เอเอฟพี/รอยเตอร์ – คณะผู้พิพากษาศาลรัฐธรรมนูญตุรกีจำนวน 11 คน เริ่มประชุมพิจารณาวินิจฉัยเมื่อวานนี้ (28) เพื่อตัดสินว่าจะสั่งยุบพรรครัฐบาลที่มีแนวทางอิสลามิสต์หรือไม่ หลังจากที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดหลักกฎหมายสูงสุดของประเทศ ที่เน้นย้ำให้ตุรกีแยกเรื่องศาสนาออกจากการเมืองการบริหารของรัฐ ทางด้านนักวิเคราะห์ชี้ หากพรรครัฐบาลถูกเช็คบิล การเมืองก็จะเข้าสู่วิกฤต
บรรยากาศการเมืองในตุรกีก่อนการประชุมคณะผู้พิพากษา เพิ่มความตึงเครียดยิ่งขึ้นอีก หลังเกิดเหตุระเบิดสองครั้งเมื่อคืนวันอาทิตย์ (27) ในนครอิสตันบุล ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศ จนทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 17 คน และบาดเจ็บอีกกว่า 150 คน
มอมเมอร์ กุลเลอร์ ผู้ว่าการนครอิสตันบุล แถลงว่า “ไม่มีข้อสงสัยเลยว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นการก่อการร้าย” แต่เขาเสริมว่ายังเร็วเกินไปที่จะระบุได้ว่าใครคือผู้อยู่เบื้องหลัง
พรรคความยุติธรรมและการพัฒนา (เอเคพี) ของนายกรัฐมนตรีเรเซ็ป เทยิป เออร์โดแกน ซึ่งมีรากฐานมาจากพรรคการเมืองแนวทางอิสลามที่ได้เคยถูกสั่งยุบไปแล้ว กำลังถูกกล่าวหาว่าละเมิดหลักการแยกศาสนาออกจากการเมืองการบริหารของรัฐ ซึ่งบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
จากข้อกล่าวหาดังกล่าว อัยการได้ร้องขอให้ศาลสั่งยุบพรรคเอเคพี รวมทั้งห้ามประธานาธิบดีอับดุลเลาะห์ กุล , นายกฯเออร์โดแกน กับกรรมการพรรคเอเคพีอีก 69 คน ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเป็นเวลาห้าปีด้วย
ทว่า พรรคเอเคพีปฏิเสธข้อกล่าวหา ซึ่งพวกเขาบอกว่าเป็นความเคลื่อนไหวที่มีแรงจูงใจหวังมุ่งร้ายในทางการเมือง และตอบโต้ว่าพรรคกำลังเผชิญหน้ากับ “การรัฐประหารโดยฝ่ายตุลาการ” เพื่อที่จะขับไล่พรรคออกจากเวทีการเมือง
ผู้สังเกตการณ์กล่าวว่า การตัดสินให้พรรคเอเคพีกลายเป็นพรรคนอกกฎหมาย อาจทำให้ตุรกีเข้าสู่ภาวะปั่นป่วนวุ่นวายทางการเมือง และจะส่งผลถึงการเจรจาเพื่อสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป รวมทั้งกระทบต่อเศรษฐกิจด้วย
ศาลรัฐธรรมนูญตุรกีกำหนดจะพิจารณาคดีนี้ทุกวันอย่างต่อเนื่อง โดยคาดหมายกันว่าน่าจะมีคำพิพากษาได้ในต้นเดือนสิงหาคม
ทั้งนี้ คำตัดสินอาจเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งในสามทาง กล่าวคือ หนึ่ง ศาลสั่งยุบพรรคเอเคพีและตัดสิทธิ์ทางการเมืองของเออร์โดแกนและคณะ หรือสอง ศาลอาจจะตัดงบประมาณช่วยเหลือแก่พรรคเอเคพีทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน หรือสาม ศาลอาจจะยกฟ้องคดีดังกล่าวเสีย
หากศาลมีคำพิพากษายุบพรรคเอเคพี ก็คาดว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรภายในพรรคเอเคพีจะจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ และจัดการเลือกตั้งใหม่โดยเร็วภายในสิ้นปีนี้
แต่หากศาลมีคำพิพากษาห้ามเออร์โดแกนสังกัดพรรคการเมือง เขาก็อาจจะกลับเข้าสู่รัฐสภาในนามผู้สมัครอิสระได้
ส่วนการยกฟ้องนั้น ผู้สังเกตการณ์บอกว่าน่าจะเป็นไปได้ยากที่สุด แม้ว่าก่อนหน้านี้ผู้แถลงคดีที่ศาลรัฐธรรมนูญแต่งตั้ง ได้ให้คำแนะนำควรจะยกฟ้องข้อกล่าวหาดังกล่าว เนื่องจากการกระทำของพรรคเอเคพีนั้น ยังคงเข้าข่ายการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง
ทั้งนี้ นักวิเคราะห์บางคนชี้ว่า ศาลรัฐธรรมนูญของตุรกีเคยมีประวัติในเรื่องที่ไม่รับฟังความเห็นของผู้แถลงคดี รวมทั้งอาจจะไม่สนใจผลกระทบที่จะติดตามมาจากคำพิพากษา
นักวิเคราะห์เชื่อว่า ไม่ว่าศาลจะมีคำพิพากษาประการใด การต่อสู้ช่วงชิงอำนาจระหว่างพรรคเอเคพี กับฝ่ายที่นิยมการแยกศาสนาออกจากการเมืองการบริหารประเทศ อันประกอบไปด้วยกองทัพ ฝ่ายตุลาการ และกลุ่มปัญญาชน ก็จะยังดำเนินต่อไป ในขณะที่ผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนล่าสุดระบุว่า พรรคเอเคพียังคงได้รับความนิยมสูงสุดในตุรกี
เมื่อเดือนที่แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำพิพากษาให้ยกเลิกการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามข้อเสนอของรัฐบาล ที่ให้ยกเลิกการห้ามสวมผ้าคลุมศีรษะแบบอิสลามในมหาวิทยาลัย การแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวนี้ ได้กลายเป็นหลักฐานสำคัญประการหนึ่ง ที่อัยการใช้กล่าวหาว่าพรรคเอเคพีคัดค้านการแบ่งแยกศาสนาออกจากการเมือง
พรรคเอเคพีได้ขึ้นเป็นรัฐบาลภายหลังชนะการเลือกตั้งเมื่อปี 2002 และดำเนินนโยบายสนับสนุนสหภาพยุโรปและมีท่าทีเป็นมิตรกับธุรกิจ แต่หลังจากได้รับเลือกตั้งใหม่อีกวาระหนึ่งเมื่อปีที่แล้ว ก็ถูกวิจารณ์ว่าหันไปเน้นส่งเสริมภาพลักษณ์ทางศาสนาอิสลามมากขึ้น โดยอาศัยการผลักดันประเทศเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปเป็นเครื่องบังหน้า จนเกิดความระแวงสงสัยว่าพรรคจะมีวาระซ่อนเร้นที่จะเปลี่ยนตุรกีให้เป็นประเทศอิสลาม
บรรยากาศการเมืองในตุรกีก่อนการประชุมคณะผู้พิพากษา เพิ่มความตึงเครียดยิ่งขึ้นอีก หลังเกิดเหตุระเบิดสองครั้งเมื่อคืนวันอาทิตย์ (27) ในนครอิสตันบุล ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศ จนทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 17 คน และบาดเจ็บอีกกว่า 150 คน
มอมเมอร์ กุลเลอร์ ผู้ว่าการนครอิสตันบุล แถลงว่า “ไม่มีข้อสงสัยเลยว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นการก่อการร้าย” แต่เขาเสริมว่ายังเร็วเกินไปที่จะระบุได้ว่าใครคือผู้อยู่เบื้องหลัง
พรรคความยุติธรรมและการพัฒนา (เอเคพี) ของนายกรัฐมนตรีเรเซ็ป เทยิป เออร์โดแกน ซึ่งมีรากฐานมาจากพรรคการเมืองแนวทางอิสลามที่ได้เคยถูกสั่งยุบไปแล้ว กำลังถูกกล่าวหาว่าละเมิดหลักการแยกศาสนาออกจากการเมืองการบริหารของรัฐ ซึ่งบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
จากข้อกล่าวหาดังกล่าว อัยการได้ร้องขอให้ศาลสั่งยุบพรรคเอเคพี รวมทั้งห้ามประธานาธิบดีอับดุลเลาะห์ กุล , นายกฯเออร์โดแกน กับกรรมการพรรคเอเคพีอีก 69 คน ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเป็นเวลาห้าปีด้วย
ทว่า พรรคเอเคพีปฏิเสธข้อกล่าวหา ซึ่งพวกเขาบอกว่าเป็นความเคลื่อนไหวที่มีแรงจูงใจหวังมุ่งร้ายในทางการเมือง และตอบโต้ว่าพรรคกำลังเผชิญหน้ากับ “การรัฐประหารโดยฝ่ายตุลาการ” เพื่อที่จะขับไล่พรรคออกจากเวทีการเมือง
ผู้สังเกตการณ์กล่าวว่า การตัดสินให้พรรคเอเคพีกลายเป็นพรรคนอกกฎหมาย อาจทำให้ตุรกีเข้าสู่ภาวะปั่นป่วนวุ่นวายทางการเมือง และจะส่งผลถึงการเจรจาเพื่อสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป รวมทั้งกระทบต่อเศรษฐกิจด้วย
ศาลรัฐธรรมนูญตุรกีกำหนดจะพิจารณาคดีนี้ทุกวันอย่างต่อเนื่อง โดยคาดหมายกันว่าน่าจะมีคำพิพากษาได้ในต้นเดือนสิงหาคม
ทั้งนี้ คำตัดสินอาจเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งในสามทาง กล่าวคือ หนึ่ง ศาลสั่งยุบพรรคเอเคพีและตัดสิทธิ์ทางการเมืองของเออร์โดแกนและคณะ หรือสอง ศาลอาจจะตัดงบประมาณช่วยเหลือแก่พรรคเอเคพีทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน หรือสาม ศาลอาจจะยกฟ้องคดีดังกล่าวเสีย
หากศาลมีคำพิพากษายุบพรรคเอเคพี ก็คาดว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรภายในพรรคเอเคพีจะจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ และจัดการเลือกตั้งใหม่โดยเร็วภายในสิ้นปีนี้
แต่หากศาลมีคำพิพากษาห้ามเออร์โดแกนสังกัดพรรคการเมือง เขาก็อาจจะกลับเข้าสู่รัฐสภาในนามผู้สมัครอิสระได้
ส่วนการยกฟ้องนั้น ผู้สังเกตการณ์บอกว่าน่าจะเป็นไปได้ยากที่สุด แม้ว่าก่อนหน้านี้ผู้แถลงคดีที่ศาลรัฐธรรมนูญแต่งตั้ง ได้ให้คำแนะนำควรจะยกฟ้องข้อกล่าวหาดังกล่าว เนื่องจากการกระทำของพรรคเอเคพีนั้น ยังคงเข้าข่ายการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง
ทั้งนี้ นักวิเคราะห์บางคนชี้ว่า ศาลรัฐธรรมนูญของตุรกีเคยมีประวัติในเรื่องที่ไม่รับฟังความเห็นของผู้แถลงคดี รวมทั้งอาจจะไม่สนใจผลกระทบที่จะติดตามมาจากคำพิพากษา
นักวิเคราะห์เชื่อว่า ไม่ว่าศาลจะมีคำพิพากษาประการใด การต่อสู้ช่วงชิงอำนาจระหว่างพรรคเอเคพี กับฝ่ายที่นิยมการแยกศาสนาออกจากการเมืองการบริหารประเทศ อันประกอบไปด้วยกองทัพ ฝ่ายตุลาการ และกลุ่มปัญญาชน ก็จะยังดำเนินต่อไป ในขณะที่ผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนล่าสุดระบุว่า พรรคเอเคพียังคงได้รับความนิยมสูงสุดในตุรกี
เมื่อเดือนที่แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำพิพากษาให้ยกเลิกการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามข้อเสนอของรัฐบาล ที่ให้ยกเลิกการห้ามสวมผ้าคลุมศีรษะแบบอิสลามในมหาวิทยาลัย การแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวนี้ ได้กลายเป็นหลักฐานสำคัญประการหนึ่ง ที่อัยการใช้กล่าวหาว่าพรรคเอเคพีคัดค้านการแบ่งแยกศาสนาออกจากการเมือง
พรรคเอเคพีได้ขึ้นเป็นรัฐบาลภายหลังชนะการเลือกตั้งเมื่อปี 2002 และดำเนินนโยบายสนับสนุนสหภาพยุโรปและมีท่าทีเป็นมิตรกับธุรกิจ แต่หลังจากได้รับเลือกตั้งใหม่อีกวาระหนึ่งเมื่อปีที่แล้ว ก็ถูกวิจารณ์ว่าหันไปเน้นส่งเสริมภาพลักษณ์ทางศาสนาอิสลามมากขึ้น โดยอาศัยการผลักดันประเทศเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปเป็นเครื่องบังหน้า จนเกิดความระแวงสงสัยว่าพรรคจะมีวาระซ่อนเร้นที่จะเปลี่ยนตุรกีให้เป็นประเทศอิสลาม