นักวิชาการ-อดีตนักการทูตระบุ"ฮุนเซน" ถอนเรื่องยูเอ็นใช้วิธีการทูตเลี้ยง"รัฐบาลหมัก"เพราะทำประโยชน์ให้เขมรได้อีก ยันหลังเลือกตั้งยิ่งแข็งกร้าวขึ้น เพราะใช้เรื่องนี้หาเสียง จี้รัฐบาลหมักแสดงนโยบายเรื่องปราสาทพระวิหารให้ชัดเจน และยกเลิกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา อย่างเป็นทางการโดยด่วน แนะใช้วิชาการและการทูตในการแก้ปัญหา เปิดโปงพฤติกรรม “พูดอย่างทำอย่าง” ของเขมรต่อเวทีโลก ไม่ใช่รอแก้ต่างเขมร "แม้ว"ปัดไม่เกี่ยวเรื่องแลกเปลี่ยนผลประโยชน์
วานนี้ (25 ก.ค.) ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการเสวนา เรื่อง “กรณีปราสาทพระวิหาร : ความจริงที่คนไทยอยากรู้” โดยมี ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล อดีตเอกอัครราชทูตประเทศไทย นายสุรพงษ์ ชัยนาม อดีตเอกอัครราชทูตประเทศไทย นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการประวัติศาสตร์ ร่วมเสวนา
นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ประเทศกัมพูชา มีการดำเนินการเรื่องปราสาทพระวิหารโดยมีองค์ประกอบนโยบายทางการทูต และคำนึงถึงปัจจัยการเมืองทั้งในและนอกประเทศ ซึ่งในทางการทูตนั้นกัมพูชาเดินหมากทางการทูต 2 ระดับ โดยทางหนึ่งจะเจรจากับทางรัฐบาลไทย ระบุว่าต้องการแก้ไขปัญหาที่เป็นข้อพิพาท แต่ในอีกทางหนึ่งกลับไปร้องต่อคณะมนตรีความมั่นคง สหประชาชาติ หรือยูเอ็น ยูเนสโก และเวทีโลกอื่นๆ
การที่กัมพูชาทำเช่นนั้นเพราะไม่ต้องการเจรจาทวิภาคีกับประเทศไทย แต่หากกัมพูชาดึงเอาประเทศต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ก็จะทำให้เขามีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยจะเอาคำตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลกมาชี้ให้ประชาคมโลกเห็นว่า ศาลโลกได้พิพากษาให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชาแล้ว ดังนั้น พื้นที่ต่างๆ โดยรอบก็ต้องเป็นของกัมพูชาด้วย และให้คณะมนตรีความมั่นคง สหประชาชาติใช้กฎบัตรสหประชาชาติให้ไทยถอนกำลังทหารออกจากเขาพระวิหาร
นายสุรพงษ์ กล่าวอีกว่า ท่าทีของกัมพูชาในระดับผู้บริหารในการให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนถึงไทยนั้น ไม่มีท่าทีที่เป็นมิตรหรือแสดงความบริสุทธิ์ใจในการเจรจา ซึ่งตรงกันข้ามกับแนวทางการทูตอย่างเป็นทางการที่เขาดำเนินกับเราว่าต้องการแก้ปัญหาโดยสันติ การที่เขาทำเช่นนี้ เพื่อให้ประชาคมโลกเห็นว่า มีแนวโน้มว่าไทยที่เป็นประเทศใหญ่กว่าจะรังแกประเทศเล็ก และชี้ให้เห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมดเกิดจากฝ่ายไทย
“รัฐบาลไทยไม่สนใจเรื่องนี้ เนื่องจากมีผลประโยชน์ทับซ้อน และรัฐบาลไทยจะไม่ทำอะไร เพราะเรื่องนี้เป็นผลประโยชน์กับประเทศกัมพูชา นั่นเพราะมีเรื่องผลประโยชน์ที่นักการเมืองของเราเจรจากับฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา และฮุนเซนก็รู้ด้วยว่า หากรัฐบาลไทยชุดนี้ยังอยู่จะเป็นประโยชน์กับกัมพูชามากกว่า ดังนั้น ฮุนเซนก็จะพยายามรักษาแนวทางทางการทูต เพื่อให้รัฐบาลนี้อยู่ได้ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีของไทยจึงได้ออกมาพูดได้ว่า โทรศัพท์คุยกับฮุนเซนแล้ว เขมรจะถอนเรื่องออกจากยูเอ็น และจะไปคุยกันที่เสียมเรียบแทน การที่กัมพูชายอมถอนหนังสือจากยูเอ็นเพราะเขารู้ว่า มันยังไม่ถึงเวลาที่จะคณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็นจะเข้ามาดำเนินการในเรื่องนี้ สุดท้ายก็ต้องให้ 2 ประเทศเจรจากันก่อนอยู่ดี”
นายสุรพงษ์ กล่าวอีกว่า สิ่งที่รัฐบาลไทยต้องดำเนินการคือการใช้แนวทางวิชาการและการทูต โดยต้องไม่รอตามชี้แจงในเวทีต่างๆ ที่กัมพูชาไปร้องไว้ เพราะจะทำให้เราต้องเหนื่อย ไทยควรมียุทธศาสตร์ที่จะล็อคให้ประเทศกัมพูชาต้องยอมมานั่งโต๊ะเจรจากับไทย
ทั้งนี้ ในทางการทูตเราต้องเปิดโปงว่าข้อมูลส่วนไหนที่กัมพูชาบิดเบือนที่จะทำให้ประชาคมโลกเข้าใจผิด และชี้ให้เห็นพฤติกรรมของกัมพูชาที่พูดอีกอย่างแต่ทำอีกอย่าง แต่ปัญหาคือรัฐบาลไม่เคยมีนโยบายต่อเรื่องนี้อย่างชัดเจน ดังนั้น รัฐบาลจะต้องเร่งกำหนดยุทธศาสตร์พร้อมตั้งทีมงานออกไปชี้แจงในเวทีโลก สิ่งใดที่เป็นประโยชน์กับไทยต้องชี้แจงออกไปทันที ไม่ต้องรอแก้ต่างกัมพูชาเท่านั้น ยิ่งรอช้ายิ่งทำให้ไทยเสียภาพลักษณ์ในเวทีโลก
“ขณะที่บทบาทของกระทรวงการต่างประเทศ จากที่เคยมีบทบาทเป็นหลักนำกลับไม่มีท่าทีอะไรออกมา นั่นเป็นเพราะนับตั้งแต่กลุ่มอำนาจเก่าบริหารประเทศ นักการเมืองได้ใช้นโยบายการต่างประเทศเป็นเครื่องมือสนองผลประโยชน์ของพรรคพวกตนเอง จนถึงปัจจุบันก็ยังคงใช้นโยบายต่างประเทศทำแบบนี้อยู่ และที่นายสมัครออกมาพูดว่า หลังฮุนเซนได้รับเลือกตั้งเขาจะมีท่าทีอ่อนลงนั้น ผมบอกได้เลยว่ายิ่งเขาได้รับเลือกตั้ง จะยิ่งมีท่าทีแข็งกร้าวขึ้น เพราะเขาใช้เรื่องนี้หาเสียง เขาก็ถือว่าประชาชนให้ฉันทามติ เรื่องแค่นี้นายกรัฐมนตรีของไทยยังคาดเดาไม่ออก ตามเขาไม่ทันอีกหรืออย่างไร”นายสุรพงษ์กล่าว
ด้าน ศ.ดร.สมปอง กล่าวว่า ขอให้รัฐบาลไทยแจ้งโมฆะการทำแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชาก่อนหน้านี้อย่างเป็นทางการไปยังประเทศต่างๆ แต่ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมรัฐบาลไทยไม่แจ้งยกเลิก และต้องแจ้งชี้แจงด้วยว่าการพิจารณาของคณะกรรมการมรดกโลกมีความผิดพลาดจุดไหนอย่างไรบ้าง
ขณะที่นายเทพมนตรี กล่าวว่า ขอให้จับตาการเจรจาระหว่างไทยและกัมพูชาที่จะมีขึ้นที่เสียมเรียบ เพราะกัมพูชาจะไม่ได้เจรจาเพียงลำพัง แต่จะลากเอาคณะกรรมการมรดกโลกเข้ามาหารือด้วย และอาจจะมีการมุบมิบระหว่างรัฐบาลไทยกับกัมพูชาอีก
"แม้ว"ปัดไม่เกี่ยวแลกผลประโยชน์
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร ที่ไทยยอมให้ขึ้นทะเบียนนั้นเพราะมีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ทางธุรกิจ ของพ.ต.ท.ทักษิณว่า ไม่เกี่ยวเลย ความจริงแล้วเราต้องอยู่กันด้วยเหตุผล อย่าอยู่กันแบบไม่มีเหตุผล คิดว่าอีก 2-3 วัน ถ้าทางรัฐบาลได้รมว.ต่างประเทศคนใหม่แล้ว ก็คงจะเป็นคนที่แก้ปัญหานี้ได้ไม่ยาก เพราะความสัมพันธ์ของเรากับประเทศเพื่อนบ้าน ดีอยู่แล้ว
ส่วนคนที่จะมาเป็นรัฐมนตรีนั้น ควรเป็นคนที่พูดกับทุกฝ่ายได้ เพราะทั่วโลกนั้น นโยบายต่างประเทศ ถือว่าเป็นเรื่องประเทศ ไม่ใช่เป็นเรื่องของพวก หรือฝ่าย หรือพรรค
นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ตอบคำถามผู้สื่อข่าว ถึงกรณีการแต่งตั้งรมว.ต่างประเทศคนใหม่ เพื่อให้ทันการประชุมกับกัมพูชา ในวันจันทร์ที่ 28 ก.ค.นี้ โดยผู้สื่อข่าวถามว่า คิดว่ารัฐมนตรีใหม่จะไปทันการประชุมหรือไม่ โดยนายสมัคร กล่าวสั้นๆ ว่า"ทันแน่นอน" เมื่อถามว่า จะเป็นใคร นายเตช บุญนาค อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ หรือนายสหัส บัณฑิตกุล รองนายกรัฐมนตรี นายสมัคร กล่าวว่า "คอยฟังวิทยุ" เมื่อถามว่า รายการวิทยุวันเสาร์-อาทิตย์ หรือวันไหนกันแน่ นายสมัคร กล่าวว่า อาจจะคืนนี้
วานนี้ (25 ก.ค.) ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการเสวนา เรื่อง “กรณีปราสาทพระวิหาร : ความจริงที่คนไทยอยากรู้” โดยมี ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล อดีตเอกอัครราชทูตประเทศไทย นายสุรพงษ์ ชัยนาม อดีตเอกอัครราชทูตประเทศไทย นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการประวัติศาสตร์ ร่วมเสวนา
นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ประเทศกัมพูชา มีการดำเนินการเรื่องปราสาทพระวิหารโดยมีองค์ประกอบนโยบายทางการทูต และคำนึงถึงปัจจัยการเมืองทั้งในและนอกประเทศ ซึ่งในทางการทูตนั้นกัมพูชาเดินหมากทางการทูต 2 ระดับ โดยทางหนึ่งจะเจรจากับทางรัฐบาลไทย ระบุว่าต้องการแก้ไขปัญหาที่เป็นข้อพิพาท แต่ในอีกทางหนึ่งกลับไปร้องต่อคณะมนตรีความมั่นคง สหประชาชาติ หรือยูเอ็น ยูเนสโก และเวทีโลกอื่นๆ
การที่กัมพูชาทำเช่นนั้นเพราะไม่ต้องการเจรจาทวิภาคีกับประเทศไทย แต่หากกัมพูชาดึงเอาประเทศต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ก็จะทำให้เขามีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยจะเอาคำตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลกมาชี้ให้ประชาคมโลกเห็นว่า ศาลโลกได้พิพากษาให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชาแล้ว ดังนั้น พื้นที่ต่างๆ โดยรอบก็ต้องเป็นของกัมพูชาด้วย และให้คณะมนตรีความมั่นคง สหประชาชาติใช้กฎบัตรสหประชาชาติให้ไทยถอนกำลังทหารออกจากเขาพระวิหาร
นายสุรพงษ์ กล่าวอีกว่า ท่าทีของกัมพูชาในระดับผู้บริหารในการให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนถึงไทยนั้น ไม่มีท่าทีที่เป็นมิตรหรือแสดงความบริสุทธิ์ใจในการเจรจา ซึ่งตรงกันข้ามกับแนวทางการทูตอย่างเป็นทางการที่เขาดำเนินกับเราว่าต้องการแก้ปัญหาโดยสันติ การที่เขาทำเช่นนี้ เพื่อให้ประชาคมโลกเห็นว่า มีแนวโน้มว่าไทยที่เป็นประเทศใหญ่กว่าจะรังแกประเทศเล็ก และชี้ให้เห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมดเกิดจากฝ่ายไทย
“รัฐบาลไทยไม่สนใจเรื่องนี้ เนื่องจากมีผลประโยชน์ทับซ้อน และรัฐบาลไทยจะไม่ทำอะไร เพราะเรื่องนี้เป็นผลประโยชน์กับประเทศกัมพูชา นั่นเพราะมีเรื่องผลประโยชน์ที่นักการเมืองของเราเจรจากับฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา และฮุนเซนก็รู้ด้วยว่า หากรัฐบาลไทยชุดนี้ยังอยู่จะเป็นประโยชน์กับกัมพูชามากกว่า ดังนั้น ฮุนเซนก็จะพยายามรักษาแนวทางทางการทูต เพื่อให้รัฐบาลนี้อยู่ได้ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีของไทยจึงได้ออกมาพูดได้ว่า โทรศัพท์คุยกับฮุนเซนแล้ว เขมรจะถอนเรื่องออกจากยูเอ็น และจะไปคุยกันที่เสียมเรียบแทน การที่กัมพูชายอมถอนหนังสือจากยูเอ็นเพราะเขารู้ว่า มันยังไม่ถึงเวลาที่จะคณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็นจะเข้ามาดำเนินการในเรื่องนี้ สุดท้ายก็ต้องให้ 2 ประเทศเจรจากันก่อนอยู่ดี”
นายสุรพงษ์ กล่าวอีกว่า สิ่งที่รัฐบาลไทยต้องดำเนินการคือการใช้แนวทางวิชาการและการทูต โดยต้องไม่รอตามชี้แจงในเวทีต่างๆ ที่กัมพูชาไปร้องไว้ เพราะจะทำให้เราต้องเหนื่อย ไทยควรมียุทธศาสตร์ที่จะล็อคให้ประเทศกัมพูชาต้องยอมมานั่งโต๊ะเจรจากับไทย
ทั้งนี้ ในทางการทูตเราต้องเปิดโปงว่าข้อมูลส่วนไหนที่กัมพูชาบิดเบือนที่จะทำให้ประชาคมโลกเข้าใจผิด และชี้ให้เห็นพฤติกรรมของกัมพูชาที่พูดอีกอย่างแต่ทำอีกอย่าง แต่ปัญหาคือรัฐบาลไม่เคยมีนโยบายต่อเรื่องนี้อย่างชัดเจน ดังนั้น รัฐบาลจะต้องเร่งกำหนดยุทธศาสตร์พร้อมตั้งทีมงานออกไปชี้แจงในเวทีโลก สิ่งใดที่เป็นประโยชน์กับไทยต้องชี้แจงออกไปทันที ไม่ต้องรอแก้ต่างกัมพูชาเท่านั้น ยิ่งรอช้ายิ่งทำให้ไทยเสียภาพลักษณ์ในเวทีโลก
“ขณะที่บทบาทของกระทรวงการต่างประเทศ จากที่เคยมีบทบาทเป็นหลักนำกลับไม่มีท่าทีอะไรออกมา นั่นเป็นเพราะนับตั้งแต่กลุ่มอำนาจเก่าบริหารประเทศ นักการเมืองได้ใช้นโยบายการต่างประเทศเป็นเครื่องมือสนองผลประโยชน์ของพรรคพวกตนเอง จนถึงปัจจุบันก็ยังคงใช้นโยบายต่างประเทศทำแบบนี้อยู่ และที่นายสมัครออกมาพูดว่า หลังฮุนเซนได้รับเลือกตั้งเขาจะมีท่าทีอ่อนลงนั้น ผมบอกได้เลยว่ายิ่งเขาได้รับเลือกตั้ง จะยิ่งมีท่าทีแข็งกร้าวขึ้น เพราะเขาใช้เรื่องนี้หาเสียง เขาก็ถือว่าประชาชนให้ฉันทามติ เรื่องแค่นี้นายกรัฐมนตรีของไทยยังคาดเดาไม่ออก ตามเขาไม่ทันอีกหรืออย่างไร”นายสุรพงษ์กล่าว
ด้าน ศ.ดร.สมปอง กล่าวว่า ขอให้รัฐบาลไทยแจ้งโมฆะการทำแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชาก่อนหน้านี้อย่างเป็นทางการไปยังประเทศต่างๆ แต่ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมรัฐบาลไทยไม่แจ้งยกเลิก และต้องแจ้งชี้แจงด้วยว่าการพิจารณาของคณะกรรมการมรดกโลกมีความผิดพลาดจุดไหนอย่างไรบ้าง
ขณะที่นายเทพมนตรี กล่าวว่า ขอให้จับตาการเจรจาระหว่างไทยและกัมพูชาที่จะมีขึ้นที่เสียมเรียบ เพราะกัมพูชาจะไม่ได้เจรจาเพียงลำพัง แต่จะลากเอาคณะกรรมการมรดกโลกเข้ามาหารือด้วย และอาจจะมีการมุบมิบระหว่างรัฐบาลไทยกับกัมพูชาอีก
"แม้ว"ปัดไม่เกี่ยวแลกผลประโยชน์
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร ที่ไทยยอมให้ขึ้นทะเบียนนั้นเพราะมีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ทางธุรกิจ ของพ.ต.ท.ทักษิณว่า ไม่เกี่ยวเลย ความจริงแล้วเราต้องอยู่กันด้วยเหตุผล อย่าอยู่กันแบบไม่มีเหตุผล คิดว่าอีก 2-3 วัน ถ้าทางรัฐบาลได้รมว.ต่างประเทศคนใหม่แล้ว ก็คงจะเป็นคนที่แก้ปัญหานี้ได้ไม่ยาก เพราะความสัมพันธ์ของเรากับประเทศเพื่อนบ้าน ดีอยู่แล้ว
ส่วนคนที่จะมาเป็นรัฐมนตรีนั้น ควรเป็นคนที่พูดกับทุกฝ่ายได้ เพราะทั่วโลกนั้น นโยบายต่างประเทศ ถือว่าเป็นเรื่องประเทศ ไม่ใช่เป็นเรื่องของพวก หรือฝ่าย หรือพรรค
นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ตอบคำถามผู้สื่อข่าว ถึงกรณีการแต่งตั้งรมว.ต่างประเทศคนใหม่ เพื่อให้ทันการประชุมกับกัมพูชา ในวันจันทร์ที่ 28 ก.ค.นี้ โดยผู้สื่อข่าวถามว่า คิดว่ารัฐมนตรีใหม่จะไปทันการประชุมหรือไม่ โดยนายสมัคร กล่าวสั้นๆ ว่า"ทันแน่นอน" เมื่อถามว่า จะเป็นใคร นายเตช บุญนาค อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ หรือนายสหัส บัณฑิตกุล รองนายกรัฐมนตรี นายสมัคร กล่าวว่า "คอยฟังวิทยุ" เมื่อถามว่า รายการวิทยุวันเสาร์-อาทิตย์ หรือวันไหนกันแน่ นายสมัคร กล่าวว่า อาจจะคืนนี้