ผู้จัดการรายวัน – นายกสมาคมบลจ. วาดฝัน 5 - 6 ปีข้างหน้า ตั้งเป้าดันกองทุนรวมทั้งระบบโตเท่าตัว จากปัจจุบันที่มีสินทรัพย์รวม 2.23 ล้านล้านบาท ระบุหลัง พ.ร.บ. คุ้มครองเงินฝากเริ่มมีผลบังคับใช้ จะเป็นตัวขับเคลื่อนให้กับกองทุนรวม โดยเฉพาะมันนี่มาร์เก็ต วอนภาครัฐเห็นใจ ให้ความคุ้มครองถึงเงินฝากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและอาร์เอ็มเอฟ เช่นเดียวกบข. และประกันสังคม พร้อมขอให้ ก.ล.ต. ร่วมผลักดันกองทุนรวมเพื่อการศึกษา ควบคู่การเสนอให้สภาธุรกิจตลาดทุนไทยพิจารณาด้วย
นางวรวรรณ ธาราภูมิ นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC) และกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บัวหลวง จำกัด เปิดเผยว่า ในช่วง 5 – 6 ปีข้างหน้านี้ สมาคมฯ คาดว่า อุตสาหกรรมกองทุนรวมจะมีการเติบโตเพิ่มขึ้นอีกเป็นเท่าตัวจากปัจจุบันที่มีมูลค่าเงินลงทุนรวมทั้งระบบอยู่ทั้งสิ้น 2.23 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นบัญชี 3.40 ล้านบัญชี โดยแบ่งออกเป็นธุรกิจกองทุนรวม 1.61 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นจำนวน 1.48 ล้านบัญชี , กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีจำนวน 0.44 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 1.92 ล้านบัญชี และกองทุนส่วนบุคคล 0.18 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 1,185 บัญชี
สำหรับแนวโน้มการขยายตัวในช่วงครึ่งปีหลังนี้ คาดว่าอุตสาหกรรมกองทุนรวมจะยังคงมีการเติบโตมากกว่าช่วงครึ่งปีแรก เนื่องจากในช่วงปลายปีนักลงทุนจะให้การตอบรับเข้ามาลงทุนกับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (อาร์เอ็มเอฟ) และกองทุนหุ้นระยะยาว (แอลทีเอฟ)
ขณะเดียวกัน หลังจากที่มี พ.ร.บ. สถาบันคุ้มครองเงินฝากเริ่มมีผลบังคับใช้ เชื่อว่าในช่วง 1 -2 ปีข้างหน้านี้จะส่งผลให้กองทุนรวมตลาดเงิน (มันนี่มาร์เกต) มีการเติบโตเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากกองทุนประเภทดังกล่าวมีสภาพคล่องใกล้เคียงกับเงินฝาก อีกทั้งยังสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าและยังไม่ต้องเสียภาษีอีกด้วย ซึ่งเม็ดเงินในกองทุนมันนี่มาร์เกตจะไหลเข้ามาเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ ปัจจุบันเงินฝากเงินแบบประเภทออมทรัพย์และแบบกระแสรายวันมีอยู่ประมาณ 3.3 ล้านล้านบาท ขณะเดียวกันเงินฝากทั้งระบบมีอยู่ทั้งสิ้น 6.93 ล้านล้านบาท
"หลังจากที่ พ.ร.บ. สถาบันคุ้มครองเงินฝากมีผลบังคับใช้แล้ว เชื่อว่าทุกคนจะต้องมีการปรับตัวและเรียนรู้เทคโนโลยี ตลอดจนเตรียมความพร้อมทั้งในด้านของบุคลากรและระบบการทำงานให้ทันกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมถึงต้องทำการศึกษา พ.ร.บ. ดังกล่าวให้รอบครอบด้วย นอกจากนี้แล้วต้องมีการรวมตัวกันของธุรกิจให้ใหญ่ขึ้น เพื่อรองรับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นในอนาคต" นางวรวรรณ กล่าว
นางวรวรรณ กล่าวว่า พ.ร.บ. ดังกล่าวควรจะคุ้มครองให้ครอบคลุมไปถึงเงินฝากของกองทุนส่วนบุคคล กองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (อาร์เอ็มเอฟ) แทนที่จะคุ้มครองให้กับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และประกันสังคม(สปส.) เท่านั้น เพื่อให้เกิดความยุติธรรมในทุก ๆ ฝ่าย อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าภาครัฐจะมีเหตุมีผลและคิดอย่างรอบครอบในการที่จะคุ้มครองกองทุนใดบ้างและต้องมีความเท่าเทียมกันด้วย ทั้งนี้ทางสมาคมฯ จะทำเรื่องเพื่อร้องขอความคุ้มครองในส่วนนี้ด้วย
สำหรับแนวคิดในการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อการศึกษา ถือว่าเป็นเรื่องที่มีประโยชน์เป็นอย่างมาก แต่ในช่วงที่ผ่านมาพบว่า ยังไม่มีใครนำเรื่องเสนอเข้าไปพิจารณา สมาคมฯ จึงอยากให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ตั้งใจที่จะทำการผลักดันในเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นด้วย ทั้งนี้ ในส่วนของ สมาคมฯ เองได้เล็งเห็นแล้วว่า กองทุนดังกล่าวเป็นประโยชน์และจะนำเสนอเข้าไปในสภาธุรกิจตลาดทุนต่อไป
"จะเห็นได้ว่ากองทุนรวมเพื่อการศึกษาในสหรัฐอเมริกาได้รับการตอบรับและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะจะเห็นได้ว่าจากการเติบโตในช่วงที่ผ่านมา จากปี 1998 มีเพียง 3 กองทุนเท่านั้น จนมาถึงช่วงสิ้นปี 2007 กองทุนดังกล่าวมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 130 กองทุน โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิรวมกันทั้งสิ้น 4.42 ล้านล้านบาท" นางวรวรรณ กล่าว
ด้านนายกฤษดา อุทยานิน ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า สำหรับเรื่อง พ.ร.บ. สถาบันคุ้มครองเงินฝาก ที่จะเริ่มมีผลบังคับใช้ เชื่อว่ายังคงไม่มีธนาคารไหนจะล้มลง อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าทุกธนาคารคงจะต้องมีการปรับตัวเพื่อรองรับกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น ขณะเดียวกันยังมีความเป็นไปได้ทั้ง 2 ด้าน ที่เงินจากธนาคารขนาดใหญ่จะไหลไปยังธนาคารขนาดเล็ก และเงินจากธนาคารขนาดเล็กจะไหลมายังธนาคารขนาดใหญ่ แต่อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าธนาคารของรัฐน่าจะได้รับประโยชน์มากกว่า เพราะมีความแข็งแกร่งและมั่นคงในด้านของเงินทุนสำรอง โดยเฉพาะธนาคารออมสินซึ่งได้รับเงินสนับสนุนตั้งแต่การก่อตั้งในสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งในปัจจุบันมีเงินกองทุนสำรองอยู่กว่า 20% จึงสะท้อนถึงความมั่นคงของแบงก์ดังกล่าวได้
นางวรวรรณ ธาราภูมิ นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC) และกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บัวหลวง จำกัด เปิดเผยว่า ในช่วง 5 – 6 ปีข้างหน้านี้ สมาคมฯ คาดว่า อุตสาหกรรมกองทุนรวมจะมีการเติบโตเพิ่มขึ้นอีกเป็นเท่าตัวจากปัจจุบันที่มีมูลค่าเงินลงทุนรวมทั้งระบบอยู่ทั้งสิ้น 2.23 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นบัญชี 3.40 ล้านบัญชี โดยแบ่งออกเป็นธุรกิจกองทุนรวม 1.61 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นจำนวน 1.48 ล้านบัญชี , กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีจำนวน 0.44 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 1.92 ล้านบัญชี และกองทุนส่วนบุคคล 0.18 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 1,185 บัญชี
สำหรับแนวโน้มการขยายตัวในช่วงครึ่งปีหลังนี้ คาดว่าอุตสาหกรรมกองทุนรวมจะยังคงมีการเติบโตมากกว่าช่วงครึ่งปีแรก เนื่องจากในช่วงปลายปีนักลงทุนจะให้การตอบรับเข้ามาลงทุนกับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (อาร์เอ็มเอฟ) และกองทุนหุ้นระยะยาว (แอลทีเอฟ)
ขณะเดียวกัน หลังจากที่มี พ.ร.บ. สถาบันคุ้มครองเงินฝากเริ่มมีผลบังคับใช้ เชื่อว่าในช่วง 1 -2 ปีข้างหน้านี้จะส่งผลให้กองทุนรวมตลาดเงิน (มันนี่มาร์เกต) มีการเติบโตเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากกองทุนประเภทดังกล่าวมีสภาพคล่องใกล้เคียงกับเงินฝาก อีกทั้งยังสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าและยังไม่ต้องเสียภาษีอีกด้วย ซึ่งเม็ดเงินในกองทุนมันนี่มาร์เกตจะไหลเข้ามาเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ ปัจจุบันเงินฝากเงินแบบประเภทออมทรัพย์และแบบกระแสรายวันมีอยู่ประมาณ 3.3 ล้านล้านบาท ขณะเดียวกันเงินฝากทั้งระบบมีอยู่ทั้งสิ้น 6.93 ล้านล้านบาท
"หลังจากที่ พ.ร.บ. สถาบันคุ้มครองเงินฝากมีผลบังคับใช้แล้ว เชื่อว่าทุกคนจะต้องมีการปรับตัวและเรียนรู้เทคโนโลยี ตลอดจนเตรียมความพร้อมทั้งในด้านของบุคลากรและระบบการทำงานให้ทันกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมถึงต้องทำการศึกษา พ.ร.บ. ดังกล่าวให้รอบครอบด้วย นอกจากนี้แล้วต้องมีการรวมตัวกันของธุรกิจให้ใหญ่ขึ้น เพื่อรองรับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นในอนาคต" นางวรวรรณ กล่าว
นางวรวรรณ กล่าวว่า พ.ร.บ. ดังกล่าวควรจะคุ้มครองให้ครอบคลุมไปถึงเงินฝากของกองทุนส่วนบุคคล กองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (อาร์เอ็มเอฟ) แทนที่จะคุ้มครองให้กับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และประกันสังคม(สปส.) เท่านั้น เพื่อให้เกิดความยุติธรรมในทุก ๆ ฝ่าย อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าภาครัฐจะมีเหตุมีผลและคิดอย่างรอบครอบในการที่จะคุ้มครองกองทุนใดบ้างและต้องมีความเท่าเทียมกันด้วย ทั้งนี้ทางสมาคมฯ จะทำเรื่องเพื่อร้องขอความคุ้มครองในส่วนนี้ด้วย
สำหรับแนวคิดในการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อการศึกษา ถือว่าเป็นเรื่องที่มีประโยชน์เป็นอย่างมาก แต่ในช่วงที่ผ่านมาพบว่า ยังไม่มีใครนำเรื่องเสนอเข้าไปพิจารณา สมาคมฯ จึงอยากให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ตั้งใจที่จะทำการผลักดันในเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นด้วย ทั้งนี้ ในส่วนของ สมาคมฯ เองได้เล็งเห็นแล้วว่า กองทุนดังกล่าวเป็นประโยชน์และจะนำเสนอเข้าไปในสภาธุรกิจตลาดทุนต่อไป
"จะเห็นได้ว่ากองทุนรวมเพื่อการศึกษาในสหรัฐอเมริกาได้รับการตอบรับและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะจะเห็นได้ว่าจากการเติบโตในช่วงที่ผ่านมา จากปี 1998 มีเพียง 3 กองทุนเท่านั้น จนมาถึงช่วงสิ้นปี 2007 กองทุนดังกล่าวมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 130 กองทุน โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิรวมกันทั้งสิ้น 4.42 ล้านล้านบาท" นางวรวรรณ กล่าว
ด้านนายกฤษดา อุทยานิน ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า สำหรับเรื่อง พ.ร.บ. สถาบันคุ้มครองเงินฝาก ที่จะเริ่มมีผลบังคับใช้ เชื่อว่ายังคงไม่มีธนาคารไหนจะล้มลง อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าทุกธนาคารคงจะต้องมีการปรับตัวเพื่อรองรับกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น ขณะเดียวกันยังมีความเป็นไปได้ทั้ง 2 ด้าน ที่เงินจากธนาคารขนาดใหญ่จะไหลไปยังธนาคารขนาดเล็ก และเงินจากธนาคารขนาดเล็กจะไหลมายังธนาคารขนาดใหญ่ แต่อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าธนาคารของรัฐน่าจะได้รับประโยชน์มากกว่า เพราะมีความแข็งแกร่งและมั่นคงในด้านของเงินทุนสำรอง โดยเฉพาะธนาคารออมสินซึ่งได้รับเงินสนับสนุนตั้งแต่การก่อตั้งในสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งในปัจจุบันมีเงินกองทุนสำรองอยู่กว่า 20% จึงสะท้อนถึงความมั่นคงของแบงก์ดังกล่าวได้