บอร์ดการบินไทยหวั่นติดร่างแห ปม ซื้อแอร์บัส 330-300 แทนเช่า ขัดมติครม. สั่งตั้งคนนอกเป็นคณะกรรมการตรวจสอบ ก่อนชี้แจงต่อสตง. พร้อมปัดพิจารณาอนุมัติให้ชำระเงินค่างวดล่วงหน้า (PDP) อีกงวด โบ้ยหากจะดำเนินการให้อาศัยมติบอร์ดชุดเดิม
แหล่งข่าวจากบริษัทการบินไทย จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ดการบินไทยที่มีนายชัยสวัสดิ์ กิตติพรไพบูลย์ ปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน เมื่อวันที่ 9 ก.ค. 2551 ได้มีการหารือถึงกรณีที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ทำหนังสือที่ ตผ 0017/2593 ลงวันที่ 10 มิ.ย.2551 ขอทราบผลการดำเนินการและคำชี้แจงกรณีการจัดหาเครื่องบิน A 330-300 จำนวน 8 ลำของบริษัท ซึ่งถูกผู้ถือหุ้นบริษัทร้องเรียนว่าฝ่ายบริหารดำเนินการขัดต่อมติคณะรัฐมนตรี ที่ให้บริษัทดำเนินการจัดหาเครื่องบินโดยวิธีการเช่า (Operating Lease) แทนการจัดซื้อ โดยบริษัทมีการจ่ายเงินล่วงหน้าให้แอร์บัสเป็นการกระทำที่ไม่รักษาผลประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้น โดยบอร์ดมีมติให้แต่งตั้งบุคคลภายนอกเป็นคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและพิจารณาให้คำเสนอแนะกรณีการจัดซื้อเครื่องบิน A330-300 ภายใน 30 วัน โดยให้รวบรวมข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องตั้งแต่เริ่มต้นทั้งก่อนและหลังจากที่ครม.มีมติให้จัดหาเครื่องบินแบบ Operating Lease
แหล่งข่าวกล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ดการบินไทยไม่สามารถหาข้อยุติที่จะชี้แจงต่อ สตง.ได้ว่าการดำเนินการจัดหาเครื่องบิน A330-300 นั้น เป็นการเช่าเพื่อดำเนินงาน (Operating Lease) หรือไม่ โดยมีการระบุว่า ผู้ที่จะตัดสินว่าการดำเนินการงานที่ผ่านมาของบริษัทถูกหรือผิดนั้น ไม่ใช่บอร์ดการบินไทยแต่จะเป็น สตง.หรือศาล ซึ่งหากผู้มีอำนาจดังกล่าววินิจฉัยออกมาว่า การดำเนินงานของบริษัทเป็นการเช่าแบบ Financial Lease แล้ว ทุกคนคือทั้งบอร์ดและฝ่ายบริหารที่เกี่ยวข้องต้องรับผิด ดังนั้นจึงต้องการให้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงมาให้คำแนะนำก่อน
ส่วนกรณีที่มีการชี้แจงว่า ในการจัดหาเครื่องบินดังกล่าว ในขณะนี้ยังไม่ถึงขั้นตอนที่จะกำหนดได้ว่าเป็น Operating Lease หรือ Financial Lease ขณะนี้ฟังไม่ขึ้นแล้ว เพราะบริษัทได้ดำเนินการในรูปแบบที่ถือว่าเป็น Financial Lease มาโดยตลอด และบอร์ดยังระบุว่า กรณีที่ในสัญญาจะมีเงื่อนไขการชำระเงินค่างวดล่วงหน้า (Pre Delivery Payment/PDP) การจ่าย เงินมัดจำเครื่องบิน (Commitment Fee) นั้นบอร์ดไม่ได้รับทราบรายละเอียดต่างๆ จึงไม่สามารถพิจารณาได้ว่า ถูกต้องหรือไม่
โดยคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงประกอบด้วย นายประวัติ วีรกุล อัยการอาวุโส (อดีตอธิบดีอัยการเขต 6 )เป็นประธาน ,พล.ต.ท. พรชัย พันธ์วัฒนา รอจเรตำรวจแห่งชาติ นางนิตยา เอื้อรักสกุล อดีตผู้อำนวยการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาค (นักบริหาร 9 ) สตง. เป็นกรรมการและ นายนิรุจน์ มณีพันธ์ ผู้อำนวยการใหญ่ ฝ่ายกฎหมาย การบินไทย เป็นเลขานุการ
ในขณะที่ นายชัยสวัสดิ์ ได้ชี้แจงว่า ในการประชุมบอร์ดเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 2551 ที่ประชุมได้มีมติขอให้บริษัททบทวนการดำเนินการเช่าเครื่องบินดังกล่าว จากการเช่าเพื่อดำเนินการ (Operating Lease) เป็นการเช่า (Financial Lease) และบริษัทได้มีหนังสือแจ้งไปยังกระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้รับทราบแล้ว
นอกจากนี้ การบินไทยยังได้เสนอขอให้บอร์ดรับทราบการดำเนินการเช่าเพื่อดำเนินงาน (Operating Lease) โดยการโอนสิทธิของสัญญาในการจัดหาเครื่องบิน A330-300 จำนวน 8 ลำให้กับผู้เช่า และขออนุมัติการจ่ายชำระค่างวดล่วงหน้าตามสัญญา โดยฝ่ายบริหารชี้แจงว่า หากบอร์ดไม่อนุมัติการชำระเงินค่างวดล่วงหน้า (PDP) จะเกิดปัญหา และอ้างว่าในการประชุมบอร์ดเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 2551 ได้มีการกล่าวถึงการชำระเงินค่างวดล่วงหน้าไว้ด้วยแล้ว
ในขณะที่บอร์ดยืนยันว่าการประชุมเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 2551 ไม่ได้มีการพิจารณาและมีมติอนุมัติการจ่ายเงินค่างวดล่วงหน้า เพราะได้ยุติการพิจารณาแค่ประเด็นทบทวนมติครม.เรื่องการเช่า เท่านั้น ไม่มีการกล่าวถึงการชำระเงินค่างวดล่วงหน้าแต่อย่างใดและหากให้บอร์ดมีมติรองรับการชำระเงินค่างวดล่วงหน้า จะหมายความว่า บอร์ดได้รับรองการชำระเงินค่างวดล่วงหน้าซึ่งถือว่าไม่ถูกต้อง ดังนั้นหากฝ่ายบริหารจะดำเนินการก็ให้ไปดำเนินการตามมติบอร์ดชุดเดิม
แหล่งข่าวจากบริษัทการบินไทย จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ดการบินไทยที่มีนายชัยสวัสดิ์ กิตติพรไพบูลย์ ปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน เมื่อวันที่ 9 ก.ค. 2551 ได้มีการหารือถึงกรณีที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ทำหนังสือที่ ตผ 0017/2593 ลงวันที่ 10 มิ.ย.2551 ขอทราบผลการดำเนินการและคำชี้แจงกรณีการจัดหาเครื่องบิน A 330-300 จำนวน 8 ลำของบริษัท ซึ่งถูกผู้ถือหุ้นบริษัทร้องเรียนว่าฝ่ายบริหารดำเนินการขัดต่อมติคณะรัฐมนตรี ที่ให้บริษัทดำเนินการจัดหาเครื่องบินโดยวิธีการเช่า (Operating Lease) แทนการจัดซื้อ โดยบริษัทมีการจ่ายเงินล่วงหน้าให้แอร์บัสเป็นการกระทำที่ไม่รักษาผลประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้น โดยบอร์ดมีมติให้แต่งตั้งบุคคลภายนอกเป็นคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและพิจารณาให้คำเสนอแนะกรณีการจัดซื้อเครื่องบิน A330-300 ภายใน 30 วัน โดยให้รวบรวมข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องตั้งแต่เริ่มต้นทั้งก่อนและหลังจากที่ครม.มีมติให้จัดหาเครื่องบินแบบ Operating Lease
แหล่งข่าวกล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ดการบินไทยไม่สามารถหาข้อยุติที่จะชี้แจงต่อ สตง.ได้ว่าการดำเนินการจัดหาเครื่องบิน A330-300 นั้น เป็นการเช่าเพื่อดำเนินงาน (Operating Lease) หรือไม่ โดยมีการระบุว่า ผู้ที่จะตัดสินว่าการดำเนินการงานที่ผ่านมาของบริษัทถูกหรือผิดนั้น ไม่ใช่บอร์ดการบินไทยแต่จะเป็น สตง.หรือศาล ซึ่งหากผู้มีอำนาจดังกล่าววินิจฉัยออกมาว่า การดำเนินงานของบริษัทเป็นการเช่าแบบ Financial Lease แล้ว ทุกคนคือทั้งบอร์ดและฝ่ายบริหารที่เกี่ยวข้องต้องรับผิด ดังนั้นจึงต้องการให้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงมาให้คำแนะนำก่อน
ส่วนกรณีที่มีการชี้แจงว่า ในการจัดหาเครื่องบินดังกล่าว ในขณะนี้ยังไม่ถึงขั้นตอนที่จะกำหนดได้ว่าเป็น Operating Lease หรือ Financial Lease ขณะนี้ฟังไม่ขึ้นแล้ว เพราะบริษัทได้ดำเนินการในรูปแบบที่ถือว่าเป็น Financial Lease มาโดยตลอด และบอร์ดยังระบุว่า กรณีที่ในสัญญาจะมีเงื่อนไขการชำระเงินค่างวดล่วงหน้า (Pre Delivery Payment/PDP) การจ่าย เงินมัดจำเครื่องบิน (Commitment Fee) นั้นบอร์ดไม่ได้รับทราบรายละเอียดต่างๆ จึงไม่สามารถพิจารณาได้ว่า ถูกต้องหรือไม่
โดยคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงประกอบด้วย นายประวัติ วีรกุล อัยการอาวุโส (อดีตอธิบดีอัยการเขต 6 )เป็นประธาน ,พล.ต.ท. พรชัย พันธ์วัฒนา รอจเรตำรวจแห่งชาติ นางนิตยา เอื้อรักสกุล อดีตผู้อำนวยการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาค (นักบริหาร 9 ) สตง. เป็นกรรมการและ นายนิรุจน์ มณีพันธ์ ผู้อำนวยการใหญ่ ฝ่ายกฎหมาย การบินไทย เป็นเลขานุการ
ในขณะที่ นายชัยสวัสดิ์ ได้ชี้แจงว่า ในการประชุมบอร์ดเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 2551 ที่ประชุมได้มีมติขอให้บริษัททบทวนการดำเนินการเช่าเครื่องบินดังกล่าว จากการเช่าเพื่อดำเนินการ (Operating Lease) เป็นการเช่า (Financial Lease) และบริษัทได้มีหนังสือแจ้งไปยังกระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้รับทราบแล้ว
นอกจากนี้ การบินไทยยังได้เสนอขอให้บอร์ดรับทราบการดำเนินการเช่าเพื่อดำเนินงาน (Operating Lease) โดยการโอนสิทธิของสัญญาในการจัดหาเครื่องบิน A330-300 จำนวน 8 ลำให้กับผู้เช่า และขออนุมัติการจ่ายชำระค่างวดล่วงหน้าตามสัญญา โดยฝ่ายบริหารชี้แจงว่า หากบอร์ดไม่อนุมัติการชำระเงินค่างวดล่วงหน้า (PDP) จะเกิดปัญหา และอ้างว่าในการประชุมบอร์ดเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 2551 ได้มีการกล่าวถึงการชำระเงินค่างวดล่วงหน้าไว้ด้วยแล้ว
ในขณะที่บอร์ดยืนยันว่าการประชุมเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 2551 ไม่ได้มีการพิจารณาและมีมติอนุมัติการจ่ายเงินค่างวดล่วงหน้า เพราะได้ยุติการพิจารณาแค่ประเด็นทบทวนมติครม.เรื่องการเช่า เท่านั้น ไม่มีการกล่าวถึงการชำระเงินค่างวดล่วงหน้าแต่อย่างใดและหากให้บอร์ดมีมติรองรับการชำระเงินค่างวดล่วงหน้า จะหมายความว่า บอร์ดได้รับรองการชำระเงินค่างวดล่วงหน้าซึ่งถือว่าไม่ถูกต้อง ดังนั้นหากฝ่ายบริหารจะดำเนินการก็ให้ไปดำเนินการตามมติบอร์ดชุดเดิม