เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ (25 ส.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านบริหารการเลือกตั้ง เป็นประธาน การประชุมเตรียมการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. กล่าวตอนหนึ่งในที่ประชุมว่า กรณีที่จะมีการแห่กลองยาวในวันเปิดรับสมัคร ให้ถือเป็นอำนาจหน้าที่ ของ กกต. กทม .ที่จะหารือกัน ว่าจะให้มีได้หรือไม่ เพราะอำนาจในการจัดการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.เป็นของ กกต. กทม. ซึ่ง กกต.กลาง จะไม่เข้าไปก้าวก่าย
นายพงษ์ศักดิ์ เสมสันต์ ปลัดกทม. กล่าวถึง แผนการเตรียมการจัดการเลือกตั้งว่า เป็นที่แน่ชัดแล้วว่ากกต.กทม. จะต้องเตรียมจัดการเลือกตั้งภายใน 45วัน โดยได้กำหนดวันรับสมัครอย่างไม่เป็นทางการ วันที่ 1-5 ก.ย. และจะลงคะแนนในวันที่ 5 ต.ค. โดย กกต.กทม.ได้กำหนดหน่วยเลือกตั้งไว้ประมาณ 6,337 หน่วย และจะใช้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งชุดเดิมในการเลือกตั้ง ส.ส.-ส.ว. ทั้งนี้ ทางกทม.จะสนับสนุนงบประมาณในการเลือกตั้ง จำนวน 154 ล้านบาท เพื่อให้การจัดการเลือกตั้งเกิดความสะดวก เป็นธรรม และเป็นกลาง ส่วนการนับคะแนนยังคงใช้กฎหมายเดิม คือนับคะแนนที่เขตเลือกตั้ง ซึ่งทาง กกต.กทม.ได้ซักซ้อมเตรียมความพร้อม ไว้หากประชาชนเกิดความสงสัย
นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ได้ตั้งคณะกรรมการเตรียมการเลือกตั้งไว้หลายชุด เพื่อตรวจสอบ ดูแล และปรับปรุง การจัดการเลือกตั้งโดยเฉพาะในช่วงนี้ อยู่ในช่วงฤดูฝนอาจทำให้มีฝนตกหนักในวันเลือกตั้ง จึงให้ฝ่ายตรวจการ ดูแลและอำนวยความสะดวกในพื้นที่เพื่อป้องกัน ปัญหาน้ำท่วม และพายุฝน
อย่างไรก็ตาม ในวันศุกร์นี้จะประชุมทบทวนแผนการให้ชัดเจนยิ่งขึ้นโดยจะไม่พยายามย้ายหน่วยเลือกตั้งอออกจากจุดเดิม เพราะเคยประสบปัญหาประชาชนมองไม่เห็นหน่วยเลือกตั้ง หรือถ้าจำเป็นจะต้องย้ายก็จะย้ายไปใกล้เคียงจุดเดิมที่สุด และจะทำหนังสือแจ้งให้ผู้มีสิทธิ์ เลือกตั้งทราบ
ขณะที่นายวรภัทร วงศ์ปราโมทย์ ผอ.ฝ่ายจัดพิมพ์บัตรเลือกตั้ง กล่าวถึงการพิมพ์บัตรเลือกตั้งว่า กกต.กทม.ได้มีหนังสือแจงขอให้ ทางกกต.กลางจัดพิมพ์บัตรเลือกตั้ง 4.5 ล้านฉบับ แต่เมื่อคำนวณผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง จำนวน 4.2 ล้านคน ก็จะต้องพิมพ์เกิน 7% คือ 4.4 ล้านฉบับ โดยใช้วิธีจัดพิมพ์ในระบบจีทูจี ให้กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้จัดพิมพ์บัตร ซึ่งจะเริ่มพิมพ์ภายหลังปิดรับสมัครเลือกตั้ง ตั้งแต่วันที่ 6 -17 ก.ย.
ทั้งนี้ กกต.ได้ตั้ง กรรรมการเพื่อควบคุมดูแลการผลิตและดูแลเก็บรักษาบัตร ในห้องสตรองรูม (strong room) และจะประสานไปยัง กกต.กทม.ตั้ง กรรมการเสริมในการควบคุมการผลิต เพื่อให้เกิดความมั่นใจแก่ผู้สมัคร นอกจากนี้ยังตั้ง กรรมการรับมอบบัตรจำนวน 4.4 ล้านฉบับ เพื่อกระจายไปตามเขตต่างๆ และรายงานมายัง กกต. ทั้งนี้ เมื่อเขตใดได้รับบัตรแล้วขอให้เก็บบัตรในที่ปลอดภัยเพราะมีหลายเขต ที่รับบัตรไปครบแต่พอประทับตรา แล้วบัตรเลือกตั้งกลับหายไป 2-3 เล่ม
ด้าน พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา รองเลขาฯ ฝ่ายสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย กล่าวว่าขณะนี้ทราบว่า กกต. กทม.ได้จัดตั้งชุดป้องปราม หาข่าวทุจริตการเลือกตั้ง ซึ่งในวันเลือกตั้งทางศูนย์อำนวยการข่าวของ กกต.จะเปิดรับแจ้งเหตุตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ ขอฝากกกต.กทม.ไว้สองประเด็นคือ เรื่องของการนำบัตรประชาชนของผู้อื่นมาใช้สิทธิ์แทน อีกประเด็นหนึ่งคือ การจ่ายบัตรเลือกตั้งควรแจกให้เป็นระบบ มิเช่นั้นจะเป็นเหตุให้เกิดการเลือกตั้งไม่สุจริตได้
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า ในตอนท้านนายประพันธ์ ยังได้กล่าวเน้นย้ำ ในการจัดพิมพ์บัตรเลือกตั้ง ว่าการจัดพิมพ์บัตรเลือกตั้ง ถือมีความสำคัญมาก ขอให้ถือเป็นหัวใจ ในการจัดการเลือกตั้ง เพราะบัตรเลือกตั้งมีค่ามากกว่าเงิน ห้ามหาย และห้ามทำขาด ดังนั้น ทุกระบบที่ดูทุกขั้นตอนการผลิต การจัดพิมพ์บัตร รวมถึงการจัดเก็บ จะต้องมีความปลอดภัย เป็นอย่าง
นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต. ด้านบริหารการเลือกตั้ง ให้สัมภาษณ์ว่าได้เชิญ กกต.กทม. มาเพื่อหารือเกี่ยวกับการเตรียมการเลือกตั้ง ผู้ว่ากทม.ว่า แต่ละฝ่ายมีความพร้อมอย่างไร ซึ่งเท่าที่ทราบเบื้องต้นก็ได้มีการวางแผนงานเอาไว้แล้ว แต่ก็ต้องมาซักซ้อมกันอีกครั้งหนึ่ง เพราะต้องมีการประกาศอย่างเป็นทางการ ว่า จะรับสมัคร และเลือกตั้งได้เมื่อไร แต่เท่าที่ดูภาพรวมไม่น่ามีปัญหาอะไร เพราะทุกฝ่ายได้เตรียมความพร้อมอยู่แล้ว ส่วนผู้สมัคร ที่ได้มีการเปิดตัวไปบ้าง เช่น ป้ายต่างๆ ต้องอย่าลืมนำมาคำนวณเป็นค่าใช้จ่าย ในการเลือกตั้งด้วย เพราะอาจจะมีปัญหาได้ในภายหลัง
นายประพันธ์ ยังกล่าวอีกว่าในการเลือกตั้งท้องถิ่น กฎหมายไม่ได้ห้ามผู้สมัครสังกัดพรรคการเมือง หรือมีพรรคการเมืองสนับสนุน ทั้งนี้ ในการจัดการเลือกตั้ง กกต. เน้นย้ำความเป็นกลาง และข้าราชการที่เกี่ยวข้องก็ขอให้วางตัวเป็นกลาง เพราะมีมติ ครม.อยู่ คือจะต้องไม่ทำอะไรที่เป็นคุณเป็นโทษกับผู้สมัคร ไม่ช่วยเหลือผู้หนึ่งผู้ใดโดยไม่ถูกต้อง เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติทุกคนต้องปฏิบัติด้วยความเป็นกลาง
ทั้งนี้ เชื่อว่าประชาชนจะให้ความสนใจการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.มาก เพราะเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญ และกทม. ก็เป็นเมืองหลวง มีงบประมาณที่ต้องบริหารกว่าหมื่นล้านบาท ดังนั้นถ้าได้ผู้บริหารที่ดี ก็จะเป็นประโยชน์ต่อ กทม. อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลสถิติการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.เมื่อปี 2547 มีประชาชนอออกมาใช้สิทธิ 62 % ซึ่งการเลือกตั้งคราวนี้ ก็อยากจะรณรงค์เชิญชวนให้ ออกมาใช้สิทธิให้ถึง 70 %
นายพงษ์ศักดิ์ เสมสันต์ ปลัดกทม. กล่าวถึง แผนการเตรียมการจัดการเลือกตั้งว่า เป็นที่แน่ชัดแล้วว่ากกต.กทม. จะต้องเตรียมจัดการเลือกตั้งภายใน 45วัน โดยได้กำหนดวันรับสมัครอย่างไม่เป็นทางการ วันที่ 1-5 ก.ย. และจะลงคะแนนในวันที่ 5 ต.ค. โดย กกต.กทม.ได้กำหนดหน่วยเลือกตั้งไว้ประมาณ 6,337 หน่วย และจะใช้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งชุดเดิมในการเลือกตั้ง ส.ส.-ส.ว. ทั้งนี้ ทางกทม.จะสนับสนุนงบประมาณในการเลือกตั้ง จำนวน 154 ล้านบาท เพื่อให้การจัดการเลือกตั้งเกิดความสะดวก เป็นธรรม และเป็นกลาง ส่วนการนับคะแนนยังคงใช้กฎหมายเดิม คือนับคะแนนที่เขตเลือกตั้ง ซึ่งทาง กกต.กทม.ได้ซักซ้อมเตรียมความพร้อม ไว้หากประชาชนเกิดความสงสัย
นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ได้ตั้งคณะกรรมการเตรียมการเลือกตั้งไว้หลายชุด เพื่อตรวจสอบ ดูแล และปรับปรุง การจัดการเลือกตั้งโดยเฉพาะในช่วงนี้ อยู่ในช่วงฤดูฝนอาจทำให้มีฝนตกหนักในวันเลือกตั้ง จึงให้ฝ่ายตรวจการ ดูแลและอำนวยความสะดวกในพื้นที่เพื่อป้องกัน ปัญหาน้ำท่วม และพายุฝน
อย่างไรก็ตาม ในวันศุกร์นี้จะประชุมทบทวนแผนการให้ชัดเจนยิ่งขึ้นโดยจะไม่พยายามย้ายหน่วยเลือกตั้งอออกจากจุดเดิม เพราะเคยประสบปัญหาประชาชนมองไม่เห็นหน่วยเลือกตั้ง หรือถ้าจำเป็นจะต้องย้ายก็จะย้ายไปใกล้เคียงจุดเดิมที่สุด และจะทำหนังสือแจ้งให้ผู้มีสิทธิ์ เลือกตั้งทราบ
ขณะที่นายวรภัทร วงศ์ปราโมทย์ ผอ.ฝ่ายจัดพิมพ์บัตรเลือกตั้ง กล่าวถึงการพิมพ์บัตรเลือกตั้งว่า กกต.กทม.ได้มีหนังสือแจงขอให้ ทางกกต.กลางจัดพิมพ์บัตรเลือกตั้ง 4.5 ล้านฉบับ แต่เมื่อคำนวณผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง จำนวน 4.2 ล้านคน ก็จะต้องพิมพ์เกิน 7% คือ 4.4 ล้านฉบับ โดยใช้วิธีจัดพิมพ์ในระบบจีทูจี ให้กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้จัดพิมพ์บัตร ซึ่งจะเริ่มพิมพ์ภายหลังปิดรับสมัครเลือกตั้ง ตั้งแต่วันที่ 6 -17 ก.ย.
ทั้งนี้ กกต.ได้ตั้ง กรรรมการเพื่อควบคุมดูแลการผลิตและดูแลเก็บรักษาบัตร ในห้องสตรองรูม (strong room) และจะประสานไปยัง กกต.กทม.ตั้ง กรรมการเสริมในการควบคุมการผลิต เพื่อให้เกิดความมั่นใจแก่ผู้สมัคร นอกจากนี้ยังตั้ง กรรมการรับมอบบัตรจำนวน 4.4 ล้านฉบับ เพื่อกระจายไปตามเขตต่างๆ และรายงานมายัง กกต. ทั้งนี้ เมื่อเขตใดได้รับบัตรแล้วขอให้เก็บบัตรในที่ปลอดภัยเพราะมีหลายเขต ที่รับบัตรไปครบแต่พอประทับตรา แล้วบัตรเลือกตั้งกลับหายไป 2-3 เล่ม
ด้าน พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา รองเลขาฯ ฝ่ายสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย กล่าวว่าขณะนี้ทราบว่า กกต. กทม.ได้จัดตั้งชุดป้องปราม หาข่าวทุจริตการเลือกตั้ง ซึ่งในวันเลือกตั้งทางศูนย์อำนวยการข่าวของ กกต.จะเปิดรับแจ้งเหตุตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ ขอฝากกกต.กทม.ไว้สองประเด็นคือ เรื่องของการนำบัตรประชาชนของผู้อื่นมาใช้สิทธิ์แทน อีกประเด็นหนึ่งคือ การจ่ายบัตรเลือกตั้งควรแจกให้เป็นระบบ มิเช่นั้นจะเป็นเหตุให้เกิดการเลือกตั้งไม่สุจริตได้
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า ในตอนท้านนายประพันธ์ ยังได้กล่าวเน้นย้ำ ในการจัดพิมพ์บัตรเลือกตั้ง ว่าการจัดพิมพ์บัตรเลือกตั้ง ถือมีความสำคัญมาก ขอให้ถือเป็นหัวใจ ในการจัดการเลือกตั้ง เพราะบัตรเลือกตั้งมีค่ามากกว่าเงิน ห้ามหาย และห้ามทำขาด ดังนั้น ทุกระบบที่ดูทุกขั้นตอนการผลิต การจัดพิมพ์บัตร รวมถึงการจัดเก็บ จะต้องมีความปลอดภัย เป็นอย่าง
นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต. ด้านบริหารการเลือกตั้ง ให้สัมภาษณ์ว่าได้เชิญ กกต.กทม. มาเพื่อหารือเกี่ยวกับการเตรียมการเลือกตั้ง ผู้ว่ากทม.ว่า แต่ละฝ่ายมีความพร้อมอย่างไร ซึ่งเท่าที่ทราบเบื้องต้นก็ได้มีการวางแผนงานเอาไว้แล้ว แต่ก็ต้องมาซักซ้อมกันอีกครั้งหนึ่ง เพราะต้องมีการประกาศอย่างเป็นทางการ ว่า จะรับสมัคร และเลือกตั้งได้เมื่อไร แต่เท่าที่ดูภาพรวมไม่น่ามีปัญหาอะไร เพราะทุกฝ่ายได้เตรียมความพร้อมอยู่แล้ว ส่วนผู้สมัคร ที่ได้มีการเปิดตัวไปบ้าง เช่น ป้ายต่างๆ ต้องอย่าลืมนำมาคำนวณเป็นค่าใช้จ่าย ในการเลือกตั้งด้วย เพราะอาจจะมีปัญหาได้ในภายหลัง
นายประพันธ์ ยังกล่าวอีกว่าในการเลือกตั้งท้องถิ่น กฎหมายไม่ได้ห้ามผู้สมัครสังกัดพรรคการเมือง หรือมีพรรคการเมืองสนับสนุน ทั้งนี้ ในการจัดการเลือกตั้ง กกต. เน้นย้ำความเป็นกลาง และข้าราชการที่เกี่ยวข้องก็ขอให้วางตัวเป็นกลาง เพราะมีมติ ครม.อยู่ คือจะต้องไม่ทำอะไรที่เป็นคุณเป็นโทษกับผู้สมัคร ไม่ช่วยเหลือผู้หนึ่งผู้ใดโดยไม่ถูกต้อง เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติทุกคนต้องปฏิบัติด้วยความเป็นกลาง
ทั้งนี้ เชื่อว่าประชาชนจะให้ความสนใจการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.มาก เพราะเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญ และกทม. ก็เป็นเมืองหลวง มีงบประมาณที่ต้องบริหารกว่าหมื่นล้านบาท ดังนั้นถ้าได้ผู้บริหารที่ดี ก็จะเป็นประโยชน์ต่อ กทม. อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลสถิติการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.เมื่อปี 2547 มีประชาชนอออกมาใช้สิทธิ 62 % ซึ่งการเลือกตั้งคราวนี้ ก็อยากจะรณรงค์เชิญชวนให้ ออกมาใช้สิทธิให้ถึง 70 %