แหล่งข่าว จากกองทัพบกแจ้งว่า นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้เซ็นอนุมัติ เมื่อวันที่ 11 ก.ค. ที่ผ่านมา ให้กองทัพบก (ทบ.) จัดซื้อยานเกราะล้อยาง BTR –3 E 1 แบบต่างๆ จำนวน 96 คัน พร้อมระบบการฝึกศึกษา อบรม การถ่ายทอดเทคโนโลยีและระบบการซ่อมบำรุง โดยวิธีรัฐบาลต่อรัฐบาล กับรัฐบาลประเทศ ยูเครน ในราคารวมค่าขนส่งถึงสถานที่ที่ทบ.กำหนด ยกเว้นภาษีอากรทุกชนิด รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 114,270,100 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 3,898,892,400 บาท (อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.12 บาท) ทั้งนี้ ตามที่ปลัดกระทรวงกลาโหม เสนอเรื่องเพื่อพิจารณาอนุมัติเมื่อวันที่ 15 เม.ย. 51
เรื่องนี้เคยนำเสนอเข้าครม.มาแล้วในสมัยรัฐบาล พล.อ.สรุยุทธ์ จุลานนท์ ซึ่งขณะนั้น พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ เป็นรมว.กลาโหม เพื่อขออนุมัติจัดซื้อและผูกพันงบประมาณ แต่เป็นกระบวนการเสนอเรื่องเข้าครม.ไม่ถูกต้องตามขั้นตอน เนื่องจากไม่ผ่านการพิจารณาของรองปลัดกระทรวงกลาโหม สายดูแลเรื่องยุทธโธปกรณ์ คือ พล.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน ช่วงนั้น พล.อ.บรรณวิทย์ ออกมาท้วงติงการจัดซื้อครั้งนี้ว่ายังมีปัญหา สตง. ตรวจสอบพบความไม่โปร่งใส ผลจากการเข้ามาขวางจึงทำให้มีการโยกย้าย พล.อ.บรรณวิทย์ ออกไปจากตำแหน่งรองปลัดกลาโหม
ดังนั้น ถึงแม้ครม.จะอนุมัติในหลักการแล้ว แต่กระทรวงกลาโหม โดยพล.อ.บุญรอด ก็สั่งการให้ทบทวนเรื่องนี้ใหม่อีกครั้ง กระทั่งท้ายที่สุด ทางกองทัพบก ยังยืนยันการจัดซื้อและในที่สุดนายสมัคร ก็เป็นผู้เซ็นอนุมัติ
เรื่องนี้เคยนำเสนอเข้าครม.มาแล้วในสมัยรัฐบาล พล.อ.สรุยุทธ์ จุลานนท์ ซึ่งขณะนั้น พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ เป็นรมว.กลาโหม เพื่อขออนุมัติจัดซื้อและผูกพันงบประมาณ แต่เป็นกระบวนการเสนอเรื่องเข้าครม.ไม่ถูกต้องตามขั้นตอน เนื่องจากไม่ผ่านการพิจารณาของรองปลัดกระทรวงกลาโหม สายดูแลเรื่องยุทธโธปกรณ์ คือ พล.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน ช่วงนั้น พล.อ.บรรณวิทย์ ออกมาท้วงติงการจัดซื้อครั้งนี้ว่ายังมีปัญหา สตง. ตรวจสอบพบความไม่โปร่งใส ผลจากการเข้ามาขวางจึงทำให้มีการโยกย้าย พล.อ.บรรณวิทย์ ออกไปจากตำแหน่งรองปลัดกลาโหม
ดังนั้น ถึงแม้ครม.จะอนุมัติในหลักการแล้ว แต่กระทรวงกลาโหม โดยพล.อ.บุญรอด ก็สั่งการให้ทบทวนเรื่องนี้ใหม่อีกครั้ง กระทั่งท้ายที่สุด ทางกองทัพบก ยังยืนยันการจัดซื้อและในที่สุดนายสมัคร ก็เป็นผู้เซ็นอนุมัติ