วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา ได้มีพระราชกฤษฎีกาเปิดประชุมสภาฯ สมัยวิสามัญเพื่อลงคะแนนเลือกคนที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของประเทศไทย ซึ่งปรากฏผลออกมาแล้วว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้รับการโหวตให้เป็นว่าที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของประเทศ เพื่อรอการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต่อไป
เมื่อพรรคประชาธิปัตย์ได้มีโอกาสเป็นรัฐบาลมีปัญหาหลักๆ อยู่ 2 ปัญหาที่จะต้องเผชิญ ปัญหาแรกคือ เรื่องการเมือง ซึ่งในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาจากข่าวที่ออกมาทางสื่อ มีการตั้งข้อสงสัยกันไปต่างๆ นานาว่ามีวาระซ่อนเร้นหรือข้อตกลงที่ไม่เปิดเผยอะไรกับกลุ่มเพื่อนเนวินบ้าง ในการที่คนกลุ่มนั้นยอมหันมาให้การสนับสนุนคุณอภิสิทธิ์เป็นนายกฯ เช่น การให้สัมภาษณ์ของนายเนวิน การให้ข่าวแก่สื่อมวลชนของพรรคประชาธิปัตย์เองว่านายชัย พ่อนายเนวินจะมาเป็นรัฐมนตรีคมนาคม และพรรคร่วมรัฐบาลเดิมจะได้ตำแหน่งรัฐมนตรีในกระทรวงที่ตัวเองเคยเป็นอยู่ก่อน ส่วนตัวนายอภิสิทธิ์เองออกมาให้สัมภาษณ์ว่า ที่ไปคุยกับนายเนวินก็คุยเรื่องอนาคตของประเทศเท่านั้น ซึ่งฟังดูดีตามบุคลิกท่วงทีการเจรจาของคนคนนี้ จริงหรือไม่จริงเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม ประเด็นการเมืองเหล่านี้มีผู้เขียนบทความให้ข้อคิดเห็นกันมามากมายแล้ว และก็ไม่ใช่ประเด็นหลักที่ผู้เขียนบทความนี้ต้องการนำเสนอ เพียงแต่ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะแบบรวบรัด ชัดเจน และสั้นๆ ว่า เมื่อคุณอภิสิทธิ์มีโอกาสเป็นนายกฯ ก็ขอให้คุณออกมายืนยันกับคนไทยทั่วประเทศว่า จะให้กระบวนการตุลาการ ซึ่งเป็นหนึ่งในสามอำนาจอธิปไตยในประเทศนี้ดำเนินไปอย่างอิสระตามครรลองของระบบยุติธรรม รัฐบาลในฐานะของอำนาจบริหารมีหน้าที่ให้การสนับสนุนเท่านั้นและจะไม่ทำการใดๆ แม้กระทั่งในทางลับที่เป็นการเข้าไปขัดขวางหรือก้าวก่ายกระบวนการนั้นอย่างที่เคยเกิดขึ้นในหลายปีนี้จากการกระทำของคนไร้แผ่นดินคนหนึ่ง
ประเด็นที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอในบทความนี้คือ ปัญหาที่สองที่ใครก็ตามที่มาเป็นรัฐบาลจะต้องเผชิญเช่นเดียวกับปัญหาแรก ปัญหานั้น คือ ปัญหาเศรษฐกิจที่ประเทศไทยจะต้องประสบในปีหน้า อันมีสาเหตุเริ่มต้นมาจากปัญหาสถาบันการเงินในประเทศสหรัฐอเมริกาในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ที่กำลังส่งผลกระทบกระจายไปทั่วโลก
สิ่งที่กระตุ้นให้ผู้เขียนหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาเขียนเพื่อต้องการสื่อไปยังพรรคประชาธิปัตย์คือ การให้สัมภาษณ์ในรายการรู้ทันประเทศไทยทางเอเอสทีวีของคุณกรณ์ จาติกวณิช เมื่อเย็นวันพฤหัสบดีที่ 11 ที่ผ่านมา โดยมี ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทองเป็นพิธีกรในรายการ เป็นที่คาดกันว่าคุณกรณ์จะมาอยู่ในทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลประชาธิปัตย์ และเป็นที่รู้กันในวงการว่าคุณกรณ์มีภูมิหลังมาจากสถาบันการเงิน มีความรู้ดีในเรื่องการเงิน เช่นเดียวกับคนอื่นๆ ที่คาดกันว่าอาจจะมาอยู่ในทีมเศรษฐกิจของพรรคด้วย ไม่ว่าจะเป็น ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล หรือคุณประสาร ไตรรัตน์วรกุล
ในการให้สัมภาษณ์นั้นส่วนใหญ่คุณกรณ์จะพูดถึงเรื่องในวงการเงิน เช่น มีอยู่ตอนหนึ่งที่พูดถึงเอสเอ็มอี หรือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (แต่มักไม่เรียกกันเพราะชื่อยาว) ว่าจะต้องให้เอสเอ็มอีมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อให้มากขึ้นเพราะเป็นภาคการผลิตที่สำคัญในช่วงที่เศรษฐกิจของประเทศกำลังตกต่ำ หรือการที่คุณกรณ์พูดถึงโครงสร้างการแข่งขันของตลาดทุนตลาดเงินที่เปลี่ยนไปโดยนายธนาคารมีอำนาจการแข่งขันมากขึ้น ไม่มีข้อสงสัยเลยว่าคุณกรณ์มีความรู้ดีในเรื่องการเงินของประเทศนี้ แต่มีสิ่งที่ผู้เขียนมีความประสงค์อย่างจริงจังที่จะท้วงติง และให้ข้อเสนอแนะแก่พรรคประชาธิปัตย์ พลันที่พรรคนี้ได้มีโอกาสทำหน้าที่รัฐบาล
สิ่งนั้นก็คือ ประการแรก พรรคประชาธิปัตย์เองก็เคยมีประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหลังปี 2540 มาแล้ว ในครั้งนั้นรัฐมนตรีคลัง ซึ่งมีภูมิหลังที่มาคล้ายกับคุณกรณ์ มุ่งแต่แก้ปัญหาสถาบันการเงินโดยมุ่งหวังว่าหากทำให้สถาบันการเงินเข้มแข็ง สถาบันฯ ก็จะขยายสินเชื่อช่วยให้ภาคเศรษฐกิจการผลิตฟื้นตัว มีการลดอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง จนอัตราดอกเบี้ยในประเทศนี้ต่ำเป็นประวัติการณ์ สอดคล้องกับอัตราในต่างประเทศและสภาพแวดล้อมที่มีการเปิดเสรีทางการเงิน แต่ผลลัพธ์กลับปรากฏว่า เศรษฐกิจของประเทศไม่ฟื้นตัวรวดเร็วอย่างที่คาดหวังกัน จนในที่สุดต้องแพ้การเลือกตั้งทั่วไป ฉะนั้นพรรคมีบทเรียนมาแล้วจากอดีต
ประการที่สอง ในช่วงเวลาหลายปีมานี้ประเทศสหรัฐอเมริกาเองก็ได้มีความพยายามแก้ปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจโดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดหลายต่อหลายครั้ง แต่ก็ไม่สามารถช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้จนล่าสุดประสบปัญหาสถาบันการเงินล้มละลายและเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย ดูเหมือนว่าการใช้อัตราดอกเบี้ยในฐานะที่เป็นเครื่องมือทางการเงินในช่วงเศรษฐกิจขาขึ้นจะได้ผล เช่น สามารถชะลอภาวะเงินเฟ้อได้ เป็นต้น แต่ในช่วงเศรษฐกิจขาลงไม่ได้ผลอย่างที่เห็นกัน นายโอบามาที่จะเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ ในเดือนมกราคมนี้ยังพูดถึงการให้ความสำคัญกับการใช้จ่ายของรัฐบาลว่าจะต้องมีประสิทธิภาพ อังกฤษเองก็เช่นเดียวกันต้องหันมาใช้นโยบายการคลังเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจในปีหน้า
ฉะนั้น พรรคประชาธิปัตย์ นอกจากจะต้องแสดงความชัดเจนทางด้านการเมืองอย่างที่ผมนำเสนอมาแบบสั้นๆ รวบรัดแล้ว ยังต้องเลือกวิธีการแก้ปัญหาเศรษฐกิจให้แน่ชัดเด็ดขาดลงไปโดยปราศจากความลังเล ถ้าใช้ภาษาเศรษฐศาสตร์ก็คือ จะเลือกวิธีการแบบเคนเซียน (the Keynesian approach) หรือวิธีการนักการเงิน (the monetarist approach)
สำหรับผู้เขียนขอเสนอวิธีการแบบแรก นอกจากเหตุผลในเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวกับประสบการณ์ของพรรคหลังปี 2540 แล้วยังมีเหตุผลจากสภาวะเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าในขณะนี้คือ ปัญหาการว่างงานที่มีทีท่าว่าจะขยายตัวในอัตราเร่งในช่วงปลายปีนี้จนข้ามไปปีหน้า คาดการณ์กันว่าจะมีผู้ว่างงานหลายแสนคน ถ้าหากพรรคยังมุ่งที่จะแก้ปัญหาโดยใช้สถาบันการเงินเป็นหลักอย่างที่ผู้เชี่ยวชาญของพรรคถนัด จากบทเรียนในอดีตก็น่าจะมองออกว่าโอกาสที่จะประสบความสำเร็จมีน้อย การใช้นโยบายการคลังหรือการใช้จ่ายของรัฐบาลตามวิธีการแบบเคนเซียนน่าจะมีประสิทธิผลมากกว่าในสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจแบบปัจจุบัน
ผมขอให้รายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายดังกล่าวนี้เพิ่มเติมดังนี้ โดยหลักการนโยบายนี้คือ การใช้จ่ายของรัฐบาลที่นอกจากการแก้ปัญหาการว่างงานเฉพาะหน้าแล้ว ยังต้องเป็นการใช้จ่ายที่มีผลดีต่อเศรษฐกิจทั้งในระยะกลางและระยะยาว ฉะนั้นจะต้องเป็นการใช้จ่ายที่มีผลในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศเพื่อเพิ่มความสามารถในการผลิตในอนาคตด้วย
คำถาม คือ จะใช้จ่ายอย่างไรที่จะให้เป็นไปตามหลักการที่กล่าวมานี้ เพื่อที่จะตอบคำถามนี้ผมขอเสนอโครงการลงทุน 2 โครงการใหญ่ๆ ให้พรรคประชาธิปัตย์พิจารณา หนึ่งคือ โครงการขุดคลองคอคอดกระในภาคใต้ (ขออนุญาตใช้ชื่อเดิมนี้ แต่ล่าสุดมีการเสนอเส้นทางขุดคลองจาก อ.สิเกา จ.ตรัง ไปถึง อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช) สองคือ โครงการชลประทานขนาดย่อมทั่วภูมิภาคเหนือและอีสาน ประเด็นที่จะถกเถียงกันเกี่ยวกับโครงการเหล่านี้มีมากมายทั้งสนับสนุนและคัดค้าน แต่เพื่อให้บทความนี้กระชับผมขอให้เหตุผลสั้นว่าทำไมจึงควรมีโครงการเหล่านี้
สำหรับโครงการแรก หลายจังหวัดในภาคใต้มีเศรษฐกิจที่ผูกพันอยู่กับการท่องเที่ยว เป็นเรื่องค่อนข้างจะแน่นอนว่านักท่องเที่ยวจากต่างประเทศจะลดน้อยลงเป็นจำนวนมากตั้งแต่ปลายปีนี้จนถึงปีหน้า โครงการใหญ่นี้จะมีส่วนช่วยธุรกิจที่ให้บริการนักท่องเที่ยวมีโอกาสจะฟื้นตัวได้ในระดับหนึ่ง คลองที่เชื่อมระหว่าง 2 มหาสมุทรจะมีผลทำให้เศรษฐกิจภาคใต้เปลี่ยนแปลงเป็นอันมากในระยะยาวดังที่มีการกล่าวถึงในบทความต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ นอกจากนี้ยังมีกระแสข่าวว่าอ่าวไทยมีแหล่งน้ำมันที่มีปริมาณสำรองมหาศาล คลองนี้ถ้าเกิดขึ้นจะสอดคล้องกับแหล่งพลังงานแหล่งนี้มากทีเดียวจนผู้เขียนเองไม่กล้าที่จะจินตนาการ
สำหรับโครงการหลัง ผู้เขียนไม่จำเป็นต้องกล่าวว่า ปัญหาเรื่องภัยแล้งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำซากทางตอนเหนือหรือแม้กระทั่งในภาคกลางเองก็ตาม ประเทศเราได้มีการลงทุนในโครงการเขื่อนขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในภาคเหนือในลุ่มน้ำปิง วัง น่าน ยกเว้นยม ล้วนแล้วแต่มีเขื่อนและอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ แต่ก็ยังมีปัญหาความแห้งแล้งให้เห็นอยู่แทบทุกปี รัฐบาลควรหันมาให้ความสนใจโครงการขนาดย่อมบ้าง ซึ่งมักก่อให้เกิดการจ้างงานมากกว่าโครงการขนาดใหญ่แต่มีปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและปัญหาความขัดแย้งทางมวลชนน้อยกว่า
ผมหวังว่าสิ่งที่เป็นข้อท้วงติงและข้อเสนอแนะเหล่านี้อาจมีผลต่อการพิจารณาของพรรคประชาธิปัตย์ในการเลือกวิธีการที่จะใช้ในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในปีหน้า หรือบางทีพรรคอาจมีวิธีการอื่นที่ดีกว่าที่ผมเสนอมาก็ได้ แต่แน่นอนต้องไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาทางด้านการเงินอย่างเดียวแล้วคาดหวังว่าจะส่งผลไปยังภาคการผลิตหรือภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง มิฉะนั้นก็อาจนำไปสู่ความล้มเหลวของพรรคอีกเป็นคำรบสอง จากที่เคยล้มเหลวในสมัยรัฐบาลชวนหลังปี 2540
ผู้เขียนเองโดยส่วนตัวเป็นผู้หนึ่งที่อยากเห็นการเมืองใหม่เกิดขึ้นในประเทศนี้ในชั่วอายุคนรุ่นนี้ แต่ไม่อาจนั่งดูพรรคนี้ประสบความล้มเหลวในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจอีกครั้งหนึ่งโดยหวังว่านั่นจะเป็นโอกาสของการเมืองใหม่ เพราะนั่นเท่ากับว่าผู้เขียนเป็นผู้ที่มีจิตใจชั่วร้าย (Vicious mind) ที่อยากให้อุดมการณ์ของตนเองบรรลุถึงบนความหายนะของประเทศ จึงหวังว่าพรรคประชาธิปัตย์จะเปิดใจกว้างที่จะรับพิจารณาข้อเสนอของคนนอกพรรคอย่างผม
เมื่อพรรคประชาธิปัตย์ได้มีโอกาสเป็นรัฐบาลมีปัญหาหลักๆ อยู่ 2 ปัญหาที่จะต้องเผชิญ ปัญหาแรกคือ เรื่องการเมือง ซึ่งในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาจากข่าวที่ออกมาทางสื่อ มีการตั้งข้อสงสัยกันไปต่างๆ นานาว่ามีวาระซ่อนเร้นหรือข้อตกลงที่ไม่เปิดเผยอะไรกับกลุ่มเพื่อนเนวินบ้าง ในการที่คนกลุ่มนั้นยอมหันมาให้การสนับสนุนคุณอภิสิทธิ์เป็นนายกฯ เช่น การให้สัมภาษณ์ของนายเนวิน การให้ข่าวแก่สื่อมวลชนของพรรคประชาธิปัตย์เองว่านายชัย พ่อนายเนวินจะมาเป็นรัฐมนตรีคมนาคม และพรรคร่วมรัฐบาลเดิมจะได้ตำแหน่งรัฐมนตรีในกระทรวงที่ตัวเองเคยเป็นอยู่ก่อน ส่วนตัวนายอภิสิทธิ์เองออกมาให้สัมภาษณ์ว่า ที่ไปคุยกับนายเนวินก็คุยเรื่องอนาคตของประเทศเท่านั้น ซึ่งฟังดูดีตามบุคลิกท่วงทีการเจรจาของคนคนนี้ จริงหรือไม่จริงเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม ประเด็นการเมืองเหล่านี้มีผู้เขียนบทความให้ข้อคิดเห็นกันมามากมายแล้ว และก็ไม่ใช่ประเด็นหลักที่ผู้เขียนบทความนี้ต้องการนำเสนอ เพียงแต่ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะแบบรวบรัด ชัดเจน และสั้นๆ ว่า เมื่อคุณอภิสิทธิ์มีโอกาสเป็นนายกฯ ก็ขอให้คุณออกมายืนยันกับคนไทยทั่วประเทศว่า จะให้กระบวนการตุลาการ ซึ่งเป็นหนึ่งในสามอำนาจอธิปไตยในประเทศนี้ดำเนินไปอย่างอิสระตามครรลองของระบบยุติธรรม รัฐบาลในฐานะของอำนาจบริหารมีหน้าที่ให้การสนับสนุนเท่านั้นและจะไม่ทำการใดๆ แม้กระทั่งในทางลับที่เป็นการเข้าไปขัดขวางหรือก้าวก่ายกระบวนการนั้นอย่างที่เคยเกิดขึ้นในหลายปีนี้จากการกระทำของคนไร้แผ่นดินคนหนึ่ง
ประเด็นที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอในบทความนี้คือ ปัญหาที่สองที่ใครก็ตามที่มาเป็นรัฐบาลจะต้องเผชิญเช่นเดียวกับปัญหาแรก ปัญหานั้น คือ ปัญหาเศรษฐกิจที่ประเทศไทยจะต้องประสบในปีหน้า อันมีสาเหตุเริ่มต้นมาจากปัญหาสถาบันการเงินในประเทศสหรัฐอเมริกาในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ที่กำลังส่งผลกระทบกระจายไปทั่วโลก
สิ่งที่กระตุ้นให้ผู้เขียนหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาเขียนเพื่อต้องการสื่อไปยังพรรคประชาธิปัตย์คือ การให้สัมภาษณ์ในรายการรู้ทันประเทศไทยทางเอเอสทีวีของคุณกรณ์ จาติกวณิช เมื่อเย็นวันพฤหัสบดีที่ 11 ที่ผ่านมา โดยมี ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทองเป็นพิธีกรในรายการ เป็นที่คาดกันว่าคุณกรณ์จะมาอยู่ในทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลประชาธิปัตย์ และเป็นที่รู้กันในวงการว่าคุณกรณ์มีภูมิหลังมาจากสถาบันการเงิน มีความรู้ดีในเรื่องการเงิน เช่นเดียวกับคนอื่นๆ ที่คาดกันว่าอาจจะมาอยู่ในทีมเศรษฐกิจของพรรคด้วย ไม่ว่าจะเป็น ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล หรือคุณประสาร ไตรรัตน์วรกุล
ในการให้สัมภาษณ์นั้นส่วนใหญ่คุณกรณ์จะพูดถึงเรื่องในวงการเงิน เช่น มีอยู่ตอนหนึ่งที่พูดถึงเอสเอ็มอี หรือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (แต่มักไม่เรียกกันเพราะชื่อยาว) ว่าจะต้องให้เอสเอ็มอีมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อให้มากขึ้นเพราะเป็นภาคการผลิตที่สำคัญในช่วงที่เศรษฐกิจของประเทศกำลังตกต่ำ หรือการที่คุณกรณ์พูดถึงโครงสร้างการแข่งขันของตลาดทุนตลาดเงินที่เปลี่ยนไปโดยนายธนาคารมีอำนาจการแข่งขันมากขึ้น ไม่มีข้อสงสัยเลยว่าคุณกรณ์มีความรู้ดีในเรื่องการเงินของประเทศนี้ แต่มีสิ่งที่ผู้เขียนมีความประสงค์อย่างจริงจังที่จะท้วงติง และให้ข้อเสนอแนะแก่พรรคประชาธิปัตย์ พลันที่พรรคนี้ได้มีโอกาสทำหน้าที่รัฐบาล
สิ่งนั้นก็คือ ประการแรก พรรคประชาธิปัตย์เองก็เคยมีประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหลังปี 2540 มาแล้ว ในครั้งนั้นรัฐมนตรีคลัง ซึ่งมีภูมิหลังที่มาคล้ายกับคุณกรณ์ มุ่งแต่แก้ปัญหาสถาบันการเงินโดยมุ่งหวังว่าหากทำให้สถาบันการเงินเข้มแข็ง สถาบันฯ ก็จะขยายสินเชื่อช่วยให้ภาคเศรษฐกิจการผลิตฟื้นตัว มีการลดอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง จนอัตราดอกเบี้ยในประเทศนี้ต่ำเป็นประวัติการณ์ สอดคล้องกับอัตราในต่างประเทศและสภาพแวดล้อมที่มีการเปิดเสรีทางการเงิน แต่ผลลัพธ์กลับปรากฏว่า เศรษฐกิจของประเทศไม่ฟื้นตัวรวดเร็วอย่างที่คาดหวังกัน จนในที่สุดต้องแพ้การเลือกตั้งทั่วไป ฉะนั้นพรรคมีบทเรียนมาแล้วจากอดีต
ประการที่สอง ในช่วงเวลาหลายปีมานี้ประเทศสหรัฐอเมริกาเองก็ได้มีความพยายามแก้ปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจโดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดหลายต่อหลายครั้ง แต่ก็ไม่สามารถช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้จนล่าสุดประสบปัญหาสถาบันการเงินล้มละลายและเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย ดูเหมือนว่าการใช้อัตราดอกเบี้ยในฐานะที่เป็นเครื่องมือทางการเงินในช่วงเศรษฐกิจขาขึ้นจะได้ผล เช่น สามารถชะลอภาวะเงินเฟ้อได้ เป็นต้น แต่ในช่วงเศรษฐกิจขาลงไม่ได้ผลอย่างที่เห็นกัน นายโอบามาที่จะเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ ในเดือนมกราคมนี้ยังพูดถึงการให้ความสำคัญกับการใช้จ่ายของรัฐบาลว่าจะต้องมีประสิทธิภาพ อังกฤษเองก็เช่นเดียวกันต้องหันมาใช้นโยบายการคลังเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจในปีหน้า
ฉะนั้น พรรคประชาธิปัตย์ นอกจากจะต้องแสดงความชัดเจนทางด้านการเมืองอย่างที่ผมนำเสนอมาแบบสั้นๆ รวบรัดแล้ว ยังต้องเลือกวิธีการแก้ปัญหาเศรษฐกิจให้แน่ชัดเด็ดขาดลงไปโดยปราศจากความลังเล ถ้าใช้ภาษาเศรษฐศาสตร์ก็คือ จะเลือกวิธีการแบบเคนเซียน (the Keynesian approach) หรือวิธีการนักการเงิน (the monetarist approach)
สำหรับผู้เขียนขอเสนอวิธีการแบบแรก นอกจากเหตุผลในเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวกับประสบการณ์ของพรรคหลังปี 2540 แล้วยังมีเหตุผลจากสภาวะเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าในขณะนี้คือ ปัญหาการว่างงานที่มีทีท่าว่าจะขยายตัวในอัตราเร่งในช่วงปลายปีนี้จนข้ามไปปีหน้า คาดการณ์กันว่าจะมีผู้ว่างงานหลายแสนคน ถ้าหากพรรคยังมุ่งที่จะแก้ปัญหาโดยใช้สถาบันการเงินเป็นหลักอย่างที่ผู้เชี่ยวชาญของพรรคถนัด จากบทเรียนในอดีตก็น่าจะมองออกว่าโอกาสที่จะประสบความสำเร็จมีน้อย การใช้นโยบายการคลังหรือการใช้จ่ายของรัฐบาลตามวิธีการแบบเคนเซียนน่าจะมีประสิทธิผลมากกว่าในสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจแบบปัจจุบัน
ผมขอให้รายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายดังกล่าวนี้เพิ่มเติมดังนี้ โดยหลักการนโยบายนี้คือ การใช้จ่ายของรัฐบาลที่นอกจากการแก้ปัญหาการว่างงานเฉพาะหน้าแล้ว ยังต้องเป็นการใช้จ่ายที่มีผลดีต่อเศรษฐกิจทั้งในระยะกลางและระยะยาว ฉะนั้นจะต้องเป็นการใช้จ่ายที่มีผลในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศเพื่อเพิ่มความสามารถในการผลิตในอนาคตด้วย
คำถาม คือ จะใช้จ่ายอย่างไรที่จะให้เป็นไปตามหลักการที่กล่าวมานี้ เพื่อที่จะตอบคำถามนี้ผมขอเสนอโครงการลงทุน 2 โครงการใหญ่ๆ ให้พรรคประชาธิปัตย์พิจารณา หนึ่งคือ โครงการขุดคลองคอคอดกระในภาคใต้ (ขออนุญาตใช้ชื่อเดิมนี้ แต่ล่าสุดมีการเสนอเส้นทางขุดคลองจาก อ.สิเกา จ.ตรัง ไปถึง อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช) สองคือ โครงการชลประทานขนาดย่อมทั่วภูมิภาคเหนือและอีสาน ประเด็นที่จะถกเถียงกันเกี่ยวกับโครงการเหล่านี้มีมากมายทั้งสนับสนุนและคัดค้าน แต่เพื่อให้บทความนี้กระชับผมขอให้เหตุผลสั้นว่าทำไมจึงควรมีโครงการเหล่านี้
สำหรับโครงการแรก หลายจังหวัดในภาคใต้มีเศรษฐกิจที่ผูกพันอยู่กับการท่องเที่ยว เป็นเรื่องค่อนข้างจะแน่นอนว่านักท่องเที่ยวจากต่างประเทศจะลดน้อยลงเป็นจำนวนมากตั้งแต่ปลายปีนี้จนถึงปีหน้า โครงการใหญ่นี้จะมีส่วนช่วยธุรกิจที่ให้บริการนักท่องเที่ยวมีโอกาสจะฟื้นตัวได้ในระดับหนึ่ง คลองที่เชื่อมระหว่าง 2 มหาสมุทรจะมีผลทำให้เศรษฐกิจภาคใต้เปลี่ยนแปลงเป็นอันมากในระยะยาวดังที่มีการกล่าวถึงในบทความต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ นอกจากนี้ยังมีกระแสข่าวว่าอ่าวไทยมีแหล่งน้ำมันที่มีปริมาณสำรองมหาศาล คลองนี้ถ้าเกิดขึ้นจะสอดคล้องกับแหล่งพลังงานแหล่งนี้มากทีเดียวจนผู้เขียนเองไม่กล้าที่จะจินตนาการ
สำหรับโครงการหลัง ผู้เขียนไม่จำเป็นต้องกล่าวว่า ปัญหาเรื่องภัยแล้งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำซากทางตอนเหนือหรือแม้กระทั่งในภาคกลางเองก็ตาม ประเทศเราได้มีการลงทุนในโครงการเขื่อนขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในภาคเหนือในลุ่มน้ำปิง วัง น่าน ยกเว้นยม ล้วนแล้วแต่มีเขื่อนและอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ แต่ก็ยังมีปัญหาความแห้งแล้งให้เห็นอยู่แทบทุกปี รัฐบาลควรหันมาให้ความสนใจโครงการขนาดย่อมบ้าง ซึ่งมักก่อให้เกิดการจ้างงานมากกว่าโครงการขนาดใหญ่แต่มีปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและปัญหาความขัดแย้งทางมวลชนน้อยกว่า
ผมหวังว่าสิ่งที่เป็นข้อท้วงติงและข้อเสนอแนะเหล่านี้อาจมีผลต่อการพิจารณาของพรรคประชาธิปัตย์ในการเลือกวิธีการที่จะใช้ในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในปีหน้า หรือบางทีพรรคอาจมีวิธีการอื่นที่ดีกว่าที่ผมเสนอมาก็ได้ แต่แน่นอนต้องไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาทางด้านการเงินอย่างเดียวแล้วคาดหวังว่าจะส่งผลไปยังภาคการผลิตหรือภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง มิฉะนั้นก็อาจนำไปสู่ความล้มเหลวของพรรคอีกเป็นคำรบสอง จากที่เคยล้มเหลวในสมัยรัฐบาลชวนหลังปี 2540
ผู้เขียนเองโดยส่วนตัวเป็นผู้หนึ่งที่อยากเห็นการเมืองใหม่เกิดขึ้นในประเทศนี้ในชั่วอายุคนรุ่นนี้ แต่ไม่อาจนั่งดูพรรคนี้ประสบความล้มเหลวในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจอีกครั้งหนึ่งโดยหวังว่านั่นจะเป็นโอกาสของการเมืองใหม่ เพราะนั่นเท่ากับว่าผู้เขียนเป็นผู้ที่มีจิตใจชั่วร้าย (Vicious mind) ที่อยากให้อุดมการณ์ของตนเองบรรลุถึงบนความหายนะของประเทศ จึงหวังว่าพรรคประชาธิปัตย์จะเปิดใจกว้างที่จะรับพิจารณาข้อเสนอของคนนอกพรรคอย่างผม