คณะผู้พิพากษาศาลรัฐธรรมนูญตุรกีจำนวน 11 คน เริ่มประชุมพิจารณาวินิจฉัยเมื่อวันจันทร์ (28) เพื่อตัดสินว่าจะสั่งยุบพรรครัฐบาลที่มีแนวทางอิสลามิสต์หรือไม่ หลังจากที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดหลักกฎหมายสูงสุดของประเทศ ที่เน้นย้ำให้ตุรกีแยกเรื่องศาสนาออกจากการเมืองการบริหารของรัฐ ทางด้านนักวิเคราะห์ชี้ หากพรรครัฐบาลถูกเช็คบิล การเมืองก็จะเข้าสู่วิกฤต
บรรยากาศการเมืองในตุรกีก่อนการประชุมคณะผู้พิพากษา เพิ่มความตึงเครียดยิ่งขึ้นอีก หลังเกิดเหตุระเบิดสองครั้งเมื่อคืนวันอาทิตย์ (27) ในนครอิสตันบุล ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศ จนทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 17 คน และบาดเจ็บอีกกว่า 150 คน
มอมเมอร์ กุลเลอร์ ผู้ว่าการนครอิสตันบุล แถลงว่า "ไม่มีข้อสงสัยเลยว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นการก่อการร้าย" แต่เขาเสริมว่ายังเร็วเกินไปที่จะระบุได้ว่าใครคือผู้อยู่เบื้องหลังพรรคความยุติธรรมและการพัฒนา (เอเคพี) ของนายกรัฐมนตรีเรเซ็ป เทยิป เออร์โดแกน ซึ่งมีรากฐานมาจากพรรคการเมืองแนวทางอิสลามที่ได้เคยถูกสั่งยุบไปแล้ว กำลังถูกกล่าวหาว่าละเมิดหลักการแยกศาสนาออกจากการเมืองการบริหารของรัฐ ซึ่งบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
จากข้อกล่าวหาดังกล่าว อัยการได้ร้องขอให้ศาลสั่งยุบพรรคเอเคพี รวมทั้งห้ามประธานาธิบดีอับดุลเลาะห์ กุล , นายกฯเออร์โดแกน กับกรรมการพรรคเอเคพีอีก 69 คน ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเป็นเวลาห้าปีด้วย
ทว่า พรรคเอเคพีปฏิเสธข้อกล่าวหา ซึ่งพวกเขาบอกว่าเป็นความเคลื่อนไหวที่มีแรงจูงใจหวังมุ่งร้ายในทางการเมือง และตอบโต้ว่าพรรคกำลังเผชิญหน้ากับ "การรัฐประหารโดยฝ่ายตุลาการ" เพื่อที่จะขับไล่พรรคออกจากเวทีการเมือง
บรรยากาศการเมืองในตุรกีก่อนการประชุมคณะผู้พิพากษา เพิ่มความตึงเครียดยิ่งขึ้นอีก หลังเกิดเหตุระเบิดสองครั้งเมื่อคืนวันอาทิตย์ (27) ในนครอิสตันบุล ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศ จนทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 17 คน และบาดเจ็บอีกกว่า 150 คน
มอมเมอร์ กุลเลอร์ ผู้ว่าการนครอิสตันบุล แถลงว่า "ไม่มีข้อสงสัยเลยว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นการก่อการร้าย" แต่เขาเสริมว่ายังเร็วเกินไปที่จะระบุได้ว่าใครคือผู้อยู่เบื้องหลังพรรคความยุติธรรมและการพัฒนา (เอเคพี) ของนายกรัฐมนตรีเรเซ็ป เทยิป เออร์โดแกน ซึ่งมีรากฐานมาจากพรรคการเมืองแนวทางอิสลามที่ได้เคยถูกสั่งยุบไปแล้ว กำลังถูกกล่าวหาว่าละเมิดหลักการแยกศาสนาออกจากการเมืองการบริหารของรัฐ ซึ่งบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
จากข้อกล่าวหาดังกล่าว อัยการได้ร้องขอให้ศาลสั่งยุบพรรคเอเคพี รวมทั้งห้ามประธานาธิบดีอับดุลเลาะห์ กุล , นายกฯเออร์โดแกน กับกรรมการพรรคเอเคพีอีก 69 คน ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเป็นเวลาห้าปีด้วย
ทว่า พรรคเอเคพีปฏิเสธข้อกล่าวหา ซึ่งพวกเขาบอกว่าเป็นความเคลื่อนไหวที่มีแรงจูงใจหวังมุ่งร้ายในทางการเมือง และตอบโต้ว่าพรรคกำลังเผชิญหน้ากับ "การรัฐประหารโดยฝ่ายตุลาการ" เพื่อที่จะขับไล่พรรคออกจากเวทีการเมือง