ท่านผู้อ่านที่สนใจข่าวการเมือง และติดตามมาตลอดก็คงจะจำได้ว่าข่าวการสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ได้เกิดขึ้นมานานหลายปี และที่มีข่าวมาเป็นระยะก็คือ การเลือกสถานที่เพื่อทำการก่อสร้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปี 2544-2548 อันเป็นช่วงเวลาที่นายอุทัย พิมพ์ใจชน ดำรงตำแหน่งประธาน ได้มีการว่าจ้างมหาวิทยาลัยมหิดลมาทำการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมพื้นที่ซึ่งจะนำมาก่อสร้าง 5 แห่ง คือ
1. เกียกกาย
2.เวิ้งรถไฟจตุจักร
3. บางน้ำเปรี้ยว ฉะเชิงเทรา
4. กองคลังแสง กรมสรรพาวุธ ปากเกร็ด
5. เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
จากการศึกษาเปรียบเทียบผลกระทบสิ่งแวดล้อมของสถานที่ทั้ง 5 แห่งดังกล่าวข้างต้น ปรากฏว่าเกียกกายได้คะแนนเป็นอันดับสุดท้าย หรือพูดง่ายๆ ก็คือ มีความเหมาะสมที่จะทำการสร้างน้อยที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากว่าเป็นบริเวณที่มีการจราจรติดขัดสูง มีชุมชนมาก มีโรงเรียน 2 แห่ง และมีวัดอยู่ด้วย
ยิ่งกว่านี้ หลังจากที่ผลการศึกษาปรากฏออกมา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ได้เลือกที่จะก่อสร้างที่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และได้ทำแบบจำลองออกมา 2-3 แบบ และได้ตั้งแสดงไว้ที่อาคารรัฐสภา แต่โครงการสร้างอาคารรัฐสภาที่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ของนายอุทัย พิมพ์ใจชน ก็ไม่ถึงดวงดาวเมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นได้ออกมาคัดค้านหลังจากที่ไปตรวจเยี่ยมคลังแสงที่นนทบุรี และได้ลงนามตรวจเยี่ยมว่าขอบคุณที่คลังแสงจะให้ที่สร้างอาคารรัฐสภา ต่อจากนั้นได้มีการสร้างแบบจำลองอาคารรัฐสภา ณ ที่คลังแสงอีก 2 แบบ แล้วประกาศไม่เอาพื้นที่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
จากความเป็นมาในการเลือกพื้นที่เพื่อการสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ จะเห็นได้ชัดเจนว่า มีการเลือกแล้วถึง 2 ครั้งโดยคนสองคน คือ นายอุทัย พิมพ์ใจชน ในฐานะผู้นำฝ่ายนิติบัญญัติได้เลือกที่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในฐานะผู้นำฝ่ายบริหารได้เลือกคลังแสง กรมสรรพาวุธที่นนทบุรี ทั้งสองแห่งได้มีการลงทุนสร้างแบบจำลองแล้วแห่งละสองสามแบบ ทำให้เกิดค่าลงทุนเบื้องต้นแล้วส่วนหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะไม่มากนักเมื่อเทียบกับจำนวนเงินโดยรวมทั้งโครงการ แต่ก็เป็นเงินจากภาษีประชาชน
ดังนั้น การที่นายชัย ชิดชอบ ผู้นำฝ่ายนิติบัญญัติ และนายสมัคร สุนทรเวช ผู้นำฝ่ายบริหารได้เปลี่ยนใจจากที่ทั้งสองแห่งดังกล่าวข้างต้น โดยหันมาเลือกที่เกียกกายซึ่งเป็นที่ที่มีความเหมาะสมตามผลของการศึกษาเมื่อเทียบกับสองแห่งที่ได้มีการสร้างแบบจำลองไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม ในทันทีที่ข่าวออกไปว่าจะมีการสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ที่เกียกกาย ก็ได้มีกระแสต่อต้านจากนักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนที่ได้รับผลกระทบจากการที่โรงเรียนจะถูกรื้อ และย้ายไปยังสถานที่แห่งใหม่
ส่วนว่าผลของการออกมาคัดค้านของบรรดาผู้ที่ได้รับผลกระทบจะสามารถยับยั้ง และทำให้ผู้ที่จะดำเนินการทั้งในส่วนขององค์กรนิติบัญญัติ และองค์กรบริหารได้ทบทวนหรือไม่ประการใด คงจะต้องรอดูกันต่อไปอีกระยะหนึ่ง
แต่ในขั้นนี้ ผู้เขียนเชื่อว่ารัฐบาลภายใต้การนำของนายสมัคร สุนทรเวช คงจะเดินหน้าต่อไปตามอุปนิสัยขั้นพื้นฐานที่มีความมั่นใจในตัวเองสูง และฟังคนอื่นน้อย ส่วนว่าเดินหน้าแล้วจะถึงจุดหมายหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับภาวะแวดล้อมดังต่อไปนี้
1. ถึงนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีจะมุ่งมั่นในการที่จะก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ที่เกียกกาย โดยไม่ฟังคำทัดทานของผู้ได้รับผลกระทบคือ นักเรียน และผู้ปกครองที่ออกมาคัดค้าน ก็ใช่ว่าโครงการที่ว่านี้จะลุล่วงไปได้โดยง่าย เพราะยังมีเงื่อนไขต่างๆ ที่เป็นข้อจำกัดในการดำรงตำแหน่งของนายสมัคร สุนทรเวช เอง ด้วย จะมีเวลาพอที่จะอยู่ได้ถึงวันที่ลงนามในสัญญาก่อสร้างที่เคยบอกไว้ว่าจะเป็นเดือนธันวาคมได้หรือไม่ และเงื่อนไขแห่งเวลาที่จะทำให้นายกฯ สมัครอยู่ไม่ถึงวันนั้นก็มีอยู่ ทั้งในส่วนของการเมืองที่บีบคั้นจนทำให้ถึงทางตันและต้องยุบสภาฯ หรือไม่ก็เกิดจากเงื่อนไขแห่งคดีความส่วนตัวที่มีอยู่หลายคดี ถ้าบังเอิญคดีใดคดีหนึ่งขึ้นสู่ศาลและปรากฏว่า ศาลรับฟ้องก็มีผลให้ต้องพักการทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีได้ นี่คือเงื่อนไขประการหนึ่ง
2. ถึงแม้รัฐบาล และสภาฯ ชุดนี้จะอยู่นานพอที่จะมีการลงนามในสัญญาก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ได้ แต่ถ้าดูจากปัจจัยทางด้านการเงินที่บีบคั้นให้รัฐบาลต้องประหยัด และต้องทบทวนโครงการที่จำเป็นน้อย และควรชะลอไปก่อน ก็อาจจะทำให้โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ต้องได้รับผลกระทบไปด้วย
ถ้ามองในแง่ของสังคมวันนี้ ถ้ารัฐบาลใจกว้างและจัดทำประชาพิจารณ์เกี่ยวกับโครงการนี้เชื่อว่าสังคมส่วนใหญ่ถึงแม้จะเห็นด้วยกับการที่จะต้องมีรัฐสภาแห่งใหม่แทนที่เก่าซึ่งคับแคบ แต่ก็ต้องไม่เห็นด้วยกับการใช้เงินจำนวนมหาศาลในภาวะที่ประเทศขัดสนเช่นในยามนี้
อีกประการหนึ่ง ถ้ามองในแง่ของผลประโยชน์อันจะเกิดขึ้นแก่องค์กรนิติบัญญัติที่ได้จากการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ณ บริเวณเกียกกายแห่งนี้ เมื่อเทียบกับที่อื่นอีกสองแห่งที่เคยเตรียมการสร้างแบบจำลองแล้วจะมีน้อยกว่า ทั้งนี้ด้วยเหตุผลในเชิงตรรกศาสตร์ดังต่อไปนี้
1. บริเวณเกียกกาย ถ้าดูจากผลกระทบสิ่งแวดล้อมจะเห็นว่ามีทั้งชุมชนที่อยู่อาศัย วัด และโรงเรียนอีก 2 แห่ง ในเนื้อที่ประมาณ 119 ไร่ ถ้ามีการก่อสร้างเกิดขึ้นก็ต้องย้ายทั้งชุมชน วัด และโรงเรียนออกไป ผลกระทบที่ได้รับก็จะมีมากเมื่อเทียบกับบริเวณคลังแสง กรมสรรพาวุธที่จังหวัดนนทบุรี ซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้กรุงเทพฯ ที่มีเนื้อที่ 200 กว่าไร่ และไม่มีชุมชนให้ต้องมีการโยกย้ายเหมือนที่เกียกกาย ประกอบกับถ้ามีการสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ที่เกียกกาย ส.ส. และข้าราชการรัฐสภาจะเดินทางมาทำงานต้องประสบปัญหาการจราจรแออัดแน่นอน เพราะในขณะนี้ทั้งที่ไม่มีสถานที่ทำการขนาดใหญ่ เช่น รัฐสภาเกิดขึ้นรถก็ติดอยู่แล้ว ถ้ามีรัฐสภาเกิดขึ้นรถจะติดเพิ่มมากขึ้นขนาดไหน นี่มองแค่จำนวน ส.ส. และเจ้าหน้าที่เดินทางมาทำงานตามปกติ ถ้ามองเลยไปว่า เมื่อมีรัฐสภาแล้วจะมีผู้ประท้วงเดินทางมาปักหลักชุมนุมด้วยก็ทำให้มองเห็นภาพรถติดได้อย่างเป็นรูปธรรมขึ้นไปอีก
แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าไปก่อสร้างที่คลังแสง นนทบุรี ที่มีเส้นทางไปได้หลายทาง ประกอบกับอยู่นอกเมืองออกไป การเดินทางสะดวกแน่นอน ไม่ต้องพูดถึงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาที่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ที่อยู่เมืองใหม่ออกไป เพราะที่นั่นปัญหารถติดคงไม่มีแน่นอน แต่ก็มีปัญหาเรื่องการเดินทางไปประชุมของผู้ไปประชุมทั้ง ส.ส.และ ส.ว. รวมไปถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐสภาจะได้รับผลกระทบจากการเดินทางไกล และปัญหาการย้ายที่อยู่ไปประจำที่ทำงานแห่งใหม่ของข้าราชการรัฐสภา ดังนั้นเมื่อมองปัญหาโดยรวมแล้ว จะเห็นได้ว่าการก่อสร้างอาคารที่เกียกกายไม่น่าจะเหมาะสม
2. ถ้ามองในแง่ของความจำเป็นเร่งด่วนในการใช้งาน และปัญหาการเงินการคลังของประเทศในเวลานี้แล้ว บอกได้เลยว่าการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ไม่ควรจะเกิดขึ้นในเวลานี้ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1. อาคารรัฐสภาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ถ้ามองในแง่ของการจัดประชุมเพียงอย่างเดียวก็เพียงพอ จะมีปัญหาก็เพียงสถานที่จอดรถของผู้มาประชุม และผู้มาติดต่อบ้าง แต่ก็พอจะแก้ไขได้โดยการจัดรถรับส่งแบ่งออกเป็นสายๆ เพื่อรองรับการเดินทางของ ส.ส.และ ส.ว. ผู้ที่ไม่ต้องการนำรถเข้ามาเพราะหาที่จอดรถยาก
ส่วนผู้มาติดต่อเมื่อมีเงื่อนไขและข้อจำกัดที่ว่ารัฐสภามีพื้นที่ไม่เพียงพอ เชื่อว่าทุกคนคงจะปรับตัวได้ด้วยการเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะได้
2. ถ้าจะอ้างความสะดวกสบายและความโอ่อ่ามีหน้ามีตาให้กับองค์กรนิติบัญญัติด้วยการมีอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ก็จะสามารถลบล้างข้ออ้างได้ง่าย เพียงแค่ดูข้อจำกัดทางด้านการเงินการคลังของประเทศ และนำเอาความเจริญทางวัตถุกับคุณธรรมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องมาทบทวนว่าควรทำเรื่องไหนก่อน ก็คงได้คำตอบว่า เอาที่เดิม แต่ให้พัฒนาคนก่อนจะดีกว่า
1. เกียกกาย
2.เวิ้งรถไฟจตุจักร
3. บางน้ำเปรี้ยว ฉะเชิงเทรา
4. กองคลังแสง กรมสรรพาวุธ ปากเกร็ด
5. เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
จากการศึกษาเปรียบเทียบผลกระทบสิ่งแวดล้อมของสถานที่ทั้ง 5 แห่งดังกล่าวข้างต้น ปรากฏว่าเกียกกายได้คะแนนเป็นอันดับสุดท้าย หรือพูดง่ายๆ ก็คือ มีความเหมาะสมที่จะทำการสร้างน้อยที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากว่าเป็นบริเวณที่มีการจราจรติดขัดสูง มีชุมชนมาก มีโรงเรียน 2 แห่ง และมีวัดอยู่ด้วย
ยิ่งกว่านี้ หลังจากที่ผลการศึกษาปรากฏออกมา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ได้เลือกที่จะก่อสร้างที่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และได้ทำแบบจำลองออกมา 2-3 แบบ และได้ตั้งแสดงไว้ที่อาคารรัฐสภา แต่โครงการสร้างอาคารรัฐสภาที่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ของนายอุทัย พิมพ์ใจชน ก็ไม่ถึงดวงดาวเมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นได้ออกมาคัดค้านหลังจากที่ไปตรวจเยี่ยมคลังแสงที่นนทบุรี และได้ลงนามตรวจเยี่ยมว่าขอบคุณที่คลังแสงจะให้ที่สร้างอาคารรัฐสภา ต่อจากนั้นได้มีการสร้างแบบจำลองอาคารรัฐสภา ณ ที่คลังแสงอีก 2 แบบ แล้วประกาศไม่เอาพื้นที่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
จากความเป็นมาในการเลือกพื้นที่เพื่อการสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ จะเห็นได้ชัดเจนว่า มีการเลือกแล้วถึง 2 ครั้งโดยคนสองคน คือ นายอุทัย พิมพ์ใจชน ในฐานะผู้นำฝ่ายนิติบัญญัติได้เลือกที่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในฐานะผู้นำฝ่ายบริหารได้เลือกคลังแสง กรมสรรพาวุธที่นนทบุรี ทั้งสองแห่งได้มีการลงทุนสร้างแบบจำลองแล้วแห่งละสองสามแบบ ทำให้เกิดค่าลงทุนเบื้องต้นแล้วส่วนหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะไม่มากนักเมื่อเทียบกับจำนวนเงินโดยรวมทั้งโครงการ แต่ก็เป็นเงินจากภาษีประชาชน
ดังนั้น การที่นายชัย ชิดชอบ ผู้นำฝ่ายนิติบัญญัติ และนายสมัคร สุนทรเวช ผู้นำฝ่ายบริหารได้เปลี่ยนใจจากที่ทั้งสองแห่งดังกล่าวข้างต้น โดยหันมาเลือกที่เกียกกายซึ่งเป็นที่ที่มีความเหมาะสมตามผลของการศึกษาเมื่อเทียบกับสองแห่งที่ได้มีการสร้างแบบจำลองไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม ในทันทีที่ข่าวออกไปว่าจะมีการสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ที่เกียกกาย ก็ได้มีกระแสต่อต้านจากนักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนที่ได้รับผลกระทบจากการที่โรงเรียนจะถูกรื้อ และย้ายไปยังสถานที่แห่งใหม่
ส่วนว่าผลของการออกมาคัดค้านของบรรดาผู้ที่ได้รับผลกระทบจะสามารถยับยั้ง และทำให้ผู้ที่จะดำเนินการทั้งในส่วนขององค์กรนิติบัญญัติ และองค์กรบริหารได้ทบทวนหรือไม่ประการใด คงจะต้องรอดูกันต่อไปอีกระยะหนึ่ง
แต่ในขั้นนี้ ผู้เขียนเชื่อว่ารัฐบาลภายใต้การนำของนายสมัคร สุนทรเวช คงจะเดินหน้าต่อไปตามอุปนิสัยขั้นพื้นฐานที่มีความมั่นใจในตัวเองสูง และฟังคนอื่นน้อย ส่วนว่าเดินหน้าแล้วจะถึงจุดหมายหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับภาวะแวดล้อมดังต่อไปนี้
1. ถึงนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีจะมุ่งมั่นในการที่จะก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ที่เกียกกาย โดยไม่ฟังคำทัดทานของผู้ได้รับผลกระทบคือ นักเรียน และผู้ปกครองที่ออกมาคัดค้าน ก็ใช่ว่าโครงการที่ว่านี้จะลุล่วงไปได้โดยง่าย เพราะยังมีเงื่อนไขต่างๆ ที่เป็นข้อจำกัดในการดำรงตำแหน่งของนายสมัคร สุนทรเวช เอง ด้วย จะมีเวลาพอที่จะอยู่ได้ถึงวันที่ลงนามในสัญญาก่อสร้างที่เคยบอกไว้ว่าจะเป็นเดือนธันวาคมได้หรือไม่ และเงื่อนไขแห่งเวลาที่จะทำให้นายกฯ สมัครอยู่ไม่ถึงวันนั้นก็มีอยู่ ทั้งในส่วนของการเมืองที่บีบคั้นจนทำให้ถึงทางตันและต้องยุบสภาฯ หรือไม่ก็เกิดจากเงื่อนไขแห่งคดีความส่วนตัวที่มีอยู่หลายคดี ถ้าบังเอิญคดีใดคดีหนึ่งขึ้นสู่ศาลและปรากฏว่า ศาลรับฟ้องก็มีผลให้ต้องพักการทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีได้ นี่คือเงื่อนไขประการหนึ่ง
2. ถึงแม้รัฐบาล และสภาฯ ชุดนี้จะอยู่นานพอที่จะมีการลงนามในสัญญาก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ได้ แต่ถ้าดูจากปัจจัยทางด้านการเงินที่บีบคั้นให้รัฐบาลต้องประหยัด และต้องทบทวนโครงการที่จำเป็นน้อย และควรชะลอไปก่อน ก็อาจจะทำให้โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ต้องได้รับผลกระทบไปด้วย
ถ้ามองในแง่ของสังคมวันนี้ ถ้ารัฐบาลใจกว้างและจัดทำประชาพิจารณ์เกี่ยวกับโครงการนี้เชื่อว่าสังคมส่วนใหญ่ถึงแม้จะเห็นด้วยกับการที่จะต้องมีรัฐสภาแห่งใหม่แทนที่เก่าซึ่งคับแคบ แต่ก็ต้องไม่เห็นด้วยกับการใช้เงินจำนวนมหาศาลในภาวะที่ประเทศขัดสนเช่นในยามนี้
อีกประการหนึ่ง ถ้ามองในแง่ของผลประโยชน์อันจะเกิดขึ้นแก่องค์กรนิติบัญญัติที่ได้จากการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ณ บริเวณเกียกกายแห่งนี้ เมื่อเทียบกับที่อื่นอีกสองแห่งที่เคยเตรียมการสร้างแบบจำลองแล้วจะมีน้อยกว่า ทั้งนี้ด้วยเหตุผลในเชิงตรรกศาสตร์ดังต่อไปนี้
1. บริเวณเกียกกาย ถ้าดูจากผลกระทบสิ่งแวดล้อมจะเห็นว่ามีทั้งชุมชนที่อยู่อาศัย วัด และโรงเรียนอีก 2 แห่ง ในเนื้อที่ประมาณ 119 ไร่ ถ้ามีการก่อสร้างเกิดขึ้นก็ต้องย้ายทั้งชุมชน วัด และโรงเรียนออกไป ผลกระทบที่ได้รับก็จะมีมากเมื่อเทียบกับบริเวณคลังแสง กรมสรรพาวุธที่จังหวัดนนทบุรี ซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้กรุงเทพฯ ที่มีเนื้อที่ 200 กว่าไร่ และไม่มีชุมชนให้ต้องมีการโยกย้ายเหมือนที่เกียกกาย ประกอบกับถ้ามีการสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ที่เกียกกาย ส.ส. และข้าราชการรัฐสภาจะเดินทางมาทำงานต้องประสบปัญหาการจราจรแออัดแน่นอน เพราะในขณะนี้ทั้งที่ไม่มีสถานที่ทำการขนาดใหญ่ เช่น รัฐสภาเกิดขึ้นรถก็ติดอยู่แล้ว ถ้ามีรัฐสภาเกิดขึ้นรถจะติดเพิ่มมากขึ้นขนาดไหน นี่มองแค่จำนวน ส.ส. และเจ้าหน้าที่เดินทางมาทำงานตามปกติ ถ้ามองเลยไปว่า เมื่อมีรัฐสภาแล้วจะมีผู้ประท้วงเดินทางมาปักหลักชุมนุมด้วยก็ทำให้มองเห็นภาพรถติดได้อย่างเป็นรูปธรรมขึ้นไปอีก
แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าไปก่อสร้างที่คลังแสง นนทบุรี ที่มีเส้นทางไปได้หลายทาง ประกอบกับอยู่นอกเมืองออกไป การเดินทางสะดวกแน่นอน ไม่ต้องพูดถึงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาที่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ที่อยู่เมืองใหม่ออกไป เพราะที่นั่นปัญหารถติดคงไม่มีแน่นอน แต่ก็มีปัญหาเรื่องการเดินทางไปประชุมของผู้ไปประชุมทั้ง ส.ส.และ ส.ว. รวมไปถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐสภาจะได้รับผลกระทบจากการเดินทางไกล และปัญหาการย้ายที่อยู่ไปประจำที่ทำงานแห่งใหม่ของข้าราชการรัฐสภา ดังนั้นเมื่อมองปัญหาโดยรวมแล้ว จะเห็นได้ว่าการก่อสร้างอาคารที่เกียกกายไม่น่าจะเหมาะสม
2. ถ้ามองในแง่ของความจำเป็นเร่งด่วนในการใช้งาน และปัญหาการเงินการคลังของประเทศในเวลานี้แล้ว บอกได้เลยว่าการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ไม่ควรจะเกิดขึ้นในเวลานี้ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1. อาคารรัฐสภาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ถ้ามองในแง่ของการจัดประชุมเพียงอย่างเดียวก็เพียงพอ จะมีปัญหาก็เพียงสถานที่จอดรถของผู้มาประชุม และผู้มาติดต่อบ้าง แต่ก็พอจะแก้ไขได้โดยการจัดรถรับส่งแบ่งออกเป็นสายๆ เพื่อรองรับการเดินทางของ ส.ส.และ ส.ว. ผู้ที่ไม่ต้องการนำรถเข้ามาเพราะหาที่จอดรถยาก
ส่วนผู้มาติดต่อเมื่อมีเงื่อนไขและข้อจำกัดที่ว่ารัฐสภามีพื้นที่ไม่เพียงพอ เชื่อว่าทุกคนคงจะปรับตัวได้ด้วยการเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะได้
2. ถ้าจะอ้างความสะดวกสบายและความโอ่อ่ามีหน้ามีตาให้กับองค์กรนิติบัญญัติด้วยการมีอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ก็จะสามารถลบล้างข้ออ้างได้ง่าย เพียงแค่ดูข้อจำกัดทางด้านการเงินการคลังของประเทศ และนำเอาความเจริญทางวัตถุกับคุณธรรมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องมาทบทวนว่าควรทำเรื่องไหนก่อน ก็คงได้คำตอบว่า เอาที่เดิม แต่ให้พัฒนาคนก่อนจะดีกว่า