ผู้จัดการรายวัน-การเคหะแห่งชาติชง 8 มาตรการเร่งด่วนอุ้มโครงการบ้านเอื้ออาทร เตรียมเสนอเจ้ากระทรวงพม. ดันเรื่องให้ครม.สมัครเห็นชอบ ทั้งขอรับเงินชดเชยผลขาดทุนเป็นรายปี ขอขายโครงการยกล็อตราคาต่อหน่วย 3.9 แสนบาท งดเบี้ยปรับช่วยเหลือผู้ประกอบการ ดึงรัฐหาเงินกู้ระยะยาวดบ.คงที่เพดานไม่เกิน 4% พ่วงเบียดเงินงบประมาณมาอุดหนุนอีกกว่า 16,700 ล้านบาท หรือชดเชยต่อหน่วยเพิ่มอีก 63,000 บาท บีบออมสินตั้งวงเงินสภาพคล่อง 500 ล้านบาทให้แก่กคช.สิทธิ์ประโยชน์เท่ากับธอส. จับตาตั้งพร็อพเพอร์ตี้ฟันด์บ้านเอื้อฯหาช่องดูดเงิน
ดร. วิชา จิวาลัย ประธานกรรมการที่ปรึกษา การแก้ไขปัญหาโครงการบ้านเอื้ออาทร เปิดเผยว่าขณะนี้คณะทำงานได้มีการแบ่งประเด็นปัญหาของโครงการบ้านเอื้อฯแยกเป็น 3 กลุ่มหลัก ๆคือ กลุ่มไม่มีปัญหายังดำเนินการขายได้ปกติ กลุ่มขายได้ปานกลางและมีสต็อกคงเหลืออยู่ในระดับหนึ่ง และกลุ่มขายยาก เนื่องจากมองการตลาดผิดพลาด
โดยได้ข้อสรุปแนวทางแก้ไขปัญหาและได้นำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) รวมถึงผู้บริหารการเคหะแห่งชาติ(กคช.)รวม 8 แนวทาง เพื่อนำเสนอคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติพิจารณาอนุมัติและนำเสนอรัฐมนตรีฯ เพื่อให้นำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี(ครม.)
สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาโครงการบ้านเอื้อฯ ได้แก่ 1. ให้กคช.ได้รับการจัดสรรเงินชดเชยผลขาดทุนรายปีจากการดำเนินโครงการบ้านเอื้ออาทรที่ต้นทุนสูง 2. อนุญาตให้กคช.เสนอขายโครงการแบบยกล็อตให้แก่ประชาชนหรือหน่วยงานรัฐและเอกชนที่สนใจ ในราคา 3.9 แสนบาท/ยูนิต 3.ขอให้กคช.ยกเลิกข้อจำกัดการโอนกรรมสิทธิ์โครงการบ้านเอื้ออาทร (จากเดิมครบ 5 ปี ) ซึ่งพบว่า ข้อกำหนดดังกล่าวทำให้ผู้ได้สิทธิ์มีปัญหาในการขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน
4.ขอชดเชยภาระดอกเบี้ยเงินกู้จากนโยบายขยายเวลาก่อสร้าง 180 วัน โดยงดเบี้ยปรับเพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการตามมติ ครม.เดิม
5.ขอให้รัฐบาลสนับสนุนเงินกู้ระยะยาว อัตราดอกเบี้ยต่ำคงที่ไม่เกิน 4%ต่อปีผ่านทางกระทรวงการคลัง ธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) และธนาคารออมสิน หรือการจัดตั้งกองทุนที่อยู่อาศัยเพื่อเป็นเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำสำหรับโครงการบ้านเอื้อฯ โดยงบประมาณที่ข้อสนับสนุนดังกล่าวมีวงเงินรวมกว่า 16,700 ล้านบาท แบ่งเป็นการอุดหนุนรายปีตั้งแต่ปีงบประมาณ 2552-56 ปีละ 2,500 , 2,900 , 3,400 และ4,700 ล้านบาทตามลำดับ ทั้งนี้ ตัวเลขดังกล่าวคำนวณบนพื้นฐานจำนวนหน่วยก่อสร้างประมาณ 3 แสนยูนิต หรือคิดเป็นค่าชดเชยที่ขอเพิ่มอีก 63,000 บาทต่อยูนิต
6.ให้ กคช.ได้รับเงินชดเชยกรณีขาดทุนจากการดำเนินงานตามระเบียบสำนักนายรัฐมนตรีว่าด้วยการให้เงินอุดหนุนบริการสาธารณะของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2551 7. ให้ธนาคารออมสินตั้งวงเงินหนุนเวียน 500 ล้านบาท ในเงื่อนไขเดียวกับธอส. และ8.ขอสนับสนุนการจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาฯโครงการบ้านเอื้ออาทร
นาย สุชาติ ศิริโยธิพันธุ์ ผู้ว่าการ กคช. กล่าวเสริมว่า ในส่วนของกคช.มีแผนที่จะขายทรัพย์สิน มูลค่า 1,000-1,500 ล้านบาท เช่น นำที่ดินบางแปลงของโครงการบ้านเอื้อฯที่ไม่ได้ก่อสร้าง เพื่อนำมาเป็นทุนหมุนเวียนของ กคช. โดยปัจจุบันโครงการบ้านเอื้อฯมีการก่อสร้างเสร็จแล้ว รอการส่งมอบให้ลูกค้ารวม 137,000 ยูนิต มีการส่งมอบบ้านให้ผู้ได้สิทธิแล้วรวม 60,000 ยูนิต และมีรายชื่อลูกค้ารอส่งมอบอีก 90,000 ยูนิต ส่วนการซื้อคืนจากธอส.กรณีที่เป็นเอ็นพีแอล มาประมาณ 5,000 ยูนิต คิดเป็น 10%ของจำนวนยูนิตที่ขายไปแล้ว
ดร. วิชา จิวาลัย ประธานกรรมการที่ปรึกษา การแก้ไขปัญหาโครงการบ้านเอื้ออาทร เปิดเผยว่าขณะนี้คณะทำงานได้มีการแบ่งประเด็นปัญหาของโครงการบ้านเอื้อฯแยกเป็น 3 กลุ่มหลัก ๆคือ กลุ่มไม่มีปัญหายังดำเนินการขายได้ปกติ กลุ่มขายได้ปานกลางและมีสต็อกคงเหลืออยู่ในระดับหนึ่ง และกลุ่มขายยาก เนื่องจากมองการตลาดผิดพลาด
โดยได้ข้อสรุปแนวทางแก้ไขปัญหาและได้นำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) รวมถึงผู้บริหารการเคหะแห่งชาติ(กคช.)รวม 8 แนวทาง เพื่อนำเสนอคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติพิจารณาอนุมัติและนำเสนอรัฐมนตรีฯ เพื่อให้นำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี(ครม.)
สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาโครงการบ้านเอื้อฯ ได้แก่ 1. ให้กคช.ได้รับการจัดสรรเงินชดเชยผลขาดทุนรายปีจากการดำเนินโครงการบ้านเอื้ออาทรที่ต้นทุนสูง 2. อนุญาตให้กคช.เสนอขายโครงการแบบยกล็อตให้แก่ประชาชนหรือหน่วยงานรัฐและเอกชนที่สนใจ ในราคา 3.9 แสนบาท/ยูนิต 3.ขอให้กคช.ยกเลิกข้อจำกัดการโอนกรรมสิทธิ์โครงการบ้านเอื้ออาทร (จากเดิมครบ 5 ปี ) ซึ่งพบว่า ข้อกำหนดดังกล่าวทำให้ผู้ได้สิทธิ์มีปัญหาในการขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน
4.ขอชดเชยภาระดอกเบี้ยเงินกู้จากนโยบายขยายเวลาก่อสร้าง 180 วัน โดยงดเบี้ยปรับเพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการตามมติ ครม.เดิม
5.ขอให้รัฐบาลสนับสนุนเงินกู้ระยะยาว อัตราดอกเบี้ยต่ำคงที่ไม่เกิน 4%ต่อปีผ่านทางกระทรวงการคลัง ธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) และธนาคารออมสิน หรือการจัดตั้งกองทุนที่อยู่อาศัยเพื่อเป็นเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำสำหรับโครงการบ้านเอื้อฯ โดยงบประมาณที่ข้อสนับสนุนดังกล่าวมีวงเงินรวมกว่า 16,700 ล้านบาท แบ่งเป็นการอุดหนุนรายปีตั้งแต่ปีงบประมาณ 2552-56 ปีละ 2,500 , 2,900 , 3,400 และ4,700 ล้านบาทตามลำดับ ทั้งนี้ ตัวเลขดังกล่าวคำนวณบนพื้นฐานจำนวนหน่วยก่อสร้างประมาณ 3 แสนยูนิต หรือคิดเป็นค่าชดเชยที่ขอเพิ่มอีก 63,000 บาทต่อยูนิต
6.ให้ กคช.ได้รับเงินชดเชยกรณีขาดทุนจากการดำเนินงานตามระเบียบสำนักนายรัฐมนตรีว่าด้วยการให้เงินอุดหนุนบริการสาธารณะของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2551 7. ให้ธนาคารออมสินตั้งวงเงินหนุนเวียน 500 ล้านบาท ในเงื่อนไขเดียวกับธอส. และ8.ขอสนับสนุนการจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาฯโครงการบ้านเอื้ออาทร
นาย สุชาติ ศิริโยธิพันธุ์ ผู้ว่าการ กคช. กล่าวเสริมว่า ในส่วนของกคช.มีแผนที่จะขายทรัพย์สิน มูลค่า 1,000-1,500 ล้านบาท เช่น นำที่ดินบางแปลงของโครงการบ้านเอื้อฯที่ไม่ได้ก่อสร้าง เพื่อนำมาเป็นทุนหมุนเวียนของ กคช. โดยปัจจุบันโครงการบ้านเอื้อฯมีการก่อสร้างเสร็จแล้ว รอการส่งมอบให้ลูกค้ารวม 137,000 ยูนิต มีการส่งมอบบ้านให้ผู้ได้สิทธิแล้วรวม 60,000 ยูนิต และมีรายชื่อลูกค้ารอส่งมอบอีก 90,000 ยูนิต ส่วนการซื้อคืนจากธอส.กรณีที่เป็นเอ็นพีแอล มาประมาณ 5,000 ยูนิต คิดเป็น 10%ของจำนวนยูนิตที่ขายไปแล้ว