ผู้จัดการรายวัน – บลจ.เชื่อแนวโน้มเศรษฐกิจเอเชียครึ่งปีหลังดีขึ้น รับอานิสงส์ราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง ส่งผลให้ภาวะเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยยวบตัวลงตาม อีกทั้งความแข็งแกร่งของจีนและอินเดียจะช่วยพยุงตัวเลขทั้งภูมิภาคไม่ให้วูบ เหมือนทั่วโลกที่ผจญกับปัญหาซับไพรม์ ด้าน“บลจ.ไทยพาณิชย์”คาดกองทุนตลาดเกิดใหม่รุ่ง Q4 เล็งจับจังหวะขายหุ้นเพื่อเก็งกำไร
นายวิชชุ ทันทาทับ ผู้อำนวยการฝ่ายตราสารทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไทยพาณิชย์ จำกัด เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ที่ภาวะราคานํ้ามันในตลาดโลกปรับตัวลดลงมานั้น ถือได้ภาวะดังกล่าวเป็นสัญญาณที่ดีต่อเศรษฐกิจในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศในภูมิถาคเอเชียด้วย โดยในช่วงที่ราคานํ้ามันในตลาดโลกได้ปรับตัวลดลงมานั้นส่งผลให้เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียดูดีขึ้นเพราะประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียมีการบริโภคนํ้ามันในปริมาณที่มาก ซึ่งจากภาวะราคานํ้ามันที่ปรับตัวลงยังเป็นการทำให้อัตราเงินเฟ้อรวมทั้งอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มที่จะปรับตัวลดลงตามไปด้วย
ขณะเดียวกัน หลายประเทศในภูมิภาคเอเชียยังได้รับปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ดีจากประเทศจีนและอินเดียที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงทำให้สามารถพยุงเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ได้ ดังนั้นแล้วในภาพรวมเศรษฐกิจของเอเชียในช่วงไตรมาสที่ 3 และ4 ของปีนี้น่าจะไปในทิศทางที่ทรงตัวหรือดีขึ้นเท่านั้น ไม่น่าจะปรับตัวลดลงแต่อย่างใด แตกต่างจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะตัวลงอยู่ในขณะนี้และยังต้องคอยให้เศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาฟื้นตัว เศรษฐกิจโลกถึงจะเริ่มกลับมา และคาดว่าเศรษฐกิจของสหรัฐน่าจะกลับมาฟื้นตัวได้ในช่วงประมาณไตรมาสที่ 2 ของปีหน้า เพราะในขณะนี้กำลังประสบกับปัญหาซับไพร์มอย่างหนักอยู่
นายวิชชุ ยังได้กล่าวถึงในส่วนของประเทศไทยด้วยว่า เศรษฐกิจของประเทศไทยนั้น จากราคานํ้ามันที่ปรับลดลงจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อกับอัตราดอกเบี้ยน่าจะปรับลดลงตามไปด้วย และเมื่ออัตราเงินเฟ้อกับอัตราดอกเบี้ยลดลงแล้วจะส่งผลให้ประชาชนมีกำลังซื้อมากขึ้นในการใช้จ่ายอุปโภคบริโภค ดังนั้นจึงคาดว่าในปีนี้เศรษฐกิจของไทยจะเติบโตได้ที่ระดับ 5%
นอกจากนี้ในส่วนของภาวะตลาดหุ้นไทย มองว่า ดัชนีหลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายอยู่ในระดับ 600 กว่าจุดนั้นถือว่าถูกมาก จนทำให้บรรดาธนาคารต่างๆ พากันคาดว่าผลประกอบการของไตรมาส 2 ที่จะมีการประกาศออกมาในช่วงเดือนสิงหสาคมนี้น่าจะไม่ดีเท่าไรนัก แต่โดยส่วนตัวคาดว่าผลประกอบการน่าจะออกมาดีกว่าที่คาดการณ์ไว้และโดยรวมแล้วคาดว่าไม่ยํ้าแย่กว่าที่คิด
ทั้งนี้ในส่วนของ กองทุนไทยพาณิชย์ เอเชียน อีเมอร์จิ้ง มาเก็ต ฟันด์ (SCBAEM) ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนในตลาดหุ้นของประเทศเกิดใหม่ในภูมิถาคเอเชียนั้น นายวิชชุ มองว่า กองทุนดังกล่าวมีทิศทางที่ดีในปีนี้ ซึ่งคาดว่าทางบริษัทอาจจะขายหุ้นที่ลงทุนทิ้งเพื่อเก็งกำไรได้ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้หรืออาจจะเป็นช่วงปีหน้า ซึ่งคงต้องมองไปที่เศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นหลักด้วย
สำหรับกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ เอเชียน อีเมอร์จิ้ง มาร์เก็ต ฟันด์ เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ ได้แก่ “Templeton Asian Growth Fund” ในหน่วยลงทุนชนิด (Class) “I” หรือ Class I shares ซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นในประเทศลักเซมเบิร์ก และมีนโยบายลงทุนในตราสารแห่งทุน (Equity Fund) ภายใต้การบริหารของ “Templeton Asset Management” ทั้งนี้ บริษัทจัดการจะลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศดังกล่าวโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน และลงทุนในต่างประเทศในขณะใดขณะหนึ่งไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
นอกจากนั้น บริษัทจัดการอาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้ทั้งในประเทศ และ/หรือต่างประเทศ และ/หรือเงินฝาก และ/หรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์อื่นหรือทรัพย์สินอื่น และ/หรือหาดอกผลโดยวิธีการอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด หรือให้ความเห็นชอบตราสารแห่งหนี้ทั้งในและต่างประเทศ
ด้านนาย เมอร์วิน เดวีส์ ประธาน ธนาคาร สแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด เปิดเผยว่า กำไรสุทธิในช่วงครึ่งปีแรกของธนาคารมีการขยายตัวขึ้นถึง 30% แตะ 1.785 พันล้านดอลลาร์ จากระดับ 1.370 พันล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว เนื่องจากการขยายตัวที่แข็งแกร่งในเอเชียและประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ซึ่งช่วยชดเชยภาวะขาดทุนจากการทำธุรกิจในสหรัฐและยุโรป
โดยกำไรก่อนหักภาษีของธนาคารพุ่งขึ้น 30.6% แตะ 2.586 พันล้านดอลลาร์ รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิ (NII) เพิ่มขึ้น 26% แตะ 3.71 พันล้านดอลลาร์ และรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย เพิ่มขึ้น 42% แตะ 3.28 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 34% แตะ 3.9 พันล้านดอลลาร์ เนื่องจากต้นทุนด้านพนักงานที่เพิ่มขึ้น ซึ่งธุรกิจของธนาคารในฮ่องกงสามารถทำรายได้ในช่วงครึ่งปีแรกได้มากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ โดยสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ดในฮ่องกงสามารถทำกำไรก่อนหักภาษีได้ 656 ล้านดอลลาร์ในช่วงครึ่งปีแรก เพิ่มขึ้น 28% จากระดับ 514 ล้านดอลลาร์เมื่อปีที่แล้ว
" เป้าหมายทางยุทธศาสตร์ของเราอยู่ที่เอเชีย แอฟริกา และตะวันออกกลาง โดยใช้หลักการบริหารที่มั่นคง ซึ่งจะช่วยให้ธนาคารทำกำไรเช่นนี้ได้ แม้ว่าตลาดไฟแนนซ์ทั่วโลกจะผันผวนก็ตาม"นายเมอร์วิน กล่าว
นอกจากนี้ รายงานระบุว่า ราคาน้ำมันดิบไลท์สวีท งวดส่งมอบเดือนกันยายน ในตลาดสิงคโปร์ลดลง 1.07 ดอลลาร์สหรัฐ ซื้อขายที่ 120.34 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ขณะที่เมื่อคืนวันจันทร์ที่ผ่านมา (4ส.ค.) ราคาน้ำมันดิบไลท์สวีท ในตลาดนิวยอร์ก ลดลงถึงกว่า 3 ดอลลาร์ ปิดที่ 121.41 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยปัจจัยที่ฉุดให้ราคาน้ำมันดิ่งลง มาจากรายงานของกระทรวงพาณิชย์ สหรัฐ ที่ชี้ว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคในเดือนมิถุนายนลดลง ซึ่งย่อมหมายถึงการชะลอตัวของความต้องการใช้น้ำมันในโลกด้วย เนื่องจากสหรัฐเป็นผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในโลก ส่วนพายุโซนร้อนเอดูอาร์ด ที่เตรียมจะขึ้นฝั่งบริเวณรัฐเท็กซัส และรัฐลุยเซียนาคาดว่า จะไม่ส่งผลต่อการผลิตน้ำมันในสหรัฐ
นายวิชชุ ทันทาทับ ผู้อำนวยการฝ่ายตราสารทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไทยพาณิชย์ จำกัด เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ที่ภาวะราคานํ้ามันในตลาดโลกปรับตัวลดลงมานั้น ถือได้ภาวะดังกล่าวเป็นสัญญาณที่ดีต่อเศรษฐกิจในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศในภูมิถาคเอเชียด้วย โดยในช่วงที่ราคานํ้ามันในตลาดโลกได้ปรับตัวลดลงมานั้นส่งผลให้เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียดูดีขึ้นเพราะประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียมีการบริโภคนํ้ามันในปริมาณที่มาก ซึ่งจากภาวะราคานํ้ามันที่ปรับตัวลงยังเป็นการทำให้อัตราเงินเฟ้อรวมทั้งอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มที่จะปรับตัวลดลงตามไปด้วย
ขณะเดียวกัน หลายประเทศในภูมิภาคเอเชียยังได้รับปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ดีจากประเทศจีนและอินเดียที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงทำให้สามารถพยุงเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ได้ ดังนั้นแล้วในภาพรวมเศรษฐกิจของเอเชียในช่วงไตรมาสที่ 3 และ4 ของปีนี้น่าจะไปในทิศทางที่ทรงตัวหรือดีขึ้นเท่านั้น ไม่น่าจะปรับตัวลดลงแต่อย่างใด แตกต่างจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะตัวลงอยู่ในขณะนี้และยังต้องคอยให้เศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาฟื้นตัว เศรษฐกิจโลกถึงจะเริ่มกลับมา และคาดว่าเศรษฐกิจของสหรัฐน่าจะกลับมาฟื้นตัวได้ในช่วงประมาณไตรมาสที่ 2 ของปีหน้า เพราะในขณะนี้กำลังประสบกับปัญหาซับไพร์มอย่างหนักอยู่
นายวิชชุ ยังได้กล่าวถึงในส่วนของประเทศไทยด้วยว่า เศรษฐกิจของประเทศไทยนั้น จากราคานํ้ามันที่ปรับลดลงจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อกับอัตราดอกเบี้ยน่าจะปรับลดลงตามไปด้วย และเมื่ออัตราเงินเฟ้อกับอัตราดอกเบี้ยลดลงแล้วจะส่งผลให้ประชาชนมีกำลังซื้อมากขึ้นในการใช้จ่ายอุปโภคบริโภค ดังนั้นจึงคาดว่าในปีนี้เศรษฐกิจของไทยจะเติบโตได้ที่ระดับ 5%
นอกจากนี้ในส่วนของภาวะตลาดหุ้นไทย มองว่า ดัชนีหลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายอยู่ในระดับ 600 กว่าจุดนั้นถือว่าถูกมาก จนทำให้บรรดาธนาคารต่างๆ พากันคาดว่าผลประกอบการของไตรมาส 2 ที่จะมีการประกาศออกมาในช่วงเดือนสิงหสาคมนี้น่าจะไม่ดีเท่าไรนัก แต่โดยส่วนตัวคาดว่าผลประกอบการน่าจะออกมาดีกว่าที่คาดการณ์ไว้และโดยรวมแล้วคาดว่าไม่ยํ้าแย่กว่าที่คิด
ทั้งนี้ในส่วนของ กองทุนไทยพาณิชย์ เอเชียน อีเมอร์จิ้ง มาเก็ต ฟันด์ (SCBAEM) ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนในตลาดหุ้นของประเทศเกิดใหม่ในภูมิถาคเอเชียนั้น นายวิชชุ มองว่า กองทุนดังกล่าวมีทิศทางที่ดีในปีนี้ ซึ่งคาดว่าทางบริษัทอาจจะขายหุ้นที่ลงทุนทิ้งเพื่อเก็งกำไรได้ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้หรืออาจจะเป็นช่วงปีหน้า ซึ่งคงต้องมองไปที่เศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นหลักด้วย
สำหรับกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ เอเชียน อีเมอร์จิ้ง มาร์เก็ต ฟันด์ เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ ได้แก่ “Templeton Asian Growth Fund” ในหน่วยลงทุนชนิด (Class) “I” หรือ Class I shares ซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นในประเทศลักเซมเบิร์ก และมีนโยบายลงทุนในตราสารแห่งทุน (Equity Fund) ภายใต้การบริหารของ “Templeton Asset Management” ทั้งนี้ บริษัทจัดการจะลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศดังกล่าวโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน และลงทุนในต่างประเทศในขณะใดขณะหนึ่งไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
นอกจากนั้น บริษัทจัดการอาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้ทั้งในประเทศ และ/หรือต่างประเทศ และ/หรือเงินฝาก และ/หรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์อื่นหรือทรัพย์สินอื่น และ/หรือหาดอกผลโดยวิธีการอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด หรือให้ความเห็นชอบตราสารแห่งหนี้ทั้งในและต่างประเทศ
ด้านนาย เมอร์วิน เดวีส์ ประธาน ธนาคาร สแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด เปิดเผยว่า กำไรสุทธิในช่วงครึ่งปีแรกของธนาคารมีการขยายตัวขึ้นถึง 30% แตะ 1.785 พันล้านดอลลาร์ จากระดับ 1.370 พันล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว เนื่องจากการขยายตัวที่แข็งแกร่งในเอเชียและประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ซึ่งช่วยชดเชยภาวะขาดทุนจากการทำธุรกิจในสหรัฐและยุโรป
โดยกำไรก่อนหักภาษีของธนาคารพุ่งขึ้น 30.6% แตะ 2.586 พันล้านดอลลาร์ รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิ (NII) เพิ่มขึ้น 26% แตะ 3.71 พันล้านดอลลาร์ และรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย เพิ่มขึ้น 42% แตะ 3.28 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 34% แตะ 3.9 พันล้านดอลลาร์ เนื่องจากต้นทุนด้านพนักงานที่เพิ่มขึ้น ซึ่งธุรกิจของธนาคารในฮ่องกงสามารถทำรายได้ในช่วงครึ่งปีแรกได้มากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ โดยสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ดในฮ่องกงสามารถทำกำไรก่อนหักภาษีได้ 656 ล้านดอลลาร์ในช่วงครึ่งปีแรก เพิ่มขึ้น 28% จากระดับ 514 ล้านดอลลาร์เมื่อปีที่แล้ว
" เป้าหมายทางยุทธศาสตร์ของเราอยู่ที่เอเชีย แอฟริกา และตะวันออกกลาง โดยใช้หลักการบริหารที่มั่นคง ซึ่งจะช่วยให้ธนาคารทำกำไรเช่นนี้ได้ แม้ว่าตลาดไฟแนนซ์ทั่วโลกจะผันผวนก็ตาม"นายเมอร์วิน กล่าว
นอกจากนี้ รายงานระบุว่า ราคาน้ำมันดิบไลท์สวีท งวดส่งมอบเดือนกันยายน ในตลาดสิงคโปร์ลดลง 1.07 ดอลลาร์สหรัฐ ซื้อขายที่ 120.34 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ขณะที่เมื่อคืนวันจันทร์ที่ผ่านมา (4ส.ค.) ราคาน้ำมันดิบไลท์สวีท ในตลาดนิวยอร์ก ลดลงถึงกว่า 3 ดอลลาร์ ปิดที่ 121.41 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยปัจจัยที่ฉุดให้ราคาน้ำมันดิ่งลง มาจากรายงานของกระทรวงพาณิชย์ สหรัฐ ที่ชี้ว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคในเดือนมิถุนายนลดลง ซึ่งย่อมหมายถึงการชะลอตัวของความต้องการใช้น้ำมันในโลกด้วย เนื่องจากสหรัฐเป็นผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในโลก ส่วนพายุโซนร้อนเอดูอาร์ด ที่เตรียมจะขึ้นฝั่งบริเวณรัฐเท็กซัส และรัฐลุยเซียนาคาดว่า จะไม่ส่งผลต่อการผลิตน้ำมันในสหรัฐ