เอเอฟพี - แผนการกอบกู้ภาคการเงินมูลค่ารวมกันนับล้านล้านดอลลาร์ ที่รัฐบาลทั่วโลกจับมือกันประกาศออกมานั้น ทำให้ตลาดเงินและตลาดทุนดีดกลับขึ้นมาได้เพียงไม่กี่วันเท่านั้น ก็หวนกลับไปติดลบเหมือนเดิม จากความกลัวว่าเศรษฐกิจภาคการผลิตที่แท้จริงของโลกจะถูกแรงสั่นสะเทือนทางการเงิน กระชากเข้าสู่ภาวะถดถอยรุนแรง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เจ้าหน้าที่ระดับท็อปผู้หนึ่งของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ได้ออกมาคาดหมายว่า เศรษฐกิจอเมริกันในไตรมาส 3 และ 4 ของปีนี้ น่าจะไม่ขยายตัวเลยด้วยซ้ำ จึงยิ่งกระพือเกิดความกลัวรอบใหม่เกี่ยวกับเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ขึ้นมา
คำพูดที่สะท้อนปัญหาหนักของเศรษฐกิจสหรัฐฯ เช่นนี้ บังเกิดขึ้นหลังจากที่รัฐบาลอเมริกันเปิดเผยในวันอังคาร (14) ถึงโครงการนำเอาเงิน 250,000 ล้านดอลลาร์ ของแผนการช่วยชีวิตสถาบันการเงินมูลค่ารวม 700,000 ล้านดอลลาร์ มาซื้อหุ้นจำนวนหนึ่งในธนาคารขนาดใหญ่ของสหรัฐฯรวม 9 แห่ง เพื่อช่วยเหลือสถาบันการเงินซึ่งถูกการขาดแคลนสินเชื่อเล่นงานอยู่ในขณะนี้
“นี่เป็นมาตรการระยะสั้นเพื่อประกันว่าระบบการธนาคารของสหรัฐฯ จะไม่ล้มครืนไป” ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช กล่าวเมื่อวันอังคารในขณะที่ประกาศแนวทางความช่วยเหลือนี้ออกมา
บุช กล่าวว่า เขาเองความจริงก็ไม่อยากจะออกมาตรการนี้ แต่การเข้าแทรกแซงของทางการนั้น “ไม่ได้เกิดจากความตั้งใจที่จะครอบงำตลาดเสรี แต่ต้องการจะธำรงมันเอาไว้”
ขณะที่รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ เฮนรี พอลสัน กล่าวว่า การตัดสินใจที่จะเข้าถือหุ้นในธนาคาร 9 แห่งของทางการสหรัฐฯ “เป็นสิ่งที่ชาวอเมริกันส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย” แต่เป็นสิ่งที่รัฐบาลจำต้องทำ
“การเข้าแทรกแซงเป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการทำ แต่มาตรการที่ประกาศในวันนี้เป็นสิ่งที่เราจะต้องทำเพื่อพลิกฟื้นความเชื่อมั่นต่อระบบการเงินของเราให้คืนมาดังเดิม” เขาสรุป
แผนการกอบกู้ธนาคารของสหรัฐฯ นี้ คล้ายคลึงกับแผนซึ่งประกาศก่อนหน้านี้ในยุโรป ที่จะเข้าอุ้มธนาคารทั้งหลายก่อนที่จะพังทลายลงมาจากการขาดแคลนสภาพคล่องรุนแรงในระบบการเงินโลก รวมทั้งการขาดความเชื่อมั่นของประชาชน ซึ่งทำให้รัฐบาลต่างๆ ของโลกจำเป็นต้องประกาศมาตรการฉุกเฉินหลายประการเพื่อเรียกคืนความเชื่อมั่น รวมทั้งอัดฉีดเม็ดเงินเข้าไปในตลาดด้วย
อย่างไรก็ดี ขณะที่มาตรการต่างๆ เหล่านี้ ดูจะสามารถบรรเทาความวิตกต่อภาคการเงินลงได้ในหลายๆ ด้าน แต่แล้วก็กลับเกิดความกังวลกันขึ้นมาว่า เศรษฐกิจโลกน่าจะดำดิ่งลงสู่ภาวะถดถอยตัวรุนแรง โดยไม่อาจยับยั้งเอาไว้ได้เสียแล้ว
เจเน็ต เยลเลน ประธานสาขาซานฟรานซิสโกลของธนาคารกลางสหรัฐฯ กล่าวเมื่อวันอังคารว่า สหรัฐฯ ซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกนั้นดูเหมือนจะเข้าสู่ภาวะถดถอยแล้ว
“ดูเหมือนว่าทุกภาคของเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินอันรุนแรง” เยลเลน ชี้ระหว่างกล่าวสุนทรพจน์ในแคลิฟอร์เนีย
“ข้อมูลเศรษฐกิจเมื่อเร็วๆ นี้ ชี้ให้เห็นว่า เศรษฐกิจอ่อนตัวลงมากกว่าที่คาดไว้ในช่วงไตรมาสสาม ซึ่งถ้าเป็นจริงดังนั้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ ก็จะไม่เติบโตแม้แต่น้อยในช่วงเวลาดังกล่าว” เยลเลน กล่าว “นอกจากนี้ อัตราการเติบโตในไตรมาส 4 ก็น่าจะย่ำแย่ อาจเป็นได้ว่าจะหดตัวเสียด้วยซ้ำ”
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยนั้น มักวัดจากการที่เศรษฐกิจของประเทศหดตัวหรือมีอัตราการเติบโตติดลบรวม 2 ไตรมาสติดต่อกัน ในช่วงไตรมาสที่ 2 เศรษฐกิจสหรัฐฯเติบโต 2.8% ในขณะที่ตัวเลขของไตรมาส 3 กำหนดจะประกาศในช่วงสิ้นเดือนตุลาคมนี้
ความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจชะลอตัวทั้งโลก รวมทั้งวิกฤตในตลาดการเงิน ทำให้ตลาดหุ้นของนานาประเทศตกอยู่ในสภาพเหวี่ยงขึ้นลงรุนแรง และเมื่อคำนวณเป็นภาพรวมแล้ว มูลค่าของหุ้นในตลาดได้หายไปอย่างมหาศาลในช่วงปีนี้
สภาพการซื้อขายของตลาดหุ้นเอเชียวันพุธ (15) ดัชนีหลักในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 1.1% ในขณะที่ฮ่องกงลงไป 2.9% ส่วนที่ออสเตรเลียที่รัฐบาลเพิ่งประกาศแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 7,250 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย ดัชนีหลักก็ร่วงลง 0.8%
ในปีนี้มูลค่าหุ้นในตลาดญี่ปุ่นหายไปถึง 38% ส่วนในตลาดฮ่องกงนั้นหายไปถึง 41.5% แล้ว นักวิเคราะห์กล่าวว่านักลงทุนพากันวิตกเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจโลกจะชะลออัตราการเติบโตลง แม้ว่าปัญหาสินเชื่อขาดแคลนจะบรรเทาไปแล้วก็ตาม
“ข่าวดีในตลาดการเงินก็ถูกประกาศออกมาหมดแล้ว” มาซาโตชิ ซาโตะ โบรกเกอร์ของมิซูโฮ อินเวสเตอร์ส ซีเคียวริตี้ส์กล่าว โดยหมายถึงมาตรการฟื้นฟูภาคการเงินทั้งหลายที่รัฐบาลทยอยประกาศออกมา “ตอนนี้นักลงทุนก็เลยหันไปสนใจภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงแทน”
เมื่อตลาดยุโรปเปิดทำการในวันพุธ หุ้นลอนดอนก็ร่วงลงไป 0.19% หุ้นในฝรั่งเศสก็ลดลงไป 0.55% ส่วนดัชนีแด๊กซ์ของตลาดแฟรงก์เฟิร์ตก็ลดลง 0.23%
ส่วนที่ตลาดสหรัฐฯ วันอังคาร ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดลดลง 082%
ก่อนหน้านี้ ตลาดหุ้นโลกเกือบทุกแห่งต่างพุ่งทะยานแรง หลังที่รัฐบาลประเทศต่างๆ ทยอยกันออกมาประกาศแผนการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบการธนาคารเป็นมูลค่ารวมกันหลายล้านล้านดอลลาร์ รวมทั้งประกาศมาตรการประกันเงินฝาก และอัดฉีดเม็ดเงินระยะสั้นเพื่อหล่อเลี้ยงตลาดสินเชื่อ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เจ้าหน้าที่ระดับท็อปผู้หนึ่งของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ได้ออกมาคาดหมายว่า เศรษฐกิจอเมริกันในไตรมาส 3 และ 4 ของปีนี้ น่าจะไม่ขยายตัวเลยด้วยซ้ำ จึงยิ่งกระพือเกิดความกลัวรอบใหม่เกี่ยวกับเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ขึ้นมา
คำพูดที่สะท้อนปัญหาหนักของเศรษฐกิจสหรัฐฯ เช่นนี้ บังเกิดขึ้นหลังจากที่รัฐบาลอเมริกันเปิดเผยในวันอังคาร (14) ถึงโครงการนำเอาเงิน 250,000 ล้านดอลลาร์ ของแผนการช่วยชีวิตสถาบันการเงินมูลค่ารวม 700,000 ล้านดอลลาร์ มาซื้อหุ้นจำนวนหนึ่งในธนาคารขนาดใหญ่ของสหรัฐฯรวม 9 แห่ง เพื่อช่วยเหลือสถาบันการเงินซึ่งถูกการขาดแคลนสินเชื่อเล่นงานอยู่ในขณะนี้
“นี่เป็นมาตรการระยะสั้นเพื่อประกันว่าระบบการธนาคารของสหรัฐฯ จะไม่ล้มครืนไป” ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช กล่าวเมื่อวันอังคารในขณะที่ประกาศแนวทางความช่วยเหลือนี้ออกมา
บุช กล่าวว่า เขาเองความจริงก็ไม่อยากจะออกมาตรการนี้ แต่การเข้าแทรกแซงของทางการนั้น “ไม่ได้เกิดจากความตั้งใจที่จะครอบงำตลาดเสรี แต่ต้องการจะธำรงมันเอาไว้”
ขณะที่รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ เฮนรี พอลสัน กล่าวว่า การตัดสินใจที่จะเข้าถือหุ้นในธนาคาร 9 แห่งของทางการสหรัฐฯ “เป็นสิ่งที่ชาวอเมริกันส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย” แต่เป็นสิ่งที่รัฐบาลจำต้องทำ
“การเข้าแทรกแซงเป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการทำ แต่มาตรการที่ประกาศในวันนี้เป็นสิ่งที่เราจะต้องทำเพื่อพลิกฟื้นความเชื่อมั่นต่อระบบการเงินของเราให้คืนมาดังเดิม” เขาสรุป
แผนการกอบกู้ธนาคารของสหรัฐฯ นี้ คล้ายคลึงกับแผนซึ่งประกาศก่อนหน้านี้ในยุโรป ที่จะเข้าอุ้มธนาคารทั้งหลายก่อนที่จะพังทลายลงมาจากการขาดแคลนสภาพคล่องรุนแรงในระบบการเงินโลก รวมทั้งการขาดความเชื่อมั่นของประชาชน ซึ่งทำให้รัฐบาลต่างๆ ของโลกจำเป็นต้องประกาศมาตรการฉุกเฉินหลายประการเพื่อเรียกคืนความเชื่อมั่น รวมทั้งอัดฉีดเม็ดเงินเข้าไปในตลาดด้วย
อย่างไรก็ดี ขณะที่มาตรการต่างๆ เหล่านี้ ดูจะสามารถบรรเทาความวิตกต่อภาคการเงินลงได้ในหลายๆ ด้าน แต่แล้วก็กลับเกิดความกังวลกันขึ้นมาว่า เศรษฐกิจโลกน่าจะดำดิ่งลงสู่ภาวะถดถอยตัวรุนแรง โดยไม่อาจยับยั้งเอาไว้ได้เสียแล้ว
เจเน็ต เยลเลน ประธานสาขาซานฟรานซิสโกลของธนาคารกลางสหรัฐฯ กล่าวเมื่อวันอังคารว่า สหรัฐฯ ซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกนั้นดูเหมือนจะเข้าสู่ภาวะถดถอยแล้ว
“ดูเหมือนว่าทุกภาคของเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินอันรุนแรง” เยลเลน ชี้ระหว่างกล่าวสุนทรพจน์ในแคลิฟอร์เนีย
“ข้อมูลเศรษฐกิจเมื่อเร็วๆ นี้ ชี้ให้เห็นว่า เศรษฐกิจอ่อนตัวลงมากกว่าที่คาดไว้ในช่วงไตรมาสสาม ซึ่งถ้าเป็นจริงดังนั้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ ก็จะไม่เติบโตแม้แต่น้อยในช่วงเวลาดังกล่าว” เยลเลน กล่าว “นอกจากนี้ อัตราการเติบโตในไตรมาส 4 ก็น่าจะย่ำแย่ อาจเป็นได้ว่าจะหดตัวเสียด้วยซ้ำ”
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยนั้น มักวัดจากการที่เศรษฐกิจของประเทศหดตัวหรือมีอัตราการเติบโตติดลบรวม 2 ไตรมาสติดต่อกัน ในช่วงไตรมาสที่ 2 เศรษฐกิจสหรัฐฯเติบโต 2.8% ในขณะที่ตัวเลขของไตรมาส 3 กำหนดจะประกาศในช่วงสิ้นเดือนตุลาคมนี้
ความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจชะลอตัวทั้งโลก รวมทั้งวิกฤตในตลาดการเงิน ทำให้ตลาดหุ้นของนานาประเทศตกอยู่ในสภาพเหวี่ยงขึ้นลงรุนแรง และเมื่อคำนวณเป็นภาพรวมแล้ว มูลค่าของหุ้นในตลาดได้หายไปอย่างมหาศาลในช่วงปีนี้
สภาพการซื้อขายของตลาดหุ้นเอเชียวันพุธ (15) ดัชนีหลักในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 1.1% ในขณะที่ฮ่องกงลงไป 2.9% ส่วนที่ออสเตรเลียที่รัฐบาลเพิ่งประกาศแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 7,250 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย ดัชนีหลักก็ร่วงลง 0.8%
ในปีนี้มูลค่าหุ้นในตลาดญี่ปุ่นหายไปถึง 38% ส่วนในตลาดฮ่องกงนั้นหายไปถึง 41.5% แล้ว นักวิเคราะห์กล่าวว่านักลงทุนพากันวิตกเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจโลกจะชะลออัตราการเติบโตลง แม้ว่าปัญหาสินเชื่อขาดแคลนจะบรรเทาไปแล้วก็ตาม
“ข่าวดีในตลาดการเงินก็ถูกประกาศออกมาหมดแล้ว” มาซาโตชิ ซาโตะ โบรกเกอร์ของมิซูโฮ อินเวสเตอร์ส ซีเคียวริตี้ส์กล่าว โดยหมายถึงมาตรการฟื้นฟูภาคการเงินทั้งหลายที่รัฐบาลทยอยประกาศออกมา “ตอนนี้นักลงทุนก็เลยหันไปสนใจภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงแทน”
เมื่อตลาดยุโรปเปิดทำการในวันพุธ หุ้นลอนดอนก็ร่วงลงไป 0.19% หุ้นในฝรั่งเศสก็ลดลงไป 0.55% ส่วนดัชนีแด๊กซ์ของตลาดแฟรงก์เฟิร์ตก็ลดลง 0.23%
ส่วนที่ตลาดสหรัฐฯ วันอังคาร ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดลดลง 082%
ก่อนหน้านี้ ตลาดหุ้นโลกเกือบทุกแห่งต่างพุ่งทะยานแรง หลังที่รัฐบาลประเทศต่างๆ ทยอยกันออกมาประกาศแผนการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบการธนาคารเป็นมูลค่ารวมกันหลายล้านล้านดอลลาร์ รวมทั้งประกาศมาตรการประกันเงินฝาก และอัดฉีดเม็ดเงินระยะสั้นเพื่อหล่อเลี้ยงตลาดสินเชื่อ