เอเอฟพี/รอยเตอร์ – นายกรัฐมนตรี ยาสุโอะ ฟุคุดะ แห่งญี่ปุ่น ที่กำลังสู้ศึกหนักรอบด้าน ประกาศปรับปรุงคณะรัฐมนตรีครั้งมโหฬารเมื่อวานนี้(1) โดยนำเอาปรปักษ์ซึ่งเป็นที่นิยมของประชาชน เข้ามานั่งเก้าอี้ตัวใหญ่อันดับ 2 ของพรรค, เปลี่ยนตัวบรรดารัฐมนตรีที่ดูแลด้านเศรษฐกิจ, และรวมแล้วนำเอารัฐมนตรีหน้าใหม่เข้ามาถึงสิบกว่าคน ทางด้านพวกนักวิเคราะห์มองความเคลื่อนไหวคราวนี้ว่า เป็นความพยายามครั้งสุดท้ายที่จะฟื้นฟูคะแนนความยอมรับของผู้ออกเสียง ขณะที่การเลือกตั้งขยับใกล้เข้ามาเรื่อยๆ
ความนิยมในตัวนายกรัฐมนตรีฟุคุดะวัย 72 ปี ซึ่งถือเป็นพวกสายกลางภายในพรรคแนวทางอนุรักษนิยมอย่าง ลิเบอรัล เดโมแครต ปาร์ตี้ (แอลดีพี) ที่เป็นแกนนำพรรครัฐบาลผสมญี่ปุ่นเวลานี้ ได้ตกฮวบลงไปมาก นับแต่ที่เขาขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว
ในการปรับปรุงคณะรัฐมนตรีคราวนี้ ฟุคุดะเปลี่ยนรัฐมนตรีถึง 13 คนจากคณะรัฐมนตรีทั้งคณะที่มี 17 คน และนำเอาอดีตรัฐมนตรีต่างประเทศและอดีตคู่แข่งขันคนสำคัญของเขา ทาโร อาโซะ กลับคืนจากความเวิ้งว้างโดดเดี่ยวทางการเมือง มานั่งเก้าอี้เลขาธิการพรรคแอลดีพี อันเป็นตำแหน่งที่มีบทบาทสำคัญในการวางยุทธศาสตร์ หากมีการเลือกตั้งทั่วไป
สำหรับทีมงานเศรษฐกิจ ฟุคุดะได้แต่งตั้ง บุนเมอิ อิบูกิ เลขาธิการพรรคคนเก่า มาเป็นรัฐมนตรีคลัง ขณะเดียวกัน ก็ให้ คาโอรุ โยซาโน ซึ่งเคยผ่านงานด้านคุมเศรษฐกิจของประเทศมาโชกโชน เข้าเป็นรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ที่รับผิดชอบด้านนโยบายการคลังด้วย โดยที่ โยซาโน นั้น ก่อให้เกิดการขัดแย้งถกเถียงกันมาก จากการเสนอนโยบายขึ้นภาษีการบริโภคแห่งชาติ (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) เพื่อระดมเงินมาใช้จ่ายในด้านสวัสดิการสังคมซึ่งกำลังเป็นภาระหนักขึ้นทุกที เพราะผู้คนในสังคมเข้าสู่วัยชรากันมาก
อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีต่างประเทศ มาซาฮิโก โคมุระ ยังคงอยู่ที่เดิม เช่นเดียวกับ โนบุทากะ มาชิมุระ ซึ่งยังคงเป็นเลขาธิการคณะรัฐมนตรี อันเป็นตำแหน่งที่ถือกันว่าทรงความสำคัญเป็นหมายเลข 2 ในรัฐบาลญี่ปุ่น
ฟุคุดะแถลงข่าวภายหลังประกาศปรับปรุงคณะรัฐมนตรีว่า เขายังไม่ได้คิดที่จะประกาศยุบสภาล่างและจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปกันในเร็ววันนี้ โดยมุ่งที่จะดำเนินนโยบายด้านการปฏิรูปต่างๆ ให้กลายเป็นจริงขึ้นมา
ขณะที่ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีมาชิมุระ ก็บอกว่า คณะรัฐบาลชุดใหม่จะเน้นไปที่การเพิ่มอัตราขยายตัวของเศรษฐกิจ ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจมีความผันผวนไม่แน่นอน
กระนั้นก็ตาม พวกนักวิเคราะห์จำนวนมากยังคงมองว่า รัฐบาลใหม่ชุดนี้คงไม่สามารถที่จะกลบลบการกะเก็งคาดเดาที่ว่า จะมีการเลือกตั้งกันก่อนกำหนด ถึงแม้วาระของสภาล่างชุดนี้จะไปถึงเดือนกันยายนปีหน้าก็ตามที
ระหว่างสิบเดือนที่เป็นนายกรัฐมนตรี ฟุคุดะประสบความสำเร็จในด้านนโยบายการต่างประเทศ โดยเฉพาะการปรับปรุงความสัมพันธ์กับจีนผู้เป็นเพื่อนบ้าน ทว่าคะแนนความนิยมในตัวเขาและรัฐบาลของเขากลับตกวูบ โดยที่สำคัญเนื่องจากการผลักดันแผนการสาธารณสุขที่ทำให้คนชราจำนวนมากต้องจ่ายเงินเพิ่ม
ฝ่ายค้านซึ่งสามารถครองเสียงข้างมากในสภาสูง ยังกล่าวหาฟุคุดะว่าไม่ได้มีทิศทางนโยบายที่ชัดเจน และกดดันนายกรัฐมนตรีให้รีบยุบสภาล่าง และจัดการเลือกตั้งทั่วไปกันโดยเร็ว
นักวิเคราะห์บางคน อย่างเช่น ซาดาฟูมิ คาวาโตะ ศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยโตโฮกุ มองว่าการปรับปรุงคณะรัฐมนตรีคราวนี้ แสดงให้เห็นว่าฟุคุดะมีความจริงจังในการพยายามปรับเปลี่ยนกระแสความนิยมของประชาชนเสียใหม่ แทนที่จะจัดการเลือกตั้ง
กระนั้นก็ตาม นักวิเคราะห์อีกหลายคนเห็นว่า การแต่งตั้งอาโซะเป็นเลขาธิการพรรคแอลดีพี อาจเป็นการส่งสัญญาณว่า ฟุคุดะเตรียมตัวที่จะก้าวลงจากเก้าอี้ภายหลังการเลือกตั้งครั้งต่อไป
ความนิยมในตัวนายกรัฐมนตรีฟุคุดะวัย 72 ปี ซึ่งถือเป็นพวกสายกลางภายในพรรคแนวทางอนุรักษนิยมอย่าง ลิเบอรัล เดโมแครต ปาร์ตี้ (แอลดีพี) ที่เป็นแกนนำพรรครัฐบาลผสมญี่ปุ่นเวลานี้ ได้ตกฮวบลงไปมาก นับแต่ที่เขาขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว
ในการปรับปรุงคณะรัฐมนตรีคราวนี้ ฟุคุดะเปลี่ยนรัฐมนตรีถึง 13 คนจากคณะรัฐมนตรีทั้งคณะที่มี 17 คน และนำเอาอดีตรัฐมนตรีต่างประเทศและอดีตคู่แข่งขันคนสำคัญของเขา ทาโร อาโซะ กลับคืนจากความเวิ้งว้างโดดเดี่ยวทางการเมือง มานั่งเก้าอี้เลขาธิการพรรคแอลดีพี อันเป็นตำแหน่งที่มีบทบาทสำคัญในการวางยุทธศาสตร์ หากมีการเลือกตั้งทั่วไป
สำหรับทีมงานเศรษฐกิจ ฟุคุดะได้แต่งตั้ง บุนเมอิ อิบูกิ เลขาธิการพรรคคนเก่า มาเป็นรัฐมนตรีคลัง ขณะเดียวกัน ก็ให้ คาโอรุ โยซาโน ซึ่งเคยผ่านงานด้านคุมเศรษฐกิจของประเทศมาโชกโชน เข้าเป็นรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ที่รับผิดชอบด้านนโยบายการคลังด้วย โดยที่ โยซาโน นั้น ก่อให้เกิดการขัดแย้งถกเถียงกันมาก จากการเสนอนโยบายขึ้นภาษีการบริโภคแห่งชาติ (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) เพื่อระดมเงินมาใช้จ่ายในด้านสวัสดิการสังคมซึ่งกำลังเป็นภาระหนักขึ้นทุกที เพราะผู้คนในสังคมเข้าสู่วัยชรากันมาก
อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีต่างประเทศ มาซาฮิโก โคมุระ ยังคงอยู่ที่เดิม เช่นเดียวกับ โนบุทากะ มาชิมุระ ซึ่งยังคงเป็นเลขาธิการคณะรัฐมนตรี อันเป็นตำแหน่งที่ถือกันว่าทรงความสำคัญเป็นหมายเลข 2 ในรัฐบาลญี่ปุ่น
ฟุคุดะแถลงข่าวภายหลังประกาศปรับปรุงคณะรัฐมนตรีว่า เขายังไม่ได้คิดที่จะประกาศยุบสภาล่างและจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปกันในเร็ววันนี้ โดยมุ่งที่จะดำเนินนโยบายด้านการปฏิรูปต่างๆ ให้กลายเป็นจริงขึ้นมา
ขณะที่ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีมาชิมุระ ก็บอกว่า คณะรัฐบาลชุดใหม่จะเน้นไปที่การเพิ่มอัตราขยายตัวของเศรษฐกิจ ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจมีความผันผวนไม่แน่นอน
กระนั้นก็ตาม พวกนักวิเคราะห์จำนวนมากยังคงมองว่า รัฐบาลใหม่ชุดนี้คงไม่สามารถที่จะกลบลบการกะเก็งคาดเดาที่ว่า จะมีการเลือกตั้งกันก่อนกำหนด ถึงแม้วาระของสภาล่างชุดนี้จะไปถึงเดือนกันยายนปีหน้าก็ตามที
ระหว่างสิบเดือนที่เป็นนายกรัฐมนตรี ฟุคุดะประสบความสำเร็จในด้านนโยบายการต่างประเทศ โดยเฉพาะการปรับปรุงความสัมพันธ์กับจีนผู้เป็นเพื่อนบ้าน ทว่าคะแนนความนิยมในตัวเขาและรัฐบาลของเขากลับตกวูบ โดยที่สำคัญเนื่องจากการผลักดันแผนการสาธารณสุขที่ทำให้คนชราจำนวนมากต้องจ่ายเงินเพิ่ม
ฝ่ายค้านซึ่งสามารถครองเสียงข้างมากในสภาสูง ยังกล่าวหาฟุคุดะว่าไม่ได้มีทิศทางนโยบายที่ชัดเจน และกดดันนายกรัฐมนตรีให้รีบยุบสภาล่าง และจัดการเลือกตั้งทั่วไปกันโดยเร็ว
นักวิเคราะห์บางคน อย่างเช่น ซาดาฟูมิ คาวาโตะ ศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยโตโฮกุ มองว่าการปรับปรุงคณะรัฐมนตรีคราวนี้ แสดงให้เห็นว่าฟุคุดะมีความจริงจังในการพยายามปรับเปลี่ยนกระแสความนิยมของประชาชนเสียใหม่ แทนที่จะจัดการเลือกตั้ง
กระนั้นก็ตาม นักวิเคราะห์อีกหลายคนเห็นว่า การแต่งตั้งอาโซะเป็นเลขาธิการพรรคแอลดีพี อาจเป็นการส่งสัญญาณว่า ฟุคุดะเตรียมตัวที่จะก้าวลงจากเก้าอี้ภายหลังการเลือกตั้งครั้งต่อไป