ผู้จัดการรายวัน/สุรินทร์ - ทหารพรานกองกำลังสุรนารีเพิ่มกำลังคุมเข้ม “ปราสาทตาเมือนธม” ชายแดนด้านสุรินทร์ พร้อมทั้งวางลวดหนามปิดกั้นทางขึ้น และบริเวณรอบปราสาท หลังบิ๊กทัพทหารภูมิภาคที่ 4 กัมพูชานำกำลังติดอาวุธบุกขอเข้าชมปราสาท แฉเขมรสุดมั่วปักหลักสีแดงพิสูจน์เขตแดนฝ่ายเขมรโผล่ริมถนนทางหลวง บ.หนองคันนา ลึกเข้ามายังฝั่งไทยกว่า 2 กม. ด้านเจ้ากรมกิจการชายแดนฮึ่ม! ห้ามทหารเขมรเข้าใกล้ นักวิชาการเตือนทหารอย่าหลงเล่ห์เขมร “อภิสิทธิ์” จวก “หมัก” ควรหยุดเล่นการเมืองบิดเบือน เอาเวลาไปแก้ “ตาเมือนธม” ดีกว่า
ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้ากรณี พล.ต.โป เฮง รองผู้บัญชาการทหารภูมิภาคที่ 4 และ พ.อ.เนียะ วงศ์ รองผู้บังคับกองพลน้อยที่ 42 กัมพูชา นำกำลังทหารกว่า 50 นายพร้อมอาวุธครบมือและสื่อมวลชนกัมพูชา ขอเข้าชมปราสาทตาเมือนธม ต.ตาเมียง อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ แต่ถูกทหารพรานกองร้อยจู่โจมที่ 960 กรมทหารพรานที่ 26 กองกำลัง (กกล.) สุรนารี กองทัพภาคที่ 2 (ทภ.2) ได้เจรจาให้ถอยร่นกลับไปเพราะหวั่นเกิดปัญหาเช่นเดียวกับปราสาทพระวิหาร จ.ศรีสะเกษ เมื่อวันที่ 2 ส.ค.ที่ผ่านมา อีกทั้งทางการกัมพูชากลับอ้างว่าไทยนำกำลังทหารเข้ายึดครองปราสาทตาเมือนธมตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมานั้น
ต่อมาวานนี้ (4 ส.ค.) ผู้สื่อข่าวได้ไปสังเกตการณ์บริเวณพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม บ้านหนองคันนา ต.ตาเมียง อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ปราสาทของกลุ่มปราสาทตาเมือน ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ประกอบด้วยปราสาทตาเมือน, ปราสาทตาเมือนโต๊ด, ปราสาทตาเมือนธม และเป็นปราสาทหลังแรกที่ตั้งอยู่ติดกับแนวชายแดนไทย-กัมพูชา พบว่า กองร้อยทหารพรานจู่โจมที่ 960 กรมทหารพรานที่ 26 กองกำลัง (กกล.) สุรนารี กองทัพภาคที่ 2 ได้จัดวางกำลังทหารพรานตรวจการณ์บริเวณทางขึ้นปราสาทตาเมือนธม ด้านฝั่งประเทศกัมพูชาและพื้นที่ใกล้เคียงเพิ่มมากขึ้น พร้อมทั้งได้จัดทำลวดหนามปิดกั้นบริเวณประตูทางขึ้นปราสาทและโดยรอบตัวปราสาทตาเมือนธมไว้อย่างหนาแน่น
เจ้าหน้าที่ทหารพรานกองร้อยจู่โจมที่ 960 รายหนึ่งเผยว่า สถานการณ์บริเวณพื้นที่นี้ไม่น่ากังวลอะไร ทหารไทยกับทหารกัมพูชา ที่ตั้งฐานปฏิบัติการอยู่ตรงข้ามกับกำลังทหารไทยบริเวณทางขึ้นปราสาทตาเมือนธม ฝั่งกัมพูชาได้มีการพูดจากันด้วยดี การเจรจาของทหารทั้ง 2 ฝ่าย อยู่ในระดับมิตรไมตรีที่ดีต่อกัน ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 ส.ค.ที่ผ่านมาได้ขอให้คณะกำลังทหารของรองแม่ทัพภูมิภาคทหารที่ 4 กัมพูชา ได้เข้าใจและรอการเจรจาระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชาเพราะเป็นพื้นที่ที่ยังไม่มีการปักปันเขตแดนที่ชัดจน ซึ่งฝ่ายทหารกัมพูชาก็เข้าใจและเดินทางกลับไป
"แต่ฝ่ายทหารไทยไม่ได้นิ่งนอนใจและเพื่อปกป้องอธิปไตยของชาติไทย จึงต้องเสริมอัตรากำลังทหารพรานเข้ามาดูแลพื้นที่ปราสาทแห่งนี้มากขึ้นอีก" ทหารพรานกองร้ายจู่โจมที่ 960 กล่าว
เขมรมั่วปักหลักสีแดงล้ำแดนไทย
นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวยังได้รับแจ้งจากชาวบ้านด้วยว่าที่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 11 ริมถนนทางหลวงชนบท บ้านหนองคันนา ต.ตาเมียง อ.พนมดงรัก เข้าไปยังปราสาทตาเมือนธม และอยู่บริเวณปราสาทตาเมือนโต๊ด ห่างจากปราสาทตาเมือนธม ราว 500 เมตร แต่ลึกเข้ามาในเขตประเทศไทยประมาณ 2 กิโลเมตร พบว่า มีถังน้ำมันขนาด 200 ลิตรคว่ำครอบหลักท่อเหล็กเทปูนซีเมนต์ข้างในและทาด้วยสีแดงเอาไว้ พร้อมทั้งมีรั้วลวดหนามล้อมรอบอย่างมิดชิด แต่ไม่สัญลักษณ์หรือข้อความบ่งบอกใดๆ
ชาวบ้านบอกว่า หลักสีแดงดังกล่าวเป็นหลักเขตแดน หรือหลักพิสูจน์เขตแดนใหม่ที่ฝ่ายกัมพูชาเข้ามาทำไว้เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา และชาวบ้านในพื้นที่พยายามสอบถามข้อเท็จจริงกับเจ้าหน้าที่ทหารที่ดูแลพื้นที่บริเวณดังกล่าวแต่ไม่ได้รับคำชี้แจงแต่อย่างใด
ด้าน พล.ต.กนก เนตระคเวสนะ ผู้บัญชาการกองกำลังสุรนารี (ผบ.กกล.สุรนารี) เผยถึงเรื่องนี้ว่า หลักสีแดงดังกล่าวเป็นหลักเพื่อพิสูจน์เขตแดนในการสำรวจเบื้องต้นของคณะกรรมาธิการปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งเป็นหลักยืนยันแนวเขตของแต่ละฝ่ายที่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ โดยกัมพูชาใช้หลักสีแดง และไทยใช้หลักสีน้ำเงิน
สำหรับหลักสีแดง ที่บริเวณริมถนนบ้านหนองคันนานั้น เป็นหลักฝ่ายกัมพูชายืนยันแนวเขตยึดตามแผนที่ฉบับของฝรั่งเศส ส่วนหลักสีน้ำเงินของฝ่ายไทย ตั้งอยู่ตรงจุดแนวเขตที่ไทยยึดถือคือบริเวณแนวสันปันน้ำ ห่างจากตัวปราสาทตาเมือนธม เข้าไปยังฝั่งกัมพูชาประมาณ 1 กิโลเมตร ซึ่งปัญหาที่ยังไม่สามารถตกลงปักปันเขตแดนกันได้เนื่องจาก ทั้ง 2 ประเทศยึดถือแผนที่คนละฉบับ
“ส่วนการที่ทหารไทยเข้าไปตั้งฐานปฏิบัติการส่วนหน้าอยู่ที่บริเวณปราสาทตาเมือนธม นั้น ได้ดำเนินการมานานหลายปีแล้วเป็นการรักษาอธิปไตยของไทยตามปรกติ และการเสริมกำลังทหารเข้าไปพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม และโดยรอบปราสาทตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ก็ได้สั่งการให้หน่วยทหารพรานในพื้นที่เป็นผู้พิจารณาแล้ว”
เจ้ากรมฯ ฮึ่มห้ามเขมรเข้าใกล้
ด้าน พล.ท.นิพัทธ์ ทองเล็ก เจ้ากรมกิจการชายแดน ยืนยันว่า นับจากนี้เป็นต้นไป ทหารที่ทำหน้าที่รักษาชายแดนไทย-กัมพูชา บริเวณปราสาทตาเมือนธม ต.ตาเมียง อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ จะไม่อนุญาตให้ทหารกัมพูชาเข้ามาในพื้นที่ดังกล่าวอย่างเด็ดขาด เพราะถือว่าในเวลานี้ไม่ใช่ช่วงเวลาที่เหมาะสม หลังจากไทยและกัมพูชายังไม่ได้ข้อสรุปกรณีพื้นที่ทับซ้อนใกล้ปราสาทพระวิหาร
ส่วนกรณีที่ทางทหารกัมพูชานำกองกำลังมาขอขึ้นชมบริเวณปราสาทตาเมือนธม จะเป็นหนึ่งในความพยายามรุกคืบของฝ่ายกัมพูชาต่อกรณีพื้นที่ทับซ้อนใกล้ปราสาทพระวิหารหรือไม่นั้น พล.ท.นิพัทธ์ กล่าวว่า ไม่น่าจะมีความเกี่ยวข้องกัน เพราะเมื่อฝ่ายทหารไทยได้พูดคุยให้ทหารกัมพูชาถอนกำลังกลับไป ทางฝ่ายกัมพูชาก็ยินยอมถอนกำลังกลับไปโดยดี อย่างไรก็ตาม ทหารไทยและทหารกัมพูชายังพูดจากันได้ไม่น่ามีปัญหาอะไร ส่วนการพูดคุยกับกัมพูชาเรื่องการปรับกำลังของทั้ง 2 ฝ่าย คงต้องเป็นเรื่องของกระทรวงการต่างประเทศและรัฐบาลจะไปเจรจาอีกครั้ง
ขณะที่ พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เผยว่า ได้ทำหนังสือชี้แจงรัฐบาลกัมพูชาแล้วว่า พื้นที่ปราสาทตาเมือนธมเป็นพื้นที่ของฝ่ายไทย ส่วนความคืบหน้าในการประชุมร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศเกี่ยวกับพื้นที่พิพาทปราสาทพระวิหารนั้นเป็นเรื่องที่จะต้องหารือกัน ในส่วนของทหารมีหน้าที่ในการให้ข้อมูล ส่วนกระทรวงการต่างประเทศจะนำข้อพิจารณาไปเจรจากับทางการกัมพูชา
“การปรับหรือไม่ปรับกำลังทหารออกจากพื้นที่นั้น เป็นเรื่องของรายละเอียดที่จะต้องหารือกัน เนื่องจากมีผลกระทบต่อยุทธศาสตร์ความมั่นคงของสองประเทศ ที่ต้องระมัดระวังข้อกฎหมาย เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและซับซ้อนที่อาจมีผลผูกมัด อย่างไรก็ตามมั่นใจว่า กระทรวงการต่างประเทศจะประเมินสถานการณ์ได้ดีกว่าทางทหาร”
ยันทหารไทยไม่อดอยาก
วันเดียวกันที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ พล.ต.กนก เนตระคเวสนะ ผบ.กกล.สุรนารี พร้อมคณะนายทหาร กกล.สุรนารี แถลงข่าวชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีมีข่าวเผยแพร่ทางสื่อมวลชนว่าทหารพรานที่ปฏิบัติหน้าที่ตรึงกำลังที่ชายแดนไทย-กัมพูชาบนเขาพระวิหารขาดแคลนทั้งอาหารและน้ำดื่มจนต้องพากันนำน้ำจากลำธารมาต้มดื่ม ต่างจากความเป็นอยู่ของทหารฝ่ายกัมพูชาที่มีการนำสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคมาส่งมอบให้เป็นจำนวนมาก
พล.ต.กนก กล่าวว่า นับตั้งแต่วันที่ 22 ก.ค.เป็นต้นมาจนถึงวันนี้ทางกองกำลังสุรนารีได้รับบริจาคสิ่งของอุปโภคบริโภค ข้าวสารอาหารแห้งจากประชาชนชาวไทยทั่วประเทศจำนวนมาก ซึ่งทางกองกำลังสุรนารีก็ได้นำสิ่งของที่รับบริจาคมาทั้งหมดไปแจกจ่ายให้กับทหารพรานและทหารไทยทุกนายที่ตรึงกำลังอยู่แนวหน้าในทันที ไม่ได้เก็บกักตุนเอาไว้แต่อย่างใดและจะเน้นมอบให้กับทหารพรานเป็นกรณีพิเศษด้วย เพราะประจำการอยู่แนวหน้าสุด คือ เผชิญหน้าอยู่กับทหารกัมพูชา
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 3 ส.ค.ที่ผ่านมานายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีก็ได้ส่งของฝากเป็นอาหารการกินจำนวนมากมาให้ทหารไทยที่ประจำการตรึงกำลังอยู่บนเขาพระวิหาร ซึ่งขณะนี้ทหารทุกคนได้รับเรียบร้อยแล้ว และล่าสุดจากการที่ตนพร้อมด้วยคณะนายทหารได้ไปตรวจเยี่ยมความเป็นอยู่ของทหารทุกนายที่ตรึงกำลังอยู่บนเขาพระวิหารก็พบว่ามีอาหารการกิน น้ำดื่ม อุดมสมบูรณ์ดีทุกอย่าง
พล.ต.กนก กล่าวอีกว่า สำหรับเงินที่ใช้เป็นค่าใช้จ่ายประกอบอาหารเลี้ยงดูทหารทุกนายนั้นทางราชการทหารได้กำหนดให้วันละ 40 บาท/คน โดยแบ่งเป็นทหารหลักจัดให้เต็มส่วน และทหารพรานเป็นเงินวันละ 21 บาท สาเหตุที่มีความแตกต่างกันเพราะทหารพรานต้องการให้มีเงินเหลือสมทบกับเงินเดือนมากขึ้น ดังนั้น จึงได้จำกัดค่าอาหารด้วยความสมัครใจวันละ 21 บาท ซึ่งมีการดำเนินการในเรื่องนี้มานานแล้ว
“ส่วนการควบคุมดูแลความเป็นอยู่ของทหารที่ตรึงกำลังอยู่บริเวณวัดบนเขาพระวิหารนั้นได้มอบหมายให้ พ.อ.ชยันต์ หวยสูงเนิน รอง ผบ.กกล.สุรนารี เป็นผู้ควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดและมีผู้บังคับบัญชาทุกระดับได้มาเยี่ยมปลอบขวัญให้กำลังใจอยู่เป็นประจำ โดยทหารทุกนายได้ผลัดเปลี่ยนกำลังกันลงมาพักผ่อน อาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้ารวมทั้งซักเสื้อผ้าที่บริเวณผามออีแดง อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารทุกวัน ซึ่งเรื่องนี้แต่ละหน่วยได้กำหนดตารางเวลากันหมุนเวียนกันเอง” พล.ต.กนก กล่าว
กรมศิลป์ยัน “ตาเมือนธม” ของไทย
นายเกรียงไกร สัมปัชชลิต อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวถึงกรณีกัมพูชาจะเรียกคืนปราสาทตาเมือนธมว่า กรมศิลป์ได้ขึ้นทะเบียนปราสาทตาเมือนธมเป็นของไทยมานานแล้ว และไม่เคยเห็นกัมพูชาคัดค้านหรือเข้าไปดูแล และเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับการพิสูจน์สิทธิ์ แต่เกี่ยวกับเส้นปักปันเขตแดนว่าเป็นอย่างไร เหมือนกรณีเขาพระวิหาร และบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ก็มีแนวเขตแดนต่อกันยาวเป็น 100 กิโลเมตร ในพื้นที่ดังกล่าว มีโบราณสถานหลายแห่ง
“การแบ่งเขตแดนมักจะยึดเอาแม่น้ำและภูเขา ซึ่งเห็นชัดเจนและโบราณสถานนิยมสร้างบนภูเขา ถ้าไม่ทราบว่าโบราณสถานเป็นของใคร ส่วนใหญ่จะไม่ตัดสินและค้างไว้หรือบริหารจัดการร่วมกัน เช่น ที่มาเลเซียก็จะมีเขต no man land หรือต่างฝ่ายไม่ได้เข้าไป แต่กรณีปราสาทตาเมือธม ประเทศไทยเข้าไปบูรณะซ่อมแซมตลอด เปิดให้นักท่องเที่ยวเช้าชมเหมือนโบราณสถานทั่วไป และมีทหารไทยดูแลอยู่ กรณีนี้ถ้ากัมพูชาจะเรียกคืนก็คงขึ้นอยู่กับคณะกรรมการปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชา แต่ขณะนี้กรมศิลป์ยังไม่ได้รับการติดต่อใดๆ ทั้งสิ้น”
เตือนทหารอย่าหลงกลเขมร
นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการประวัติศาสตร์ อดีตอนุกรรมการพัฒนานครประวัติศาสตร์มรดกโลกพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ปราสาทตาเมือนธม เป็นของไทยอย่างชัดเจน และกรมศิลปากรก็ขึ้นทะเบียนปราสาทตาเมือนธมเป็นโบราณสถานไว้ ตลอดจนเราได้ทำการบูรณะตัวปราสาท เปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชมอยู่ตลอด ดังนั้น พื้นที่ปราสาทตาเมือนธม ทหารของไทยมีสิทธิ์ 100% ที่จะรักษาดินแดนเอาไว้ จึงขอให้ทหารตรึงกำลังเจ้าหน้าที่เอาไว้ อย่าเผลอลดกำลังลงอย่าเด็ดขาด
“ผมเชื่อว่านี่เป็นเกมหนึ่งของกัมพูชา เขากำลังเล่นเกมเบี่ยงเบนประเด็นให้เราไปยุ่งกับปราสาทตาเมือนธม เพื่อให้เราลดกำลังที่ปราสาทพระวิหารลง และถึงเวลานั้นกัมพูชาก็จะเอาคนทั้งเด็กและคนชราเข้ามาอยู่ในพื้นที่และเราจะยุ่งเพราะไม่สามารถกันคนเหล่านั้นออกไปได้ รวมทั้งจะเป็นข้ออ้างดึงเอาองค์กรต่างประเทศเข้ามาด้วย จึงขอให้ทหารอย่าหลงกลลดกำลังลงทั้งที่ปราสาทพระวิหารและปราสาทตาเมือนธม”
นายเทพมนตรี กล่าวอีกว่า กระทรวงการต่างประเทศของไทยควรจะทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรประท้วงไปยังสถานทูตกัมพูชาประจำประเทศไทยถึงพฤติกรรมดังกล่าวของทหารกัมพูชา และแจ้งการกระทำของประเทศกัมพูชาให้กับ 21 ประเทศภาคีสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลกได้รับทราบ เพราะพื้นที่ดังกล่าวไม่ใช่พื้นที่ทับซ้อน ชี้ให้เห็นว่ากัมพูชาพูดอย่างทำอย่าง ทั้งๆ ที่เพิ่งเจรจาให้ทั้ง 2 ประเทศลดกำลังทหารลง และกัมพูชากำลังเกเร หากกัมพูชามีพฤติกรรมเช่นนี้ ควรมีการพิจารณาหรือรื้อคดีเรื่องปราสาทพระวิหารใหม่หรือไม่ แต่ที่สำคัญรัฐบาลไทยต้องมีมติยกเลิกแถลงการณ์ร่วมของนายนพดล กับประเทศกัมพูชาอย่างเร่วงด่วนก่อน
ชี้ระวังเขมรเปลี่ยนเส้นเขตแดน
ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ นักวิจัยเชียวชาญ จากสถาบันไทยคดีศึกษา กล่าวว่า กรณีกลุ่มปราสาทตาเมือนธม เป็นเรื่องที่ทีมนักวิชาการแสดงความห่วงใยและเตือนหน่วยราชการมาตลอดว่าเรื่องราวอาจลุกลามไปได้ ซึ่งเมื่อเกิดเรื่องแล้วก็ไม่รู้จะพูดอย่างไร เพราะเรื่องทั้งหมดอยู่ที่จุดยืนของรัฐบาลนี้ ซึ่งประชาชนให้ความไว้วางใจให้มาเป็นรัฐบาลแล้วก็ต้องพิทักษ์อธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติ แต่ที่ผ่านมาตั้งแต่นายนพดล อยู่ในตำแหน่ง รัฐบาลนี้ก็แสดงท่าทีชัดเจนว่าต้องการเปลี่ยนแปลงเส้นเขตแดนไทย-กัมพูชา โดยไปยอมรับแผนที่ของกัมพูชา และไม่ยืนยันแผนที่ของประเทศไทย จึงเกิดปัญหาขึ้น ทั้งปราสาทตาเมือนธม ซึ่งอยู่แนวชายแดนและที่น่าเป็นห่วงก็คือ หลักเขตแดนที่ 73 บริเวณปลายเกาะกูดก็ยังไม่ชัดเจน ซึ่งเป็นอีกจุดหนึ่งที่หน่วยราชการต้องระมัดระวัง
“ทางออกของเรื่องนี้ทางนักวิชาการทุกคน ขอวิงวอนให้กระทรวงการต่างประเทศและรัฐบาลเปิดเผยข้อมูลจุดผิดพลาดต่างๆ ออกมาให้ชัดเจนและขอให้พวกเราเข้าไปมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อหาทางเยียวยาปัญหาที่เกิด ขณะนี้กระทรวงการต่างประเทศไม่เปิดเผยอะไรสักอย่าง หากเปิดเผยก็จะทราบว่าจุดไหนเยียวยาได้ ก็จะได้ช่วยกันพวกเราเป็นห่วงกันมากจริงๆ”
ม.ล.วัลย์วิภา กล่าวอีกว่า ขณะนี้นักวิชาการของสถาบันไทยคดีศึกษากำลังพิจารณาว่าหากใช้แผนที่ของกัมพูชามาตราส่วน 1: 200,000 แล้วจะกินพื้นที่อาณาเขตเข้ามาในแผ่นดินไทยบริเวณใดบ้าง โดยในวันที่ 7 ส.ค.นี้จะนำแผนที่นี้ไปเปรียบเทียบกับพื้นที่จริงบริเวณ อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ
“อภิสิทธิ์” จี้ “หมัก” เร่งแก้ปัญหา
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ระบุว่าปัญหาเขาพระวิหารมีต้นตอมาจากข้อตกลงในปี 2543 ว่า เป็นความพยายามเบี่ยงเบนและบิดเบือนประเด็น สิ่งที่เกิดขึ้นปี 2543 เป็นตกลงบันทึกความเข้าใจเพื่อแก้ปัญหาด้วยสันติวิธีและหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา เพราะฉะนั้นหลักการใหญ่คือการที่จะดำเนินการจัดทำเรื่องเขตแดนให้เรียบร้อย และในระหว่างนั้นจะไม่มีการเข้าไปเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ที่เป็นปัญหา ส่วนที่มีความพยายามจากฝ่ายรัฐบาลอ้างว่าข้อตกลงปี 2543 ไปยอมรับแผนที่นั้น ไม่เป็นความจริง
“ในข้อตกลงปี 2543 จะพบว่าแผนที่ที่ข้อตกลงอ้างถึงเป็นแผนที่ที่จัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการผสมตามสนธิสัญญาเท่านั้น ซึ่งประเทศไทยและศาลโลกก็ไม่ได้ยอมรับว่าแผนที่ที่กัมพูชาใช้ฟ้องเมื่อปี 2505 ที่จัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการผสม ฉะนั้น คงเป็นความพยายามบิดเบือนมากกว่า ซึ่งข้อตกลงปี 2543 ทำให้เราสามารถประท้วงการเข้ามาตั้งชุมชนหรือการตั้งกองกำลังในพื้นที่ที่มีปัญหาได้ และอ้างอิงข้อตกลงชัดเจน ดังนั้น คิดว่านายกฯควรหยุดเล่นการเมืองแบบนี้โดยหยุดบิดเบือนข้อเท็จจริง หรือจุดประเด็นเพื่อเบี่ยงเบนประเด็น แล้วเอาเวลาไปแก้ไขปัญหาปราสาทตาเมือนธม จะดีกว่าแทนที่นายกฯและคณะจะเอาเวลาที่พยายามโยนความผิดไปให้คนอื่น”
ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้ากรณี พล.ต.โป เฮง รองผู้บัญชาการทหารภูมิภาคที่ 4 และ พ.อ.เนียะ วงศ์ รองผู้บังคับกองพลน้อยที่ 42 กัมพูชา นำกำลังทหารกว่า 50 นายพร้อมอาวุธครบมือและสื่อมวลชนกัมพูชา ขอเข้าชมปราสาทตาเมือนธม ต.ตาเมียง อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ แต่ถูกทหารพรานกองร้อยจู่โจมที่ 960 กรมทหารพรานที่ 26 กองกำลัง (กกล.) สุรนารี กองทัพภาคที่ 2 (ทภ.2) ได้เจรจาให้ถอยร่นกลับไปเพราะหวั่นเกิดปัญหาเช่นเดียวกับปราสาทพระวิหาร จ.ศรีสะเกษ เมื่อวันที่ 2 ส.ค.ที่ผ่านมา อีกทั้งทางการกัมพูชากลับอ้างว่าไทยนำกำลังทหารเข้ายึดครองปราสาทตาเมือนธมตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมานั้น
ต่อมาวานนี้ (4 ส.ค.) ผู้สื่อข่าวได้ไปสังเกตการณ์บริเวณพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม บ้านหนองคันนา ต.ตาเมียง อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ปราสาทของกลุ่มปราสาทตาเมือน ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ประกอบด้วยปราสาทตาเมือน, ปราสาทตาเมือนโต๊ด, ปราสาทตาเมือนธม และเป็นปราสาทหลังแรกที่ตั้งอยู่ติดกับแนวชายแดนไทย-กัมพูชา พบว่า กองร้อยทหารพรานจู่โจมที่ 960 กรมทหารพรานที่ 26 กองกำลัง (กกล.) สุรนารี กองทัพภาคที่ 2 ได้จัดวางกำลังทหารพรานตรวจการณ์บริเวณทางขึ้นปราสาทตาเมือนธม ด้านฝั่งประเทศกัมพูชาและพื้นที่ใกล้เคียงเพิ่มมากขึ้น พร้อมทั้งได้จัดทำลวดหนามปิดกั้นบริเวณประตูทางขึ้นปราสาทและโดยรอบตัวปราสาทตาเมือนธมไว้อย่างหนาแน่น
เจ้าหน้าที่ทหารพรานกองร้อยจู่โจมที่ 960 รายหนึ่งเผยว่า สถานการณ์บริเวณพื้นที่นี้ไม่น่ากังวลอะไร ทหารไทยกับทหารกัมพูชา ที่ตั้งฐานปฏิบัติการอยู่ตรงข้ามกับกำลังทหารไทยบริเวณทางขึ้นปราสาทตาเมือนธม ฝั่งกัมพูชาได้มีการพูดจากันด้วยดี การเจรจาของทหารทั้ง 2 ฝ่าย อยู่ในระดับมิตรไมตรีที่ดีต่อกัน ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 ส.ค.ที่ผ่านมาได้ขอให้คณะกำลังทหารของรองแม่ทัพภูมิภาคทหารที่ 4 กัมพูชา ได้เข้าใจและรอการเจรจาระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชาเพราะเป็นพื้นที่ที่ยังไม่มีการปักปันเขตแดนที่ชัดจน ซึ่งฝ่ายทหารกัมพูชาก็เข้าใจและเดินทางกลับไป
"แต่ฝ่ายทหารไทยไม่ได้นิ่งนอนใจและเพื่อปกป้องอธิปไตยของชาติไทย จึงต้องเสริมอัตรากำลังทหารพรานเข้ามาดูแลพื้นที่ปราสาทแห่งนี้มากขึ้นอีก" ทหารพรานกองร้ายจู่โจมที่ 960 กล่าว
เขมรมั่วปักหลักสีแดงล้ำแดนไทย
นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวยังได้รับแจ้งจากชาวบ้านด้วยว่าที่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 11 ริมถนนทางหลวงชนบท บ้านหนองคันนา ต.ตาเมียง อ.พนมดงรัก เข้าไปยังปราสาทตาเมือนธม และอยู่บริเวณปราสาทตาเมือนโต๊ด ห่างจากปราสาทตาเมือนธม ราว 500 เมตร แต่ลึกเข้ามาในเขตประเทศไทยประมาณ 2 กิโลเมตร พบว่า มีถังน้ำมันขนาด 200 ลิตรคว่ำครอบหลักท่อเหล็กเทปูนซีเมนต์ข้างในและทาด้วยสีแดงเอาไว้ พร้อมทั้งมีรั้วลวดหนามล้อมรอบอย่างมิดชิด แต่ไม่สัญลักษณ์หรือข้อความบ่งบอกใดๆ
ชาวบ้านบอกว่า หลักสีแดงดังกล่าวเป็นหลักเขตแดน หรือหลักพิสูจน์เขตแดนใหม่ที่ฝ่ายกัมพูชาเข้ามาทำไว้เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา และชาวบ้านในพื้นที่พยายามสอบถามข้อเท็จจริงกับเจ้าหน้าที่ทหารที่ดูแลพื้นที่บริเวณดังกล่าวแต่ไม่ได้รับคำชี้แจงแต่อย่างใด
ด้าน พล.ต.กนก เนตระคเวสนะ ผู้บัญชาการกองกำลังสุรนารี (ผบ.กกล.สุรนารี) เผยถึงเรื่องนี้ว่า หลักสีแดงดังกล่าวเป็นหลักเพื่อพิสูจน์เขตแดนในการสำรวจเบื้องต้นของคณะกรรมาธิการปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งเป็นหลักยืนยันแนวเขตของแต่ละฝ่ายที่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ โดยกัมพูชาใช้หลักสีแดง และไทยใช้หลักสีน้ำเงิน
สำหรับหลักสีแดง ที่บริเวณริมถนนบ้านหนองคันนานั้น เป็นหลักฝ่ายกัมพูชายืนยันแนวเขตยึดตามแผนที่ฉบับของฝรั่งเศส ส่วนหลักสีน้ำเงินของฝ่ายไทย ตั้งอยู่ตรงจุดแนวเขตที่ไทยยึดถือคือบริเวณแนวสันปันน้ำ ห่างจากตัวปราสาทตาเมือนธม เข้าไปยังฝั่งกัมพูชาประมาณ 1 กิโลเมตร ซึ่งปัญหาที่ยังไม่สามารถตกลงปักปันเขตแดนกันได้เนื่องจาก ทั้ง 2 ประเทศยึดถือแผนที่คนละฉบับ
“ส่วนการที่ทหารไทยเข้าไปตั้งฐานปฏิบัติการส่วนหน้าอยู่ที่บริเวณปราสาทตาเมือนธม นั้น ได้ดำเนินการมานานหลายปีแล้วเป็นการรักษาอธิปไตยของไทยตามปรกติ และการเสริมกำลังทหารเข้าไปพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม และโดยรอบปราสาทตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ก็ได้สั่งการให้หน่วยทหารพรานในพื้นที่เป็นผู้พิจารณาแล้ว”
เจ้ากรมฯ ฮึ่มห้ามเขมรเข้าใกล้
ด้าน พล.ท.นิพัทธ์ ทองเล็ก เจ้ากรมกิจการชายแดน ยืนยันว่า นับจากนี้เป็นต้นไป ทหารที่ทำหน้าที่รักษาชายแดนไทย-กัมพูชา บริเวณปราสาทตาเมือนธม ต.ตาเมียง อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ จะไม่อนุญาตให้ทหารกัมพูชาเข้ามาในพื้นที่ดังกล่าวอย่างเด็ดขาด เพราะถือว่าในเวลานี้ไม่ใช่ช่วงเวลาที่เหมาะสม หลังจากไทยและกัมพูชายังไม่ได้ข้อสรุปกรณีพื้นที่ทับซ้อนใกล้ปราสาทพระวิหาร
ส่วนกรณีที่ทางทหารกัมพูชานำกองกำลังมาขอขึ้นชมบริเวณปราสาทตาเมือนธม จะเป็นหนึ่งในความพยายามรุกคืบของฝ่ายกัมพูชาต่อกรณีพื้นที่ทับซ้อนใกล้ปราสาทพระวิหารหรือไม่นั้น พล.ท.นิพัทธ์ กล่าวว่า ไม่น่าจะมีความเกี่ยวข้องกัน เพราะเมื่อฝ่ายทหารไทยได้พูดคุยให้ทหารกัมพูชาถอนกำลังกลับไป ทางฝ่ายกัมพูชาก็ยินยอมถอนกำลังกลับไปโดยดี อย่างไรก็ตาม ทหารไทยและทหารกัมพูชายังพูดจากันได้ไม่น่ามีปัญหาอะไร ส่วนการพูดคุยกับกัมพูชาเรื่องการปรับกำลังของทั้ง 2 ฝ่าย คงต้องเป็นเรื่องของกระทรวงการต่างประเทศและรัฐบาลจะไปเจรจาอีกครั้ง
ขณะที่ พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เผยว่า ได้ทำหนังสือชี้แจงรัฐบาลกัมพูชาแล้วว่า พื้นที่ปราสาทตาเมือนธมเป็นพื้นที่ของฝ่ายไทย ส่วนความคืบหน้าในการประชุมร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศเกี่ยวกับพื้นที่พิพาทปราสาทพระวิหารนั้นเป็นเรื่องที่จะต้องหารือกัน ในส่วนของทหารมีหน้าที่ในการให้ข้อมูล ส่วนกระทรวงการต่างประเทศจะนำข้อพิจารณาไปเจรจากับทางการกัมพูชา
“การปรับหรือไม่ปรับกำลังทหารออกจากพื้นที่นั้น เป็นเรื่องของรายละเอียดที่จะต้องหารือกัน เนื่องจากมีผลกระทบต่อยุทธศาสตร์ความมั่นคงของสองประเทศ ที่ต้องระมัดระวังข้อกฎหมาย เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและซับซ้อนที่อาจมีผลผูกมัด อย่างไรก็ตามมั่นใจว่า กระทรวงการต่างประเทศจะประเมินสถานการณ์ได้ดีกว่าทางทหาร”
ยันทหารไทยไม่อดอยาก
วันเดียวกันที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ พล.ต.กนก เนตระคเวสนะ ผบ.กกล.สุรนารี พร้อมคณะนายทหาร กกล.สุรนารี แถลงข่าวชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีมีข่าวเผยแพร่ทางสื่อมวลชนว่าทหารพรานที่ปฏิบัติหน้าที่ตรึงกำลังที่ชายแดนไทย-กัมพูชาบนเขาพระวิหารขาดแคลนทั้งอาหารและน้ำดื่มจนต้องพากันนำน้ำจากลำธารมาต้มดื่ม ต่างจากความเป็นอยู่ของทหารฝ่ายกัมพูชาที่มีการนำสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคมาส่งมอบให้เป็นจำนวนมาก
พล.ต.กนก กล่าวว่า นับตั้งแต่วันที่ 22 ก.ค.เป็นต้นมาจนถึงวันนี้ทางกองกำลังสุรนารีได้รับบริจาคสิ่งของอุปโภคบริโภค ข้าวสารอาหารแห้งจากประชาชนชาวไทยทั่วประเทศจำนวนมาก ซึ่งทางกองกำลังสุรนารีก็ได้นำสิ่งของที่รับบริจาคมาทั้งหมดไปแจกจ่ายให้กับทหารพรานและทหารไทยทุกนายที่ตรึงกำลังอยู่แนวหน้าในทันที ไม่ได้เก็บกักตุนเอาไว้แต่อย่างใดและจะเน้นมอบให้กับทหารพรานเป็นกรณีพิเศษด้วย เพราะประจำการอยู่แนวหน้าสุด คือ เผชิญหน้าอยู่กับทหารกัมพูชา
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 3 ส.ค.ที่ผ่านมานายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีก็ได้ส่งของฝากเป็นอาหารการกินจำนวนมากมาให้ทหารไทยที่ประจำการตรึงกำลังอยู่บนเขาพระวิหาร ซึ่งขณะนี้ทหารทุกคนได้รับเรียบร้อยแล้ว และล่าสุดจากการที่ตนพร้อมด้วยคณะนายทหารได้ไปตรวจเยี่ยมความเป็นอยู่ของทหารทุกนายที่ตรึงกำลังอยู่บนเขาพระวิหารก็พบว่ามีอาหารการกิน น้ำดื่ม อุดมสมบูรณ์ดีทุกอย่าง
พล.ต.กนก กล่าวอีกว่า สำหรับเงินที่ใช้เป็นค่าใช้จ่ายประกอบอาหารเลี้ยงดูทหารทุกนายนั้นทางราชการทหารได้กำหนดให้วันละ 40 บาท/คน โดยแบ่งเป็นทหารหลักจัดให้เต็มส่วน และทหารพรานเป็นเงินวันละ 21 บาท สาเหตุที่มีความแตกต่างกันเพราะทหารพรานต้องการให้มีเงินเหลือสมทบกับเงินเดือนมากขึ้น ดังนั้น จึงได้จำกัดค่าอาหารด้วยความสมัครใจวันละ 21 บาท ซึ่งมีการดำเนินการในเรื่องนี้มานานแล้ว
“ส่วนการควบคุมดูแลความเป็นอยู่ของทหารที่ตรึงกำลังอยู่บริเวณวัดบนเขาพระวิหารนั้นได้มอบหมายให้ พ.อ.ชยันต์ หวยสูงเนิน รอง ผบ.กกล.สุรนารี เป็นผู้ควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดและมีผู้บังคับบัญชาทุกระดับได้มาเยี่ยมปลอบขวัญให้กำลังใจอยู่เป็นประจำ โดยทหารทุกนายได้ผลัดเปลี่ยนกำลังกันลงมาพักผ่อน อาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้ารวมทั้งซักเสื้อผ้าที่บริเวณผามออีแดง อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารทุกวัน ซึ่งเรื่องนี้แต่ละหน่วยได้กำหนดตารางเวลากันหมุนเวียนกันเอง” พล.ต.กนก กล่าว
กรมศิลป์ยัน “ตาเมือนธม” ของไทย
นายเกรียงไกร สัมปัชชลิต อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวถึงกรณีกัมพูชาจะเรียกคืนปราสาทตาเมือนธมว่า กรมศิลป์ได้ขึ้นทะเบียนปราสาทตาเมือนธมเป็นของไทยมานานแล้ว และไม่เคยเห็นกัมพูชาคัดค้านหรือเข้าไปดูแล และเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับการพิสูจน์สิทธิ์ แต่เกี่ยวกับเส้นปักปันเขตแดนว่าเป็นอย่างไร เหมือนกรณีเขาพระวิหาร และบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ก็มีแนวเขตแดนต่อกันยาวเป็น 100 กิโลเมตร ในพื้นที่ดังกล่าว มีโบราณสถานหลายแห่ง
“การแบ่งเขตแดนมักจะยึดเอาแม่น้ำและภูเขา ซึ่งเห็นชัดเจนและโบราณสถานนิยมสร้างบนภูเขา ถ้าไม่ทราบว่าโบราณสถานเป็นของใคร ส่วนใหญ่จะไม่ตัดสินและค้างไว้หรือบริหารจัดการร่วมกัน เช่น ที่มาเลเซียก็จะมีเขต no man land หรือต่างฝ่ายไม่ได้เข้าไป แต่กรณีปราสาทตาเมือธม ประเทศไทยเข้าไปบูรณะซ่อมแซมตลอด เปิดให้นักท่องเที่ยวเช้าชมเหมือนโบราณสถานทั่วไป และมีทหารไทยดูแลอยู่ กรณีนี้ถ้ากัมพูชาจะเรียกคืนก็คงขึ้นอยู่กับคณะกรรมการปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชา แต่ขณะนี้กรมศิลป์ยังไม่ได้รับการติดต่อใดๆ ทั้งสิ้น”
เตือนทหารอย่าหลงกลเขมร
นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการประวัติศาสตร์ อดีตอนุกรรมการพัฒนานครประวัติศาสตร์มรดกโลกพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ปราสาทตาเมือนธม เป็นของไทยอย่างชัดเจน และกรมศิลปากรก็ขึ้นทะเบียนปราสาทตาเมือนธมเป็นโบราณสถานไว้ ตลอดจนเราได้ทำการบูรณะตัวปราสาท เปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชมอยู่ตลอด ดังนั้น พื้นที่ปราสาทตาเมือนธม ทหารของไทยมีสิทธิ์ 100% ที่จะรักษาดินแดนเอาไว้ จึงขอให้ทหารตรึงกำลังเจ้าหน้าที่เอาไว้ อย่าเผลอลดกำลังลงอย่าเด็ดขาด
“ผมเชื่อว่านี่เป็นเกมหนึ่งของกัมพูชา เขากำลังเล่นเกมเบี่ยงเบนประเด็นให้เราไปยุ่งกับปราสาทตาเมือนธม เพื่อให้เราลดกำลังที่ปราสาทพระวิหารลง และถึงเวลานั้นกัมพูชาก็จะเอาคนทั้งเด็กและคนชราเข้ามาอยู่ในพื้นที่และเราจะยุ่งเพราะไม่สามารถกันคนเหล่านั้นออกไปได้ รวมทั้งจะเป็นข้ออ้างดึงเอาองค์กรต่างประเทศเข้ามาด้วย จึงขอให้ทหารอย่าหลงกลลดกำลังลงทั้งที่ปราสาทพระวิหารและปราสาทตาเมือนธม”
นายเทพมนตรี กล่าวอีกว่า กระทรวงการต่างประเทศของไทยควรจะทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรประท้วงไปยังสถานทูตกัมพูชาประจำประเทศไทยถึงพฤติกรรมดังกล่าวของทหารกัมพูชา และแจ้งการกระทำของประเทศกัมพูชาให้กับ 21 ประเทศภาคีสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลกได้รับทราบ เพราะพื้นที่ดังกล่าวไม่ใช่พื้นที่ทับซ้อน ชี้ให้เห็นว่ากัมพูชาพูดอย่างทำอย่าง ทั้งๆ ที่เพิ่งเจรจาให้ทั้ง 2 ประเทศลดกำลังทหารลง และกัมพูชากำลังเกเร หากกัมพูชามีพฤติกรรมเช่นนี้ ควรมีการพิจารณาหรือรื้อคดีเรื่องปราสาทพระวิหารใหม่หรือไม่ แต่ที่สำคัญรัฐบาลไทยต้องมีมติยกเลิกแถลงการณ์ร่วมของนายนพดล กับประเทศกัมพูชาอย่างเร่วงด่วนก่อน
ชี้ระวังเขมรเปลี่ยนเส้นเขตแดน
ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ นักวิจัยเชียวชาญ จากสถาบันไทยคดีศึกษา กล่าวว่า กรณีกลุ่มปราสาทตาเมือนธม เป็นเรื่องที่ทีมนักวิชาการแสดงความห่วงใยและเตือนหน่วยราชการมาตลอดว่าเรื่องราวอาจลุกลามไปได้ ซึ่งเมื่อเกิดเรื่องแล้วก็ไม่รู้จะพูดอย่างไร เพราะเรื่องทั้งหมดอยู่ที่จุดยืนของรัฐบาลนี้ ซึ่งประชาชนให้ความไว้วางใจให้มาเป็นรัฐบาลแล้วก็ต้องพิทักษ์อธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติ แต่ที่ผ่านมาตั้งแต่นายนพดล อยู่ในตำแหน่ง รัฐบาลนี้ก็แสดงท่าทีชัดเจนว่าต้องการเปลี่ยนแปลงเส้นเขตแดนไทย-กัมพูชา โดยไปยอมรับแผนที่ของกัมพูชา และไม่ยืนยันแผนที่ของประเทศไทย จึงเกิดปัญหาขึ้น ทั้งปราสาทตาเมือนธม ซึ่งอยู่แนวชายแดนและที่น่าเป็นห่วงก็คือ หลักเขตแดนที่ 73 บริเวณปลายเกาะกูดก็ยังไม่ชัดเจน ซึ่งเป็นอีกจุดหนึ่งที่หน่วยราชการต้องระมัดระวัง
“ทางออกของเรื่องนี้ทางนักวิชาการทุกคน ขอวิงวอนให้กระทรวงการต่างประเทศและรัฐบาลเปิดเผยข้อมูลจุดผิดพลาดต่างๆ ออกมาให้ชัดเจนและขอให้พวกเราเข้าไปมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อหาทางเยียวยาปัญหาที่เกิด ขณะนี้กระทรวงการต่างประเทศไม่เปิดเผยอะไรสักอย่าง หากเปิดเผยก็จะทราบว่าจุดไหนเยียวยาได้ ก็จะได้ช่วยกันพวกเราเป็นห่วงกันมากจริงๆ”
ม.ล.วัลย์วิภา กล่าวอีกว่า ขณะนี้นักวิชาการของสถาบันไทยคดีศึกษากำลังพิจารณาว่าหากใช้แผนที่ของกัมพูชามาตราส่วน 1: 200,000 แล้วจะกินพื้นที่อาณาเขตเข้ามาในแผ่นดินไทยบริเวณใดบ้าง โดยในวันที่ 7 ส.ค.นี้จะนำแผนที่นี้ไปเปรียบเทียบกับพื้นที่จริงบริเวณ อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ
“อภิสิทธิ์” จี้ “หมัก” เร่งแก้ปัญหา
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ระบุว่าปัญหาเขาพระวิหารมีต้นตอมาจากข้อตกลงในปี 2543 ว่า เป็นความพยายามเบี่ยงเบนและบิดเบือนประเด็น สิ่งที่เกิดขึ้นปี 2543 เป็นตกลงบันทึกความเข้าใจเพื่อแก้ปัญหาด้วยสันติวิธีและหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา เพราะฉะนั้นหลักการใหญ่คือการที่จะดำเนินการจัดทำเรื่องเขตแดนให้เรียบร้อย และในระหว่างนั้นจะไม่มีการเข้าไปเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ที่เป็นปัญหา ส่วนที่มีความพยายามจากฝ่ายรัฐบาลอ้างว่าข้อตกลงปี 2543 ไปยอมรับแผนที่นั้น ไม่เป็นความจริง
“ในข้อตกลงปี 2543 จะพบว่าแผนที่ที่ข้อตกลงอ้างถึงเป็นแผนที่ที่จัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการผสมตามสนธิสัญญาเท่านั้น ซึ่งประเทศไทยและศาลโลกก็ไม่ได้ยอมรับว่าแผนที่ที่กัมพูชาใช้ฟ้องเมื่อปี 2505 ที่จัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการผสม ฉะนั้น คงเป็นความพยายามบิดเบือนมากกว่า ซึ่งข้อตกลงปี 2543 ทำให้เราสามารถประท้วงการเข้ามาตั้งชุมชนหรือการตั้งกองกำลังในพื้นที่ที่มีปัญหาได้ และอ้างอิงข้อตกลงชัดเจน ดังนั้น คิดว่านายกฯควรหยุดเล่นการเมืองแบบนี้โดยหยุดบิดเบือนข้อเท็จจริง หรือจุดประเด็นเพื่อเบี่ยงเบนประเด็น แล้วเอาเวลาไปแก้ไขปัญหาปราสาทตาเมือนธม จะดีกว่าแทนที่นายกฯและคณะจะเอาเวลาที่พยายามโยนความผิดไปให้คนอื่น”