รอยเตอร์/เอเยนซีส์ – บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของโลกยังคงทำกำไรได้อย่างมหาศาลในไตรมาสสองปีนี้ โดย เอซซอน ทำลายสถิติยอดกำไรสูงสุดเท่าที่บริษัทสหรัฐฯจะเคยทำได้ในรอบหนึ่งไตรมาสที่ตนเองทำไว้เดิม ด้วยการฟันไปถึง 11,680 ล้านดอลลาร์ ถึงแม้ยังไม่จุใจวอลล์สตรีทที่คาดหมายเอาไว้สูงกว่านี้อีก ส่วนทางด้านเชลล์ก็ทำกำไรได้ 7,900 ล้านดอลลาร์
รอบไตรมาสสองปีนี้ ราคาน้ำมันเฉลี่ยแล้วอยู่ที่เกือบๆ 125 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นร่วมเท่าตัวจากปีก่อนหน้า สภาพเช่นนี้ไม่เพียง เอซซอน โมบิล คอร์ป ที่เป็นบริษัทน้ำมันใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯและของโลก และ โรยัล ดัทช์ เชลล์ บริษัทน้ำมันที่มิใช่ควบคุมโดยรัฐบาล ซึ่งใหญ่เป็นอันดับสองของโลก และใหญ่ที่สุดในยุโรป เท่านั้น ซึ่งมีผลประกอบการงดงามมาก เอนิ แห่งอิตาลี และ เรปซอล แห่งสเปน อีก 2 ในท็อป 3 บริษัทน้ำมันยักษ์ยุโรป ก็กำไรสูงลิ่ว
รายได้สุทธิของเอซซอนในไตรมาสที่สองเพิ่มขึ้น 14% มาอยู่ที่ 11,680 ล้านดอลลาร์หรือ 2.22 ดอลลาร์ต่อหนึ่งหุ้น
อย่างไรก็ตามแเมื่อตัดตัวแปรทางการเงินที่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำออกไป จะทำให้เอซซอนมีรายได้ 2.27 ดอลลาร์ต่อหนึ่งหุ้น ซึ่งก็น้อยกว่าที่บรรดานักวิเคราะห์ต่าง ๆประเมินไว้ถึง 10% ด้วยกัน และทำให้ราคาหุ้นของเอซซอนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์คลดลงไป 4.7% เมื่อวันพฤหัสบดี(31)
ส่วนเชลล์รายงานว่า ไตรมาสสองมีรายได้เพิ่มขึ้น 5% หรือ 7,900 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตามเมื่อตัดเอาตัวแปรการเงินที่ไม่ได้เกิดขึ้นประจำออกไปแล้ว รายได้ของเชลล์ก็มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดกันไว้
บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่เหล่านี้ต่างรายงานว่า แผนกงานด้านสำรวจและขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมขาติ คือสร้างกำไรสูงสุดให้แก่บริษัท เนื่องเพราะราคาน้ำมันที่แพงลิ่ว
อย่างไรก็ดี บริษัทเหล่านี้อ้างว่า ในปัจจุบันต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก ขณะที่ปริมาณน้ำมันและก๊าซที่ผลิตได้ไม่เพิ่มขึ้นอะไรนัก เนื่องจากต้องไปสำรวจขุดเจาะในดินแดนซึ่งยากลำบากมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่พวกประเทศเจ้าของน้ำมันและก๊าซเวลานี้นิยมให้สัมปทานแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด แก่พวกบริษัทน้ำมันแห่งชาติของตนเอง
บริษัทน้ำมันตะวันตกเหล่านี้โอดครวญด้วยว่า อัตราผลกำไรจากแผนกงานด้านการกลั่นก็ต่ำลงมาก เพราะน้ำมันดิบที่นำมากลั่นมีราคาแพง จึงยิ่งส่งผลต่อกำไรรวมของทั่วทั้งบริษัท
ทว่า ตัวเลขกำไรอันมหาศาลของบริษัทน้ำมัน ก็ยังคงตกเป็นเป้าของการวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงอยู่ดี ในเมื่อผู้บริโภคต่างหาก คือผู้ที่ต้องแบกรับราคาน้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นมาก
บารัค โอบามา ว่าที่ตัวแทนพรรคเดโมแครตในการลงชิงชัยตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เรียกการได้กำไรมหาศาลของเอซซอนว่า “เกินกว่าที่รับได้” และเรียกร้องให้มีการจัดการกับ “พวกเผด็จการน้ำมัน”
เจเริน ฟาน เดอร์ เฟียร์ ซีอีโอของเชลล์ยอมรับว่า “เรากำลังทำกำไรได้มหึมามาก ผมทราบดี” แต่เขาก็แก้ต่างว่า “แต่เราก็กำลังทำการลงทุนขนาดมหึมามาก” ในด้านการสำรวจและการผลิต
รอบไตรมาสสองปีนี้ ราคาน้ำมันเฉลี่ยแล้วอยู่ที่เกือบๆ 125 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นร่วมเท่าตัวจากปีก่อนหน้า สภาพเช่นนี้ไม่เพียง เอซซอน โมบิล คอร์ป ที่เป็นบริษัทน้ำมันใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯและของโลก และ โรยัล ดัทช์ เชลล์ บริษัทน้ำมันที่มิใช่ควบคุมโดยรัฐบาล ซึ่งใหญ่เป็นอันดับสองของโลก และใหญ่ที่สุดในยุโรป เท่านั้น ซึ่งมีผลประกอบการงดงามมาก เอนิ แห่งอิตาลี และ เรปซอล แห่งสเปน อีก 2 ในท็อป 3 บริษัทน้ำมันยักษ์ยุโรป ก็กำไรสูงลิ่ว
รายได้สุทธิของเอซซอนในไตรมาสที่สองเพิ่มขึ้น 14% มาอยู่ที่ 11,680 ล้านดอลลาร์หรือ 2.22 ดอลลาร์ต่อหนึ่งหุ้น
อย่างไรก็ตามแเมื่อตัดตัวแปรทางการเงินที่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำออกไป จะทำให้เอซซอนมีรายได้ 2.27 ดอลลาร์ต่อหนึ่งหุ้น ซึ่งก็น้อยกว่าที่บรรดานักวิเคราะห์ต่าง ๆประเมินไว้ถึง 10% ด้วยกัน และทำให้ราคาหุ้นของเอซซอนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์คลดลงไป 4.7% เมื่อวันพฤหัสบดี(31)
ส่วนเชลล์รายงานว่า ไตรมาสสองมีรายได้เพิ่มขึ้น 5% หรือ 7,900 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตามเมื่อตัดเอาตัวแปรการเงินที่ไม่ได้เกิดขึ้นประจำออกไปแล้ว รายได้ของเชลล์ก็มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดกันไว้
บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่เหล่านี้ต่างรายงานว่า แผนกงานด้านสำรวจและขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมขาติ คือสร้างกำไรสูงสุดให้แก่บริษัท เนื่องเพราะราคาน้ำมันที่แพงลิ่ว
อย่างไรก็ดี บริษัทเหล่านี้อ้างว่า ในปัจจุบันต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก ขณะที่ปริมาณน้ำมันและก๊าซที่ผลิตได้ไม่เพิ่มขึ้นอะไรนัก เนื่องจากต้องไปสำรวจขุดเจาะในดินแดนซึ่งยากลำบากมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่พวกประเทศเจ้าของน้ำมันและก๊าซเวลานี้นิยมให้สัมปทานแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด แก่พวกบริษัทน้ำมันแห่งชาติของตนเอง
บริษัทน้ำมันตะวันตกเหล่านี้โอดครวญด้วยว่า อัตราผลกำไรจากแผนกงานด้านการกลั่นก็ต่ำลงมาก เพราะน้ำมันดิบที่นำมากลั่นมีราคาแพง จึงยิ่งส่งผลต่อกำไรรวมของทั่วทั้งบริษัท
ทว่า ตัวเลขกำไรอันมหาศาลของบริษัทน้ำมัน ก็ยังคงตกเป็นเป้าของการวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงอยู่ดี ในเมื่อผู้บริโภคต่างหาก คือผู้ที่ต้องแบกรับราคาน้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นมาก
บารัค โอบามา ว่าที่ตัวแทนพรรคเดโมแครตในการลงชิงชัยตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เรียกการได้กำไรมหาศาลของเอซซอนว่า “เกินกว่าที่รับได้” และเรียกร้องให้มีการจัดการกับ “พวกเผด็จการน้ำมัน”
เจเริน ฟาน เดอร์ เฟียร์ ซีอีโอของเชลล์ยอมรับว่า “เรากำลังทำกำไรได้มหึมามาก ผมทราบดี” แต่เขาก็แก้ต่างว่า “แต่เราก็กำลังทำการลงทุนขนาดมหึมามาก” ในด้านการสำรวจและการผลิต