การเสียกรุงศรีอยุธยาในปี 2310 เป็นจุดเปลี่ยนผ่านที่สำคัญของประวัติศาสตร์ประชาชาติไทย เพราะทันทีที่อยุธยาล่มสลายก็เกิดการแบ่งเป็น 5 ก๊กใหญ่ๆ ครอบคลุมทั้ง 5 ภูมิภาคของประเทศ ได้แก่ ก๊กสุกี้พระนายกอง ก๊กพระยาพิษณุโลก ก๊กเจ้าพระฝาง ก๊กเจ้าพระยานครศรีธรรมราช และก๊กเจ้าพิมาย ส่วนพระเจ้าตากสินตีฝ่าออกไปตั้งฐานที่มั่นที่จันทบุรีก็ต้องถือว่าเป็นก๊กจันทบุรี การที่อำนาจศูนย์กลางล่มสลายจนนำไปสู่การแตกเป็นกลุ่มอำนาจย่อยๆ นั้น เป็นข้อที่ต้องนำไปพิจารณาเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ของชุมชนการเมืองและอำนาจรัฐโดยทั่วไป
ในความเป็นจริง กรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นราชธานีมา 417 ปีต้องถือว่ามีระบบการปกครองบริหารที่ค่อนข้างจะก้าวหน้า และผลสุดท้ายความเสื่อมของระบบการเมืองก็เกิดขึ้น อันเกิดจากความขัดแย้งทางอำนาจ มีการศึกษาชิ้นหนึ่งสรุปว่า ใน 417 ปีนั้นมีการใช้กำลังเข้าแย่งอำนาจกันเฉลี่ยทุกๆ 4 ปีต่อครั้ง และปลายอยุธยาจะลดเหลือ 2 ปีครึ่งต่อครั้ง เกิดความขัดแย้งของราชวงศ์ระหว่างเจ้ากับเจ้า ระหว่างเจ้ากับขุนนาง และระหว่างขุนนางด้วยกันเอง เพลงยาวพยากรณ์อันลือชื่อก็สะท้อนถึงความเสื่อมโทรมของการปกครองบริหารและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางศีลธรรมและจริยธรรม และยังสะท้อนถึงความขัดแย้งของราชวงศ์ จึงได้มีการพยากรณ์ไว้ซึ่งเท่ากับเป็นการประณามผู้ปกครองสมัยนั้นด้วยโดยฝ่ายที่ต่อต้าน ในตอนท้ายของเพลงยาวพยากรณ์ได้กล่าวไว้ว่า
“...กรุงศรีอยุธยาจะสูญแล้ว จะลับรัดสมีแก้วเจ้าทั้งสาม
ไปจนคำรบปีเดือนคนยาม จนสิ้นนามศักราชห้าพัน
กรุงศรีอยุธยาเขษมสุข แสนสนุกยิ่งล้ำเมืองสวรรค์
จะเป็นเมืองแพศยาอาทัน นับวันจะเสื่อมสูญเอยฯ”
การล่มสลายเกิดขึ้นตามคำทำนายในเดือนเมษายน พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองที่รุ่งเรืองถึง 417 ปี มีกษัตริย์ปกครอง 33 พระองค์ (บางตำราก็บอกว่า 34 พระองค์) เป็นเมืองที่มีการพัฒนาในแง่วรรณกรรม ศิลปกรรม ศาสนา การค้าขาย มีชาติต่างๆ มาอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยา ทั้งชาวเอเชีย ชาวยุโรป มีขนบธรรมเนียมประเพณีซึ่งสืบทอดกันมาถึงกว่า 4 ศตวรรษ มีประสาทราชมณเฑียรที่สวยงามดั่งในเทพนิยาย ฯลฯ แต่ความสวยงามดังกล่าวก็สิ้นสลายลงเมื่อกรุงศรีอยุธยาถูกเผาเป็นเถ้าถ่าน
กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทได้ทรงพระราชนิพนธ์เพลงยาวเรื่อง ตีเมืองพม่า โดยทรงพรรณนาถึงความสวยงามของกรุงศรีอยุธยา และทรงกล่าวถึงความรู้สึกของพระองค์ เสียดายการสูญเสียนครหลวงอันเรืองนาม ขณะเดียวกันทรงวิเคราะห์ถึงสาเหตุสำคัญของโศกนาฏกรรมการเสียกรุง โดยทรงกล่าวถึงลักษณะของผู้บริหาร ระบบอุปถัมภ์ในสังคม รวมตลอดทั้งการขาดภูมิปัญญาในการบริหารบ้านเมืองและบริหารคนของผู้นำในสมัยนั้น
นอกจากนั้นในบางตอนยังทรงกล่าวถึงการขุดคลองเพื่อเป็นทางขนส่งในการทำสงคราม ทรงแสดงถึงความแน่วแน่ของพระราชหฤทัยที่จะทำศึกสั่งสอนศัตรูเก่า ฯลฯ จะขอยกพระราชนิพนธ์บางส่วนมาให้เห็นเป็นตัวอย่าง และจะวิเคราะห์ถึงประเด็นต่างๆ ดังกล่าว
“.....ประกอบด้วยโภชนากระยาหาร ทุกถิ่นฐานบริบูรณ์หนักหนา อยู่เย็นเปนศุขทุกทิวา เช้าค่ำอัตราทั้งราตรี ประหนึ่งว่าจะไม่มีค่ำคืน รวยรื่นเปนศุขเกษมศรี ไม่เห็นเช่นว่าจะเปนถึงเพียงนี้ มาเยินยับอัปรีศรีศักดิคลาย ทั้งถนนหนทางอารามราช มาวินาศสิ้นสุดสูญหาย สารพัดย่อยยับกลับกลาย อันตรายไปจนพื้นปัถพี เมื่อพระกาลจะมาผลาญดังทำนาย แสนเสียดายภูมิพื้นกรุงศรี บริเวณอื้ออลด้วยชลธี ประดุจเกาะอสุรีลงกา เปนคันขอบชอบกลถึงเพียงนี้ มาเสียสูญไพรีอนาถา ผู้ใดใครเห็นไม่นำพา อยุทธยาอาภัพลับไป เห็นจะสิ้นอายุพระนคร ให้อาวรณ์ผู้รักษาหามีไม่ เปนป่าหญ้ารกดังพงไพร แต่จะสาบสูญไปทุกทิวา คิดมาก็เปนน่าอนิจจัง
ด้วยกรุงเปนที่ตั้งพระสาสนา ทั้งอารามเจดีย์ที่บูชา ปฏิมาฉลององค์พระทรงญาณ ก็ทลายยับยุ่ยเปนผุยผง เหมือนพระองค์เสด็จดับสังขาร ยังไม่สิ้นสาสนามาดรธาน ทั้งเจดีย์วิหารก็สูญไป เสียพระนิเวศน์บุรีวัง พระที่นั่งทั้งสามงามไสว ตั้งเรียบรเบียบชั้นเปนหลั่นไป อำไพวิจิตรรจนา มุขโถงมุขเด็จมุขกระสัน เปนเชิงชั้นลวดลายล้วนเลขา เพดานในไว้ดวงดารา ผนังฝาดาษแก้วดังวิมานที่ตั้งบัลลังก์แก้วทุกองค์ ทวารลงอัฒจันท์น่าฉาน ปราบพื้นรื่นราบดังพระลาน มีโรงคชาธารตระการตา ทิมดาบคดลดพื้นกำแพงแก้ว เปนถ่องแถวยืดยาวกันหนักหนา เปนที่แขกเฝ้าเข้าวันทา ดังเทวานฤมิตประดิษฐไว้ สืบทรงวงษ์กระษัตริย์มาช้านาน แต่บุราณแล้วไม่นับพระองค์ได้
พระที่นั่งซึ่งตั้งอยู่ข้างใน มีสระชลาไลยชลธี ชื่อที่นั่งบรรยงก์รัตนาศน์ ที่ประพาศมัจฉาในสระศรี ทางเสด็จเสร็จสิ้นสารพันมี เปนที่กระษัตริย์สืบมา ก็สูญสิ้นศรีมลายหายหมด จะปรากฏสักสิ่งไม่มีว่า อันถนนหนทางมรคา คิดมาก็เสียดายทุกสิ่งอัน ร้านเรียบรเบียบด้วยรุกขา ขายของนานาทุกสิ่งสรรพ์ ทั้งพิธีปีเดือนทุกคืนวัน สารพันจะมีอยู่อัตรา ฤดูใดก็ได้เล่นเกษมศุข แสนสนุกทั่วเมืองหรรษา ตั้งแต่นี้แลหนาอกอา อยุทธยาจะสาบสูญไป จะหาไหนได้เหมือนกรุงแล้ว ดังดวงแก้วอันสิ้นแสงใส นับวันแต่จะยับนับไป ที่ไหนจะคงคืนมา ไป่ปรากฏเหตุเสียเหมือนครั้งนี้ มีแต่บรมศุขา
ครั้งนี้มีแต่พื้นพสุธา อนิจาสังเวทนาใจ ทั้งนี้เปนต้นด้วยผลเหตุ จะอาเภทกระษัตริย์ผู้เปนใหญ่ มิได้พิจารณาข้าไท เคยใช้ก็เลี้ยงด้วยเมตตา ไม่รู้รอบประกอบในราชกิจ ประพฤติการแต่ที่ผิดด้วยอิจฉา สุภาสิตท่านกล่าวเปนราวมา จะตั้งแต่งเสนาธิบดี ไม่ควรอย่าให้อรรคฐาน จะเสียการแผ่นดินกรุงศรี เพราะไม่ฟังตำนานโบราณมี จึงเสียทีเสียวงษ์กระษัตรา เสียยศเสียศักดินัคเรศ เสียทั้งพระนิเวศน์วงษา เสียทั้งตระกูลนานา เสียทั้งไพร่ฟ้าประชากร
สารพัดจะเสียสิ้นสุด ทั้งการยุทธก็ไม่เตรียมฝึกสอน จึงไม่รู้กู้แก้พระนคร เหมือนหนอนเบียนให้ประจำกรรม อันจะเปนเสนาธิบดี ควรที่จะพิทักษ์อุปถัมภ์ ประกอบการหว่านปรายไว้หลายชั้น ป้องกันปัจจาอย่าให้มี นี่ทำหาเปนเช่นนั้นไม่ เหมือนไพร่ชาติชั่วช้ากระลาสี เหตุไภยใกล้กรายร้ายดี ไม่มีที่รู้สักประการ ศึกมาแล้วก็ล่าไปทันที มิได้มีเหตุเสียจึงแตกฉาน ตีกวาดผู้คนไม่ทนทาน เผาบ้านเมืองยับจนกลับไป ถึงเพียงนี้ไม่มีที่จะกริ่งเลย ไม่เคยรู้ล่วงลัดจะคิดได้ ศึกมาชิงล่าเลิกกลับไป มิได้เห็นจะฝืนคืนมา จะคิดโบราณอย่างนี้ก็หาไม่ ชาติไพร่หลงฟุ้งแต่ยศถา ครั้นทัพเขายกกลับมา จะองอาจอาสาก็ไม่มี แต่เลี้ยวลดปดเจ้าทุกเช้าค่ำ จนเมืองคร่ำเปนผุยยับยี่ ฉิบหายตายล้มไม่สมประดี เมืองยับอัปรีจนทุกวัน
เหตุเสียกรุงศรีอยุทธยา เหมือนคำที่ว่าไม่เศกสรร ชล่าใจเคยได้แต่ครั้งนั้น จึงประชิดติดพันแต่นั้นมา แตกยับกลับไปก็หลายหน คิดกลจะลวงให้หลงหา แต่งคนให้ถือหนังสือมา เจรจาความเมืองเปนไมตรี ทำไว้แต่พอให้รอรั้ง ขยับยกเข้ามาตั้งตนาวศรี จะเดินมั่นกันติดทางตี ทำนองทีจะคิดให้ชิดไว้ เห็นจะผ่อนโยธาอาหาร มันคิดการมิให้ใครสงไสย จะนิ่งอยู่ดูเบาเอาใจ เห็นเหตุไภยจะเกิดการมา จะเร่งรัดตัดคิดมันเสียก่อน บั่นรอนอย่าให้ทันแน่นหนา จำจะคิดให้ผิดแต่ก่อนมา เปนทัพน่านาวายกไป ตามทางทเลไปสงขลา จะขุดพสุธาเปนคลองใหญ่ ให้เรือรบออกประจบเอาเมืองไทร ปากใต้ฝ่ายทเลให้พร้อมกัน จึงจะยกไปตีเอามฤท จะปิดปากน้ำเสียให้มั่น ทัพเรือมันจะพลอยเข้าช่วยกัน จะตีบั่นเกยทัพให้ยับไป รบไหนจะให้ยับลงที่นั่น แต่กึ่งวันไม่ให้ทนทานได้ จะทำการครั้งนี้ให้มีไชย จะไว้เกียรติให้สืบทั้งแผ่นดิน...
จากพระราชนิพนธ์ดังกล่าว จะเห็นพระราชดำริในเชิงวิเคราะห์ของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทว่ามูลเหตุที่กรุงแตกนั้นมีหลายประการ ในเบื้องต้นคือระบบอุปถัมภ์ที่ไม่คำนึงถึงความรู้ความสามารถ อันเห็นได้จากวรรคที่ว่า “มิได้พิจารณาข้าไท เคยใช้ก็เลี้ยงด้วยเมตตา” นอกเหนือจากนี้เหล่าข้าราชการและขุนนางต่างก็แย่งชิงอำนาจ ยศถาบรรดาศักดิ์ ปัดแข้งปัดขาจนทำลายกันเอง เนื่องจากความอิจฉาริษยา
ขณะเดียวกันก็ไม่สนใจหรือขาดความรู้ในเรื่องการบริหารราชการแผ่นดิน อันจะเห็นจากพระราชนิพนธ์ที่ว่า “ไม่รู้รอบประกอบในราชกิจ ประพฤติการแต่ที่ผิดด้วยอิจฉา” นอกจากนั้นยังทรงวิพากษ์วิจารณ์ถึงการแต่งตั้งข้าราชบริพาร แม่ทัพนายกองของผู้ดำรงตำแหน่งขณะนั้นว่ามิได้ระมัดระวังและยึดถือคติคำเตือนตั้งแต่สมัยโบราณ คือการแต่งตั้งข้าราชการระดับสูง ไม่ควรทำให้เกินฐานะจนเกิดความทะเยอทะยานกำเริบเสิบสานขึ้นมาท้าทายผู้ปกครองได้ “จะตั้งแต่งเสนาธิบดี ไม่ควรอย่าให้อรรคฐาน จะเสียการแผ่นดินกรุงศรี”
พระองค์ยังทรงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับผู้ปกครองสมัยนั้นที่ไม่เตรียมพร้อมที่จะเข้ามาแก้ปัญหาที่จะเผชิญโดยเฉพาะอย่างยิ่งการรุกรานจากข้าศึก ที่สำคัญที่สุดก็คือเหล่าเสนาบดีไม่ทำหน้าที่ที่ตนต้องรับผิดชอบ “ทั้งการยุทธก็ไม่เตรียมฝึกสอน จึงไม่รู้กู้แก้พระนคร” ส่วนกรณีของเสนาบดีนั้นทรงวินิจฉัยว่าไม่กระทำการอันเป็นหน้าที่ มัวแต่บ้ายศบ้าอำนาจ ทำตัวไม่เหมาะสมกับตำแหน่ง จนนำไปสู่อันตรายต่อพระนคร “อันจะเปนเสนาธิบดี ควรที่จะพิทักษ์อุปถัมภ์ ประกอบการหว่านปรายไว้หลายชั้น ป้องกันปัจจาอย่าให้มี นี่ทำหาเปนเช่นนั้นไม่ เหมือนไพร่ชาติชั่วช้ากระลาสี เหตุไภยใกล้กรายร้ายดี ไม่มีที่รู้สักประการ”
นอกจากนั้นยังทรงชี้ให้เห็นถึงความประพฤติที่ไม่เหมาะสมกับผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงดังที่เห็นจากวรรคที่ว่า “จะคิดโบราณอย่างนี้ก็หาไม่ ชาติไพร่หลงฟุ้งแต่ยศถา ครั้นทัพเขายกกลับมา จะองอาจอาสาก็ไม่มี แต่เลี้ยวลดปดเจ้าทุกเช้าค่ำ จนเมืองคร่ำเปนผุยยับยี่ ฉิบหายตายล้มไม่สมประดี เมืองยับอัปรีจนทุกวัน” ซึ่งจากที่กล่าวมาแล้วนั้นยังมีการเพ็ดทูลพระมหากษัตริย์โดยปกปิดข้อเท็จจริง ในการรบก็ไม่รบอย่างกล้าหาญ ไม่อาสาป้องกันพระนคร แต่ละคนมัวแต่บ้ายศถาบรรดาศักดิ์และผลประโยชน์ส่วนตน ผลสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาก็แตกไม่มีชิ้นดี
จากการวิเคราะห์พระราชนิพนธ์ของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท จะเห็นได้ว่าพระองค์ท่านทรงเสียดายกรุงศรีอยุธยาที่แตกเป็นผุยผง และทรงเข้าพระทัยถึงสาเหตุการแตกของกรุงศรีอยุธยาอย่างชัดแจ้ง ขณะเดียวกันพระองค์ท่านก็ตั้งพระทัยแน่วแน่ที่จะต่อสู้กับข้าศึกที่ทรงมองเห็นว่าเป็นการยกมารังแกชาวกรุงศรีอยุธยา ทรงเข้าพระทัยเกี่ยวกับภูมิรัฐศาสตร์เป็นอย่างดี และทรงมีพระราชดำริจะขุดคลองเชื่อมสองมหาสมุทรเพื่อยกเรือรบออกไปสู้กับข้าศึก “จะขุดพสุธาเปนคลองใหญ่ ให้เรือรบออกประจบเอาเมืองไทร”
และนี่อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของความคิดเรื่องการขุดคอคอดกระ หรือคลองกระ อย่างไรก็ตาม ความคิดนี้ก็มีตั้งแต่สมัยพระนารายณ์มหาราชแล้ว ความแน่วแน่ของพระองค์ในการทำศึกชนะข้าศึกจะเห็นได้จากประโยคที่ว่า “จะทำการครั้งนี้ให้มีไชย จะไว้เกียรติให้สืบทั้งแผ่นดิน”
วัดชนะสงครามที่บางลำพูเป็นวัดที่กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทปฏิสังขรณ์ขึ้นมาเป็นวัดของคนไทยเชื้อสายมอญ วัดชนะสงครามคือวัดที่ฉลองการทำศึกอย่างสัมฤทธิผลของอุปราชหรือวังหน้า อันได้แก่ กรมพระราชวังบวรสถานมงคลมหาสุรสิงหนาท ซึ่งพระราชอนุสาวรีย์ของพระองค์ประดิษฐานที่วัดมหาธาตุ โดยในพระหัตถ์มีพระแสงดาบ ทรงประทับอยู่ที่วังหน้าซึ่งได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในปัจจุบัน
ในความเป็นจริง กรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นราชธานีมา 417 ปีต้องถือว่ามีระบบการปกครองบริหารที่ค่อนข้างจะก้าวหน้า และผลสุดท้ายความเสื่อมของระบบการเมืองก็เกิดขึ้น อันเกิดจากความขัดแย้งทางอำนาจ มีการศึกษาชิ้นหนึ่งสรุปว่า ใน 417 ปีนั้นมีการใช้กำลังเข้าแย่งอำนาจกันเฉลี่ยทุกๆ 4 ปีต่อครั้ง และปลายอยุธยาจะลดเหลือ 2 ปีครึ่งต่อครั้ง เกิดความขัดแย้งของราชวงศ์ระหว่างเจ้ากับเจ้า ระหว่างเจ้ากับขุนนาง และระหว่างขุนนางด้วยกันเอง เพลงยาวพยากรณ์อันลือชื่อก็สะท้อนถึงความเสื่อมโทรมของการปกครองบริหารและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางศีลธรรมและจริยธรรม และยังสะท้อนถึงความขัดแย้งของราชวงศ์ จึงได้มีการพยากรณ์ไว้ซึ่งเท่ากับเป็นการประณามผู้ปกครองสมัยนั้นด้วยโดยฝ่ายที่ต่อต้าน ในตอนท้ายของเพลงยาวพยากรณ์ได้กล่าวไว้ว่า
“...กรุงศรีอยุธยาจะสูญแล้ว จะลับรัดสมีแก้วเจ้าทั้งสาม
ไปจนคำรบปีเดือนคนยาม จนสิ้นนามศักราชห้าพัน
กรุงศรีอยุธยาเขษมสุข แสนสนุกยิ่งล้ำเมืองสวรรค์
จะเป็นเมืองแพศยาอาทัน นับวันจะเสื่อมสูญเอยฯ”
การล่มสลายเกิดขึ้นตามคำทำนายในเดือนเมษายน พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองที่รุ่งเรืองถึง 417 ปี มีกษัตริย์ปกครอง 33 พระองค์ (บางตำราก็บอกว่า 34 พระองค์) เป็นเมืองที่มีการพัฒนาในแง่วรรณกรรม ศิลปกรรม ศาสนา การค้าขาย มีชาติต่างๆ มาอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยา ทั้งชาวเอเชีย ชาวยุโรป มีขนบธรรมเนียมประเพณีซึ่งสืบทอดกันมาถึงกว่า 4 ศตวรรษ มีประสาทราชมณเฑียรที่สวยงามดั่งในเทพนิยาย ฯลฯ แต่ความสวยงามดังกล่าวก็สิ้นสลายลงเมื่อกรุงศรีอยุธยาถูกเผาเป็นเถ้าถ่าน
กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทได้ทรงพระราชนิพนธ์เพลงยาวเรื่อง ตีเมืองพม่า โดยทรงพรรณนาถึงความสวยงามของกรุงศรีอยุธยา และทรงกล่าวถึงความรู้สึกของพระองค์ เสียดายการสูญเสียนครหลวงอันเรืองนาม ขณะเดียวกันทรงวิเคราะห์ถึงสาเหตุสำคัญของโศกนาฏกรรมการเสียกรุง โดยทรงกล่าวถึงลักษณะของผู้บริหาร ระบบอุปถัมภ์ในสังคม รวมตลอดทั้งการขาดภูมิปัญญาในการบริหารบ้านเมืองและบริหารคนของผู้นำในสมัยนั้น
นอกจากนั้นในบางตอนยังทรงกล่าวถึงการขุดคลองเพื่อเป็นทางขนส่งในการทำสงคราม ทรงแสดงถึงความแน่วแน่ของพระราชหฤทัยที่จะทำศึกสั่งสอนศัตรูเก่า ฯลฯ จะขอยกพระราชนิพนธ์บางส่วนมาให้เห็นเป็นตัวอย่าง และจะวิเคราะห์ถึงประเด็นต่างๆ ดังกล่าว
“.....ประกอบด้วยโภชนากระยาหาร ทุกถิ่นฐานบริบูรณ์หนักหนา อยู่เย็นเปนศุขทุกทิวา เช้าค่ำอัตราทั้งราตรี ประหนึ่งว่าจะไม่มีค่ำคืน รวยรื่นเปนศุขเกษมศรี ไม่เห็นเช่นว่าจะเปนถึงเพียงนี้ มาเยินยับอัปรีศรีศักดิคลาย ทั้งถนนหนทางอารามราช มาวินาศสิ้นสุดสูญหาย สารพัดย่อยยับกลับกลาย อันตรายไปจนพื้นปัถพี เมื่อพระกาลจะมาผลาญดังทำนาย แสนเสียดายภูมิพื้นกรุงศรี บริเวณอื้ออลด้วยชลธี ประดุจเกาะอสุรีลงกา เปนคันขอบชอบกลถึงเพียงนี้ มาเสียสูญไพรีอนาถา ผู้ใดใครเห็นไม่นำพา อยุทธยาอาภัพลับไป เห็นจะสิ้นอายุพระนคร ให้อาวรณ์ผู้รักษาหามีไม่ เปนป่าหญ้ารกดังพงไพร แต่จะสาบสูญไปทุกทิวา คิดมาก็เปนน่าอนิจจัง
ด้วยกรุงเปนที่ตั้งพระสาสนา ทั้งอารามเจดีย์ที่บูชา ปฏิมาฉลององค์พระทรงญาณ ก็ทลายยับยุ่ยเปนผุยผง เหมือนพระองค์เสด็จดับสังขาร ยังไม่สิ้นสาสนามาดรธาน ทั้งเจดีย์วิหารก็สูญไป เสียพระนิเวศน์บุรีวัง พระที่นั่งทั้งสามงามไสว ตั้งเรียบรเบียบชั้นเปนหลั่นไป อำไพวิจิตรรจนา มุขโถงมุขเด็จมุขกระสัน เปนเชิงชั้นลวดลายล้วนเลขา เพดานในไว้ดวงดารา ผนังฝาดาษแก้วดังวิมานที่ตั้งบัลลังก์แก้วทุกองค์ ทวารลงอัฒจันท์น่าฉาน ปราบพื้นรื่นราบดังพระลาน มีโรงคชาธารตระการตา ทิมดาบคดลดพื้นกำแพงแก้ว เปนถ่องแถวยืดยาวกันหนักหนา เปนที่แขกเฝ้าเข้าวันทา ดังเทวานฤมิตประดิษฐไว้ สืบทรงวงษ์กระษัตริย์มาช้านาน แต่บุราณแล้วไม่นับพระองค์ได้
พระที่นั่งซึ่งตั้งอยู่ข้างใน มีสระชลาไลยชลธี ชื่อที่นั่งบรรยงก์รัตนาศน์ ที่ประพาศมัจฉาในสระศรี ทางเสด็จเสร็จสิ้นสารพันมี เปนที่กระษัตริย์สืบมา ก็สูญสิ้นศรีมลายหายหมด จะปรากฏสักสิ่งไม่มีว่า อันถนนหนทางมรคา คิดมาก็เสียดายทุกสิ่งอัน ร้านเรียบรเบียบด้วยรุกขา ขายของนานาทุกสิ่งสรรพ์ ทั้งพิธีปีเดือนทุกคืนวัน สารพันจะมีอยู่อัตรา ฤดูใดก็ได้เล่นเกษมศุข แสนสนุกทั่วเมืองหรรษา ตั้งแต่นี้แลหนาอกอา อยุทธยาจะสาบสูญไป จะหาไหนได้เหมือนกรุงแล้ว ดังดวงแก้วอันสิ้นแสงใส นับวันแต่จะยับนับไป ที่ไหนจะคงคืนมา ไป่ปรากฏเหตุเสียเหมือนครั้งนี้ มีแต่บรมศุขา
ครั้งนี้มีแต่พื้นพสุธา อนิจาสังเวทนาใจ ทั้งนี้เปนต้นด้วยผลเหตุ จะอาเภทกระษัตริย์ผู้เปนใหญ่ มิได้พิจารณาข้าไท เคยใช้ก็เลี้ยงด้วยเมตตา ไม่รู้รอบประกอบในราชกิจ ประพฤติการแต่ที่ผิดด้วยอิจฉา สุภาสิตท่านกล่าวเปนราวมา จะตั้งแต่งเสนาธิบดี ไม่ควรอย่าให้อรรคฐาน จะเสียการแผ่นดินกรุงศรี เพราะไม่ฟังตำนานโบราณมี จึงเสียทีเสียวงษ์กระษัตรา เสียยศเสียศักดินัคเรศ เสียทั้งพระนิเวศน์วงษา เสียทั้งตระกูลนานา เสียทั้งไพร่ฟ้าประชากร
สารพัดจะเสียสิ้นสุด ทั้งการยุทธก็ไม่เตรียมฝึกสอน จึงไม่รู้กู้แก้พระนคร เหมือนหนอนเบียนให้ประจำกรรม อันจะเปนเสนาธิบดี ควรที่จะพิทักษ์อุปถัมภ์ ประกอบการหว่านปรายไว้หลายชั้น ป้องกันปัจจาอย่าให้มี นี่ทำหาเปนเช่นนั้นไม่ เหมือนไพร่ชาติชั่วช้ากระลาสี เหตุไภยใกล้กรายร้ายดี ไม่มีที่รู้สักประการ ศึกมาแล้วก็ล่าไปทันที มิได้มีเหตุเสียจึงแตกฉาน ตีกวาดผู้คนไม่ทนทาน เผาบ้านเมืองยับจนกลับไป ถึงเพียงนี้ไม่มีที่จะกริ่งเลย ไม่เคยรู้ล่วงลัดจะคิดได้ ศึกมาชิงล่าเลิกกลับไป มิได้เห็นจะฝืนคืนมา จะคิดโบราณอย่างนี้ก็หาไม่ ชาติไพร่หลงฟุ้งแต่ยศถา ครั้นทัพเขายกกลับมา จะองอาจอาสาก็ไม่มี แต่เลี้ยวลดปดเจ้าทุกเช้าค่ำ จนเมืองคร่ำเปนผุยยับยี่ ฉิบหายตายล้มไม่สมประดี เมืองยับอัปรีจนทุกวัน
เหตุเสียกรุงศรีอยุทธยา เหมือนคำที่ว่าไม่เศกสรร ชล่าใจเคยได้แต่ครั้งนั้น จึงประชิดติดพันแต่นั้นมา แตกยับกลับไปก็หลายหน คิดกลจะลวงให้หลงหา แต่งคนให้ถือหนังสือมา เจรจาความเมืองเปนไมตรี ทำไว้แต่พอให้รอรั้ง ขยับยกเข้ามาตั้งตนาวศรี จะเดินมั่นกันติดทางตี ทำนองทีจะคิดให้ชิดไว้ เห็นจะผ่อนโยธาอาหาร มันคิดการมิให้ใครสงไสย จะนิ่งอยู่ดูเบาเอาใจ เห็นเหตุไภยจะเกิดการมา จะเร่งรัดตัดคิดมันเสียก่อน บั่นรอนอย่าให้ทันแน่นหนา จำจะคิดให้ผิดแต่ก่อนมา เปนทัพน่านาวายกไป ตามทางทเลไปสงขลา จะขุดพสุธาเปนคลองใหญ่ ให้เรือรบออกประจบเอาเมืองไทร ปากใต้ฝ่ายทเลให้พร้อมกัน จึงจะยกไปตีเอามฤท จะปิดปากน้ำเสียให้มั่น ทัพเรือมันจะพลอยเข้าช่วยกัน จะตีบั่นเกยทัพให้ยับไป รบไหนจะให้ยับลงที่นั่น แต่กึ่งวันไม่ให้ทนทานได้ จะทำการครั้งนี้ให้มีไชย จะไว้เกียรติให้สืบทั้งแผ่นดิน...
จากพระราชนิพนธ์ดังกล่าว จะเห็นพระราชดำริในเชิงวิเคราะห์ของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทว่ามูลเหตุที่กรุงแตกนั้นมีหลายประการ ในเบื้องต้นคือระบบอุปถัมภ์ที่ไม่คำนึงถึงความรู้ความสามารถ อันเห็นได้จากวรรคที่ว่า “มิได้พิจารณาข้าไท เคยใช้ก็เลี้ยงด้วยเมตตา” นอกเหนือจากนี้เหล่าข้าราชการและขุนนางต่างก็แย่งชิงอำนาจ ยศถาบรรดาศักดิ์ ปัดแข้งปัดขาจนทำลายกันเอง เนื่องจากความอิจฉาริษยา
ขณะเดียวกันก็ไม่สนใจหรือขาดความรู้ในเรื่องการบริหารราชการแผ่นดิน อันจะเห็นจากพระราชนิพนธ์ที่ว่า “ไม่รู้รอบประกอบในราชกิจ ประพฤติการแต่ที่ผิดด้วยอิจฉา” นอกจากนั้นยังทรงวิพากษ์วิจารณ์ถึงการแต่งตั้งข้าราชบริพาร แม่ทัพนายกองของผู้ดำรงตำแหน่งขณะนั้นว่ามิได้ระมัดระวังและยึดถือคติคำเตือนตั้งแต่สมัยโบราณ คือการแต่งตั้งข้าราชการระดับสูง ไม่ควรทำให้เกินฐานะจนเกิดความทะเยอทะยานกำเริบเสิบสานขึ้นมาท้าทายผู้ปกครองได้ “จะตั้งแต่งเสนาธิบดี ไม่ควรอย่าให้อรรคฐาน จะเสียการแผ่นดินกรุงศรี”
พระองค์ยังทรงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับผู้ปกครองสมัยนั้นที่ไม่เตรียมพร้อมที่จะเข้ามาแก้ปัญหาที่จะเผชิญโดยเฉพาะอย่างยิ่งการรุกรานจากข้าศึก ที่สำคัญที่สุดก็คือเหล่าเสนาบดีไม่ทำหน้าที่ที่ตนต้องรับผิดชอบ “ทั้งการยุทธก็ไม่เตรียมฝึกสอน จึงไม่รู้กู้แก้พระนคร” ส่วนกรณีของเสนาบดีนั้นทรงวินิจฉัยว่าไม่กระทำการอันเป็นหน้าที่ มัวแต่บ้ายศบ้าอำนาจ ทำตัวไม่เหมาะสมกับตำแหน่ง จนนำไปสู่อันตรายต่อพระนคร “อันจะเปนเสนาธิบดี ควรที่จะพิทักษ์อุปถัมภ์ ประกอบการหว่านปรายไว้หลายชั้น ป้องกันปัจจาอย่าให้มี นี่ทำหาเปนเช่นนั้นไม่ เหมือนไพร่ชาติชั่วช้ากระลาสี เหตุไภยใกล้กรายร้ายดี ไม่มีที่รู้สักประการ”
นอกจากนั้นยังทรงชี้ให้เห็นถึงความประพฤติที่ไม่เหมาะสมกับผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงดังที่เห็นจากวรรคที่ว่า “จะคิดโบราณอย่างนี้ก็หาไม่ ชาติไพร่หลงฟุ้งแต่ยศถา ครั้นทัพเขายกกลับมา จะองอาจอาสาก็ไม่มี แต่เลี้ยวลดปดเจ้าทุกเช้าค่ำ จนเมืองคร่ำเปนผุยยับยี่ ฉิบหายตายล้มไม่สมประดี เมืองยับอัปรีจนทุกวัน” ซึ่งจากที่กล่าวมาแล้วนั้นยังมีการเพ็ดทูลพระมหากษัตริย์โดยปกปิดข้อเท็จจริง ในการรบก็ไม่รบอย่างกล้าหาญ ไม่อาสาป้องกันพระนคร แต่ละคนมัวแต่บ้ายศถาบรรดาศักดิ์และผลประโยชน์ส่วนตน ผลสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาก็แตกไม่มีชิ้นดี
จากการวิเคราะห์พระราชนิพนธ์ของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท จะเห็นได้ว่าพระองค์ท่านทรงเสียดายกรุงศรีอยุธยาที่แตกเป็นผุยผง และทรงเข้าพระทัยถึงสาเหตุการแตกของกรุงศรีอยุธยาอย่างชัดแจ้ง ขณะเดียวกันพระองค์ท่านก็ตั้งพระทัยแน่วแน่ที่จะต่อสู้กับข้าศึกที่ทรงมองเห็นว่าเป็นการยกมารังแกชาวกรุงศรีอยุธยา ทรงเข้าพระทัยเกี่ยวกับภูมิรัฐศาสตร์เป็นอย่างดี และทรงมีพระราชดำริจะขุดคลองเชื่อมสองมหาสมุทรเพื่อยกเรือรบออกไปสู้กับข้าศึก “จะขุดพสุธาเปนคลองใหญ่ ให้เรือรบออกประจบเอาเมืองไทร”
และนี่อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของความคิดเรื่องการขุดคอคอดกระ หรือคลองกระ อย่างไรก็ตาม ความคิดนี้ก็มีตั้งแต่สมัยพระนารายณ์มหาราชแล้ว ความแน่วแน่ของพระองค์ในการทำศึกชนะข้าศึกจะเห็นได้จากประโยคที่ว่า “จะทำการครั้งนี้ให้มีไชย จะไว้เกียรติให้สืบทั้งแผ่นดิน”
วัดชนะสงครามที่บางลำพูเป็นวัดที่กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทปฏิสังขรณ์ขึ้นมาเป็นวัดของคนไทยเชื้อสายมอญ วัดชนะสงครามคือวัดที่ฉลองการทำศึกอย่างสัมฤทธิผลของอุปราชหรือวังหน้า อันได้แก่ กรมพระราชวังบวรสถานมงคลมหาสุรสิงหนาท ซึ่งพระราชอนุสาวรีย์ของพระองค์ประดิษฐานที่วัดมหาธาตุ โดยในพระหัตถ์มีพระแสงดาบ ทรงประทับอยู่ที่วังหน้าซึ่งได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในปัจจุบัน