พูดง่ายๆ ก็คือ “ยอมทำตามคำสั่ง-ใบสั่ง” ทุกประการ
แต่กาลเวลาผ่านไป นับวันๆ เราจะสังเกตได้แจ่มแจ้งแดงแจ๋ว่า “ลุงหมัก” เริ่มมีฤทธิ์เดชมากขึ้น ในการที่จะทั้ง “ต่อรอง” และ “ประสาน” กับสถาบันหลักๆ ของชาติบ้านเมืองได้ โดยเฉพาะ “สถาบันเบื้องสูง” และ “สถาบันกองทัพ”
ประเด็นสำคัญที่ “ลุงหมัก” มีความรู้ความเข้าใจ “โครงสร้างอำนาจการเมืองการปกครองไทย” ได้ดีที่สุด โดยพยายามนำมาใช้เป็น “กำแพงอิง” อยู่ตั้งแต่นั้นมาที่เดินเข้าสู่ “ตึกไทยคู่ฟ้า”
นอกเหนือจากนั้น “ความเก๋า” ของนายกฯ สมัคร สุนทรเวช ตระหนักและสามารถทำให้ทั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และเหล่าบรรดาก๊ก ก๊วน ในพรรคพลังประชาชน “สงบ-สยบ ราบคาบ” ได้ ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงของสังคมการเมืองไทย “ระบบพรรคการเมือง” และ “จำนวนมือ ส.ส.” สำคัญและจำเป็นที่สุด เพียงแต่ “ลุงหมัก” นั้น “ตระหนัก-รู้ซึ้ง” ถึงโครงสร้างอำนาจการเมืองไทยอย่างแท้จริงและลึกซึ้งที่สุด
ทั้งนี้ “ลุงหมัก” ซาบซึ้งถึงสถานการณ์การเมืองปัจจุบันดีที่สุด แม้ว่าจะ “บ่น” ตลอดว่า “ต้นทุนต่ำ-โลว์คอสต์” แต่ก็เพราะ “ความเป็นโลว์คอสต์” ของ “ลุงหมัก” มิใช่หรือ ที่ทำให้ “ลุงหมัก” ยืนหยัดอย่างเหนียวแน่นในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้มาถึงเพียงนี้
บทความนี้เสมือนเป็นการเชียร์ลุงหมักอาจทำให้หลายๆ ฝ่าย “เหล่” มอง “แสงแดด” อย่างอารมณ์เสียก็เป็นได้
ความจริงที่เราต้องยอมรับว่า “ลุงหมัก” นั้น “เก๋า-เขี้ยวลากดิน-โชกโชน” ทางการเมืองมากจากประสบการณ์ 30 กว่าปี ดีไม่ดี “ลุงหมัก” จะอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วยการถูกขอร้องและค้ำยันไปอีกนาน ก็ไม่น่าจะคาดการณ์ผิดนัก!