เฮือกสุดท้ายก่อนหมดหมดลุ้น ไอ้โม่งสั่งสรรพากรบีบแบงก์ไทยพาณิชย์คาย 1.2 หมื่นล้าน ก่อนศาลยึดทรัพย์แม้ววันจันทร์ อ้างเป็นเงินภาษีบวกค่าปรับจากการขายหุ้นชินคอร์ปของโอ๊ค-เอม แฉให้สรรพากรภาค 1 ทำหนังสือเสนอรองอธิบดีฯ ชง รมช.คลัง ด้าน "ประดิษฐ์" ยอมรับไฟเขียวหลังรองอธิบดีเข้าพบเมื่อวันที่ 21 ส.ค. อ้างนำเงินเข้ากรมไม่ใช่คืนให้ทักษิณ หมอเลี้ยบอ้ำอึ้ง ปัดไม่ใช่หน้าที่คลัง ขณะที่ไทยพาณิชย์ถกเครียด ยึดตาม ป.ป.ช.ไม่ให้ถอน "สัก"ยันหมดสิทธิเพราะเข้าสู่ศาล ไม่มีหน่วยงานใดถอนอายัดได้
แหล่งข่าวกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ผู้มีอำนาจในกระทรวงการคลังสั่งการให้กรมสรรพากรทำจดหมายถึงธนาคารไทยพาณิชย์ให้คืนเงินที่ธนาคารอายัดบัญชีทรัพย์สินของนายพานทองแท้ และ น.ส.พิณทองทา ชินวัตร บุตรชายและบุตรสาว พ.ต.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อย่างน้อย 1.2 หมื่นล้านบาท โดยอ้างว่าเป็นวงเงินภาษีบวกค่าปรับเงินเพิ่ม
โดยร่างจดหมายอ้างว่า เนื่องจากกรมสรรพากรมีคำสั่งเรียกเก็บภาษีพร้อมค่าปรับเงินเพิ่มรวม 1.2 หมื่นล้านบาท จากนายพานทองแท้ และ น.ส.พิณทองทา ชินวัตร เป็นวงเงินที่เกิดจากบริษัท แอมเพิลริช อินเวสต์เมนต์ ขายหุ้นบริษัทชินคอร์ปให้แก่บุคคลทั้ง 2 จำนวน 329.2 ล้านหุ้น เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2549 ในราคาหุ้นละ 1 บาท ขณะที่ราคาตลาด 47.25 บาท ทำให้บุคคลทั้งสองมีกำไรกว่า 1.5 หมื่นล้านบาท เมื่อบุคคลทั้งสองไม่ยอมชำระภาษีดังกล่าว กรมสรรพากรจึงมีคำสั่งอายัดทรัพย์ของบุคคลทั้งสอง แต่ติดปัญหาว่า ทรัพย์สินของบุคคลทั้งสองถูก คตส.อายัดไว้ กรมสรรพากรจึงต้องการให้ธนาคารส่งเงินจำนวนดังกล่าวมาให้ โดยกรมฯ ได้แนบหนังสือที่แจ้งไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ด้วย
แหล่งข่าวกล่าวว่า ความพยายามดังกล่าวเกิดขึ้นหลังอัยการสูงสุดเตรียมยื่นฟ้องศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในคดีที่พ.ต.ท.ทักษิณร่ำรวยผิดปกติ 76,000 ล้านบาท โดยให้ยึดทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินในวันจันทร์ที่ 25 ส.ค.นี้ ไม่สามารถถอนคำสั่งอายัดทรัพย์สินได้จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา คาดว่าจะให้เวลาอีกนาน
ทั้งนี้ ธนาคารไทยพาณิชย์มีบัญชีเงินฝากที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำผิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ (คตส.) อายัดไว้มากที่สุดคือ 3.9 หมื่นล้านบาท การวางแผนเร่งด่วนครั้งนี้หากธนาคารฯ ยอมปลดอายัด 1.2 หมื่นล้านบาท ยังไม่มีใครรับประกันได้ว่าเงินจะเข้ากรมสรรพากร เนื่องจากคณะกรรมการอุทธรณ์ภาษีอาจวินิจฉัยเอื้อต่อนายพานทองแท้และ น.ส.พิณทองทาก็ได้ หากคณะกรรมการอุทธรณ์ลงมติว่าบุคคลทั้งสองไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งมีความเป็นไปได้ หากเป็นเช่นนั้นกรมสรรพากรต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้บุคคลทั้งสอง
"เป็นความเคลื่อนไหวที่มีเบื้องหลัง เนื่องจากก่อนที่อัยการสูงสุดจะสั่งฟ้องยึดทรัพย์ กรมสรรพากรก็ดำเนินการปกติคือส่งหนังสือทวงถามภาษีไปยังแบงก์พาณิชย์ที่อายัดเงิน แต่กฎหมายไม่อนุญาตให้แบงก์ปล่อยเงินออกมา เรื่องก็จบ กระทั่งข่าวอัยการส่งฟ้องศาลยึดทัพย์ ทำให้มีไอโม่งกระทรวงการคลังดิ้นรนครั้งใหญ่ก่อนจะหมดโอกาส ทั้งๆ ที่คณะกรรมการอุทธรณ์ภาษียังไม่วินิจฉัยออกมา" แหล่งข่าวกล่าวและว่า เมื่อวานนี้ (22 ส.ค.) ผู้บริหารบางรายยังเรียกประชุมเจ้าหน้าที่มาลงมติคะแนนเสียง 7 ต่อ 5 ให้ทำจดหมายไปถึง ป.ป.ช. เพื่อสอบถามเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ในประเด็นดังกล่าว
รายงานข่าวระบุว่า บ่ายวานนี้ หลังเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร ได้ยื่นจดหมายไปยังธนาคารไทยพาณิชย์ ผู้บริหารธนาคารได้มีการหารือ แต่ไม่ได้ข้อสรุป เนื่องจากเป็นเงินจำนวนมาก และหวั่นผลกระทบตามมา ที่สำคัญก่อนหน้านี้ทางธนาคารเคยทำหนังสือไปสอบถาม ป.ป.ช.แล้ว ได้รับคำตอบว่าไม่สามารถถอนอายัดเงินก้อนดังกล่าวได้ กระทั่งเวลา 17.00 น. ธนาคารฯ ยังไม่ได้ข้อสรุปในเรื่องดังกล่าว
แหล่งข่าวสรรพากรภาค 1 ระบุว่า เจ้าหน้าไม่ต้องการรับเช็ค เพราะไม่มีใครอยากจะเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ส่อว่าขัดต่อกฎหมาย โดยวานนี้ เปิดและปิดทำการตามเวลาปกติ โดยรอจนถึงเวลา 16.30 น.พบว่าไม่มีรายการรับเช็คจากธนาคารไทยพาณิชย์ ถือเป็นเรื่องที่ดีเพราะเรื่องดังกล่าวน่าจะเป็นการกระทำของบุคคลบางกลุ่มที่หวังผลประโยชน์มหาศาลจนยอมเสียศักดิ์ศรีความเป็นข้าราชการ
เลี้ยบปัดไม่ใช่หน้าที่คลัง
เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ผู้สื่อข่าวถามนพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ว่าเป็นผู้สั่งการหรือไม่ นพ.สุรพงษ์ ไม่ได้ตอบคำถามชัดเจนว่าเป็นผู้สั่งการหรือไม่ โดยกล่าวแต่เพียงว่า ไม่ใช่หน้าที่ของกระทรวงการคลัง ปัญหาขณะนี้อยู่ที่ว่าใครมีอำนาจดำเนินการในการอายัดบัญชีทรัพย์สิน และใครมีอำนาจถอนการอายัด ยกตัวอย่างเช่น ก่อนหน้านี้นายเกริก วณิกกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท. เคยพูดว่าการอายัดบัญชีทรัพย์สินในธนาคารพาณิชย์ ธนาคารก็ไม่เคยมารายงานให้ ธปท.ทราบ ดังนั้นในการถอนการอายัด ก็ไม่มีการรายงานเช่นกัน
ประดิษฐ์เผยที่มาสรรพากรชง
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง ในฐานะผู้กำกับดูแลกรมสรรพากร เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 21 ส.ค.ที่ผ่านมา นายอัษฎางค์ ศรีศุภรพันธ์ รองอธิบดีกรมสรรพากร เข้าพบเพื่อเสนอส่งหนังสือถึงธนาคารพาณิชย์ให้ส่งเงินที่ คตส.อายัดทรัพย์สินนายพานทองแท้และ น.ส.พิณทองทาเป็นเงินภาษีและค่าปรับเงินเพิ่มกว่าหมื่นล้านเพื่อนำเข้ากรมสรรพากร ตนจึงกำชับให้ดำเนินการโดยยึดหลักให้ถูกต้องตามกฎหมาย
"พอดีอธิบดี (นายศานิต ร่างน้อย) ไปราชการต่างประเทศ ไม่มีประเด็นเอาเงินไปให้ท่านทักษิณ ผมขืนทำอย่างนั้นผมก็ตาย ผมอยู่ไม่ได้หรอก ที่เห็นด้วยเพราะรองอธิบดีบอกว่าเป็นประโยชน์ของกรมสรรพากร และเป็นเรื่องถูกต้อง" นายประดิษฐ์กล่าว
“สัก” ย้ำสรรพากรไม่มีอำนาจ
นายสัก กอแสงเรือง อดีตโฆษกคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) กล่าวถึงกรณีคณะทำงานร่วมอัยการสูงสุด กับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เตรียมส่งสำนวนฟ้องศาล คดีร่ำรวยผิดปกติของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพื่อให้อายัดทรัพย์สินจำนวน 76,000 ล้านบาท ในวันจันทร์ที่ 25 ส.ค.นี้ว่า หลังจากยื่นฟ้องต่อศาลแล้วก็ต้องดำเนินการไปตามขั้นตอน โดยผู้ถูกกล่าวหาจะต้องมาพิสูจน์เอาทรัพย์สินคืนตามกระบวนการยุติธรรม
เมื่อถามว่าขณะนี้มีความพยายามบีบให้กรมสรรพากรดำเนินการขอคืนเงินอายัดดังกล่าวก่อนที่จะยื่นคดีฟ้องต่อศาล นายสัก กล่าวว่า เมื่อคดีเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของอัยการสูงสุดแล้ว ไม่มีหน่วยงานใดที่จะเข้ามาดำเนินการเพื่อถอนอายัดได้ โดยเฉพาะเป็นกรมสรรพากร เพราะไม่มีกฎหมายกำหนดให้ทำได้ กรมสรรพากรมีหน้าที่ในการตามจัดเก็บภาษีเท่านั้น เมื่อไม่มีกฎหมายกำหนดไว้ ไม่เข้าใจว่ากรมสรรพกรจะทำได้อย่างไร และใครจะไปสั่งได้ จึงอยากให้ทุกฝ่ายปล่อยให้เป็นไปตามขั้นตอนของศาลจะดีกว่า เนื่องจากที่ผ่านมาในระหว่างที่ คตส.มีมติอายัดทรัพย์สินจำนวนดังกล่าวได้เปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาเข้ามาพิสูจน์เพิกถอนการอายัดทรัพย์ แต่ไม่เห็นดำเนินการแต่อย่างใด ดังนั้นจึงต้องใช้อำนาจศาลต่อไปในการพิสูจน์ ใครจะเข้ามาดำเนินการระหว่างนี้ไม่ได้
คดีที่ดินรัชดาพิพากษา 17 ก.ย.51
วันเดียวกันที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง นายทองหล่อ โฉมงาม ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา เจ้าของสำนวนทุจริตซื้อขายที่ดินรัชดาภิเษกมูลค่า 772 ล้านบาทเศษ พร้อมองค์คณะรวม 9 คน ออกนั่งบัลลังก์ไต่สวนพยานจำเลยนัดสุดท้ายใน คดีหมายเลขดำที่ อม.1/2550 ที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และเป็นคู่สมรสเจ้าพนักงานเข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสียการทำสัญญากับรัฐ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152 และ 157 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 4 , 100 และ 122
โดยศาลได้มีคำสั่งให้เบิกตัวนายพิชิฏ ชื่นบาน ทนายความ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งเป็นนักโทษคดีละเมิดอำนาจศาลกรณีถุงเงิน 2 ล้านบาท จากเรือนจำมาไต่สวน ตามบัญชีเดิมพยานจำเลย แต่นายพิชิฏ ได้ยื่นคำร้องลงวันที่ 20 ส.ค.51 อ้างว่าประเด็นที่จะเบิกความนั้นนายพิชิฏ ผู้ร้องได้ส่งเอกสารทั้งหมดไว้ต่อศาลแล้ว จึงไม่ประสงค์จะมาเบิกความ
องค์คณะผู้พิพากษา พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า ตามคำร้องแสดงว่าผู้ร้องไม่มีข้อเท็จจริงที่เพิ่มเติมอีก กรณีจึงไม่จำต้องไต่สวนพยานปากนี้ และมีคำสั่งให้งดไต่สวนพยานปากนี้ ดังนั้นพยานจำเลยทั้งสองที่ยังไม่ได้ไต่สวนจึงเหลือเพียงตัวจำเลยทั้งสองซึ่งหลบหนีไปไม่มาศาลเท่านั้น จึงถือได้ว่าหมดพยานจำเลยทั้งสองแล้วและเห็นว่า พยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยทั้งสองที่ได้ไต่สวนมานั้นเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว จึงไม่เรียกพยานหลักฐานมาไต่สวนเพิ่มเติมอีก ให้ยกเลิกวันนัดที่ได้นัดไว้ คดีเสร็จสิ้นการไต่สวน จึงนัดฟังคำพิพากษา วันที่ 17 ก.ย.นี้ เวลา 10.00 น.
ทั้งนี้ หากคู่ความฝ่ายใดประสงค์จะแถลงการณ์ปิดคดีเป็นลายลักษณ์อักษรให้ยื่นมาภายในวันที่ 10 ก.ย.นี้ มิฉะนั้นจะถือว่าไม่ติดใจแถลงการณ์ปิดคดี
ภายหลัง นายเศกสรรค์ บางสมบุญ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ หัวหน้าคณะทำงานรับผิดชอบคดี กล่าวว่า ในวันที่ 26 ส.ค. คณะทำงานอัยการจะประชุมเพื่อร่างคำแถลงปิดคดี แล้วจะเสนอนายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด ก่อนยื่นต่อศาล ซึ่งอัยการมั่นใจในพยานหลักฐานที่ปรากฎในสำนวนสอบสวนของ คตส. ที่อัยการนำเสนอต่อศาลไปแล้วทั้งหมด
ด้านนายอเนก คำชุ่ม ทนายความจำเลย กล่าวว่า ระยะเวลา 2-3 เดือน ที่ตนเอง นายคำนวณ ชโลปถัมภ์ และทีมงาน ได้เข้ามารับผิดชอบคดีนี้แทน นายพิชิฎ ชื่นบาน ซึ่งได้รวบรวมเอกสารหลักฐานทั้งหมดในชั้นคตส.และชั้นศาลไว้เป็นอย่างดี ซึ่งถือเป็นความดีความชอบของนายพิชิฎ และต้องขอขอบคุณ นายพิชิฏ จากใจจริงของเพื่อน วันนี้ถือว่าเราทำได้ดีที่สุดแค่นี้ และพอใจกับพยานหลักฐานต่างๆได้เสนอศาลไปทั้งหมด
ผู้สื่อข่าวถาม ทีมทนายความจะยื่นคำแถลงปิดคดีแทน พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน หรือไม่ นายอเนก กล่าวว่าเดิมทีพวกตนหารือกันว่าจะไม่ยื่นแถลงการณ์ใดๆ เพราะพ.ต.ท.ทักษิณ ได้ถอนทีมทนายแล้ว แต่เมื่อทางศาลยังให้เราปฏิบัติหน้าที่อยู่ เราก็ทำตาม ส่วนจะยื่นแถลงปิดคดีหรือไม่นั้นคงยังไม่สามารถตอบได้เพราะยังมีเวลาตัดสินใจถึงวันที่ 10 ก.ย.นี้ ซึ่งก่อนอื่นทีมทนายคงต้องสรุปสำนวนทั้งหมดแจ้งต่อศาลตามหน้าที่ของทนายความ
เมื่อถามว่าหากไม่แถลงปิดคดีจะทำให้ฝ่ายจำเลยเสียเปรียบหรือไม่ นายอเนก กล่าวว่า ไม่เกี่ยว การแถลงหรือไม่แถลงปิดคดีไม่ได้ทำให้รูปคดีเสียไป ถ้ารูปคดีจะเสียไปมันขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานในสำนวนทั้งหมด
ถามต่อว่ามั่นใจว่าจะชนะคดีหรือไม่ นายอเนก กล่าวว่า ทุกคนชอบถามทนายเรื่อยว่าต้องการชนะคดีไหม มั่นใจแค่ไหน ตนคงไม่ตอบหรอก เพราะมันอยู่ในใจเราเอง แต่จำไว้อย่างหนึ่งว่าทนายอย่างพวกตนคือทนายความอาชีพ ทำทุกอย่างตรงไปตรงมาจากข้อเท็จจริงทั้งหมด การที่ พ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมาน ไม่มาให้การชั้นศาลด้วยตัวเอง คงไม่ใช่ข้อเสียเปรียบ เพราะจริงๆแล้วการพิจารณาคดีต่างๆจำเลยไม่ต้องเบิกความก็ได้ ยิ่งคดีอาญาศาลจะฟังพยานหลักฐานโจทก์และต้องสืบให้ได้ว่าจำเลยไม่ได้กระทำผิด ส่วนคำให้การของพ.ต.ท.ทักษิณ ที่ยื่นในชั้น ของคตส.และชั้นศาลก็มีกว่าร้อยหน้า ส่วนเนื้อหาไม่ใช่อันเดียวกันทั้งหมดแต่มีการเพิ่มเติมจากสิ่งที่ขาดตกบกพร่องไป และมีการโต้แย้งว่ากระบวนการสอบสวนของ คตส.ไม่ถูกต้องอย่างไร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าภายหลังที่ทีมทนายได้ฟังกระบวนการพิจารณาคดีในการนัดไต่สวนพยานจำเลยครั้งสุดท้ายแล้ว นายอเนก ได้เดินทางไปยังเรือนจำพิเศษกรุเทพ เพื่อไปแจ้งคำสั่งศาลให้นายพิชิฎ ทราบ
สุเทพแฉแม้วดิ้นทุกทางก่อน 17 ก.ย.
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่จะมีการพิจารณาคดีจัดซื้อที่ดินรัชดาของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีในวันที่ 17 ก.ย.นี้ว่า ขออย่าได้มีเหตุการณ์วุ่นวายอะไรเกิดขึ้น โดยพ.ต.ท.ทักษิณจะต่อสู้ทางการเมืองอย่างไร ก็ขอให้คิดถึงคนส่วนใหญ่ในประเทศ แม้จะเป็นผู้ชนะ แต่ถ้าอยู่ในสายตาที่ประชาชนแสดงความเกลียดชังความโกรธเคือง ก็ไม่ใช่ผู้ชนะที่จะยืนหยัดอยู่ได้ อย่างไรก็ตามส่วนตัวคิดว่าไม่มีอะไรที่จะมาหยุดยั้งกระบวนการยุติธรรมได้ ซึ่งตรงนี้เป็นความหวังเดียวของคนที่ ณ วันนี้ที่จะต้องช่วยกันดูแล
“ประชาชนเกรงว่าคนที่มีเงินทองมากมาย และกำลังจะสูญเสียทั้งอำนาจ อิทธิพล และเงินทองคงใช้วิธีการสารพัดรูปแบบเพื่อให้ตัวเองหลุดพ้นจากคดีความต่างๆ ไม่ติดคุก ไม่เสียเงิน แล้วให้ตัวเองกลับมามีอำนาจอีก คนพวกนี้พร้อมที่จะจ้างม็อบ สร้างเหตุการณ์วุ่นวายเพื่ออาศัยเป็นช่องทางให้ตัวเองหลุดพ้นจากกรณีที่ผูกพันอยู่ อิรุงตุงนังอยู่ คนก็ส่งข่าวบอกเรามาเรื่อยซึ่งเราก็ติดตาม เหมือนวันนั้นที่จะมีการเอาม็อบไปตีกันที่อุดรธานี ก็มีผู้หวังดีมาส่งข่าว แต่ไม่ทัน และเราคิดว่าเมื่อเราบอกกับสาธารณชน คนได้ยินกันทั่วๆ พวกนี้จะไม่กล้า แต่ที่จริงพวกนี้ไม่มีความละอาย ไม่มีความเกรงใจใคร ตั้งใจจะทำก็ทำ อันนี้น่ากลัว” นายสุเทพกล่าวและว่า ไม่ใช่เฉพาะพ.ต.ท.ทักษิณเท่านั้น ที่ยังคงเคลื่อนไหวโดยไม่เกรงกลัวกฎหมาย ทั้งที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญห้ามยุ่งเกี่ยวกับการเมือง และทุกเรื่องที่เป็นปัญหาอยู่ขณะนี้ เพราะทำผิดกฎหมาย ไม่ยำเกรงกฎหมาย และไม่ให้ความสำคัญกับหลักการปกครองแบบนิติรัฐ เพราะฉะนั้นจะไปนำเอามาตรฐานของคนเหล่านี้มาตัดสินยาก โดยหากจับไม่ได้ ไล่ไม่ทันก็จะมีการดำเนินการไปเรื่อย และไม่ใช่เฉพาะ พ.ต.ท.ทักษิณ หรือนายเนวิน ชิดชอบ แต่ยังมีอีกหลายคนใน 111 คนที่เข้ามาวุ่นวายกับการเมือง ซึ่งคนเหล่านี้ไม่หยุด เนื่องจากผู้รักษากฎหมายอยู่ภายใต้รัฐบาลของพวกเขา
แหล่งข่าวกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ผู้มีอำนาจในกระทรวงการคลังสั่งการให้กรมสรรพากรทำจดหมายถึงธนาคารไทยพาณิชย์ให้คืนเงินที่ธนาคารอายัดบัญชีทรัพย์สินของนายพานทองแท้ และ น.ส.พิณทองทา ชินวัตร บุตรชายและบุตรสาว พ.ต.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อย่างน้อย 1.2 หมื่นล้านบาท โดยอ้างว่าเป็นวงเงินภาษีบวกค่าปรับเงินเพิ่ม
โดยร่างจดหมายอ้างว่า เนื่องจากกรมสรรพากรมีคำสั่งเรียกเก็บภาษีพร้อมค่าปรับเงินเพิ่มรวม 1.2 หมื่นล้านบาท จากนายพานทองแท้ และ น.ส.พิณทองทา ชินวัตร เป็นวงเงินที่เกิดจากบริษัท แอมเพิลริช อินเวสต์เมนต์ ขายหุ้นบริษัทชินคอร์ปให้แก่บุคคลทั้ง 2 จำนวน 329.2 ล้านหุ้น เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2549 ในราคาหุ้นละ 1 บาท ขณะที่ราคาตลาด 47.25 บาท ทำให้บุคคลทั้งสองมีกำไรกว่า 1.5 หมื่นล้านบาท เมื่อบุคคลทั้งสองไม่ยอมชำระภาษีดังกล่าว กรมสรรพากรจึงมีคำสั่งอายัดทรัพย์ของบุคคลทั้งสอง แต่ติดปัญหาว่า ทรัพย์สินของบุคคลทั้งสองถูก คตส.อายัดไว้ กรมสรรพากรจึงต้องการให้ธนาคารส่งเงินจำนวนดังกล่าวมาให้ โดยกรมฯ ได้แนบหนังสือที่แจ้งไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ด้วย
แหล่งข่าวกล่าวว่า ความพยายามดังกล่าวเกิดขึ้นหลังอัยการสูงสุดเตรียมยื่นฟ้องศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในคดีที่พ.ต.ท.ทักษิณร่ำรวยผิดปกติ 76,000 ล้านบาท โดยให้ยึดทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินในวันจันทร์ที่ 25 ส.ค.นี้ ไม่สามารถถอนคำสั่งอายัดทรัพย์สินได้จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา คาดว่าจะให้เวลาอีกนาน
ทั้งนี้ ธนาคารไทยพาณิชย์มีบัญชีเงินฝากที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำผิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ (คตส.) อายัดไว้มากที่สุดคือ 3.9 หมื่นล้านบาท การวางแผนเร่งด่วนครั้งนี้หากธนาคารฯ ยอมปลดอายัด 1.2 หมื่นล้านบาท ยังไม่มีใครรับประกันได้ว่าเงินจะเข้ากรมสรรพากร เนื่องจากคณะกรรมการอุทธรณ์ภาษีอาจวินิจฉัยเอื้อต่อนายพานทองแท้และ น.ส.พิณทองทาก็ได้ หากคณะกรรมการอุทธรณ์ลงมติว่าบุคคลทั้งสองไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งมีความเป็นไปได้ หากเป็นเช่นนั้นกรมสรรพากรต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้บุคคลทั้งสอง
"เป็นความเคลื่อนไหวที่มีเบื้องหลัง เนื่องจากก่อนที่อัยการสูงสุดจะสั่งฟ้องยึดทรัพย์ กรมสรรพากรก็ดำเนินการปกติคือส่งหนังสือทวงถามภาษีไปยังแบงก์พาณิชย์ที่อายัดเงิน แต่กฎหมายไม่อนุญาตให้แบงก์ปล่อยเงินออกมา เรื่องก็จบ กระทั่งข่าวอัยการส่งฟ้องศาลยึดทัพย์ ทำให้มีไอโม่งกระทรวงการคลังดิ้นรนครั้งใหญ่ก่อนจะหมดโอกาส ทั้งๆ ที่คณะกรรมการอุทธรณ์ภาษียังไม่วินิจฉัยออกมา" แหล่งข่าวกล่าวและว่า เมื่อวานนี้ (22 ส.ค.) ผู้บริหารบางรายยังเรียกประชุมเจ้าหน้าที่มาลงมติคะแนนเสียง 7 ต่อ 5 ให้ทำจดหมายไปถึง ป.ป.ช. เพื่อสอบถามเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ในประเด็นดังกล่าว
รายงานข่าวระบุว่า บ่ายวานนี้ หลังเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร ได้ยื่นจดหมายไปยังธนาคารไทยพาณิชย์ ผู้บริหารธนาคารได้มีการหารือ แต่ไม่ได้ข้อสรุป เนื่องจากเป็นเงินจำนวนมาก และหวั่นผลกระทบตามมา ที่สำคัญก่อนหน้านี้ทางธนาคารเคยทำหนังสือไปสอบถาม ป.ป.ช.แล้ว ได้รับคำตอบว่าไม่สามารถถอนอายัดเงินก้อนดังกล่าวได้ กระทั่งเวลา 17.00 น. ธนาคารฯ ยังไม่ได้ข้อสรุปในเรื่องดังกล่าว
แหล่งข่าวสรรพากรภาค 1 ระบุว่า เจ้าหน้าไม่ต้องการรับเช็ค เพราะไม่มีใครอยากจะเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ส่อว่าขัดต่อกฎหมาย โดยวานนี้ เปิดและปิดทำการตามเวลาปกติ โดยรอจนถึงเวลา 16.30 น.พบว่าไม่มีรายการรับเช็คจากธนาคารไทยพาณิชย์ ถือเป็นเรื่องที่ดีเพราะเรื่องดังกล่าวน่าจะเป็นการกระทำของบุคคลบางกลุ่มที่หวังผลประโยชน์มหาศาลจนยอมเสียศักดิ์ศรีความเป็นข้าราชการ
เลี้ยบปัดไม่ใช่หน้าที่คลัง
เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ผู้สื่อข่าวถามนพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ว่าเป็นผู้สั่งการหรือไม่ นพ.สุรพงษ์ ไม่ได้ตอบคำถามชัดเจนว่าเป็นผู้สั่งการหรือไม่ โดยกล่าวแต่เพียงว่า ไม่ใช่หน้าที่ของกระทรวงการคลัง ปัญหาขณะนี้อยู่ที่ว่าใครมีอำนาจดำเนินการในการอายัดบัญชีทรัพย์สิน และใครมีอำนาจถอนการอายัด ยกตัวอย่างเช่น ก่อนหน้านี้นายเกริก วณิกกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท. เคยพูดว่าการอายัดบัญชีทรัพย์สินในธนาคารพาณิชย์ ธนาคารก็ไม่เคยมารายงานให้ ธปท.ทราบ ดังนั้นในการถอนการอายัด ก็ไม่มีการรายงานเช่นกัน
ประดิษฐ์เผยที่มาสรรพากรชง
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง ในฐานะผู้กำกับดูแลกรมสรรพากร เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 21 ส.ค.ที่ผ่านมา นายอัษฎางค์ ศรีศุภรพันธ์ รองอธิบดีกรมสรรพากร เข้าพบเพื่อเสนอส่งหนังสือถึงธนาคารพาณิชย์ให้ส่งเงินที่ คตส.อายัดทรัพย์สินนายพานทองแท้และ น.ส.พิณทองทาเป็นเงินภาษีและค่าปรับเงินเพิ่มกว่าหมื่นล้านเพื่อนำเข้ากรมสรรพากร ตนจึงกำชับให้ดำเนินการโดยยึดหลักให้ถูกต้องตามกฎหมาย
"พอดีอธิบดี (นายศานิต ร่างน้อย) ไปราชการต่างประเทศ ไม่มีประเด็นเอาเงินไปให้ท่านทักษิณ ผมขืนทำอย่างนั้นผมก็ตาย ผมอยู่ไม่ได้หรอก ที่เห็นด้วยเพราะรองอธิบดีบอกว่าเป็นประโยชน์ของกรมสรรพากร และเป็นเรื่องถูกต้อง" นายประดิษฐ์กล่าว
“สัก” ย้ำสรรพากรไม่มีอำนาจ
นายสัก กอแสงเรือง อดีตโฆษกคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) กล่าวถึงกรณีคณะทำงานร่วมอัยการสูงสุด กับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เตรียมส่งสำนวนฟ้องศาล คดีร่ำรวยผิดปกติของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพื่อให้อายัดทรัพย์สินจำนวน 76,000 ล้านบาท ในวันจันทร์ที่ 25 ส.ค.นี้ว่า หลังจากยื่นฟ้องต่อศาลแล้วก็ต้องดำเนินการไปตามขั้นตอน โดยผู้ถูกกล่าวหาจะต้องมาพิสูจน์เอาทรัพย์สินคืนตามกระบวนการยุติธรรม
เมื่อถามว่าขณะนี้มีความพยายามบีบให้กรมสรรพากรดำเนินการขอคืนเงินอายัดดังกล่าวก่อนที่จะยื่นคดีฟ้องต่อศาล นายสัก กล่าวว่า เมื่อคดีเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของอัยการสูงสุดแล้ว ไม่มีหน่วยงานใดที่จะเข้ามาดำเนินการเพื่อถอนอายัดได้ โดยเฉพาะเป็นกรมสรรพากร เพราะไม่มีกฎหมายกำหนดให้ทำได้ กรมสรรพากรมีหน้าที่ในการตามจัดเก็บภาษีเท่านั้น เมื่อไม่มีกฎหมายกำหนดไว้ ไม่เข้าใจว่ากรมสรรพกรจะทำได้อย่างไร และใครจะไปสั่งได้ จึงอยากให้ทุกฝ่ายปล่อยให้เป็นไปตามขั้นตอนของศาลจะดีกว่า เนื่องจากที่ผ่านมาในระหว่างที่ คตส.มีมติอายัดทรัพย์สินจำนวนดังกล่าวได้เปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาเข้ามาพิสูจน์เพิกถอนการอายัดทรัพย์ แต่ไม่เห็นดำเนินการแต่อย่างใด ดังนั้นจึงต้องใช้อำนาจศาลต่อไปในการพิสูจน์ ใครจะเข้ามาดำเนินการระหว่างนี้ไม่ได้
คดีที่ดินรัชดาพิพากษา 17 ก.ย.51
วันเดียวกันที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง นายทองหล่อ โฉมงาม ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา เจ้าของสำนวนทุจริตซื้อขายที่ดินรัชดาภิเษกมูลค่า 772 ล้านบาทเศษ พร้อมองค์คณะรวม 9 คน ออกนั่งบัลลังก์ไต่สวนพยานจำเลยนัดสุดท้ายใน คดีหมายเลขดำที่ อม.1/2550 ที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และเป็นคู่สมรสเจ้าพนักงานเข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสียการทำสัญญากับรัฐ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152 และ 157 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 4 , 100 และ 122
โดยศาลได้มีคำสั่งให้เบิกตัวนายพิชิฏ ชื่นบาน ทนายความ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งเป็นนักโทษคดีละเมิดอำนาจศาลกรณีถุงเงิน 2 ล้านบาท จากเรือนจำมาไต่สวน ตามบัญชีเดิมพยานจำเลย แต่นายพิชิฏ ได้ยื่นคำร้องลงวันที่ 20 ส.ค.51 อ้างว่าประเด็นที่จะเบิกความนั้นนายพิชิฏ ผู้ร้องได้ส่งเอกสารทั้งหมดไว้ต่อศาลแล้ว จึงไม่ประสงค์จะมาเบิกความ
องค์คณะผู้พิพากษา พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า ตามคำร้องแสดงว่าผู้ร้องไม่มีข้อเท็จจริงที่เพิ่มเติมอีก กรณีจึงไม่จำต้องไต่สวนพยานปากนี้ และมีคำสั่งให้งดไต่สวนพยานปากนี้ ดังนั้นพยานจำเลยทั้งสองที่ยังไม่ได้ไต่สวนจึงเหลือเพียงตัวจำเลยทั้งสองซึ่งหลบหนีไปไม่มาศาลเท่านั้น จึงถือได้ว่าหมดพยานจำเลยทั้งสองแล้วและเห็นว่า พยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยทั้งสองที่ได้ไต่สวนมานั้นเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว จึงไม่เรียกพยานหลักฐานมาไต่สวนเพิ่มเติมอีก ให้ยกเลิกวันนัดที่ได้นัดไว้ คดีเสร็จสิ้นการไต่สวน จึงนัดฟังคำพิพากษา วันที่ 17 ก.ย.นี้ เวลา 10.00 น.
ทั้งนี้ หากคู่ความฝ่ายใดประสงค์จะแถลงการณ์ปิดคดีเป็นลายลักษณ์อักษรให้ยื่นมาภายในวันที่ 10 ก.ย.นี้ มิฉะนั้นจะถือว่าไม่ติดใจแถลงการณ์ปิดคดี
ภายหลัง นายเศกสรรค์ บางสมบุญ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ หัวหน้าคณะทำงานรับผิดชอบคดี กล่าวว่า ในวันที่ 26 ส.ค. คณะทำงานอัยการจะประชุมเพื่อร่างคำแถลงปิดคดี แล้วจะเสนอนายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด ก่อนยื่นต่อศาล ซึ่งอัยการมั่นใจในพยานหลักฐานที่ปรากฎในสำนวนสอบสวนของ คตส. ที่อัยการนำเสนอต่อศาลไปแล้วทั้งหมด
ด้านนายอเนก คำชุ่ม ทนายความจำเลย กล่าวว่า ระยะเวลา 2-3 เดือน ที่ตนเอง นายคำนวณ ชโลปถัมภ์ และทีมงาน ได้เข้ามารับผิดชอบคดีนี้แทน นายพิชิฎ ชื่นบาน ซึ่งได้รวบรวมเอกสารหลักฐานทั้งหมดในชั้นคตส.และชั้นศาลไว้เป็นอย่างดี ซึ่งถือเป็นความดีความชอบของนายพิชิฎ และต้องขอขอบคุณ นายพิชิฏ จากใจจริงของเพื่อน วันนี้ถือว่าเราทำได้ดีที่สุดแค่นี้ และพอใจกับพยานหลักฐานต่างๆได้เสนอศาลไปทั้งหมด
ผู้สื่อข่าวถาม ทีมทนายความจะยื่นคำแถลงปิดคดีแทน พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน หรือไม่ นายอเนก กล่าวว่าเดิมทีพวกตนหารือกันว่าจะไม่ยื่นแถลงการณ์ใดๆ เพราะพ.ต.ท.ทักษิณ ได้ถอนทีมทนายแล้ว แต่เมื่อทางศาลยังให้เราปฏิบัติหน้าที่อยู่ เราก็ทำตาม ส่วนจะยื่นแถลงปิดคดีหรือไม่นั้นคงยังไม่สามารถตอบได้เพราะยังมีเวลาตัดสินใจถึงวันที่ 10 ก.ย.นี้ ซึ่งก่อนอื่นทีมทนายคงต้องสรุปสำนวนทั้งหมดแจ้งต่อศาลตามหน้าที่ของทนายความ
เมื่อถามว่าหากไม่แถลงปิดคดีจะทำให้ฝ่ายจำเลยเสียเปรียบหรือไม่ นายอเนก กล่าวว่า ไม่เกี่ยว การแถลงหรือไม่แถลงปิดคดีไม่ได้ทำให้รูปคดีเสียไป ถ้ารูปคดีจะเสียไปมันขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานในสำนวนทั้งหมด
ถามต่อว่ามั่นใจว่าจะชนะคดีหรือไม่ นายอเนก กล่าวว่า ทุกคนชอบถามทนายเรื่อยว่าต้องการชนะคดีไหม มั่นใจแค่ไหน ตนคงไม่ตอบหรอก เพราะมันอยู่ในใจเราเอง แต่จำไว้อย่างหนึ่งว่าทนายอย่างพวกตนคือทนายความอาชีพ ทำทุกอย่างตรงไปตรงมาจากข้อเท็จจริงทั้งหมด การที่ พ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมาน ไม่มาให้การชั้นศาลด้วยตัวเอง คงไม่ใช่ข้อเสียเปรียบ เพราะจริงๆแล้วการพิจารณาคดีต่างๆจำเลยไม่ต้องเบิกความก็ได้ ยิ่งคดีอาญาศาลจะฟังพยานหลักฐานโจทก์และต้องสืบให้ได้ว่าจำเลยไม่ได้กระทำผิด ส่วนคำให้การของพ.ต.ท.ทักษิณ ที่ยื่นในชั้น ของคตส.และชั้นศาลก็มีกว่าร้อยหน้า ส่วนเนื้อหาไม่ใช่อันเดียวกันทั้งหมดแต่มีการเพิ่มเติมจากสิ่งที่ขาดตกบกพร่องไป และมีการโต้แย้งว่ากระบวนการสอบสวนของ คตส.ไม่ถูกต้องอย่างไร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าภายหลังที่ทีมทนายได้ฟังกระบวนการพิจารณาคดีในการนัดไต่สวนพยานจำเลยครั้งสุดท้ายแล้ว นายอเนก ได้เดินทางไปยังเรือนจำพิเศษกรุเทพ เพื่อไปแจ้งคำสั่งศาลให้นายพิชิฎ ทราบ
สุเทพแฉแม้วดิ้นทุกทางก่อน 17 ก.ย.
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่จะมีการพิจารณาคดีจัดซื้อที่ดินรัชดาของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีในวันที่ 17 ก.ย.นี้ว่า ขออย่าได้มีเหตุการณ์วุ่นวายอะไรเกิดขึ้น โดยพ.ต.ท.ทักษิณจะต่อสู้ทางการเมืองอย่างไร ก็ขอให้คิดถึงคนส่วนใหญ่ในประเทศ แม้จะเป็นผู้ชนะ แต่ถ้าอยู่ในสายตาที่ประชาชนแสดงความเกลียดชังความโกรธเคือง ก็ไม่ใช่ผู้ชนะที่จะยืนหยัดอยู่ได้ อย่างไรก็ตามส่วนตัวคิดว่าไม่มีอะไรที่จะมาหยุดยั้งกระบวนการยุติธรรมได้ ซึ่งตรงนี้เป็นความหวังเดียวของคนที่ ณ วันนี้ที่จะต้องช่วยกันดูแล
“ประชาชนเกรงว่าคนที่มีเงินทองมากมาย และกำลังจะสูญเสียทั้งอำนาจ อิทธิพล และเงินทองคงใช้วิธีการสารพัดรูปแบบเพื่อให้ตัวเองหลุดพ้นจากคดีความต่างๆ ไม่ติดคุก ไม่เสียเงิน แล้วให้ตัวเองกลับมามีอำนาจอีก คนพวกนี้พร้อมที่จะจ้างม็อบ สร้างเหตุการณ์วุ่นวายเพื่ออาศัยเป็นช่องทางให้ตัวเองหลุดพ้นจากกรณีที่ผูกพันอยู่ อิรุงตุงนังอยู่ คนก็ส่งข่าวบอกเรามาเรื่อยซึ่งเราก็ติดตาม เหมือนวันนั้นที่จะมีการเอาม็อบไปตีกันที่อุดรธานี ก็มีผู้หวังดีมาส่งข่าว แต่ไม่ทัน และเราคิดว่าเมื่อเราบอกกับสาธารณชน คนได้ยินกันทั่วๆ พวกนี้จะไม่กล้า แต่ที่จริงพวกนี้ไม่มีความละอาย ไม่มีความเกรงใจใคร ตั้งใจจะทำก็ทำ อันนี้น่ากลัว” นายสุเทพกล่าวและว่า ไม่ใช่เฉพาะพ.ต.ท.ทักษิณเท่านั้น ที่ยังคงเคลื่อนไหวโดยไม่เกรงกลัวกฎหมาย ทั้งที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญห้ามยุ่งเกี่ยวกับการเมือง และทุกเรื่องที่เป็นปัญหาอยู่ขณะนี้ เพราะทำผิดกฎหมาย ไม่ยำเกรงกฎหมาย และไม่ให้ความสำคัญกับหลักการปกครองแบบนิติรัฐ เพราะฉะนั้นจะไปนำเอามาตรฐานของคนเหล่านี้มาตัดสินยาก โดยหากจับไม่ได้ ไล่ไม่ทันก็จะมีการดำเนินการไปเรื่อย และไม่ใช่เฉพาะ พ.ต.ท.ทักษิณ หรือนายเนวิน ชิดชอบ แต่ยังมีอีกหลายคนใน 111 คนที่เข้ามาวุ่นวายกับการเมือง ซึ่งคนเหล่านี้ไม่หยุด เนื่องจากผู้รักษากฎหมายอยู่ภายใต้รัฐบาลของพวกเขา