เอเอฟพี/เอเยนซีส์ – วิกฤตภาคที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯ ซึ่งลามปามทำให้เกิดภาวะสินเชื่อตึงตัวทั่วโลก โดยที่มีบางคนเรียกกันว่า วิกฤต “แฮมเบอร์เกอร์” นั้น ได้เกิดขึ้นครบหนึ่งปีแล้วในเดือนนี้ แต่สถานการณ์ก็ยังไม่มีท่าทีว่าจะดีขึ้นแต่อย่างใด ภายในอุโมงค์อันมืดทึบแห่งความปั่นป่วนทางการเงิน ก็ยังมองเห็นแสงสว่างที่ปลายทางได้อย่างเลือนลางเต็มที แม้ว่าทางการสหรัฐฯจะทยอยออกมามาตรการต่าง ๆออกมาต่อสู้กับปัญหาก็ตามที
“วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์” เริ่มต้นด้วยวิกฤตสินเชื่อที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯ สืบเนื่องจากการปล่อยกู้แบบหละหลวมให้แก่ลูกค้าที่ประวัติการเงินไม่ดี หรือ “ซับไพรม์” แล้วปัญหาก็มาปะทุขึ้นในปีที่แล้ว เมื่อผู้กู้ประเภทนี้ได้หยุดพักการชำระหนี้กันเป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ ของระบบการเงินอย่างรวดเร็ว ด้วยลักษณาการของตัวโดมิโนล้ม โดยบัดนี้ยังไม่เห็นเลยว่าจะไปสิ้นสุดลงที่ตรงไหน
ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเทียบวิกฤตตลาดบ้านและภาคการเงินครั้งนี้ กับยุคเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ของสหรัฐฯในช่วงทศวรรษ 1930 เพราะตอนนี้เศรษฐกิจสหรัฐฯกำลังยืนอยู่บนปากเหวแห่งภาวะเศรษฐกิจถดถอยไม่ต่างกัน และความหวังที่ว่าตลาดหลักทรัพย์จะฟื้นตัวขึ้นมาก็หดหายไปแล้ว
ความผันผวนที่เกิดขึ้นนั้นส่งผลอย่างแหลมคมต่อตลาดทุนของสหรัฐฯ ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ลดลงไป 13% นับตั้งแต่เดือนสิงหาคมปีที่แล้วและทำให้นักลงทุนขาดทุนอย่างหนัก
“นับตั้งแต่ฤดูร้อนปีที่แล้ว สถานการณ์ในแบบเดียวกันได้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกอย่างน้อย 6 รอบแล้ว นั่นก็คือ ข่าวร้ายทางเศรษฐกิจทางการเงินที่ย่ำแย่ นำไปสู่การเทขายรุนแรงในตลาดหลักทรัพย์ จากนั้นก็มีการเข้าแทรกแซงอันไม่คาดฝันของธนาคารกลางสหรัฐฯหรือมาตรการพยุงและกระตุ้นตลาดของรัฐบาล” นูริเอล รูบินิ นักเศรษฐศาสตร์อิสระ ระบุในบันทึกสรุปส่งถึงลูกค้าของเขา
เขากล่าวต่อไปว่า แต่แล้วมาตรการของรัฐบาลเท่าที่ทยอยออกมา ก็สามารถกระตุ้นตลาดได้เพียงชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น และหลังจากการใช้มาตรการแต่ละครั้งผ่านพ้นไป “คลื่นสึนามิ” แห่งข่าวร้ายทางเศรษฐกิจนานา ก็โหมเข้ามากระหน่ำเอาตลาดร่วงลงไปอีกคำรบหนึ่ง
รูบินิมองตลาดในเชิงลบตลอดมา ซึ่งก่อนหน้านี้มีนักวิเคราะห์ไม่มากนักที่มองเช่นนี้ แต่นักวิเคราะห์จำนวนมากเริ่มหันมามองตลาดในกระแสนี้กันมากขึ้น เพราะสถานการณ์ที่ผ่านมาได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าปัญหาไม่จบไปง่าย ๆ
“ตอนนี้เห็นได้ชัดเลยว่าตลาดการเงินทั้งหลายรวมทั้งเศรษฐกิจโดยรวม ได้ร่วงลงไปสู่เขตอันตรายแล้ว ความเสี่ยงที่จะเกิดสถานการณ์ร้าย ๆใหญ่ ๆมีมากขึ้นโดยเฉพาะการถดถอยอย่างรุนแรงของเศรษฐกิจ” ไบรอัน เบทธูน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของโกลบอล อินไซท์กล่าว
ในภาวะเช่นนี้ อุตสาหกรรมการเงินการธนาคารถูกกระทบอย่างหนักหน่วงเป็นพิเศษ และความกังวลในเรื่องที่อาจมีแบงก์หรือสถาบันการเงินใหญ่ๆ เจ๊ง ได้หวนกลับมาอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นับตั้งแต่อินดีแมค ธนาคารในแคลิฟอร์เนียล้มลงไปเมื่อเดือนก่อน
วิกฤตสินเชื่อที่เริ่มแสดงให้เห็นชัดมากขึ้นตั้งแต่ปีที่แล้ว กำลังทำให้ธนาคารไม่กล้าให้เงินกู้แก่กันและกันมากขึ้น และยิ่งทำให้ระบบการเงินของสหรัฐฯและโลกยิ่งติดอยู่ในโคลนตมแห่งปัญหาลึกยิ่งขึ้น
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่คอยพิทักษ์ระบบการเงินโลกแถลงเตือนเมื่อเดือนที่แล้ว ถึงความเป็นไปได้ของ “วงจรที่คอยป้อนผลกระทบทางลบให้กันและกัน ระหว่างระบบการเงินกับเศรษฐกิจภาพรวม” ไอเอ็มเอฟยังชี้ด้วยว่าในขณะที่การขาดทุนจากตราสารซับไพรม์ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง สินเชื่อประเภทอื่น ๆก็กำลังเกิดปัญหาขึ้นด้วย
ส่วนตลาดอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯก็ยังไม่พ้นพงหนาม ในช่วงไตรมาส 2 ปีนี้ จำนวนการบังคับขายทอดตลาดบ้านเพิ่มขึ้นถึง 121% ขณะที่ราคาบ้านในเมืองใหญ่ 20 แห่งทั่วสหรัฐฯก็ดิ่งลง 15.8%
แม้ว่าทำเนียบขาว, ธนาคารกลางสหรัฐฯและกระทรวงการคลังจะผนึกกำลังกันออกหลายมาตรการเพื่อผ่อนคลายภาวะสินเชื่อตึงตัว แต่การเข้าแทรกแซงอย่างต่อเนื่องก็ยังไม่สามารถหยุดภาวะสินเชื่อตึงตัวลงไปได้
“วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์” เริ่มต้นด้วยวิกฤตสินเชื่อที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯ สืบเนื่องจากการปล่อยกู้แบบหละหลวมให้แก่ลูกค้าที่ประวัติการเงินไม่ดี หรือ “ซับไพรม์” แล้วปัญหาก็มาปะทุขึ้นในปีที่แล้ว เมื่อผู้กู้ประเภทนี้ได้หยุดพักการชำระหนี้กันเป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ ของระบบการเงินอย่างรวดเร็ว ด้วยลักษณาการของตัวโดมิโนล้ม โดยบัดนี้ยังไม่เห็นเลยว่าจะไปสิ้นสุดลงที่ตรงไหน
ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเทียบวิกฤตตลาดบ้านและภาคการเงินครั้งนี้ กับยุคเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ของสหรัฐฯในช่วงทศวรรษ 1930 เพราะตอนนี้เศรษฐกิจสหรัฐฯกำลังยืนอยู่บนปากเหวแห่งภาวะเศรษฐกิจถดถอยไม่ต่างกัน และความหวังที่ว่าตลาดหลักทรัพย์จะฟื้นตัวขึ้นมาก็หดหายไปแล้ว
ความผันผวนที่เกิดขึ้นนั้นส่งผลอย่างแหลมคมต่อตลาดทุนของสหรัฐฯ ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ลดลงไป 13% นับตั้งแต่เดือนสิงหาคมปีที่แล้วและทำให้นักลงทุนขาดทุนอย่างหนัก
“นับตั้งแต่ฤดูร้อนปีที่แล้ว สถานการณ์ในแบบเดียวกันได้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกอย่างน้อย 6 รอบแล้ว นั่นก็คือ ข่าวร้ายทางเศรษฐกิจทางการเงินที่ย่ำแย่ นำไปสู่การเทขายรุนแรงในตลาดหลักทรัพย์ จากนั้นก็มีการเข้าแทรกแซงอันไม่คาดฝันของธนาคารกลางสหรัฐฯหรือมาตรการพยุงและกระตุ้นตลาดของรัฐบาล” นูริเอล รูบินิ นักเศรษฐศาสตร์อิสระ ระบุในบันทึกสรุปส่งถึงลูกค้าของเขา
เขากล่าวต่อไปว่า แต่แล้วมาตรการของรัฐบาลเท่าที่ทยอยออกมา ก็สามารถกระตุ้นตลาดได้เพียงชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น และหลังจากการใช้มาตรการแต่ละครั้งผ่านพ้นไป “คลื่นสึนามิ” แห่งข่าวร้ายทางเศรษฐกิจนานา ก็โหมเข้ามากระหน่ำเอาตลาดร่วงลงไปอีกคำรบหนึ่ง
รูบินิมองตลาดในเชิงลบตลอดมา ซึ่งก่อนหน้านี้มีนักวิเคราะห์ไม่มากนักที่มองเช่นนี้ แต่นักวิเคราะห์จำนวนมากเริ่มหันมามองตลาดในกระแสนี้กันมากขึ้น เพราะสถานการณ์ที่ผ่านมาได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าปัญหาไม่จบไปง่าย ๆ
“ตอนนี้เห็นได้ชัดเลยว่าตลาดการเงินทั้งหลายรวมทั้งเศรษฐกิจโดยรวม ได้ร่วงลงไปสู่เขตอันตรายแล้ว ความเสี่ยงที่จะเกิดสถานการณ์ร้าย ๆใหญ่ ๆมีมากขึ้นโดยเฉพาะการถดถอยอย่างรุนแรงของเศรษฐกิจ” ไบรอัน เบทธูน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของโกลบอล อินไซท์กล่าว
ในภาวะเช่นนี้ อุตสาหกรรมการเงินการธนาคารถูกกระทบอย่างหนักหน่วงเป็นพิเศษ และความกังวลในเรื่องที่อาจมีแบงก์หรือสถาบันการเงินใหญ่ๆ เจ๊ง ได้หวนกลับมาอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นับตั้งแต่อินดีแมค ธนาคารในแคลิฟอร์เนียล้มลงไปเมื่อเดือนก่อน
วิกฤตสินเชื่อที่เริ่มแสดงให้เห็นชัดมากขึ้นตั้งแต่ปีที่แล้ว กำลังทำให้ธนาคารไม่กล้าให้เงินกู้แก่กันและกันมากขึ้น และยิ่งทำให้ระบบการเงินของสหรัฐฯและโลกยิ่งติดอยู่ในโคลนตมแห่งปัญหาลึกยิ่งขึ้น
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่คอยพิทักษ์ระบบการเงินโลกแถลงเตือนเมื่อเดือนที่แล้ว ถึงความเป็นไปได้ของ “วงจรที่คอยป้อนผลกระทบทางลบให้กันและกัน ระหว่างระบบการเงินกับเศรษฐกิจภาพรวม” ไอเอ็มเอฟยังชี้ด้วยว่าในขณะที่การขาดทุนจากตราสารซับไพรม์ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง สินเชื่อประเภทอื่น ๆก็กำลังเกิดปัญหาขึ้นด้วย
ส่วนตลาดอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯก็ยังไม่พ้นพงหนาม ในช่วงไตรมาส 2 ปีนี้ จำนวนการบังคับขายทอดตลาดบ้านเพิ่มขึ้นถึง 121% ขณะที่ราคาบ้านในเมืองใหญ่ 20 แห่งทั่วสหรัฐฯก็ดิ่งลง 15.8%
แม้ว่าทำเนียบขาว, ธนาคารกลางสหรัฐฯและกระทรวงการคลังจะผนึกกำลังกันออกหลายมาตรการเพื่อผ่อนคลายภาวะสินเชื่อตึงตัว แต่การเข้าแทรกแซงอย่างต่อเนื่องก็ยังไม่สามารถหยุดภาวะสินเชื่อตึงตัวลงไปได้