"สุรเกียรติ์" แฉ! เอกสารเขมรยันชัด"หมัก"ยกปราสาทพระวิหารให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกฝ่ายเดียว เป็นเหตุกัมพูชาเปลี่ยนท่าทีรุกหนักทางการทูต กล้าพูดไม่มีพื้นที่ทับซ้อนบนเขาพระวิหาร ทั้งที่ก่อนหน้าเจรจาพัฒนาร่วมกันมาตลอด เร่งรัฐบาลไทยรวบรวมคนเก่ง ตั้งทีมนักวิชาการชี้แจงเวทีมรดกโลก พร้อมตั้งทีมการเมืองแจงสหประชาชาติ เพื่อปฏิเสธข้อกล่าวหากัมพูชาว่า"ไทยเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพ" ชี้หากรัฐบาลยัง “เป่าสาก” มีสิทธิเพลี่ยงพล้ำ เพราะมิตรประเทศในเวทีโลกหายหมด และเสี่ยงถูกกฎหมายปิดปาก จี้แจ้งนานาชาติเลิกแถลงการณ์ร่วม"นพดล-สกอาน" โดย ด่วน ด้าน"30 ส.ว." ส่งจม.ประณาม “ยูเนสโก” ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร "ทำลายสันติภาพ" ต้นตอ 2 ประเทศตึงเครียดแบบไม่เคยเป็นมาก่อน แนะรัฐบาล ลาออกประท้วง
วานนี้ (29 ก.ค.) ที่คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดเสวนาทางวิชาการเรื่อง ทางออกเกี่ยวกับปัญหาปราสาทพระวิหาร โดยมี นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีต รมว.ต่างประเทศ และอดีตผู้เข้าสมัครชิงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ ร่วมเสวนาในหัวข้อ สหประชาชาติ กับการแก้ไขข้อขัดแย้งปัญหาปราสาทพระวิหาร ระหว่างไทย-กัมพูชา ว่า ตนมีความห่วงใยต่อกรณีปราสาทพระวิหารมากว่าไทยจะเพลี่ยงพล้ำด้านการทูต ซึ่งทุกครั้งในประวัติศาสตร์ เมื่อใดที่ประเทศไทยรบกับด้านอื่นๆ กัมพูชา ก็จะเดินเกมรุกเร็วทุกครั้ง สำหรับเรื่องปราสาทพระวิหารในขณะนี้ กลายเป็นวาระแห่งชาติไปแล้ว
ทั้งนี้ ปัญหาที่ห่วงใย คือ กรณีคณะกรรมการมรดกโลก และยูเนสโกนั้น ไทยยังมีหลายเรื่องที่ยังไม่จัดกระบวนทัพ หรือยุทธศาสตร์ทางการทูต เพื่อโน้มน้าวให้ประเทศอื่นๆเข้าใจ
“ผมแปลกใจมาก ที่ผ่านมาไทยเป็นประเทศที่มีเพื่อนบนเวทีโลกค่อนข้างมาก แต่ทำไมในกรณีขึ้นทะเบียนมรดกโลกครั้งนี้ เราถึงได้สิ้นไร้ไม้ตอกถึงขนาดนี้ มติคณะกรรมการมรดกโลกทั้ง 21 ประเทศ ถึงได้เป็นเอกฉันท์ ไม่มีใครเข้าข้างไทยเลย ทำไมเราถึงขาดเพื่อนบนเวทีโลกได้ถึงขนาดนี้ สะท้อนให้เห็นว่า เราไม่พร้อมหรือ เราไม่ได้ทำอะไรกับเรื่องนี้ หากยังสิ้นไร้ไม้ตอกแบบนี้ เมื่อคณะกรรมการบริหารจัดการพื้นที่ปราสาทพระวิหาร 7 ประเทศเข้ามา แล้วผลจะออกมาเป็นอย่างไร ในเมื่อเรากำลังอยู่ในห้องมืด ผมจึงไม่เห็นทางออก เพราะฉะนั้นคนไทยทุกคนจะต้องมาช่วยกันเปิดไฟให้กับประเทศ”นายสุรเกียรติ์ กล่าว
จี้แก้ข้อหาไทยเป็นภัยคุกคาม
นายสุรเกียรติ์ กล่าวว่า ข้อห่วงใยประการต่อมาคือ กัมพูชาทำหนังสือถึงคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ฉบับวันที่ 18 ก.ค.51 และฉบับวันที่ 21 ก.ค.51 ระบุว่า ไทยเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพในภูมิภาคนี้ โดยเข้าข่ายตามกฎบัตรสหประชาชาติ บทที่ 7 และขอประชุมฉุกเฉิน ซึ่งสหประชาชาติใช้กับกรณีปัญหาการสู้รบในประเทศอิรัก อัฟกานิสถาน
อย่างไรก็ตาม แม้ไทยจะชี้แจงกลับไปแล้วทั้ง 2 ฉบับ แต่ยังไม่ได้ชี้แจงกรณีที่ไทยเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพ รวมทั้งกรณีแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ที่นายนพดล ปัทมะ อดีตรมว.ต่างประเทศ ไปลงนาม ก็ต้องยกเลิก ไม่เช่นนั้นสิ่งเหล่านี้จะกลับมาทำลายน้ำหนักในการต่อสู้ของไทยบนเวทีโลก เพราะหากไม่ชี้แจง ก็จะเข้าข่ายกฎหมายปิดปาก ทั้งนี้ ไทยต้องตั้งรับ และตั้งรุกทางการทูต เพราะขณะนี้กัมพูชาเปิดประตูรบทางการทูตหลายประตู เราถึงได้ล้มระเนระนาดอยู่ในขณะนี้
เอกสารเขมรยัน “หมัก” หนุน
นายสุรเกียรติ์ กล่าวว่า ในสมัยที่ตนดำรงตำแหน่ง รมว.ต่างประเทศ ทางกัมพูชาส่งชาวบ้านเข้ามาในเขตแดนไทย ในขณะนั้นจึงได้มีความพยายามทำให้พื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหาร เป็นเขตพัฒนาร่วมระหว่างไทย-กัมพูชา ปี 44 เพื่อวางหมากทางการทูตในอนาคต โดยฝ่ายกัมพูชา มีนายโส มา รม ปลัดกระทรวงท่องเที่ยว เป็นผู้ลงนาม ซึ่งต่อมาก็ถูกทางกัมพูชาปลด และแจ้งขอยกเลิกการลงนามในครั้งนั้น แต่ไทยก็พยายามขอเจรจาทำเขตพัฒนาร่วม จนสำเร็จในเดือน มิ.ย.46
จากนั้น มีการประชุมร่วมกันของคณะรัฐมนตรีไทย-กัมพูชา และมีมติร่วมกันตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อพัฒนาเขาพระวิหาร ซึ่ง นายสก อาน รองนายกฯ ในขณะนั้น ก็ยอมรับเรื่องการร่วมกันพัฒนาพื้นที่นี้มาตั้งแต่ปี 46 ส่วนไทยก็มีการรับรองมติ ครม.ร่วมดังกล่าว เมื่อวันที่ 30 ก.ย.46 และในปี 47 ก็มีการประชุม โดยทางกัมพูชารับที่จะกลับไปจัดระเบียบชุมชนที่ล้ำเขตแดนไทยเข้ามา
“จากนั้นจู่ๆ กัมพูชา ก็เปลี่ยนแปลงจุดยืนดังกล่าว โดยมีหนังสือมาถึงไทยวันที่ 11 เม.ย.51 ว่า คนที่เห็นด้วยกับกัมพูชา ในการขึ้นทะเบียนมรดกโลกฝ่ายเดียว คือนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และกัมพูชา ยังยืนยันว่า ไม่มีพื้นที่ทับซ้อนในเขตปราสาทพระวิหาร ซึ่งผมแจ้งกับผู้ใหญ่ในบ้านเมือง และกระทรวงการต่างประเทศว่า ไทยจะต้องตอบปฏิเสธอย่างรุนแรง เพราะสุ่มเสี่ยงต่อการถูกกฎหมายปิดปากในอนาคต หากเราไม่ปฏิเสธ เท่ากับยอมรับว่าดินแดนบริเวณปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา ไม่ใช่พื้นที่ทับซ้อน”นายสุรเกียรติ์ กล่าว
นายสุรเกียรติ์ กล่าวอีกว่า ทางออกที่ตนเสนอคือ เราต้องชี้แจงหนังสือทุกฉบับของกัมพูชาในทุกเวทีโดยเร็ว ขณะเดียวกันก็ต้องตั้งคณะทำงานรวบรวมคนเก่งทุกสาขาวิชาชีพ เข้ามาช่วยเรื่องนี้ และเสนอต่อประชาคมโลกว่า เรามีคณะกรรมการระดับทวิภาคีหลายชุดที่จะเจรจากับกัมพูชาเพื่อแก้ปัญหานี้ ได้แก่ คณะกรรมการชายแดนทั่วไป, คณะกรรมการปักปันเขตแดนร่วม, คณะกรรมาธิการระดับรัฐมนตรีร่วม โดยมี รมว.ต่างประเทศ ของ 2 ประเทศ เป็นประธานร่วมกัน, คณะกรรมการร่วมวัฒนธรรมไทย-กัมพูชา, คณะกรรมการร่วมเพื่อพัฒนาเขาพระวิหาร การเสนอต่อประชาคมโลกของไทยจะเป็นประโยชน์ทางกฎหมายของเราในอนาคต โดยมีเป้าหมาย คือ การกลับไปอยู่ในสภาพเดิมเมื่อปี 43 คือ ซึ่งมีการลงนามร่วมกันทั้ง 2 ประเทศ คือ เห็นด้วยกับความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร
ที่สำคัญคือไทยควรตั้งทีมชี้แจงทำความเข้าใจ แยกเป็น 2 ทีม คือ ทีมวิชาการ ที่ชี้แจงต่อยูเนสโก และทีมการเมืองที่ชี้แจงต่อยูเอ็น แม้ว่ากัมพูชาบอกว่าจะถอนเรื่องจากยูเอ็น แต่เราก็อย่าวางใจ เพราะเป็นผลประโยชน์ของแต่ละประเทศ
“อภิสิทธิ์”พอใจถอนทหาร
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ทางออกของปัญหาเราจะต้องทำหลายเรื่องพร้อมกัน ด่วนสุดคือต้องไม่ให้เกิดความรุนแรงขึ้น ควบคู่ไปกับการรักษาสิทธิเหนือพื้นที่ดังกล่าว เพราะการแสดงความเป็นเจ้าของเพื่อรักษาสิทธิเป็นเรื่องที่ถูกต้อง แต่หากทำแล้วเกิดการปะทะกันขึ้น ก็จะเป็นการเปิดช่องให้กัมพูชานำไปชี้ให้ประชาคมโลกได้เห็นว่าไทยใช้ความรุนแรง ซึ่งจะ เข้าทางกัมพูชาที่จะดึงฝ่ายอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้น จึงต้องทำอย่างรอบคอบ
ทั้งนี้ ตนสนับสนุนแนวทางแก้ปัญหาของรัฐบาลที่จะแก้ไขบนโต๊ะเจรจา ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกต้อง และเป็นการยืนยันต่อชาวโลกว่ากรณีการเจรจาไม่สำเร็จ ก็จะมีการคุยกันต่อไปเรื่อยๆ ไม่มีเหตุผลที่จะใช้ความรุนแรง ที่สำคัญเราสามารถบรรลุผลเรื่องการถอนกำลัง ซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงลงได้ระดับหนึ่ง
นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า เห็นด้วยกับข้อเสนอของนายสุรเกียรติ์ ที่เราจะต้องย้อนกลับไปยังสถานะ เมื่อปี 43 คือ เห็นด้วยกับความเห็นต่างกรณีเขาพระวิหาร ซึ่งในอดีตนั้นกัมพูชาได้ให้แม่ค้า พ่อค้า ขึ้นไปขายของบนตัวปราสาทพระวิหาร แต่ต่อมาเห็นว่าเป็นภาพที่ไม่งดงาม จึงได้ขอขยายพื้นที่การค้าออกมา 10-20 เมตร และได้กินอาณาเขตเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จึงได้มีการเจรจากัน ขอให้แม่ค้าฝั่งไทยเข้าไปขายของด้วย แต่เมื่อขายของไปได้ระยะหนึ่ง ทางกัมพูชาเริ่มมีปัญหาเรื่องขยายเขตแดนเข้ามามาก ทางไทยจึงดึงพ่อค้า แม่ค้าของไทย ออกจากพื้นที่ และผลักดันให้พ่อค้ากัมพูชาถอยกลับไป และหากจะมีการเจรจาเปิดพื้นที่ก็ควรให้พ่อค้าคนไทยเข้าไปมีส่วนร่วมในการค้าขายด้วย
“กรณีแถลงการณ์ร่วมที่อดีต รมว.ต่างประเทศ ไปลงนามไว้นั้น เป็นการรู้กันภายในประเทศไทย ว่า ศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่า การลงนามดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ แต่ในเวทีโลกยังไม่ทราบเรื่องนี้เลย ซึ่งไทยต้องรีบแก้ไขขอยกเลิกทุกเวทีอย่างเร่งด่วน ซึ่งการแก้ไขปัญหาพระวิหาร ประเทศไทยต้องใช้ยุทธศาสตร์ทั้งไม้อ่อน และแข็ง เพื่อเดินไปสู่เป้าหมาย และต้องไม่กระทบสิทธิกันและกัน อยู่บนพื้นฐานที่ประชาชนของทั้ง 2 ประเทศจะต้องได้ประโยชน์สูงสุด”หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว
“หมัก”รับทราบผลเจรจาทวิภาคี
สำหรับในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวานนี้ นายเตช บุนนาค รมว.ต่างประเทศได้เข้ารายงานผลการเจรจาทวิภาคี ระหว่างไทยและกับกัมพูชา เมื่อวันที่ 28 ก.ค. ต่อที่ประชุมครม.
ทั้งนี้ นายณัฐวุฒิ ใสเกื้อ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า นายเตช ได้รายงานผลการเจรจา ความว่า 1.รมว.ต่างประเทศทั้งสองประเทศ เห็นพ้องกันว่า ทั้งสองฝ่ายควรใช้ความอดทนอดกลั้นอย่างที่สุด เพื่อหลีกเลี่ยงโอกาสที่จะเกิดการเผชิญหน้าด้วยกำลังทหาร เพื่อให้ปัญหานี้ได้รับการแก้ไขโดยสันติวิธี โดยใช้กลไกทวิภาคีที่มีอยู่ ซึ่งรวมถึงการหารือระหว่างรมว.ต่างประเทศ และคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ที่จัดตั้งขึ้นตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจ และจัดทำหลักเขตแดนทางบกไทย-กัมพูชา ปี 2543
2.ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันที่จะเสนอรัฐบาลของตนให้ความเห็นชอบจัดประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมฯ ครั้งต่อไปโดยเร็วที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อหารือประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับการสำรวจ และจัดทำหลักเขตแดนในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องภายใต้ข้อกำหนดอำนาจหน้าที่และแผนแม่บทของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (เขาสัตตะโสม-บีพี 1) ภายหลังจากการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศสองฝ่ายคราวหน้า
3.ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันที่จะเสนอรัฐบาลของตนดำเนินการมาตรการชั่วคราวในระหว่างที่รอการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนโดนคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมฯ โดยเป็นไปตามข้อกำหนดตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายภายในของแต่ละประเทศ ดังนี้
3.1 เก็บกู้ทุ่นระเบิดในพื้นที่ที่จะมีการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนโดยคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมฯ โดยการดำเนินการของแต่ละฝ่ายให้เป็นไปอย่างประสานสอดคล้องกัน (Concerted manner)
3.2จัดตั้งชุดประสานงานชั่วคราว ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองฝ่าย เพื่อจัดการกับปัญหาที่เกี่ยวกับพื้นที่ รวมทั้งบริเวณวัด
3.3 ให้ปรับกำลังของฝ่ายตนออกจาก “วัดแก้วสิขาคีรีสะวารา” พื้นที่รอบวัด และปราสาทเขาวิหาร
สำหรับประเทศไทย รัฐบาลจะตัดสินใจทางนโยบายว่าจะปรับกำลังหรือไม่ และฝ่ายทหารจะปฏิบัติตามการตัดสินใจดังกล่าว
4.มาตรการชั่วคราวข้างต้น จะไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของทั้งสองฝ่ายเกี่ยวกับการสำรวจ และจัดทำหลักเขตแดนภายใต้กรอบคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมฯ และท่าทีทางกฎหมายของแต่ละฝ่าย
5.ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะหารือประเด็นอื่นๆ ที่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ในการประชุมครั้งนี้ ในการประชุมรมว.ต่างประเทศครั้งต่อไป
ยังไม่ลงนามกลัวขัด ม.190
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายเตชได้รายงานผลการเจรจาทวิภาคี ว่า เมื่อ 2 ฝ่ายเจรจาความกันจนจบ เมื่อถึงขั้นจะลงนามในข้อตกลงร่วมกัน คณะทำงานของกระทรวงการต่างประเทศ ก็เกิดความวิตกว่า อาจเข้าข่ายสนธิสัญญาตาม มาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ หรือไม่ ดังนั้นทั้ง 2 ฝ่ายจึงต้องบันทึกว่า สิ่งที่ลงนามเป็นเพียงข้อตกลงในหลักการร่วมระหว่างไทยและกัมพูชา ยังไม่มีผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างกัน จนกว่าผู้มีอำนาจทั้ง 2 ประเทศจะพิจารณา ซึ่งเรื่องนี้กระทรวงการต่างประเทศต้องเจรจาโดยใช้หลักการทูต ประกอบกับดูข้อกฎหมายด้วย
เมื่อเกิดปัญหาเช่นนี้ขึ้น ครม.จึงมีมติให้กรมสนธิสัญญาระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เป็นเจ้าภาพ พิจารณา การลงนามในเอกสารระหว่างประเทศใดๆ จะเข้าข่ายมาตรา 190 หรือไม่ ซึ่งตนเป็นผู้ให้ความเห็นต่อ ครม. นอกจากนี้ยังสามารถเชิญผู้แทนจากกระทรวงต่างๆ มาให้ความเห็นได้
อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวมองว่าการลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างรมว.ต่างประเทศไทยและกัมพูชา ที่เกิดขึ้น ถือว่าไม่เข้าข่ายมาตรา 190 แต่เมื่อกระทรวงเป็นห่วง จึงต้องเขียนเนื้อหาแบบเซฟตัวเองไว้ก่อน
พล.ท.สุรพล เผื่อนอัยกา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กล่าวว่า ที่ประชุมครม. พอใจกับผลการเจรจาระหว่างกรกระทรวงการต่างประเทศของไทย และกัมพูชา โดยได้กล่าวชื่นชมนายเตช ที่เจรจา และสามารถแก้ปัญหาได้เปลาะหนึ่ง ซึ่งคงจะมีการเจรจากันอีกหลายครั้งในระดับท้องถิ่น และรัฐมนตรี แต่คงไม่ถึงขั้นนายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศมาคุยกัน ส่วนการเจรจาครั้งต่อไปยังไม่มีกำหนด อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้จะมีการตั้งคณะทำงานระยะยาวเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ต่อไป
ตั้ง“ดร.มนัสพาสน์ ชูโต”ที่ปรึกษา“เตช”
น.ส.ศุภรัตน์ นาคบุญนาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุม ครม.ว่า ครม.ได้มีมติแต่งตั้งข้าราชการการเมือง ทั้งนี้ตามที่ได้มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง รมว.ต่างประเทศ ลงวันที่ 26 ก.ค. 51 กระทรวงการต่างประเทศ ขอเสนอแต่งตั้งข้าราชการการเมือง คือ ดร.มนัสพาสน์ ชูโต เป็นที่ปรึกษา รมว.ต่างประเทศ
ผบ.ทบ.รอรัฐบาลสั่งถอนทหาร
พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. กล่าวถึงกรณีในที่ประชุมพิจารณาข้อพิพาทเกี่ยวกับปราสาทเขาพระวิหาร มีมติให้ไทยและกัมพูชาถอนกำลังออกจากพื้นที่ เพื่อลดความตึงเครียดว่า ตอนนี้รอดีกว่า คงไม่ต้องถึงขั้นให้ตนไปสั่งการก่อน และจากผลจากการประชุมนั้น ยังไม่เป็นการปฏิบัติที่ต้องดำเนินการ เพราะจะต้องให้รัฐบาลสั่งการก่อน กองทัพจึงจะดำเนินการ ทั้งนี้แนวทางที่ออกมาน่าจะเป็นการลดปัญหาความตึงเครียดในพื้นที่ได้ และทั้งสองฝ่ายก็มีแนวทางปฏิบัติที่จะช่วยลดความตึงเครียดและทำให้สถานการณ์ในพื้นที่ดีขึ้น
แนะตั้งคณะกรรมการเจรจา
พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผบ.ทอ. กล่าวว่า การเจรจาไม่สามารถที่จะใช้เวลาสั้นๆ และจะคลี่คลายทุกอย่างได้ หากสองฝ่ายมีความจริงใจกัน ก็ไม่มีปัญหา และจะเป็นผลดีต่อทั้งสองประเทศ ทั้งนี้คนที่ทะเลาะกัน ไม่ถึงขั้นที่จะต้องเอากรรมการมา แต่เราสามารถคุยกันได้แบบผู้ใหญ่ จะทำให้สถานการณ์จบได้เร็ว เพราะหากมีคนตายขึ้นมาจะกลายเป็นคู่ต่อสู้ ทั้งนี้เราจะต้องทำให้ต่อเนื่อง หากปล่อยไปจะทำให้เกิดปัญหา ซึ่งปัญหานี้ถือเป็นปัญหาของชาติ ดังนั้นต้องตั้งคณะกรรมการที่แน่นอน และสามารถจะทำได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งใจตนน่าจะเป็นคณะกรรมการระหว่างสองประเทศคือ ไทย-กัมพูชา เพราะเป็นการทะเลาะกันของคนข้างบ้าน เป็นเรื่องธรรมดา และหากใครเข้ามาทุบตีกัน จึงจะเรียกตำรวจ แต่หากมีการพูดคุยกันได้ในระหว่าง 2 บ้านถือว่าจบเรียบร้อย
30 ส.ว.ส่งจดหมายประณามยูเนสโก
ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต ส.ว.สรรหา ในฐานะรองประธาน กมธ. การต่างประเทศ วุฒิสภา แถลงว่า คณะ ส.ว.30 คนได้ร่วมกันลงนาม ในจดหมายเปิดผนึกเพื่อส่งไปยังคณะทูตานุทูต ผู้แทนกงสุลประเทศต่างๆ รวมทั้งผู้แทน 21 ประเทศ ที่เป็นกรรมการตัดสินมรดกโลก ในยูเนสโก โดยมีเนื้อหาว่า ยูเนสโก มีภารกิจสำคัญในการส่งเสริมสันติภาพระหว่างประเทศและการเคารพต่อกันทางสากลในหมู่ประชาชาติต่างๆ และเพื่อสร้างบรรยากาศของการหารือร่วมกันอย่างจริงใจ โดยยึดหลักการให้เกียรติต่อกันและกัน เคารพในศักดิ์ศรีของอารยธรรม และวัฒนธรรมของแต่ละฝ่าย แต่การตัดสินขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกให้กับกัมพูชาเพียงฝ่ายเดียว เป็นการกระทำที่ตรงกันข้ามกับหลักการพื้นฐานขององค์การอย่างสิ้นเชิง ก่อให้เกิดความตึงเครียดในภูมิภาคในระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในกลายทศวรรษ ซึ่งอาจก่อให้เกิดภัยร้ายแรงได้
“เราจึงขอประณามคำตัดสินของคณะกรรมการมรดกโลก และยูเนสโก ว่าเป็นคำตัดสินที่แสดงถึงวิสัยทัศน์อันสั้น ขาดความเป็นกลาง มีเจตนาโน้มเอียงทางการเมืองและเป็นการกระทำที่ขัดต่ออุดมการณ์ของยูเนสโก เอง ทั้งที่ยูเนสโก มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสันติภาพและความร่วมมือระหว่างประเทศ เมื่อยูเนสโกไม่ปฏิบัติตามหลักการ แต่พยายามบงการประเทศอื่นๆ รัฐบาลไทยอาจจะประท้วงด้วยการลาออกจากการเป็นสมาชิกของมรดกโลกได้”รองประธานกมธ.การต่างประเทศ วุฒิสภา กล่าว
นอกจากนี้ ม.ร.ว.ปรียนันทนา ยังเสนอว่า รัฐบาลควรไปเพิกถอนแถลงการณ์ร่วมในส่วนของไทย ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญชี้ออกมาว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ แม้จะไม่มีผลที่จะเปลี่ยนแปลงการตัดสินของคณะกรรมการมรดกโลก แต่อย่างน้อยหากมีข้อพิพาทในกรณีปราสาทพระวิหาร หรือพื้นที่ที่ต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิอธิปไตย ขึ้นสู่ศาลโลก ไทยก็สามารถยืนยันว่าเราไม่ได้ยอมรับในสิทธิที่กัมพูชาอ้าง แต่ถ้าเราไม่ถอนแถลงการณ์ร่วม หากข้อพิพาทขึ้นศาลโลกเราก็คงแพ้อีกเช่นเคย
“ฮุนเซน”ลั่นพร้อมถอนทหาร
นายกรัฐมนตรีกัมพูชาสมเด็จฯ ฮุนเซน กล่าวในกรุงพนมเปญเมื่อวันอังคาร (29 ก.ค.) ว่า กัมพูชาพร้อมแล้วที่จะถอนทหารออกจากดินแดนพิพาท แต่ก็แสดงทาทีทำเงื่อนไขต่อท้ายเอาไว้ว่า ฝ่ายไทยต้องถอนก่อน
“สำหรับเราไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ปัญหาขึ้นอยู่กับประเทศไทยที่จะตัดสินใจ สำหรับเรา พร้อมทุกเมื่อ ปัญหาก็คือช่วงเวลาและอีกยาวนานแค่ไหนฝ่ายไทยจึงจัดทำการตัดสินใจทางการเมืองโดย รัฐบาลได้”สมเด็จฯฮุนเซน กล่าว
การเจรจาระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศของไทยและกัมพูชาในเมืองเสียมราฐเมื่อวันจันทร์ สองฝ่ายได้ตกลงจะพิจารณาถอนทหารออกจากเขตแดนพิพาทเขาพระวิหาร ซึ่งทหารของสองฝ่ายกว่า 2,000 คน เผชิญหน้ากันมาเป็นเวลา 2 สัปดาห์
รมว.ต่างประเทศไทย นายเตช บุนนาค กับ นายฮอร์นังฮอง รองนายกฯ และ รมว.ต่างประเทศกัมพูชาได้เจรจากันเป็นเวลา 12 ชั่วโมงในวันจันทร์ สองฝ่ายกล่าวว่าจะกลับไปปรึกษากับรัฐบาลเกี่ยวกับการถอนทหาร
วานนี้ (29 ก.ค.) ที่คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดเสวนาทางวิชาการเรื่อง ทางออกเกี่ยวกับปัญหาปราสาทพระวิหาร โดยมี นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีต รมว.ต่างประเทศ และอดีตผู้เข้าสมัครชิงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ ร่วมเสวนาในหัวข้อ สหประชาชาติ กับการแก้ไขข้อขัดแย้งปัญหาปราสาทพระวิหาร ระหว่างไทย-กัมพูชา ว่า ตนมีความห่วงใยต่อกรณีปราสาทพระวิหารมากว่าไทยจะเพลี่ยงพล้ำด้านการทูต ซึ่งทุกครั้งในประวัติศาสตร์ เมื่อใดที่ประเทศไทยรบกับด้านอื่นๆ กัมพูชา ก็จะเดินเกมรุกเร็วทุกครั้ง สำหรับเรื่องปราสาทพระวิหารในขณะนี้ กลายเป็นวาระแห่งชาติไปแล้ว
ทั้งนี้ ปัญหาที่ห่วงใย คือ กรณีคณะกรรมการมรดกโลก และยูเนสโกนั้น ไทยยังมีหลายเรื่องที่ยังไม่จัดกระบวนทัพ หรือยุทธศาสตร์ทางการทูต เพื่อโน้มน้าวให้ประเทศอื่นๆเข้าใจ
“ผมแปลกใจมาก ที่ผ่านมาไทยเป็นประเทศที่มีเพื่อนบนเวทีโลกค่อนข้างมาก แต่ทำไมในกรณีขึ้นทะเบียนมรดกโลกครั้งนี้ เราถึงได้สิ้นไร้ไม้ตอกถึงขนาดนี้ มติคณะกรรมการมรดกโลกทั้ง 21 ประเทศ ถึงได้เป็นเอกฉันท์ ไม่มีใครเข้าข้างไทยเลย ทำไมเราถึงขาดเพื่อนบนเวทีโลกได้ถึงขนาดนี้ สะท้อนให้เห็นว่า เราไม่พร้อมหรือ เราไม่ได้ทำอะไรกับเรื่องนี้ หากยังสิ้นไร้ไม้ตอกแบบนี้ เมื่อคณะกรรมการบริหารจัดการพื้นที่ปราสาทพระวิหาร 7 ประเทศเข้ามา แล้วผลจะออกมาเป็นอย่างไร ในเมื่อเรากำลังอยู่ในห้องมืด ผมจึงไม่เห็นทางออก เพราะฉะนั้นคนไทยทุกคนจะต้องมาช่วยกันเปิดไฟให้กับประเทศ”นายสุรเกียรติ์ กล่าว
จี้แก้ข้อหาไทยเป็นภัยคุกคาม
นายสุรเกียรติ์ กล่าวว่า ข้อห่วงใยประการต่อมาคือ กัมพูชาทำหนังสือถึงคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ฉบับวันที่ 18 ก.ค.51 และฉบับวันที่ 21 ก.ค.51 ระบุว่า ไทยเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพในภูมิภาคนี้ โดยเข้าข่ายตามกฎบัตรสหประชาชาติ บทที่ 7 และขอประชุมฉุกเฉิน ซึ่งสหประชาชาติใช้กับกรณีปัญหาการสู้รบในประเทศอิรัก อัฟกานิสถาน
อย่างไรก็ตาม แม้ไทยจะชี้แจงกลับไปแล้วทั้ง 2 ฉบับ แต่ยังไม่ได้ชี้แจงกรณีที่ไทยเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพ รวมทั้งกรณีแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ที่นายนพดล ปัทมะ อดีตรมว.ต่างประเทศ ไปลงนาม ก็ต้องยกเลิก ไม่เช่นนั้นสิ่งเหล่านี้จะกลับมาทำลายน้ำหนักในการต่อสู้ของไทยบนเวทีโลก เพราะหากไม่ชี้แจง ก็จะเข้าข่ายกฎหมายปิดปาก ทั้งนี้ ไทยต้องตั้งรับ และตั้งรุกทางการทูต เพราะขณะนี้กัมพูชาเปิดประตูรบทางการทูตหลายประตู เราถึงได้ล้มระเนระนาดอยู่ในขณะนี้
เอกสารเขมรยัน “หมัก” หนุน
นายสุรเกียรติ์ กล่าวว่า ในสมัยที่ตนดำรงตำแหน่ง รมว.ต่างประเทศ ทางกัมพูชาส่งชาวบ้านเข้ามาในเขตแดนไทย ในขณะนั้นจึงได้มีความพยายามทำให้พื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหาร เป็นเขตพัฒนาร่วมระหว่างไทย-กัมพูชา ปี 44 เพื่อวางหมากทางการทูตในอนาคต โดยฝ่ายกัมพูชา มีนายโส มา รม ปลัดกระทรวงท่องเที่ยว เป็นผู้ลงนาม ซึ่งต่อมาก็ถูกทางกัมพูชาปลด และแจ้งขอยกเลิกการลงนามในครั้งนั้น แต่ไทยก็พยายามขอเจรจาทำเขตพัฒนาร่วม จนสำเร็จในเดือน มิ.ย.46
จากนั้น มีการประชุมร่วมกันของคณะรัฐมนตรีไทย-กัมพูชา และมีมติร่วมกันตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อพัฒนาเขาพระวิหาร ซึ่ง นายสก อาน รองนายกฯ ในขณะนั้น ก็ยอมรับเรื่องการร่วมกันพัฒนาพื้นที่นี้มาตั้งแต่ปี 46 ส่วนไทยก็มีการรับรองมติ ครม.ร่วมดังกล่าว เมื่อวันที่ 30 ก.ย.46 และในปี 47 ก็มีการประชุม โดยทางกัมพูชารับที่จะกลับไปจัดระเบียบชุมชนที่ล้ำเขตแดนไทยเข้ามา
“จากนั้นจู่ๆ กัมพูชา ก็เปลี่ยนแปลงจุดยืนดังกล่าว โดยมีหนังสือมาถึงไทยวันที่ 11 เม.ย.51 ว่า คนที่เห็นด้วยกับกัมพูชา ในการขึ้นทะเบียนมรดกโลกฝ่ายเดียว คือนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และกัมพูชา ยังยืนยันว่า ไม่มีพื้นที่ทับซ้อนในเขตปราสาทพระวิหาร ซึ่งผมแจ้งกับผู้ใหญ่ในบ้านเมือง และกระทรวงการต่างประเทศว่า ไทยจะต้องตอบปฏิเสธอย่างรุนแรง เพราะสุ่มเสี่ยงต่อการถูกกฎหมายปิดปากในอนาคต หากเราไม่ปฏิเสธ เท่ากับยอมรับว่าดินแดนบริเวณปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา ไม่ใช่พื้นที่ทับซ้อน”นายสุรเกียรติ์ กล่าว
นายสุรเกียรติ์ กล่าวอีกว่า ทางออกที่ตนเสนอคือ เราต้องชี้แจงหนังสือทุกฉบับของกัมพูชาในทุกเวทีโดยเร็ว ขณะเดียวกันก็ต้องตั้งคณะทำงานรวบรวมคนเก่งทุกสาขาวิชาชีพ เข้ามาช่วยเรื่องนี้ และเสนอต่อประชาคมโลกว่า เรามีคณะกรรมการระดับทวิภาคีหลายชุดที่จะเจรจากับกัมพูชาเพื่อแก้ปัญหานี้ ได้แก่ คณะกรรมการชายแดนทั่วไป, คณะกรรมการปักปันเขตแดนร่วม, คณะกรรมาธิการระดับรัฐมนตรีร่วม โดยมี รมว.ต่างประเทศ ของ 2 ประเทศ เป็นประธานร่วมกัน, คณะกรรมการร่วมวัฒนธรรมไทย-กัมพูชา, คณะกรรมการร่วมเพื่อพัฒนาเขาพระวิหาร การเสนอต่อประชาคมโลกของไทยจะเป็นประโยชน์ทางกฎหมายของเราในอนาคต โดยมีเป้าหมาย คือ การกลับไปอยู่ในสภาพเดิมเมื่อปี 43 คือ ซึ่งมีการลงนามร่วมกันทั้ง 2 ประเทศ คือ เห็นด้วยกับความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร
ที่สำคัญคือไทยควรตั้งทีมชี้แจงทำความเข้าใจ แยกเป็น 2 ทีม คือ ทีมวิชาการ ที่ชี้แจงต่อยูเนสโก และทีมการเมืองที่ชี้แจงต่อยูเอ็น แม้ว่ากัมพูชาบอกว่าจะถอนเรื่องจากยูเอ็น แต่เราก็อย่าวางใจ เพราะเป็นผลประโยชน์ของแต่ละประเทศ
“อภิสิทธิ์”พอใจถอนทหาร
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ทางออกของปัญหาเราจะต้องทำหลายเรื่องพร้อมกัน ด่วนสุดคือต้องไม่ให้เกิดความรุนแรงขึ้น ควบคู่ไปกับการรักษาสิทธิเหนือพื้นที่ดังกล่าว เพราะการแสดงความเป็นเจ้าของเพื่อรักษาสิทธิเป็นเรื่องที่ถูกต้อง แต่หากทำแล้วเกิดการปะทะกันขึ้น ก็จะเป็นการเปิดช่องให้กัมพูชานำไปชี้ให้ประชาคมโลกได้เห็นว่าไทยใช้ความรุนแรง ซึ่งจะ เข้าทางกัมพูชาที่จะดึงฝ่ายอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้น จึงต้องทำอย่างรอบคอบ
ทั้งนี้ ตนสนับสนุนแนวทางแก้ปัญหาของรัฐบาลที่จะแก้ไขบนโต๊ะเจรจา ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกต้อง และเป็นการยืนยันต่อชาวโลกว่ากรณีการเจรจาไม่สำเร็จ ก็จะมีการคุยกันต่อไปเรื่อยๆ ไม่มีเหตุผลที่จะใช้ความรุนแรง ที่สำคัญเราสามารถบรรลุผลเรื่องการถอนกำลัง ซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงลงได้ระดับหนึ่ง
นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า เห็นด้วยกับข้อเสนอของนายสุรเกียรติ์ ที่เราจะต้องย้อนกลับไปยังสถานะ เมื่อปี 43 คือ เห็นด้วยกับความเห็นต่างกรณีเขาพระวิหาร ซึ่งในอดีตนั้นกัมพูชาได้ให้แม่ค้า พ่อค้า ขึ้นไปขายของบนตัวปราสาทพระวิหาร แต่ต่อมาเห็นว่าเป็นภาพที่ไม่งดงาม จึงได้ขอขยายพื้นที่การค้าออกมา 10-20 เมตร และได้กินอาณาเขตเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จึงได้มีการเจรจากัน ขอให้แม่ค้าฝั่งไทยเข้าไปขายของด้วย แต่เมื่อขายของไปได้ระยะหนึ่ง ทางกัมพูชาเริ่มมีปัญหาเรื่องขยายเขตแดนเข้ามามาก ทางไทยจึงดึงพ่อค้า แม่ค้าของไทย ออกจากพื้นที่ และผลักดันให้พ่อค้ากัมพูชาถอยกลับไป และหากจะมีการเจรจาเปิดพื้นที่ก็ควรให้พ่อค้าคนไทยเข้าไปมีส่วนร่วมในการค้าขายด้วย
“กรณีแถลงการณ์ร่วมที่อดีต รมว.ต่างประเทศ ไปลงนามไว้นั้น เป็นการรู้กันภายในประเทศไทย ว่า ศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่า การลงนามดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ แต่ในเวทีโลกยังไม่ทราบเรื่องนี้เลย ซึ่งไทยต้องรีบแก้ไขขอยกเลิกทุกเวทีอย่างเร่งด่วน ซึ่งการแก้ไขปัญหาพระวิหาร ประเทศไทยต้องใช้ยุทธศาสตร์ทั้งไม้อ่อน และแข็ง เพื่อเดินไปสู่เป้าหมาย และต้องไม่กระทบสิทธิกันและกัน อยู่บนพื้นฐานที่ประชาชนของทั้ง 2 ประเทศจะต้องได้ประโยชน์สูงสุด”หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว
“หมัก”รับทราบผลเจรจาทวิภาคี
สำหรับในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวานนี้ นายเตช บุนนาค รมว.ต่างประเทศได้เข้ารายงานผลการเจรจาทวิภาคี ระหว่างไทยและกับกัมพูชา เมื่อวันที่ 28 ก.ค. ต่อที่ประชุมครม.
ทั้งนี้ นายณัฐวุฒิ ใสเกื้อ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า นายเตช ได้รายงานผลการเจรจา ความว่า 1.รมว.ต่างประเทศทั้งสองประเทศ เห็นพ้องกันว่า ทั้งสองฝ่ายควรใช้ความอดทนอดกลั้นอย่างที่สุด เพื่อหลีกเลี่ยงโอกาสที่จะเกิดการเผชิญหน้าด้วยกำลังทหาร เพื่อให้ปัญหานี้ได้รับการแก้ไขโดยสันติวิธี โดยใช้กลไกทวิภาคีที่มีอยู่ ซึ่งรวมถึงการหารือระหว่างรมว.ต่างประเทศ และคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ที่จัดตั้งขึ้นตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจ และจัดทำหลักเขตแดนทางบกไทย-กัมพูชา ปี 2543
2.ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันที่จะเสนอรัฐบาลของตนให้ความเห็นชอบจัดประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมฯ ครั้งต่อไปโดยเร็วที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อหารือประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับการสำรวจ และจัดทำหลักเขตแดนในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องภายใต้ข้อกำหนดอำนาจหน้าที่และแผนแม่บทของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (เขาสัตตะโสม-บีพี 1) ภายหลังจากการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศสองฝ่ายคราวหน้า
3.ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันที่จะเสนอรัฐบาลของตนดำเนินการมาตรการชั่วคราวในระหว่างที่รอการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนโดนคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมฯ โดยเป็นไปตามข้อกำหนดตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายภายในของแต่ละประเทศ ดังนี้
3.1 เก็บกู้ทุ่นระเบิดในพื้นที่ที่จะมีการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนโดยคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมฯ โดยการดำเนินการของแต่ละฝ่ายให้เป็นไปอย่างประสานสอดคล้องกัน (Concerted manner)
3.2จัดตั้งชุดประสานงานชั่วคราว ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองฝ่าย เพื่อจัดการกับปัญหาที่เกี่ยวกับพื้นที่ รวมทั้งบริเวณวัด
3.3 ให้ปรับกำลังของฝ่ายตนออกจาก “วัดแก้วสิขาคีรีสะวารา” พื้นที่รอบวัด และปราสาทเขาวิหาร
สำหรับประเทศไทย รัฐบาลจะตัดสินใจทางนโยบายว่าจะปรับกำลังหรือไม่ และฝ่ายทหารจะปฏิบัติตามการตัดสินใจดังกล่าว
4.มาตรการชั่วคราวข้างต้น จะไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของทั้งสองฝ่ายเกี่ยวกับการสำรวจ และจัดทำหลักเขตแดนภายใต้กรอบคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมฯ และท่าทีทางกฎหมายของแต่ละฝ่าย
5.ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะหารือประเด็นอื่นๆ ที่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ในการประชุมครั้งนี้ ในการประชุมรมว.ต่างประเทศครั้งต่อไป
ยังไม่ลงนามกลัวขัด ม.190
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายเตชได้รายงานผลการเจรจาทวิภาคี ว่า เมื่อ 2 ฝ่ายเจรจาความกันจนจบ เมื่อถึงขั้นจะลงนามในข้อตกลงร่วมกัน คณะทำงานของกระทรวงการต่างประเทศ ก็เกิดความวิตกว่า อาจเข้าข่ายสนธิสัญญาตาม มาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ หรือไม่ ดังนั้นทั้ง 2 ฝ่ายจึงต้องบันทึกว่า สิ่งที่ลงนามเป็นเพียงข้อตกลงในหลักการร่วมระหว่างไทยและกัมพูชา ยังไม่มีผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างกัน จนกว่าผู้มีอำนาจทั้ง 2 ประเทศจะพิจารณา ซึ่งเรื่องนี้กระทรวงการต่างประเทศต้องเจรจาโดยใช้หลักการทูต ประกอบกับดูข้อกฎหมายด้วย
เมื่อเกิดปัญหาเช่นนี้ขึ้น ครม.จึงมีมติให้กรมสนธิสัญญาระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เป็นเจ้าภาพ พิจารณา การลงนามในเอกสารระหว่างประเทศใดๆ จะเข้าข่ายมาตรา 190 หรือไม่ ซึ่งตนเป็นผู้ให้ความเห็นต่อ ครม. นอกจากนี้ยังสามารถเชิญผู้แทนจากกระทรวงต่างๆ มาให้ความเห็นได้
อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวมองว่าการลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างรมว.ต่างประเทศไทยและกัมพูชา ที่เกิดขึ้น ถือว่าไม่เข้าข่ายมาตรา 190 แต่เมื่อกระทรวงเป็นห่วง จึงต้องเขียนเนื้อหาแบบเซฟตัวเองไว้ก่อน
พล.ท.สุรพล เผื่อนอัยกา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กล่าวว่า ที่ประชุมครม. พอใจกับผลการเจรจาระหว่างกรกระทรวงการต่างประเทศของไทย และกัมพูชา โดยได้กล่าวชื่นชมนายเตช ที่เจรจา และสามารถแก้ปัญหาได้เปลาะหนึ่ง ซึ่งคงจะมีการเจรจากันอีกหลายครั้งในระดับท้องถิ่น และรัฐมนตรี แต่คงไม่ถึงขั้นนายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศมาคุยกัน ส่วนการเจรจาครั้งต่อไปยังไม่มีกำหนด อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้จะมีการตั้งคณะทำงานระยะยาวเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ต่อไป
ตั้ง“ดร.มนัสพาสน์ ชูโต”ที่ปรึกษา“เตช”
น.ส.ศุภรัตน์ นาคบุญนาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุม ครม.ว่า ครม.ได้มีมติแต่งตั้งข้าราชการการเมือง ทั้งนี้ตามที่ได้มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง รมว.ต่างประเทศ ลงวันที่ 26 ก.ค. 51 กระทรวงการต่างประเทศ ขอเสนอแต่งตั้งข้าราชการการเมือง คือ ดร.มนัสพาสน์ ชูโต เป็นที่ปรึกษา รมว.ต่างประเทศ
ผบ.ทบ.รอรัฐบาลสั่งถอนทหาร
พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. กล่าวถึงกรณีในที่ประชุมพิจารณาข้อพิพาทเกี่ยวกับปราสาทเขาพระวิหาร มีมติให้ไทยและกัมพูชาถอนกำลังออกจากพื้นที่ เพื่อลดความตึงเครียดว่า ตอนนี้รอดีกว่า คงไม่ต้องถึงขั้นให้ตนไปสั่งการก่อน และจากผลจากการประชุมนั้น ยังไม่เป็นการปฏิบัติที่ต้องดำเนินการ เพราะจะต้องให้รัฐบาลสั่งการก่อน กองทัพจึงจะดำเนินการ ทั้งนี้แนวทางที่ออกมาน่าจะเป็นการลดปัญหาความตึงเครียดในพื้นที่ได้ และทั้งสองฝ่ายก็มีแนวทางปฏิบัติที่จะช่วยลดความตึงเครียดและทำให้สถานการณ์ในพื้นที่ดีขึ้น
แนะตั้งคณะกรรมการเจรจา
พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผบ.ทอ. กล่าวว่า การเจรจาไม่สามารถที่จะใช้เวลาสั้นๆ และจะคลี่คลายทุกอย่างได้ หากสองฝ่ายมีความจริงใจกัน ก็ไม่มีปัญหา และจะเป็นผลดีต่อทั้งสองประเทศ ทั้งนี้คนที่ทะเลาะกัน ไม่ถึงขั้นที่จะต้องเอากรรมการมา แต่เราสามารถคุยกันได้แบบผู้ใหญ่ จะทำให้สถานการณ์จบได้เร็ว เพราะหากมีคนตายขึ้นมาจะกลายเป็นคู่ต่อสู้ ทั้งนี้เราจะต้องทำให้ต่อเนื่อง หากปล่อยไปจะทำให้เกิดปัญหา ซึ่งปัญหานี้ถือเป็นปัญหาของชาติ ดังนั้นต้องตั้งคณะกรรมการที่แน่นอน และสามารถจะทำได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งใจตนน่าจะเป็นคณะกรรมการระหว่างสองประเทศคือ ไทย-กัมพูชา เพราะเป็นการทะเลาะกันของคนข้างบ้าน เป็นเรื่องธรรมดา และหากใครเข้ามาทุบตีกัน จึงจะเรียกตำรวจ แต่หากมีการพูดคุยกันได้ในระหว่าง 2 บ้านถือว่าจบเรียบร้อย
30 ส.ว.ส่งจดหมายประณามยูเนสโก
ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต ส.ว.สรรหา ในฐานะรองประธาน กมธ. การต่างประเทศ วุฒิสภา แถลงว่า คณะ ส.ว.30 คนได้ร่วมกันลงนาม ในจดหมายเปิดผนึกเพื่อส่งไปยังคณะทูตานุทูต ผู้แทนกงสุลประเทศต่างๆ รวมทั้งผู้แทน 21 ประเทศ ที่เป็นกรรมการตัดสินมรดกโลก ในยูเนสโก โดยมีเนื้อหาว่า ยูเนสโก มีภารกิจสำคัญในการส่งเสริมสันติภาพระหว่างประเทศและการเคารพต่อกันทางสากลในหมู่ประชาชาติต่างๆ และเพื่อสร้างบรรยากาศของการหารือร่วมกันอย่างจริงใจ โดยยึดหลักการให้เกียรติต่อกันและกัน เคารพในศักดิ์ศรีของอารยธรรม และวัฒนธรรมของแต่ละฝ่าย แต่การตัดสินขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกให้กับกัมพูชาเพียงฝ่ายเดียว เป็นการกระทำที่ตรงกันข้ามกับหลักการพื้นฐานขององค์การอย่างสิ้นเชิง ก่อให้เกิดความตึงเครียดในภูมิภาคในระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในกลายทศวรรษ ซึ่งอาจก่อให้เกิดภัยร้ายแรงได้
“เราจึงขอประณามคำตัดสินของคณะกรรมการมรดกโลก และยูเนสโก ว่าเป็นคำตัดสินที่แสดงถึงวิสัยทัศน์อันสั้น ขาดความเป็นกลาง มีเจตนาโน้มเอียงทางการเมืองและเป็นการกระทำที่ขัดต่ออุดมการณ์ของยูเนสโก เอง ทั้งที่ยูเนสโก มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสันติภาพและความร่วมมือระหว่างประเทศ เมื่อยูเนสโกไม่ปฏิบัติตามหลักการ แต่พยายามบงการประเทศอื่นๆ รัฐบาลไทยอาจจะประท้วงด้วยการลาออกจากการเป็นสมาชิกของมรดกโลกได้”รองประธานกมธ.การต่างประเทศ วุฒิสภา กล่าว
นอกจากนี้ ม.ร.ว.ปรียนันทนา ยังเสนอว่า รัฐบาลควรไปเพิกถอนแถลงการณ์ร่วมในส่วนของไทย ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญชี้ออกมาว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ แม้จะไม่มีผลที่จะเปลี่ยนแปลงการตัดสินของคณะกรรมการมรดกโลก แต่อย่างน้อยหากมีข้อพิพาทในกรณีปราสาทพระวิหาร หรือพื้นที่ที่ต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิอธิปไตย ขึ้นสู่ศาลโลก ไทยก็สามารถยืนยันว่าเราไม่ได้ยอมรับในสิทธิที่กัมพูชาอ้าง แต่ถ้าเราไม่ถอนแถลงการณ์ร่วม หากข้อพิพาทขึ้นศาลโลกเราก็คงแพ้อีกเช่นเคย
“ฮุนเซน”ลั่นพร้อมถอนทหาร
นายกรัฐมนตรีกัมพูชาสมเด็จฯ ฮุนเซน กล่าวในกรุงพนมเปญเมื่อวันอังคาร (29 ก.ค.) ว่า กัมพูชาพร้อมแล้วที่จะถอนทหารออกจากดินแดนพิพาท แต่ก็แสดงทาทีทำเงื่อนไขต่อท้ายเอาไว้ว่า ฝ่ายไทยต้องถอนก่อน
“สำหรับเราไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ปัญหาขึ้นอยู่กับประเทศไทยที่จะตัดสินใจ สำหรับเรา พร้อมทุกเมื่อ ปัญหาก็คือช่วงเวลาและอีกยาวนานแค่ไหนฝ่ายไทยจึงจัดทำการตัดสินใจทางการเมืองโดย รัฐบาลได้”สมเด็จฯฮุนเซน กล่าว
การเจรจาระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศของไทยและกัมพูชาในเมืองเสียมราฐเมื่อวันจันทร์ สองฝ่ายได้ตกลงจะพิจารณาถอนทหารออกจากเขตแดนพิพาทเขาพระวิหาร ซึ่งทหารของสองฝ่ายกว่า 2,000 คน เผชิญหน้ากันมาเป็นเวลา 2 สัปดาห์
รมว.ต่างประเทศไทย นายเตช บุนนาค กับ นายฮอร์นังฮอง รองนายกฯ และ รมว.ต่างประเทศกัมพูชาได้เจรจากันเป็นเวลา 12 ชั่วโมงในวันจันทร์ สองฝ่ายกล่าวว่าจะกลับไปปรึกษากับรัฐบาลเกี่ยวกับการถอนทหาร