"จรุง หนูขวัญ" อดีตรองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชื่อนี้ปรากฏบนหน้าหนังสือพิมพ์อีกครั้งเมื่อวันที่ 29 ก.ค.ที่ผ่านมา หลัง นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมว.คลัง เสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) แต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ธปท. หรือบอร์ดแบงก์ชาติจำนวน 6 คน ขณะนั้นมีการทักท้วงมติดังกล่าว
ที่มาของบอร์ดสรรหาส่อผิดกฎหมายตาม พ.ร.บ.ธปท. มาตรา 28/1 ประกอบกับรายชื่อบอร์ดใหม่เกือบทั้งหมด คือ พรชัย นุชสุวรรณ วุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์ ชัยเกษม นิติสิริ คณิศ แสงสุพรรณ และ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ คือคนในระบอบทักษิณ และ 5 ใน 6 คน ส่งชื่อโดยกระทรวงการคลัง มีจรุงคนเดียวที่ ธปท.ส่ง จรุง จึงเป็นความหวังในการถ่วงดุลอำนาจธนาคารกลางไม่ให้ตกอยู่ในมือฝ่ายการเมืองทั้งหมด จริงอยู่คนของ ธปท.สร้างวิกฤตเมื่อปี 2540 ทว่าจรุงเป็นข้อยกเว้น ในบรรดาผู้บริหารระดับสูง จรุงขึ้นชื่อว่ามือสะอาดที่สุด มักน้อย และไม่คบหานักการเมือง กว่า 30 ปีในแบงก์ชาติไร้มลทิน ไม่แปลกถ้าคนแบงก์ชาติและสังคมจะฝากความหวัง...
***หลังจากเกษียณอายุจากแบงก์ชาติอาจารย์ทำงานที่ไหนอีกบ้าง
ผมรักสงบ กินน้อยใช้น้อย ออกจากแบงก์ชาติ มีงานทำ 2 แห่ง คือ กิจการส่วนตัวทำมาตั้งแต่ก่อนเกษียณ ที่ทำได้เพราะไม่ขัดกับงานแบงก์ชาติ ผมหุ้นกับเพื่อนเป็นกิจการเล็กๆ ตอนนี้ลูกๆ ของเพื่อนบริหาร คือบริษัทสำนักงาน เอเอ็มอี จำกัด ให้คำปรึกษาตรวจสอบบัญชี พอดีผมได้รับ ACA (Associate of Charter Accountants) จากสภาวิชาชีพทางสอบบัญชีของอังกฤษ แต่ ACA นี่เป็นผู้สอบไม่ได้นะ ผู้ที่สอบบัญชีต้องได้ CPA ในเมืองไทย ผมจึงเป็นแค่ประธานและที่ปรึกษาบริษัทฯ อีกแห่งที่ทำก็คือบริษัทรับฝากหลักทรัพย์ ผมเป็นกรรมการมาตั้งแต่ปี 2547 เป็นบริษัทลูกของตลาดหลักทรัพย์ ก็มีเบี้ยประชุมให้ ผมเห็นว่าไม่ใช่บริษัทเอกชน จึงเข้าไปช่วย
***ทำไมไม่เป็นกรรมการบริษัทเอกชนเหมือนอดีตผู้บริหารแบงก์ชาติคนอื่น
ถ้าเป็นกรรมการบริษัทเอกชนไม่เอา อย่างที่บอกผมรักสงบและผมพอแล้ว กรณีกรรมการแบงก์ชาติเป็นข้อยกเว้น เพราะไม่ใช่เอกชน คนที่ทาบทามติดต่อมา อยากให้ไปช่วยงานในบอร์ด ผมจึงยินดี ผมต้องตอบแทนแบงก์ชาติ เพราะที่ผ่านมาแบงก์ชาติให้ทุนการศึกษา และดูแลผม
***ลำบากใจหรือไม่ เพราะกรรมการ 6 คน ที่ ครม.แต่งตั้งมีอาจารย์คนเดียวที่มาจากแบงก์ชาติ
ไม่หนักใจ ผมจะเป็นตัวของตัวเอง ทำหน้าที่กรรมการอย่างตรงไปตรงมา และเชื่อว่าทุกคนเป็นผู้ใหญ่กันหมดแล้ว ต้องให้โอกาสกัน แต่ยอมรับว่ารู้สึกแปลกใจกับที่มาของการคัดเลือกคือคณะกรรมการสรรหา ที่สื่อวิพากษ์วิจารณ์อยู่ในขณะนี้ ผมพยายามอ่านกฎหมาย ก็เห็นช่องโหว่ ก็รู้สึกงงๆ ยังไงก็แล้วแต่ 6 คนที่ถูกเลือกมาเป็นกรรมการไม่ผิด ส่วนคนสรรหานั้นอีกเรื่อง ต้องแยกกัน
***หลายฝ่ายมีการท้วงติงบอร์ดแบงก์ชาติเพราะบอร์ดสรรหาส่อผิดกฎหมาย
อยากให้สื่อช่วยตรวจสอบบอร์ดแบงก์ชาติ เพราะสำคัญมาก คนเหล่านี้ต้องไปเลือกอีก 3 บอร์ด คือคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) คณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) และคณะกรรมการระบบชำระเงิน (กรช.) โดยเฉพาะบอร์ด กนง.สำคัญที่สุดในตอนนี้ เป็นผู้กำหนดนโยบายการเงินและทำหน้าที่เป็นผู้รายงานให้รัฐมนตรีคลังและ ครม. โครงสร้างบอร์ด กนง.มีทั้งหมด 7 คน เป็นโดยตำแหน่ง 3 คนคือผู้ว่าฯ (ธาริษา วัฒนเกส) และรองผู้ว่าอีก 2 คน (อัจนา ไวความดี และ บัณฑิต นิจถาวร) ที่เหลือ 4 คน รัฐมนตรีคลังเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งกำหนดคุณสมบัติกว้างมาก
***จะซ้ำรอยกับการสรรหาบอร์ดแบงก์ชาติอีกหรือไม่
ทำยังไงได้ กฎหมายเขียนไว้อย่างนั้น
***ขั้นตอนหลัง ครม.แต่งตั้งแล้วจะเริ่มทำงานได้เมื่อไหร่
ที่ผมยังให้ความเห็นหรือรายละเอียดมากไม่ได้ เพราะกระบวนการแต่งตั้งยังไม่สมบูรณ์ ต้องรอโปรดเกล้าตำแหน่งประธานบอร์ด (พรชัย นุชสุวรรณ) หลังจากนั้นจึงจะมีผลทั้งคณะ และเริ่มประชุมนัดแรกได้.
ที่มาของบอร์ดสรรหาส่อผิดกฎหมายตาม พ.ร.บ.ธปท. มาตรา 28/1 ประกอบกับรายชื่อบอร์ดใหม่เกือบทั้งหมด คือ พรชัย นุชสุวรรณ วุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์ ชัยเกษม นิติสิริ คณิศ แสงสุพรรณ และ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ คือคนในระบอบทักษิณ และ 5 ใน 6 คน ส่งชื่อโดยกระทรวงการคลัง มีจรุงคนเดียวที่ ธปท.ส่ง จรุง จึงเป็นความหวังในการถ่วงดุลอำนาจธนาคารกลางไม่ให้ตกอยู่ในมือฝ่ายการเมืองทั้งหมด จริงอยู่คนของ ธปท.สร้างวิกฤตเมื่อปี 2540 ทว่าจรุงเป็นข้อยกเว้น ในบรรดาผู้บริหารระดับสูง จรุงขึ้นชื่อว่ามือสะอาดที่สุด มักน้อย และไม่คบหานักการเมือง กว่า 30 ปีในแบงก์ชาติไร้มลทิน ไม่แปลกถ้าคนแบงก์ชาติและสังคมจะฝากความหวัง...
***หลังจากเกษียณอายุจากแบงก์ชาติอาจารย์ทำงานที่ไหนอีกบ้าง
ผมรักสงบ กินน้อยใช้น้อย ออกจากแบงก์ชาติ มีงานทำ 2 แห่ง คือ กิจการส่วนตัวทำมาตั้งแต่ก่อนเกษียณ ที่ทำได้เพราะไม่ขัดกับงานแบงก์ชาติ ผมหุ้นกับเพื่อนเป็นกิจการเล็กๆ ตอนนี้ลูกๆ ของเพื่อนบริหาร คือบริษัทสำนักงาน เอเอ็มอี จำกัด ให้คำปรึกษาตรวจสอบบัญชี พอดีผมได้รับ ACA (Associate of Charter Accountants) จากสภาวิชาชีพทางสอบบัญชีของอังกฤษ แต่ ACA นี่เป็นผู้สอบไม่ได้นะ ผู้ที่สอบบัญชีต้องได้ CPA ในเมืองไทย ผมจึงเป็นแค่ประธานและที่ปรึกษาบริษัทฯ อีกแห่งที่ทำก็คือบริษัทรับฝากหลักทรัพย์ ผมเป็นกรรมการมาตั้งแต่ปี 2547 เป็นบริษัทลูกของตลาดหลักทรัพย์ ก็มีเบี้ยประชุมให้ ผมเห็นว่าไม่ใช่บริษัทเอกชน จึงเข้าไปช่วย
***ทำไมไม่เป็นกรรมการบริษัทเอกชนเหมือนอดีตผู้บริหารแบงก์ชาติคนอื่น
ถ้าเป็นกรรมการบริษัทเอกชนไม่เอา อย่างที่บอกผมรักสงบและผมพอแล้ว กรณีกรรมการแบงก์ชาติเป็นข้อยกเว้น เพราะไม่ใช่เอกชน คนที่ทาบทามติดต่อมา อยากให้ไปช่วยงานในบอร์ด ผมจึงยินดี ผมต้องตอบแทนแบงก์ชาติ เพราะที่ผ่านมาแบงก์ชาติให้ทุนการศึกษา และดูแลผม
***ลำบากใจหรือไม่ เพราะกรรมการ 6 คน ที่ ครม.แต่งตั้งมีอาจารย์คนเดียวที่มาจากแบงก์ชาติ
ไม่หนักใจ ผมจะเป็นตัวของตัวเอง ทำหน้าที่กรรมการอย่างตรงไปตรงมา และเชื่อว่าทุกคนเป็นผู้ใหญ่กันหมดแล้ว ต้องให้โอกาสกัน แต่ยอมรับว่ารู้สึกแปลกใจกับที่มาของการคัดเลือกคือคณะกรรมการสรรหา ที่สื่อวิพากษ์วิจารณ์อยู่ในขณะนี้ ผมพยายามอ่านกฎหมาย ก็เห็นช่องโหว่ ก็รู้สึกงงๆ ยังไงก็แล้วแต่ 6 คนที่ถูกเลือกมาเป็นกรรมการไม่ผิด ส่วนคนสรรหานั้นอีกเรื่อง ต้องแยกกัน
***หลายฝ่ายมีการท้วงติงบอร์ดแบงก์ชาติเพราะบอร์ดสรรหาส่อผิดกฎหมาย
อยากให้สื่อช่วยตรวจสอบบอร์ดแบงก์ชาติ เพราะสำคัญมาก คนเหล่านี้ต้องไปเลือกอีก 3 บอร์ด คือคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) คณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) และคณะกรรมการระบบชำระเงิน (กรช.) โดยเฉพาะบอร์ด กนง.สำคัญที่สุดในตอนนี้ เป็นผู้กำหนดนโยบายการเงินและทำหน้าที่เป็นผู้รายงานให้รัฐมนตรีคลังและ ครม. โครงสร้างบอร์ด กนง.มีทั้งหมด 7 คน เป็นโดยตำแหน่ง 3 คนคือผู้ว่าฯ (ธาริษา วัฒนเกส) และรองผู้ว่าอีก 2 คน (อัจนา ไวความดี และ บัณฑิต นิจถาวร) ที่เหลือ 4 คน รัฐมนตรีคลังเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งกำหนดคุณสมบัติกว้างมาก
***จะซ้ำรอยกับการสรรหาบอร์ดแบงก์ชาติอีกหรือไม่
ทำยังไงได้ กฎหมายเขียนไว้อย่างนั้น
***ขั้นตอนหลัง ครม.แต่งตั้งแล้วจะเริ่มทำงานได้เมื่อไหร่
ที่ผมยังให้ความเห็นหรือรายละเอียดมากไม่ได้ เพราะกระบวนการแต่งตั้งยังไม่สมบูรณ์ ต้องรอโปรดเกล้าตำแหน่งประธานบอร์ด (พรชัย นุชสุวรรณ) หลังจากนั้นจึงจะมีผลทั้งคณะ และเริ่มประชุมนัดแรกได้.