เงินเฟ้อ ก.ค.พุ่ง 9.2% ทำสถิติสูงที่สุดในรอบ 10 ปี “พาณิชย์”มั่นใจไม่เพิ่มไปกว่านี้แล้ว เหตุ 6 มาตรการ 6 เดือนของรัฐบาล จะช่วยลดค่าครองชีพ แถมราคาน้ำมันยังลดลง ยันคงเป้าเงินเฟ้อ 5-5.5% แม้ 7 เดือนทะลุ 6.6% ยอมรับปัจจัยเสี่ยงตัวเดียวคือ น้ำมัน หากยังเพิ่มขึ้นตัวเลขทั้งปีอาจได้เห็นเงินเฟ้อ 7% ขณะที่คณะกรรมการนโยบายพลังงาน มีมติให้เก็บเงินดีเซล เข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 40 ส.ต.ต่อลิตร เพื่อนำมาอุดหนุนราคาพลังงานทดแทน
นางไพเราะ สุดสว่าง รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) ในเดือนก.ค.51 เมื่อเทียบกับเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา สูงขึ้น 0.3% เมื่อเทียบกับเดือนก.ค.50 สูงขึ้น 9.2% ถือเป็นอัตราที่สูงที่สุดในรอบ 10 ปี นับจากเดือนมิ.ย.41 ที่สูงขึ้นถึง 10.7% ซึ่งตอนนั้นเงินเฟ้อที่สูงขึ้น เพราะเป็นช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ส่วนเงินเฟ้อเฉลี่ย 7 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ก.ค.) สูงขึ้น 6.6%
"เงินเฟ้อเดือนก.ค. ตัวเลข 9.2% น่าจะเป็นตัวเลขที่สูงสุดแล้ว เพราะจากนี้ไป จะมี 6 มาตรการ 6 เดือน ของรัฐบาลออกมา เริ่มตั้งแต่ 1 ส.ค.ไปจนถึงสิ้นปี ซึ่งจะช่วยลดค่าครองชีพ และลดราคาสินค้า ขณะเดียวกันราคาน้ำมันก็มีแนวโน้มลดลงและทรงตัว ไม่น่าจะสูงขึ้นเหมือนช่วงที่ผ่านมา ทำให้เงินเฟ้อจากนี้ไปไม่น่าจะสูงขึ้นไปกว่านี้อีก" นางไพเราะ กล่าว
ทั้งนี้ เงินเฟ้อในเดือนก.ค. เมื่อเทียบกับเดือนมิ.ย.ที่สูงขึ้น 0.3% นั้น ถือเป็นอัตราการขยายตัวที่ลดลงจากเดือนมิ.ย.ที่สูงขึ้น 1.2% ค่อนข้างมาก โดยดัชนีหมวดอาหาร และเครื่องดื่มสูงขึ้น 0.3% จากการสูงขึ้นของดัชนีหมวดผลไม้ 5.3% ขณะที่ปลาและสัตว์น้ำสูงขึ้น 0.6% เครื่องประกอบอาหารสูงขึ้น 0.96% ได้แก่ น้ำตาลทราย แยมผลไม้ ซีอิ้ว เนยสด ส่วนอาหารประเภทข้าว เนื้อสุกร ไข่ ผักสด ลดลง
ส่วนดัชนีหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้น 0.4% เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลง ทำให้ราคาน้ำมันในประเทศลดลงในช่วงกลางเดือน และยังได้ผลดีจากการลดภาษีสรรพสามิตแก๊สโซฮอล์ และน้ำมันดีเซล แต่โดยเฉลี่ยราคาน้ำมันยังสูงกว่าเดือนมิ.ย. โดยดัชนีน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้น 1.5% ส่งผลให้ค่าโดยสารสาธารณะสูงขึ้น 0.7%
สำหรับเงินเฟ้อเดือนก.ค. เมื่อเทียบกับเดือนก.ค.50 ที่สูงขึ้น 9.2% เป็นเพราะการสูงขึ้นของดัชนีน้ำมันเชื้อเพลิง 46.9% แม้ราคาน้ำมันในตลาดโลกจะลดลงในช่วงกลางเดือน และได้รับผลจากการลดภาษีสรรพสามิต แต่ก็ยังทำให้ดัชนีหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 7.6% ขณะที่ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 11.8% จากการสูงขึ้นของดัชนีหมวดข้าวแป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง 33.5% เนื้อสัตว์ 19.2% เครื่องประกอบอาหาร 16.3% เป็นต้น
ทางด้านเงินเฟ้อพื้นฐานเดือนก.ค. ที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสดและกลุ่มพลังงานออก เมื่อเทียบกับเดือนมิ.ย. ที่ผ่านมา สูงขึ้น 0.2% เทียบกับเดือนก.ค.51 สูงขึ้น 3.7% และเฉลี่ย 7 เดือนแรก (ม.ค.-ก.ค.) สูงขึ้น 2.4%
นางไพเราะกล่าวว่า ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ เงินเฟ้อเฉลี่ย 6.6% แต่กระทรวงพาณิชย์ตั้งเป้าหมายเงินเฟ้อทั้งปีไว้ที่ 5-5.5% ซึ่งจะยังคงยืนยันเป้าหมายเดิมไว้ ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง เพราะคาดว่าหลังจากที่รัฐบาลมี 6 มาตรการออกมา และจากการที่กระทรวงพาณิชย์ได้มีมาตรการในการดูแลราคาสินค้า ขณะที่ราคาน้ำมันในตลาดโลก มีแนวโน้มที่ทรงตัว และไม่สูงขึ้นเหมือนช่วงที่ผ่านๆมา น่าจะช่วยให้เงินเฟ้อไม่สูงขึ้นมาก
ปัจจัยสำคัญที่จะมีผลต่อเงินเฟ้อยังคงเป็นน้ำมันโดยเป้า 5-5.5% นั้น มีสมมติฐานน้ำมันเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 105 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ขณะนี้ผ่านมา 7 เดือน ราคาน้ำมันเฉลี่ยอยู่ที่ 107.92 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และ ถ้าทั้งปีราคาน้ำมันเฉลี่ยไปอยู่ที่ 120-130 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เงินเฟ้อก็จะขยับไปเป็น 5.5-7% ซึ่งเป็นการประมาณการณ์ ไม่ใช่การปรับเป้าเงินเฟ้อ"นางไพเราะ กล่าว
แบงก์ชาติชี้เงินเฟ้อต่ำกว่าที่คาด
นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ล่าสุดในเดือน ก.ค.ที่ระดับ 9.2% นั้นไม่สูงกว่าที่ ธปท.คาดการณ์ไว้ แต่ตัวเลขแท้จริงที่ออกมากลับดีกว่าด้วยซ้ำ โดย ธปท.ประเมินว่าราคาน้ำมันจะอยู่ในระดับสูงในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ เนื่องจากฐานราคาน้ำมันปีก่อนอยู่ในระดับต่ำ ทำให้อัตราเงินเฟ้อในเดือนก.ค.โดยเฉลี่ยแล้วลดลงกว่าเมื่อเทียบกับเดือน มิ.ย.
"ในเดือน ก.ค. อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและพื้นฐานที่ปรับฤดูกาลแล้วปรับตัวเพิ่มขึ้นแค่ 0.1% เมื่อเทียบกับเดือนมิ.ย.ที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นถึง 1.4-1.5% สะท้อนให้เห็นว่าราคาน้ำมันเรื่อยลดลงจากมาตรการภาษีสรรพสามิต ทำให้ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศลดลงตาม ซึ่งหากราคาน้ำมันลดลงจะช่วยให้แรงกดดันเงินเฟ้อได้ระดับหนึ่ง และหากลดลงเรื่อยๆ ก็จะส่งผลดี ส่วนมาตรการให้ขึ้นรถโดยสารฟรี รวมทั้งใช้ไฟฟ้าและน้ำประปาฟรีในบางส่วนนั้น ขึ้นอยู่กับการคำนวณของกระทรวงพาณิชย์ว่าจะช่วยลดอัตราเงินเฟ้อได้มากน้อยแค่ไหน"
สำหรับแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อในระยะต่อไปนั้น แม้ขณะนี้สถานการณ์ราคาน้ำมันเริ่มผ่อนคลายลง โดยล่าสุดราคาน้ำมันดูไบ อยู่ที่ระดับ 120 เหรียญต่อบาร์เรล เทียบกับที่ ธปท. ประเมินไว้ในสมมติฐานกรณีทั่วไปว่าน้ำมันดูไบ จะอยู่ที่ระดับ 135 เหรียญต่อบาร์เรล ซึ่งจะทรงตัวในระดับนี้ไปจนถึงสิ้นปี 52 ถือว่าลดลงมากแล้ว แต่ราคาน้ำมันยังมีความผันผวนอยู่ ประกอบกับในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อยังระบุว่า แม้ขณะนี้ผู้ประกอบการยังไม่ปรับขึ้นราคาสินค้า และบริการ แต่แรงกดดันเรื่องราคาสินค้าในอนาคตยังมีอยู่ รวมทั้งภาครัฐ มีการออกมาตรการบรรเทาค่าครองชีพสูงได้ จึงต้องติดตามดูต่อไป
ดึงเงินดีเซลเข้ากองทุน 40 ส.ต./ลิตร
พล.ท.หญิงพูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ รมว.พลังงาน กล่าวหลังการเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 1 ส.ค.ว่า ที่ประชุมมีมติให้เรียกเก็บเงินดีเซลเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 40 ส.ต.ต่อลิตร เพื่อนำมาอุดหนุนราคาพลังงานทดแทน ที่รัฐบาลส่งเสริมอยู่ในปัจจุบัน ส่วนอีก 50 ส.ต.ต่อลิตร ในส่วนของกองทุนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน จะมีการเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ อนุมัติต่อไป
"ที่ผ่านมา รัฐได้ลดเก็บเงินเข้ากองทุนอนุรักษ์พลังงาน และกองทุนน้ำมันในส่วนของดีเซลรวม 90 สตางค์ ต่อลิตร เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อช่วยเหลือราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้สูงเกินไป ซึ่งครบกำหนดในวันที่ 31 ก.ค.ที่ผ่านมา ดังนั้นที่ประชุม กบง. จึงเห็นชอบให้มีการจัดเก็บคืน แต่ในส่วนของกองทุนอนุรักษ์ตามระเบียบควรให้ กพช.เห็นชอบก่อน" รมว.พลังงานกล่าว
สำหรับการแก้โครงสร้างราคา แอลพีจี ออกเป็น 2 ราคาในครั้งนี้ ยังไม่ได้พิจารณาเนื่องจากยังไม่มีความพร้อมในข้อมูล เพราะในช่วงที่ผ่านมาหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีการเช็คสต๊อกน้ำมัน เพื่อรองรับการลดภาษีสรรพสามิต ซึ่งหากพร้อมเมื่อใดจะเรียกประชุมกบง. ทันที
นอกจากนี้ ที่ประชุม ยังได้พิจารณาจัดสรรน้ำมันดีเซลราคาต่ำกว่าตลาด 3 บาท ต่อลิตรที่ได้รับการสนับสนุนจากโรงกลั่นให้กับหน่วยงานเพิ่มเติม ได้แก่ประมงชายฝั่ง 15 ล้านลิตร ต่อเดือน กลุ่มผู้เลี้ยงกุ้ง 7 ล้านลิตรต่อเดือน กรมขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ในการขุดลอกคลองซึ่งยังไม่ทราบปริมาณที่ชัดเจน
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยกาสรสำนักนโยบายและแผนพลังงาน กล่าวว่า สนพ.จะเรียกเก็บเงินกองทุนน้ำมัน 40 ส.ต.ต่อลิตร ให้เร็วที่สุด คาดว่าโดยการเก็บเข้ากองทุนจะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 484 ล้านบาท ต่อเดือน จากเดิมที่มีเงินเข้าเพียง 52 ล้านบาท ต่อเดือน ซึ่งจะทำให้ฐานะกองทุนดีขึ้น และผลดังกล่าวทำให้กองทุนที่เดิมดีเซลต้องอุดหนุน 30 ส.ต.ต่อลิตร เป็นมีรายได้เพิ่ม 10 ส.ต. ต่อลิตร นอกจากนี้ยังได้เพิ่มส่วนต่างของ B5 ให้เป็น 70 ส.ต.ต่อลิตรคงเดิม โดยจะนำเงินกองทุนไปอุดหนุนเพิ่มอีก 20 ส.ต. ต่อลิตรเพื่อให้ B 5 ราคาต่ำกว่าดีเซล 70 ส.ต.ต่อลิตร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เดิมผู้ค่าน้ำมันจะมีการปรับลดราคาดีเซลลง อย่างน้อย 40 ส.ต. ในวันนี้ (2 ส.ค.) แต่ผลจากการเก็บเงินกองทุนดังกล่าว จึงทำให้ผู้ค้า ไม่มีการปรับลดราคาดีเซลลง
นางไพเราะ สุดสว่าง รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) ในเดือนก.ค.51 เมื่อเทียบกับเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา สูงขึ้น 0.3% เมื่อเทียบกับเดือนก.ค.50 สูงขึ้น 9.2% ถือเป็นอัตราที่สูงที่สุดในรอบ 10 ปี นับจากเดือนมิ.ย.41 ที่สูงขึ้นถึง 10.7% ซึ่งตอนนั้นเงินเฟ้อที่สูงขึ้น เพราะเป็นช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ส่วนเงินเฟ้อเฉลี่ย 7 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ก.ค.) สูงขึ้น 6.6%
"เงินเฟ้อเดือนก.ค. ตัวเลข 9.2% น่าจะเป็นตัวเลขที่สูงสุดแล้ว เพราะจากนี้ไป จะมี 6 มาตรการ 6 เดือน ของรัฐบาลออกมา เริ่มตั้งแต่ 1 ส.ค.ไปจนถึงสิ้นปี ซึ่งจะช่วยลดค่าครองชีพ และลดราคาสินค้า ขณะเดียวกันราคาน้ำมันก็มีแนวโน้มลดลงและทรงตัว ไม่น่าจะสูงขึ้นเหมือนช่วงที่ผ่านมา ทำให้เงินเฟ้อจากนี้ไปไม่น่าจะสูงขึ้นไปกว่านี้อีก" นางไพเราะ กล่าว
ทั้งนี้ เงินเฟ้อในเดือนก.ค. เมื่อเทียบกับเดือนมิ.ย.ที่สูงขึ้น 0.3% นั้น ถือเป็นอัตราการขยายตัวที่ลดลงจากเดือนมิ.ย.ที่สูงขึ้น 1.2% ค่อนข้างมาก โดยดัชนีหมวดอาหาร และเครื่องดื่มสูงขึ้น 0.3% จากการสูงขึ้นของดัชนีหมวดผลไม้ 5.3% ขณะที่ปลาและสัตว์น้ำสูงขึ้น 0.6% เครื่องประกอบอาหารสูงขึ้น 0.96% ได้แก่ น้ำตาลทราย แยมผลไม้ ซีอิ้ว เนยสด ส่วนอาหารประเภทข้าว เนื้อสุกร ไข่ ผักสด ลดลง
ส่วนดัชนีหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้น 0.4% เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลง ทำให้ราคาน้ำมันในประเทศลดลงในช่วงกลางเดือน และยังได้ผลดีจากการลดภาษีสรรพสามิตแก๊สโซฮอล์ และน้ำมันดีเซล แต่โดยเฉลี่ยราคาน้ำมันยังสูงกว่าเดือนมิ.ย. โดยดัชนีน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้น 1.5% ส่งผลให้ค่าโดยสารสาธารณะสูงขึ้น 0.7%
สำหรับเงินเฟ้อเดือนก.ค. เมื่อเทียบกับเดือนก.ค.50 ที่สูงขึ้น 9.2% เป็นเพราะการสูงขึ้นของดัชนีน้ำมันเชื้อเพลิง 46.9% แม้ราคาน้ำมันในตลาดโลกจะลดลงในช่วงกลางเดือน และได้รับผลจากการลดภาษีสรรพสามิต แต่ก็ยังทำให้ดัชนีหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 7.6% ขณะที่ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 11.8% จากการสูงขึ้นของดัชนีหมวดข้าวแป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง 33.5% เนื้อสัตว์ 19.2% เครื่องประกอบอาหาร 16.3% เป็นต้น
ทางด้านเงินเฟ้อพื้นฐานเดือนก.ค. ที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสดและกลุ่มพลังงานออก เมื่อเทียบกับเดือนมิ.ย. ที่ผ่านมา สูงขึ้น 0.2% เทียบกับเดือนก.ค.51 สูงขึ้น 3.7% และเฉลี่ย 7 เดือนแรก (ม.ค.-ก.ค.) สูงขึ้น 2.4%
นางไพเราะกล่าวว่า ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ เงินเฟ้อเฉลี่ย 6.6% แต่กระทรวงพาณิชย์ตั้งเป้าหมายเงินเฟ้อทั้งปีไว้ที่ 5-5.5% ซึ่งจะยังคงยืนยันเป้าหมายเดิมไว้ ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง เพราะคาดว่าหลังจากที่รัฐบาลมี 6 มาตรการออกมา และจากการที่กระทรวงพาณิชย์ได้มีมาตรการในการดูแลราคาสินค้า ขณะที่ราคาน้ำมันในตลาดโลก มีแนวโน้มที่ทรงตัว และไม่สูงขึ้นเหมือนช่วงที่ผ่านๆมา น่าจะช่วยให้เงินเฟ้อไม่สูงขึ้นมาก
ปัจจัยสำคัญที่จะมีผลต่อเงินเฟ้อยังคงเป็นน้ำมันโดยเป้า 5-5.5% นั้น มีสมมติฐานน้ำมันเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 105 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ขณะนี้ผ่านมา 7 เดือน ราคาน้ำมันเฉลี่ยอยู่ที่ 107.92 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และ ถ้าทั้งปีราคาน้ำมันเฉลี่ยไปอยู่ที่ 120-130 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เงินเฟ้อก็จะขยับไปเป็น 5.5-7% ซึ่งเป็นการประมาณการณ์ ไม่ใช่การปรับเป้าเงินเฟ้อ"นางไพเราะ กล่าว
แบงก์ชาติชี้เงินเฟ้อต่ำกว่าที่คาด
นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ล่าสุดในเดือน ก.ค.ที่ระดับ 9.2% นั้นไม่สูงกว่าที่ ธปท.คาดการณ์ไว้ แต่ตัวเลขแท้จริงที่ออกมากลับดีกว่าด้วยซ้ำ โดย ธปท.ประเมินว่าราคาน้ำมันจะอยู่ในระดับสูงในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ เนื่องจากฐานราคาน้ำมันปีก่อนอยู่ในระดับต่ำ ทำให้อัตราเงินเฟ้อในเดือนก.ค.โดยเฉลี่ยแล้วลดลงกว่าเมื่อเทียบกับเดือน มิ.ย.
"ในเดือน ก.ค. อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและพื้นฐานที่ปรับฤดูกาลแล้วปรับตัวเพิ่มขึ้นแค่ 0.1% เมื่อเทียบกับเดือนมิ.ย.ที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นถึง 1.4-1.5% สะท้อนให้เห็นว่าราคาน้ำมันเรื่อยลดลงจากมาตรการภาษีสรรพสามิต ทำให้ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศลดลงตาม ซึ่งหากราคาน้ำมันลดลงจะช่วยให้แรงกดดันเงินเฟ้อได้ระดับหนึ่ง และหากลดลงเรื่อยๆ ก็จะส่งผลดี ส่วนมาตรการให้ขึ้นรถโดยสารฟรี รวมทั้งใช้ไฟฟ้าและน้ำประปาฟรีในบางส่วนนั้น ขึ้นอยู่กับการคำนวณของกระทรวงพาณิชย์ว่าจะช่วยลดอัตราเงินเฟ้อได้มากน้อยแค่ไหน"
สำหรับแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อในระยะต่อไปนั้น แม้ขณะนี้สถานการณ์ราคาน้ำมันเริ่มผ่อนคลายลง โดยล่าสุดราคาน้ำมันดูไบ อยู่ที่ระดับ 120 เหรียญต่อบาร์เรล เทียบกับที่ ธปท. ประเมินไว้ในสมมติฐานกรณีทั่วไปว่าน้ำมันดูไบ จะอยู่ที่ระดับ 135 เหรียญต่อบาร์เรล ซึ่งจะทรงตัวในระดับนี้ไปจนถึงสิ้นปี 52 ถือว่าลดลงมากแล้ว แต่ราคาน้ำมันยังมีความผันผวนอยู่ ประกอบกับในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อยังระบุว่า แม้ขณะนี้ผู้ประกอบการยังไม่ปรับขึ้นราคาสินค้า และบริการ แต่แรงกดดันเรื่องราคาสินค้าในอนาคตยังมีอยู่ รวมทั้งภาครัฐ มีการออกมาตรการบรรเทาค่าครองชีพสูงได้ จึงต้องติดตามดูต่อไป
ดึงเงินดีเซลเข้ากองทุน 40 ส.ต./ลิตร
พล.ท.หญิงพูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ รมว.พลังงาน กล่าวหลังการเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 1 ส.ค.ว่า ที่ประชุมมีมติให้เรียกเก็บเงินดีเซลเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 40 ส.ต.ต่อลิตร เพื่อนำมาอุดหนุนราคาพลังงานทดแทน ที่รัฐบาลส่งเสริมอยู่ในปัจจุบัน ส่วนอีก 50 ส.ต.ต่อลิตร ในส่วนของกองทุนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน จะมีการเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ อนุมัติต่อไป
"ที่ผ่านมา รัฐได้ลดเก็บเงินเข้ากองทุนอนุรักษ์พลังงาน และกองทุนน้ำมันในส่วนของดีเซลรวม 90 สตางค์ ต่อลิตร เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อช่วยเหลือราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้สูงเกินไป ซึ่งครบกำหนดในวันที่ 31 ก.ค.ที่ผ่านมา ดังนั้นที่ประชุม กบง. จึงเห็นชอบให้มีการจัดเก็บคืน แต่ในส่วนของกองทุนอนุรักษ์ตามระเบียบควรให้ กพช.เห็นชอบก่อน" รมว.พลังงานกล่าว
สำหรับการแก้โครงสร้างราคา แอลพีจี ออกเป็น 2 ราคาในครั้งนี้ ยังไม่ได้พิจารณาเนื่องจากยังไม่มีความพร้อมในข้อมูล เพราะในช่วงที่ผ่านมาหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีการเช็คสต๊อกน้ำมัน เพื่อรองรับการลดภาษีสรรพสามิต ซึ่งหากพร้อมเมื่อใดจะเรียกประชุมกบง. ทันที
นอกจากนี้ ที่ประชุม ยังได้พิจารณาจัดสรรน้ำมันดีเซลราคาต่ำกว่าตลาด 3 บาท ต่อลิตรที่ได้รับการสนับสนุนจากโรงกลั่นให้กับหน่วยงานเพิ่มเติม ได้แก่ประมงชายฝั่ง 15 ล้านลิตร ต่อเดือน กลุ่มผู้เลี้ยงกุ้ง 7 ล้านลิตรต่อเดือน กรมขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ในการขุดลอกคลองซึ่งยังไม่ทราบปริมาณที่ชัดเจน
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยกาสรสำนักนโยบายและแผนพลังงาน กล่าวว่า สนพ.จะเรียกเก็บเงินกองทุนน้ำมัน 40 ส.ต.ต่อลิตร ให้เร็วที่สุด คาดว่าโดยการเก็บเข้ากองทุนจะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 484 ล้านบาท ต่อเดือน จากเดิมที่มีเงินเข้าเพียง 52 ล้านบาท ต่อเดือน ซึ่งจะทำให้ฐานะกองทุนดีขึ้น และผลดังกล่าวทำให้กองทุนที่เดิมดีเซลต้องอุดหนุน 30 ส.ต.ต่อลิตร เป็นมีรายได้เพิ่ม 10 ส.ต. ต่อลิตร นอกจากนี้ยังได้เพิ่มส่วนต่างของ B5 ให้เป็น 70 ส.ต.ต่อลิตรคงเดิม โดยจะนำเงินกองทุนไปอุดหนุนเพิ่มอีก 20 ส.ต. ต่อลิตรเพื่อให้ B 5 ราคาต่ำกว่าดีเซล 70 ส.ต.ต่อลิตร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เดิมผู้ค่าน้ำมันจะมีการปรับลดราคาดีเซลลง อย่างน้อย 40 ส.ต. ในวันนี้ (2 ส.ค.) แต่ผลจากการเก็บเงินกองทุนดังกล่าว จึงทำให้ผู้ค้า ไม่มีการปรับลดราคาดีเซลลง