รอยเตอร์ – ศาลรัฐธรรมนูญของตุรกีตัดสินในวันพุธ (30) ไม่ยุบพรรคความยุติธรรมและการพัฒนา (เอเค) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาล แต่ให้ลงโทษปรับฐานละเมิดหลักการแยกศาสนาออกจากการเมืองการบริหาร ซึ่งคาดว่าพรรคเอเคจะถูกตัดเงินสนับสนุนจากรัฐลงครึ่งหนึ่ง
ฮาซิม คิลิก ประธานศาลรัฐธรรมนูญของตุรกีระบุว่า ผู้พิพากษา 6 คน จากทั้งคณะ 11 คน มีมติให้ยุบพรรคเอเค ส่วนอีก 4 คนมีมติให้ลงโทษปรับ และมีเพียง 1 คนที่คัดค้านการยุบพรรค แต่ตามกฎหมายแล้วการยุบพรรคการเมืองจะต้องมีการลงมติจากผู้พิพากษาอย่างน้อย 7 จาก 11 เสียง ดังนั้นจึงทำให้สรุปคำพิพากษาคดีว่าไม่ยุบพรรคเอเค
คำพิพากษาดังกล่าวส่งผลเป็นการคลี่คลายความผันผวนทางการเมืองในตุรกีที่ดำเนินมานานหลายเดือน โดยความไม่แน่นอนทางการเมืองเช่นนี้เอง ได้ทำให้ตลาดการเงินตุรกีปั่นป่วน จากความกลัวว่าพรรคการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งอาจต้องถูกยุบไป ซึ่งย่อมกระทบต่อการปฏิรูปทางเศรษฐกิจและการเมือง อันเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปไปด้วย
พรรคเอเค ซึ่งมีรากเหง้าจากพวกที่มีแนวคิดนำเอาหลักการอิสลามเข้าสู่การเมือง มีความขัดแย้งไม่ลงรอยมานานแล้วกับพวกสถาบันทรงอำนาจของตุรกีที่เน้นหลักการแยกศาสนาออกจากการเมืองการบริหาร
การพิจารณาคดีในศาลคราวนี้ จึงเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงประเทศที่อยู่ในสภาพแบ่งขั้ว ระหว่างกลุ่มเคร่งศาสนามุสลิมที่เป็นฝ่ายบริหารประเทศและผู้สนับสนุนพวกเขา กับชาวเตอร์กกลุ่มที่มุ่งให้แยกศาสนาจากการเมือง ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายทหาร ฝ่ายตุลาการ และนักวิชาการ
อย่างไรก็ตาม ศาลรัฐธรรมนูญได้เตือนพรรคเอเคอย่างจริงจัง โดยระบุว่าพรรคมีความผิดฐานละเมิดหลักการแยกศาสนากับการเมือง เพียงแต่เป็นความผิดที่ไม่รุนแรงถึงขั้นต้องยุบพรรค
ขณะที่นายกรัฐมนตรีเรเซ็ป เทยิป เออร์โดแกน แสดงความยินดีกับคำพิพากษาครั้งนี้ เขากล่าวกับผู้สนับสนุนของเขาว่า “พรรคเอเคซึ่งไม่เคยเน้นการกระทำที่ละเมิดหลักการแยกศาสนากับการเมือง จะยังคงยึดมั่นในคุณค่าที่เป็นพื้นฐานของประเทศต่อไป”
ด้านเจ้าหน้าที่ของสหภาพยุโรปในกรุงบรัสเซลส์ก็แสดงความโล่งอกต่อคำพากษาดังกล่าว เพราะหากมีการยุบพรรครัฐบาล ตุรกีก็จะมีโอกาสได้เข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปน้อยลง
“เราขอสนับสนุนให้ตุรกีดำเนินการอย่างเต็มที่ตั้งแต่บัดนี้ในการปฏิรูปประเทศให้ทันสมัย” โอลลี เรห์น กรรมาธิการด้านการขยายสมาชิกของสหภาพยุโรปกล่าว และเรียกร้องให้พรรคการเมืองต่างๆ ของตุรกีร่วมมือกันปฏิรูปประเทศโดยใช้วิธีเจรจากันอย่างกว้างขวาง อีกทั้งปรับปรุงกฎเกณฑ์เกี่ยวกับพรรคการเมืองให้เป็นไปตามบรรทัดฐานของยุโรปด้วย
สิ่งที่จะถูกจับตามองต่อไปก็คือเออร์โดแกนซึ่งมีบุคลิกแบบนักสู้ จะยอมใช้ท่าทีปรองดองกับชาวเตอร์กหัวสมัยใหม่หรือไม่ ในขณะที่มีผู้หวาดกลัวว่านายกรัฐมนตรีจะนำพาประเทศโดยใช้หลักศาสนาเป็นแนวทางมากยิ่งขึ้น
นอกจากนั้น พรรคเอเคก็จะถูกจับตาด้วยว่า จะผลักดันการปฏิรูปเศรษฐกิจและการเมืองในท่ามกลางการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบชะลอตัวได้หรือไม่
ฮาซิม คิลิก ประธานศาลรัฐธรรมนูญของตุรกีระบุว่า ผู้พิพากษา 6 คน จากทั้งคณะ 11 คน มีมติให้ยุบพรรคเอเค ส่วนอีก 4 คนมีมติให้ลงโทษปรับ และมีเพียง 1 คนที่คัดค้านการยุบพรรค แต่ตามกฎหมายแล้วการยุบพรรคการเมืองจะต้องมีการลงมติจากผู้พิพากษาอย่างน้อย 7 จาก 11 เสียง ดังนั้นจึงทำให้สรุปคำพิพากษาคดีว่าไม่ยุบพรรคเอเค
คำพิพากษาดังกล่าวส่งผลเป็นการคลี่คลายความผันผวนทางการเมืองในตุรกีที่ดำเนินมานานหลายเดือน โดยความไม่แน่นอนทางการเมืองเช่นนี้เอง ได้ทำให้ตลาดการเงินตุรกีปั่นป่วน จากความกลัวว่าพรรคการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งอาจต้องถูกยุบไป ซึ่งย่อมกระทบต่อการปฏิรูปทางเศรษฐกิจและการเมือง อันเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปไปด้วย
พรรคเอเค ซึ่งมีรากเหง้าจากพวกที่มีแนวคิดนำเอาหลักการอิสลามเข้าสู่การเมือง มีความขัดแย้งไม่ลงรอยมานานแล้วกับพวกสถาบันทรงอำนาจของตุรกีที่เน้นหลักการแยกศาสนาออกจากการเมืองการบริหาร
การพิจารณาคดีในศาลคราวนี้ จึงเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงประเทศที่อยู่ในสภาพแบ่งขั้ว ระหว่างกลุ่มเคร่งศาสนามุสลิมที่เป็นฝ่ายบริหารประเทศและผู้สนับสนุนพวกเขา กับชาวเตอร์กกลุ่มที่มุ่งให้แยกศาสนาจากการเมือง ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายทหาร ฝ่ายตุลาการ และนักวิชาการ
อย่างไรก็ตาม ศาลรัฐธรรมนูญได้เตือนพรรคเอเคอย่างจริงจัง โดยระบุว่าพรรคมีความผิดฐานละเมิดหลักการแยกศาสนากับการเมือง เพียงแต่เป็นความผิดที่ไม่รุนแรงถึงขั้นต้องยุบพรรค
ขณะที่นายกรัฐมนตรีเรเซ็ป เทยิป เออร์โดแกน แสดงความยินดีกับคำพิพากษาครั้งนี้ เขากล่าวกับผู้สนับสนุนของเขาว่า “พรรคเอเคซึ่งไม่เคยเน้นการกระทำที่ละเมิดหลักการแยกศาสนากับการเมือง จะยังคงยึดมั่นในคุณค่าที่เป็นพื้นฐานของประเทศต่อไป”
ด้านเจ้าหน้าที่ของสหภาพยุโรปในกรุงบรัสเซลส์ก็แสดงความโล่งอกต่อคำพากษาดังกล่าว เพราะหากมีการยุบพรรครัฐบาล ตุรกีก็จะมีโอกาสได้เข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปน้อยลง
“เราขอสนับสนุนให้ตุรกีดำเนินการอย่างเต็มที่ตั้งแต่บัดนี้ในการปฏิรูปประเทศให้ทันสมัย” โอลลี เรห์น กรรมาธิการด้านการขยายสมาชิกของสหภาพยุโรปกล่าว และเรียกร้องให้พรรคการเมืองต่างๆ ของตุรกีร่วมมือกันปฏิรูปประเทศโดยใช้วิธีเจรจากันอย่างกว้างขวาง อีกทั้งปรับปรุงกฎเกณฑ์เกี่ยวกับพรรคการเมืองให้เป็นไปตามบรรทัดฐานของยุโรปด้วย
สิ่งที่จะถูกจับตามองต่อไปก็คือเออร์โดแกนซึ่งมีบุคลิกแบบนักสู้ จะยอมใช้ท่าทีปรองดองกับชาวเตอร์กหัวสมัยใหม่หรือไม่ ในขณะที่มีผู้หวาดกลัวว่านายกรัฐมนตรีจะนำพาประเทศโดยใช้หลักศาสนาเป็นแนวทางมากยิ่งขึ้น
นอกจากนั้น พรรคเอเคก็จะถูกจับตาด้วยว่า จะผลักดันการปฏิรูปเศรษฐกิจและการเมืองในท่ามกลางการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบชะลอตัวได้หรือไม่