เอเอฟพี – ขุนคลังและผู้ว่าแบงก์ชาติของกลุ่มประเทศร่ำรวยและชาติเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่ ซึ่งรวมตัวกันในนาม “จี20” ออกคำแถลงภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม 2 วันเมื่อวันอาทิตย์(9) โดยร่วมกันให้คำมั่นว่าจะออกมาตรการสำคัญต่าง ๆเพื่อกระตุ้นความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของโลกที่ดำดิ่งลงในห้วงแห่งวิกฤตการเงิน รวมทั้งจะให้ประเทศกำลังพัฒนาเข้ามามีส่วนในการกำหนดกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆในโลกนี้มากขึ้น
รัฐมนตรีการเงินและผู้ว่าการธนาคารกลางของกลุ่มจี 20 ที่เข้าประชุมกันที่เมืองเซาเปาลู ประเทศบราซิลเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ระบุในแถลงการณ์ร่วมว่ามีความเห็นพ้องต้องกันที่จะเดินหน้าการปฏิรูประบบการเงินโลกครั้งใหญ่ที่ถูกกระทบจากวิกฤตการเงินในขณะนี้
แม้ว่าจะมิได้มีข้อเสนอที่มีรายละเอียดชัดเจน แต่กลุ่มจี 20 ซึ่งประกอบด้วย 7 ประเทศ อุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (จี7) บวกกับพวกประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่และประเทศกำลังพัฒนาขนาดใหญ่ ก็ร่วมกันแถลงว่า “เราเห็นพ้องต้องกันว่าเราจะต้องร่วมกันร่างนโยบายต่าง ๆที่พัฒนามาจากบทเรียนในช่วงวิกฤตการเงินนี้ และเดินหน้าออกมาตรการต่าง ๆที่จำเป็นเพื่อพลิกฟื้นความเชื่อมั่นในตลาด รวมทั้งเสถียรภาพตลอดจนบรรเทาความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤตขึ้นมาในอนาคตอีก”
ในแถลงการณ์กล่าวว่าผู้ร่วมประชุมต่างก็เห็นว่า “วิกฤตของโลกนั้นต้องการหนทางแก้ไขที่ทั้งโลกร่วมมือกัน รวมทั้งความเข้าใจระหว่างกันเพื่อเป็นพื้นฐานในการดำเนินการต่าง ๆ” รวมทั้งก็ยังเพิ่มเติมด้วยว่า “เราพร้อมที่จะเดินหน้านโยบายและปฏิบัติการต่าง ๆตามที่บรรดาผู้นำประเทศได้ตกลงกันไว้”
แถลงการณ์ร่วมของกลุ่มจี 20 และคำแถลงหลังการประชุมของกลุ่มเจ้าหน้าที่ระดับต่าง ๆ ชี้ถึงข้อตกลงร่วมกันในหลักการระหว่างรัฐมนตรีทั้งหลาย ส่วนรายละเอียดของข้อเสนอนั้นจะชัดเจนมากขึ้นในการประชุมสุดยอดผู้นำจี 20 ซึ่งจะมีขึ้นที่กรุงวอชิงตันในวันที่ 15 พฤศจิกายนนี้ ตามคำเชิญของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุชแห่งสหรัฐฯ
รัฐมนตรีคลัง กูอิโด มานเตกา แห่งบราซิล กล่าวว่าการประชุมสุดยอดในสัปดาห์หน้านั้น “เราจะมีอำนาจทางการเมือง” จากบรรดาผู้นำรัฐบาลและประเทศต่าง ๆ “มาเดินหน้าข้อเสนอต่าง ๆให้เป็นรูปธรรม”
ทั้งนี้ มานเตกาเป็นผู้นำในการเรียกร้องให้ประเทศกำลังพัฒนาเข้ามามีบทบาทและมีสิทธิ์มีเสียงมากขึ้นในการตัดสินใจทางเศรษฐกิจในระดับโลก ในระหว่างการประชุมที่ประเทศของเขาเป็นเจ้าภาพคราวนี้ เขาเน้นว่าควรจะต้องมีมาตรการและปฏิบัติการเร่งด่วนที่เพื่อแก้ไขวิกฤตที่กำลังดำเนินไปอยู่นี้ “วิธีการแก้ไขปัญหาควรจะเกิดขึ้นโดยเร็ว เราจะต้องเปลี่ยนยางรถยนต์ในขณะที่รถกำลังวิ่งอยู่” เขากล่าว
“ในอีกหนึ่งหรือสองสามเดือนข้างหน้า เราจะมีคำตอบสำหรับปัญหาเหล่านี้”
แต่เมื่อนักข่าวถามว่ากลุ่ม จี 20 จะเข้ามาทำหน้าที่แทนจี 7ในฐานะที่เป็นองค์การคุมทิศทางเศรษฐกิจระดับโลกเลยหรือไม่ มานเตกากล่าวว่า “นี่เป็นประเด็นที่ยังไม่มีได้ตกลงกัน แต่จี 20 ก็เป็นตัวเลือกหนึ่งที่แข็งแกร่งสำหรับความร่วมมือนานาชาติเช่นนี้”
ทางด้าน เดวิด แมคคอร์มิค ปลัดกระทรวงการคลังสหรัฐที่รับผิดชอบด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกล่าวว่า การประชุมเซาเปาลูได้ก่อรูปข้อตกลงที่เน้นการขยายความพยายามทั้งหลายออกไป เพื่อต่อสู้กับความยุ่งยากในเศรษฐกิจโลก
“ผมคิดว่าเราได้สร้างรากฐานของข้อตกลงที่จะขยายออกไป รวมทั้งมีความเห็นพ้องต้องกันในเรื่องสิ่งที่ประเทศเรากำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้” แมคคอร์มิคกล่าว
เขาชี้ว่าการประชุมในสัปดาห์หน้า “จะเป็นโอกาสสำหรับการหารือในหมู่ผู้นำของโลกที่จะเน้นไปที่วิกฤตตลาดการเงิน และจะสร้างรากฐานสำหรับการเปลี่ยนแปลงระเบียบต่าง ๆ”
การประชุมเซาเปาลูครั้งนี้มีข้อสรุปออกมาว่ าระบบเบรตตัน วูดส์ ที่สถาปนาขึ้นมาเพื่อกำกับดูแลระบบการเงินโลกตั้งแต่ปี 1944 ควรจะต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งรวมถึงการปรับโครงสร้างธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นจากเบรตตัน วูดส์ด้วย
“เราเห็นพ้องกันว่าสถาบันที่เกิดขึ้นจากสนธิสัญญาเบรตตัน วูดส์นั้นควรจะได้รับการปฏิรูปอย่างเข้มข้น เพื่อเพิ่มความสามารถในการตอบโต้กับการเปลี่ยนแปลงทิศทางเศรษฐกิจโลกได้ทันท่วงทีมากยิ่งขึ้น และตอบสนองต่อความท้าทายในอนาคตต่าง ๆอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม” แถลงการณ์ร่วมของที่ประชุมเซาเปาลูระบุ
“ประเทศที่กำลังพัฒนา ตลอดจนประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่ควรจะมีสิทธิ์มีเสียงมากขึ้นในสถาบันเหล่านี้”
แถลงการณ์ยังได้ระบุด้วยว่าไอเอ็มเอฟ ธนาคารโลกและสถาบันการเงินระหว่างประเทศอื่น ๆ “มีบทบาทสำคัญมาก และมีหน้าที่ที่จะต้องทำให้เกิดความมั่นคงและแข็งแกร่งขึ้นในระบบการเงินโลก รวมทั้งยังต้องรวบรวมความร่วมมือระหว่างประเทศต่าง ๆเพื่อพัฒนาและช่วยเหลือประเทศที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตครั้งนี้”
รัฐมนตรีการเงินและผู้ว่าการธนาคารกลางของกลุ่มจี 20 ที่เข้าประชุมกันที่เมืองเซาเปาลู ประเทศบราซิลเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ระบุในแถลงการณ์ร่วมว่ามีความเห็นพ้องต้องกันที่จะเดินหน้าการปฏิรูประบบการเงินโลกครั้งใหญ่ที่ถูกกระทบจากวิกฤตการเงินในขณะนี้
แม้ว่าจะมิได้มีข้อเสนอที่มีรายละเอียดชัดเจน แต่กลุ่มจี 20 ซึ่งประกอบด้วย 7 ประเทศ อุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (จี7) บวกกับพวกประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่และประเทศกำลังพัฒนาขนาดใหญ่ ก็ร่วมกันแถลงว่า “เราเห็นพ้องต้องกันว่าเราจะต้องร่วมกันร่างนโยบายต่าง ๆที่พัฒนามาจากบทเรียนในช่วงวิกฤตการเงินนี้ และเดินหน้าออกมาตรการต่าง ๆที่จำเป็นเพื่อพลิกฟื้นความเชื่อมั่นในตลาด รวมทั้งเสถียรภาพตลอดจนบรรเทาความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤตขึ้นมาในอนาคตอีก”
ในแถลงการณ์กล่าวว่าผู้ร่วมประชุมต่างก็เห็นว่า “วิกฤตของโลกนั้นต้องการหนทางแก้ไขที่ทั้งโลกร่วมมือกัน รวมทั้งความเข้าใจระหว่างกันเพื่อเป็นพื้นฐานในการดำเนินการต่าง ๆ” รวมทั้งก็ยังเพิ่มเติมด้วยว่า “เราพร้อมที่จะเดินหน้านโยบายและปฏิบัติการต่าง ๆตามที่บรรดาผู้นำประเทศได้ตกลงกันไว้”
แถลงการณ์ร่วมของกลุ่มจี 20 และคำแถลงหลังการประชุมของกลุ่มเจ้าหน้าที่ระดับต่าง ๆ ชี้ถึงข้อตกลงร่วมกันในหลักการระหว่างรัฐมนตรีทั้งหลาย ส่วนรายละเอียดของข้อเสนอนั้นจะชัดเจนมากขึ้นในการประชุมสุดยอดผู้นำจี 20 ซึ่งจะมีขึ้นที่กรุงวอชิงตันในวันที่ 15 พฤศจิกายนนี้ ตามคำเชิญของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุชแห่งสหรัฐฯ
รัฐมนตรีคลัง กูอิโด มานเตกา แห่งบราซิล กล่าวว่าการประชุมสุดยอดในสัปดาห์หน้านั้น “เราจะมีอำนาจทางการเมือง” จากบรรดาผู้นำรัฐบาลและประเทศต่าง ๆ “มาเดินหน้าข้อเสนอต่าง ๆให้เป็นรูปธรรม”
ทั้งนี้ มานเตกาเป็นผู้นำในการเรียกร้องให้ประเทศกำลังพัฒนาเข้ามามีบทบาทและมีสิทธิ์มีเสียงมากขึ้นในการตัดสินใจทางเศรษฐกิจในระดับโลก ในระหว่างการประชุมที่ประเทศของเขาเป็นเจ้าภาพคราวนี้ เขาเน้นว่าควรจะต้องมีมาตรการและปฏิบัติการเร่งด่วนที่เพื่อแก้ไขวิกฤตที่กำลังดำเนินไปอยู่นี้ “วิธีการแก้ไขปัญหาควรจะเกิดขึ้นโดยเร็ว เราจะต้องเปลี่ยนยางรถยนต์ในขณะที่รถกำลังวิ่งอยู่” เขากล่าว
“ในอีกหนึ่งหรือสองสามเดือนข้างหน้า เราจะมีคำตอบสำหรับปัญหาเหล่านี้”
แต่เมื่อนักข่าวถามว่ากลุ่ม จี 20 จะเข้ามาทำหน้าที่แทนจี 7ในฐานะที่เป็นองค์การคุมทิศทางเศรษฐกิจระดับโลกเลยหรือไม่ มานเตกากล่าวว่า “นี่เป็นประเด็นที่ยังไม่มีได้ตกลงกัน แต่จี 20 ก็เป็นตัวเลือกหนึ่งที่แข็งแกร่งสำหรับความร่วมมือนานาชาติเช่นนี้”
ทางด้าน เดวิด แมคคอร์มิค ปลัดกระทรวงการคลังสหรัฐที่รับผิดชอบด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกล่าวว่า การประชุมเซาเปาลูได้ก่อรูปข้อตกลงที่เน้นการขยายความพยายามทั้งหลายออกไป เพื่อต่อสู้กับความยุ่งยากในเศรษฐกิจโลก
“ผมคิดว่าเราได้สร้างรากฐานของข้อตกลงที่จะขยายออกไป รวมทั้งมีความเห็นพ้องต้องกันในเรื่องสิ่งที่ประเทศเรากำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้” แมคคอร์มิคกล่าว
เขาชี้ว่าการประชุมในสัปดาห์หน้า “จะเป็นโอกาสสำหรับการหารือในหมู่ผู้นำของโลกที่จะเน้นไปที่วิกฤตตลาดการเงิน และจะสร้างรากฐานสำหรับการเปลี่ยนแปลงระเบียบต่าง ๆ”
การประชุมเซาเปาลูครั้งนี้มีข้อสรุปออกมาว่ าระบบเบรตตัน วูดส์ ที่สถาปนาขึ้นมาเพื่อกำกับดูแลระบบการเงินโลกตั้งแต่ปี 1944 ควรจะต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งรวมถึงการปรับโครงสร้างธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นจากเบรตตัน วูดส์ด้วย
“เราเห็นพ้องกันว่าสถาบันที่เกิดขึ้นจากสนธิสัญญาเบรตตัน วูดส์นั้นควรจะได้รับการปฏิรูปอย่างเข้มข้น เพื่อเพิ่มความสามารถในการตอบโต้กับการเปลี่ยนแปลงทิศทางเศรษฐกิจโลกได้ทันท่วงทีมากยิ่งขึ้น และตอบสนองต่อความท้าทายในอนาคตต่าง ๆอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม” แถลงการณ์ร่วมของที่ประชุมเซาเปาลูระบุ
“ประเทศที่กำลังพัฒนา ตลอดจนประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่ควรจะมีสิทธิ์มีเสียงมากขึ้นในสถาบันเหล่านี้”
แถลงการณ์ยังได้ระบุด้วยว่าไอเอ็มเอฟ ธนาคารโลกและสถาบันการเงินระหว่างประเทศอื่น ๆ “มีบทบาทสำคัญมาก และมีหน้าที่ที่จะต้องทำให้เกิดความมั่นคงและแข็งแกร่งขึ้นในระบบการเงินโลก รวมทั้งยังต้องรวบรวมความร่วมมือระหว่างประเทศต่าง ๆเพื่อพัฒนาและช่วยเหลือประเทศที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตครั้งนี้”