วรรณกรรมและวรรณคดีเป็นศิลปะแห่งการประดิษฐ์ภาษา ซึ่งบรรยายถึงเหตุการณ์สะท้อนความรู้สึก บ่งบอกความสุนทรีย์ของศิลป์แห่งภาษา แต่ขณะเดียวกันก็จะฉายภาพให้เห็นเหตุการณ์ในอดีตรวมทั้งความนึกคิดของเจ้าของวรรณกรรม นอกจากนั้นยังสะท้อนถึงความรู้ ความสามารถ อุดมการณ์ และอื่นๆ ของผู้แต่ง
วรรณกรรมชิ้นหนึ่งซึ่งทำให้ผู้อ่านสามารถจะมองเห็นหลายๆ ด้านของผู้นำท่านหนึ่ง นั่นคือ วรรณกรรมเพลงยาวเรื่องตีเมืองพม่า พระราชนิพนธ์กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (วังหน้า) สะท้อนถึงความเป็นนักรบ ความเข้มแข็งเด็ดขาด พระองค์ท่านเป็นนักรบที่ยิ่งใหญ่ ชนะศึกมากมาย ทรงปฏิสังขรณ์วัดที่บางลำพูซึ่งเป็นวัดของคนไทยเชื้อสายมอญแต่เดิมเพื่อรำลึกถึงการชนะศึก ปัจจุบันคือวัดชนะสงคราม
ในเพลงยาวซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความโทมนัสพระทัยเมื่อพระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นความย่อยยับของกรุงศรีอยุธยาซึ่งเคยรุ่งเรืองมาถึง 417 ปี ดังความตอนหนึ่งว่า
“เสียพระนิเวศน์บุรีวัง พระที่นั่งทั้งสามงามไสวตั้งเรียบรเบียบชั้นเปนหลั่นไป อำไพวิจิตรรจนา มุขโถงมุขเด็จมุขกระสัน เปนเชิงชั้นลวดลายล้วนเลขา เพดานในไว้ดวงดารา ผนังฝาดาษแก้วดังวิมาน ที่ตั้งบัลลังก์แก้วทุกองค์ ทวารลงอัฒจันท์น่าฉาน ปราบพื้นรื่นราบดังพระลาน มีโรงคชาธารตระการตา ทิมดาบคดลดพื้นกำแพงแก้ว เปนถ่องแถวยืดยาวกันหนักหนา เปนที่แขกเฝ้าเข้าวันทา ดังเทวานฤมิตรประดิษฐไว้ สืบทรงวงษ์กระษัตริย์มาช้านาน แต่ปุราณแล้วไม่นับพระองค์ได้ พระที่นั่งซึ่งตั้งอยู่ข้างใน มีสระชลาไลยชลธี ชื่อที่นั่งบรรยงก์รัตนาศน์ ที่ประพาศมัจฉาในสระศรี ทางเสด็จเสร็จสิ้นสารพันมี เปนที่กระษัตริย์สืบมา ก็สูญสิ้นศรีมลายหายหมดจะปรากฏสักสิ่งไม่มีว่า อันถนนหนทางมรคา คิดมาก็เสียดายทุกสิ่งอัน ร้านเรียบรเบียบด้วยรุกขา ขายของนานาทุกสิ่งสรรพ์ ทั้งพิธีปีเดือนคืนวัน สารพันจะมีอยู่อัตรา ฤดูใดก็ได้เล่นเกษมศุข แสนสนุกทั่วเมืองหรรษา ตั้งแต่นี้แลหนาอกอา อยุทธยาจะสาบสูญไป จะหาไหนได้เหมือนกรุงแล้ว ดังดวงแก้วอันสิ้นแสงใส นับวันแต่จะยับนับไปที่ไหนจะคืนคงมา ไป่ปรากฏเหตุเสียเหมือนดังนี้ มีแต่บรมศุขา ครั้งนี้มีแต่พื้นพสุธา อนิจาสังเวทนาใจ”
นอกจากความโทมนัสพระทัยดังกล่าวแล้วเบื้องต้น พระองค์ยังทรงวิเคราะห์ถึงเหตุที่มาที่นำไปสู่การแตกย่อยยับของกรุงศรีอยุธยา ในความเป็นจริงก็เคยมีเพลงยาวพยากรณ์กล่าวเตือนถึงความวิปริตต่างๆ แต่ในส่วนของกรมพระราชวังบวรฯ นั้นได้กล่าวถึงการที่มีการเล่นพรรคเล่นพวก มีการนำเอาคนไม่ดีเข้ามารับราชการ จนนำไปสู่การสูญเสียกรุง เพราะการขาดคุณสมบัติและการขาดความซื่อสัตย์สุจริตของบุคคลซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ดังจะเห็นได้จากพระราชนิพนธ์ข้างล่างนี้
“ทั้งนี้เปนต้นด้วยผลเหตุ จะอาเภทกระษัตริย์ผู้เปนใหญ่ มิได้พิจารณาข้าไท เคยใช้ก็เลี้ยงด้วยเมตตา ไม่รู้รอบประกอบในราชกิจ ประพฤติการแต่ที่ผิดด้วยอิจฉา สุภาสิตท่านกล่าวเปนราวมา จะตั้งแต่งเสนาธิบดี ไม่ควรอย่าให้อรรคฐาน จะเสียการแผ่นดินกรุงศรี เพราะไม่ฟังตำนานโบราณมี จึงเสียทีเสียวงษ์กระษัตราเสียยศเสียศักดินัคเรศ เสียทั้งพระนิเวศน์วงษา เสียทั้งตระกูลนานา เสียทั้งไพร่ฟ้าประชากรสารพัดจะเสียสิ้นสุด ทั้งการยุทธก็ไม่เตรียมฝึกสอน จึงไม่รู้กู้แก้พระนคร เหมือนหนอนเบียนให้ประจำกรรมอันจะเปนเสนาธิบดี ควรที่จะพิทักษ์อุปถัมภ์ ประกอบการหว่านปรายไว้หลายชั้น ป้องกันปัจจาอย่าให้มี นี่ทำหาเปนเช่นนั้นไม่เหมือนไพร่ชาติชั่วช้ากระลาสี เหตุไภยใกล้กรายร้ายดี ไม่มีที่จะรู้สักประการ”
อีกส่วนหนึ่งของพระราชนิพนธ์ก็คือ การมีวิสัยทัศน์และความเข้าใจในภูมิศาสตร์ในเรื่องขุดคลองซึ่งต่อมามีการพูดถึงกันบ่อยครั้งคือโครงการคอคอดกระ การคิดนอกกรอบและความมุ่งมั่นที่จะเอาชนะข้าศึกให้ได้ ซึ่งถ้าอ่านให้ดีๆ จะเห็นว่าสะท้อนถึงความเจ็บช้ำพระทัยที่คนไทยถูกข้าศึกรุกราน ดังจะเห็นได้จากพระราชนิพนธ์ข้างล่างนี้
“จำจะคิดให้ผิดแต่ก่อนมา เปนทัพน่านาวายกไป ตามทางทเลไปสงขลา จะขุดพสุธาเปนคลองใหญ่ ให้เรือรบออกประจบเอาเมืองไทร ปากใต้ฝ่ายทเลให้พร้อมกัน จึงจะยกไปตีเอามฤท จะปิดปากน้ำเสียให้มั่น ทัพเรือมันจะพลอยเข้าช่วยกัน จะตีบั่นเกยทัพให้ยับไป รบไหนจะให้ยับลงที่นั่น แต่กึ่งวันไม่ให้ทนทานได้จะทำการครั้งนี้ให้มีไชย จะไว้เกียรติให้สืบทั้งแผ่นดิน มันทำเมืองเราก่อนเท่าใด จะทดแทนมันให้หมดสิ้น มันจิตรอหังกาทามิฬ จะล้างให้สุดสิ้นอย่าสงกา”
พระราชนิพนธ์ที่ยกมานั้นบ่งชี้ให้เห็นถึงความรู้สึกของผู้นำที่มองเห็นการแตกยับของกรุงศรีอยุธยา และความรู้สึกโกรธแค้นที่ข้าศึกยกกองทัพมาข่มเหงรังแก และขณะเดียวกันก็มองเห็นถึงการปกครองบริหารที่ทำผิดจารีตประเพณี การขาดวิสัยทัศน์และการมองเห็นการณ์ไกล จนนำไปสู่การล่มสลายของกรุงศรีอยุธยา ซึ่งผลกระทบอย่างกว้างขวางก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อราษฎรทั่วไป
“อ้ายชาติ.....มันอาธรรม์ เที่ยวล้างขอบขัณฑ์ทุกภารา แต่ก่อนก็มิให้มีความศุข รบรุกฆ่าฟันเสียหนักหนา แต่บ้านร้างเมืองเซทั้งวัดวา ยับเยินเปนป่าทุกตำบล มันไม่คิดบาปกรรมอ้ายลำบาก แต่พลัดพรากจากกันทุกแห่งหน มันเหล่าอาสัตย์ทรชนครั้งนี้จะป่นเปนธุลี เพราะเหตุบาปกรรมมาซ้ำเติม จะภูลเพิ่มให้ระยำยับยี่”
รวมทั้งการแตกสลายของปราสาทราชมณเฑียร และที่สำคัญคือ วัดวาอารามอันเป็นที่ตั้งพุทธศาสนา
“คิดมาก็เปนน่าอนิจัง ด้วยกรุงเปนที่ตั้งพระสาสนา ทั้งอารามเจดีย์ที่บูชา ปฏิมาฉลององค์พระทรวงญาณ ก็ทลายยับยุ่ยเปนผุยผง เหมือนพระองค์เสด็จดับสังขาร ยังไม่สิ้นสาสนามาดรธาน ทั้งเจดีย์วิหารก็สูญไป”
บทเรียนที่เราจะได้จากพระราชนิพนธ์ดังกล่าวมีอะไรบ้างนั้นย่อมขึ้นอยู่กับปัจเจกบุคคลที่จะตีความ แต่ที่เห็นแน่ๆ คือ ถ้าไม่ระมัดระวังและไม่เรียนบทเรียนจากอดีตอาจจะเผชิญกับสภาวะดังกล่าวได้ ดังที่นักประวัติศาสตร์กล่าวไว้เสมอว่า “ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย”
วรรณกรรมชิ้นหนึ่งซึ่งทำให้ผู้อ่านสามารถจะมองเห็นหลายๆ ด้านของผู้นำท่านหนึ่ง นั่นคือ วรรณกรรมเพลงยาวเรื่องตีเมืองพม่า พระราชนิพนธ์กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (วังหน้า) สะท้อนถึงความเป็นนักรบ ความเข้มแข็งเด็ดขาด พระองค์ท่านเป็นนักรบที่ยิ่งใหญ่ ชนะศึกมากมาย ทรงปฏิสังขรณ์วัดที่บางลำพูซึ่งเป็นวัดของคนไทยเชื้อสายมอญแต่เดิมเพื่อรำลึกถึงการชนะศึก ปัจจุบันคือวัดชนะสงคราม
ในเพลงยาวซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความโทมนัสพระทัยเมื่อพระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นความย่อยยับของกรุงศรีอยุธยาซึ่งเคยรุ่งเรืองมาถึง 417 ปี ดังความตอนหนึ่งว่า
“เสียพระนิเวศน์บุรีวัง พระที่นั่งทั้งสามงามไสวตั้งเรียบรเบียบชั้นเปนหลั่นไป อำไพวิจิตรรจนา มุขโถงมุขเด็จมุขกระสัน เปนเชิงชั้นลวดลายล้วนเลขา เพดานในไว้ดวงดารา ผนังฝาดาษแก้วดังวิมาน ที่ตั้งบัลลังก์แก้วทุกองค์ ทวารลงอัฒจันท์น่าฉาน ปราบพื้นรื่นราบดังพระลาน มีโรงคชาธารตระการตา ทิมดาบคดลดพื้นกำแพงแก้ว เปนถ่องแถวยืดยาวกันหนักหนา เปนที่แขกเฝ้าเข้าวันทา ดังเทวานฤมิตรประดิษฐไว้ สืบทรงวงษ์กระษัตริย์มาช้านาน แต่ปุราณแล้วไม่นับพระองค์ได้ พระที่นั่งซึ่งตั้งอยู่ข้างใน มีสระชลาไลยชลธี ชื่อที่นั่งบรรยงก์รัตนาศน์ ที่ประพาศมัจฉาในสระศรี ทางเสด็จเสร็จสิ้นสารพันมี เปนที่กระษัตริย์สืบมา ก็สูญสิ้นศรีมลายหายหมดจะปรากฏสักสิ่งไม่มีว่า อันถนนหนทางมรคา คิดมาก็เสียดายทุกสิ่งอัน ร้านเรียบรเบียบด้วยรุกขา ขายของนานาทุกสิ่งสรรพ์ ทั้งพิธีปีเดือนคืนวัน สารพันจะมีอยู่อัตรา ฤดูใดก็ได้เล่นเกษมศุข แสนสนุกทั่วเมืองหรรษา ตั้งแต่นี้แลหนาอกอา อยุทธยาจะสาบสูญไป จะหาไหนได้เหมือนกรุงแล้ว ดังดวงแก้วอันสิ้นแสงใส นับวันแต่จะยับนับไปที่ไหนจะคืนคงมา ไป่ปรากฏเหตุเสียเหมือนดังนี้ มีแต่บรมศุขา ครั้งนี้มีแต่พื้นพสุธา อนิจาสังเวทนาใจ”
นอกจากความโทมนัสพระทัยดังกล่าวแล้วเบื้องต้น พระองค์ยังทรงวิเคราะห์ถึงเหตุที่มาที่นำไปสู่การแตกย่อยยับของกรุงศรีอยุธยา ในความเป็นจริงก็เคยมีเพลงยาวพยากรณ์กล่าวเตือนถึงความวิปริตต่างๆ แต่ในส่วนของกรมพระราชวังบวรฯ นั้นได้กล่าวถึงการที่มีการเล่นพรรคเล่นพวก มีการนำเอาคนไม่ดีเข้ามารับราชการ จนนำไปสู่การสูญเสียกรุง เพราะการขาดคุณสมบัติและการขาดความซื่อสัตย์สุจริตของบุคคลซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ดังจะเห็นได้จากพระราชนิพนธ์ข้างล่างนี้
“ทั้งนี้เปนต้นด้วยผลเหตุ จะอาเภทกระษัตริย์ผู้เปนใหญ่ มิได้พิจารณาข้าไท เคยใช้ก็เลี้ยงด้วยเมตตา ไม่รู้รอบประกอบในราชกิจ ประพฤติการแต่ที่ผิดด้วยอิจฉา สุภาสิตท่านกล่าวเปนราวมา จะตั้งแต่งเสนาธิบดี ไม่ควรอย่าให้อรรคฐาน จะเสียการแผ่นดินกรุงศรี เพราะไม่ฟังตำนานโบราณมี จึงเสียทีเสียวงษ์กระษัตราเสียยศเสียศักดินัคเรศ เสียทั้งพระนิเวศน์วงษา เสียทั้งตระกูลนานา เสียทั้งไพร่ฟ้าประชากรสารพัดจะเสียสิ้นสุด ทั้งการยุทธก็ไม่เตรียมฝึกสอน จึงไม่รู้กู้แก้พระนคร เหมือนหนอนเบียนให้ประจำกรรมอันจะเปนเสนาธิบดี ควรที่จะพิทักษ์อุปถัมภ์ ประกอบการหว่านปรายไว้หลายชั้น ป้องกันปัจจาอย่าให้มี นี่ทำหาเปนเช่นนั้นไม่เหมือนไพร่ชาติชั่วช้ากระลาสี เหตุไภยใกล้กรายร้ายดี ไม่มีที่จะรู้สักประการ”
อีกส่วนหนึ่งของพระราชนิพนธ์ก็คือ การมีวิสัยทัศน์และความเข้าใจในภูมิศาสตร์ในเรื่องขุดคลองซึ่งต่อมามีการพูดถึงกันบ่อยครั้งคือโครงการคอคอดกระ การคิดนอกกรอบและความมุ่งมั่นที่จะเอาชนะข้าศึกให้ได้ ซึ่งถ้าอ่านให้ดีๆ จะเห็นว่าสะท้อนถึงความเจ็บช้ำพระทัยที่คนไทยถูกข้าศึกรุกราน ดังจะเห็นได้จากพระราชนิพนธ์ข้างล่างนี้
“จำจะคิดให้ผิดแต่ก่อนมา เปนทัพน่านาวายกไป ตามทางทเลไปสงขลา จะขุดพสุธาเปนคลองใหญ่ ให้เรือรบออกประจบเอาเมืองไทร ปากใต้ฝ่ายทเลให้พร้อมกัน จึงจะยกไปตีเอามฤท จะปิดปากน้ำเสียให้มั่น ทัพเรือมันจะพลอยเข้าช่วยกัน จะตีบั่นเกยทัพให้ยับไป รบไหนจะให้ยับลงที่นั่น แต่กึ่งวันไม่ให้ทนทานได้จะทำการครั้งนี้ให้มีไชย จะไว้เกียรติให้สืบทั้งแผ่นดิน มันทำเมืองเราก่อนเท่าใด จะทดแทนมันให้หมดสิ้น มันจิตรอหังกาทามิฬ จะล้างให้สุดสิ้นอย่าสงกา”
พระราชนิพนธ์ที่ยกมานั้นบ่งชี้ให้เห็นถึงความรู้สึกของผู้นำที่มองเห็นการแตกยับของกรุงศรีอยุธยา และความรู้สึกโกรธแค้นที่ข้าศึกยกกองทัพมาข่มเหงรังแก และขณะเดียวกันก็มองเห็นถึงการปกครองบริหารที่ทำผิดจารีตประเพณี การขาดวิสัยทัศน์และการมองเห็นการณ์ไกล จนนำไปสู่การล่มสลายของกรุงศรีอยุธยา ซึ่งผลกระทบอย่างกว้างขวางก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อราษฎรทั่วไป
“อ้ายชาติ.....มันอาธรรม์ เที่ยวล้างขอบขัณฑ์ทุกภารา แต่ก่อนก็มิให้มีความศุข รบรุกฆ่าฟันเสียหนักหนา แต่บ้านร้างเมืองเซทั้งวัดวา ยับเยินเปนป่าทุกตำบล มันไม่คิดบาปกรรมอ้ายลำบาก แต่พลัดพรากจากกันทุกแห่งหน มันเหล่าอาสัตย์ทรชนครั้งนี้จะป่นเปนธุลี เพราะเหตุบาปกรรมมาซ้ำเติม จะภูลเพิ่มให้ระยำยับยี่”
รวมทั้งการแตกสลายของปราสาทราชมณเฑียร และที่สำคัญคือ วัดวาอารามอันเป็นที่ตั้งพุทธศาสนา
“คิดมาก็เปนน่าอนิจัง ด้วยกรุงเปนที่ตั้งพระสาสนา ทั้งอารามเจดีย์ที่บูชา ปฏิมาฉลององค์พระทรวงญาณ ก็ทลายยับยุ่ยเปนผุยผง เหมือนพระองค์เสด็จดับสังขาร ยังไม่สิ้นสาสนามาดรธาน ทั้งเจดีย์วิหารก็สูญไป”
บทเรียนที่เราจะได้จากพระราชนิพนธ์ดังกล่าวมีอะไรบ้างนั้นย่อมขึ้นอยู่กับปัจเจกบุคคลที่จะตีความ แต่ที่เห็นแน่ๆ คือ ถ้าไม่ระมัดระวังและไม่เรียนบทเรียนจากอดีตอาจจะเผชิญกับสภาวะดังกล่าวได้ ดังที่นักประวัติศาสตร์กล่าวไว้เสมอว่า “ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย”