เอเอฟพี - ราโดวัน คาราจิช ผู้นำชาวเซิร์บในบอสเนีย ระหว่างช่วงสงครามกลางเมืองปี 1992-1995 และเป็นบุคคลที่โลกต้องการตัวมากที่สุดผู้หนึ่ง ถูกจับกุมตัวได้แล้วเมื่อวันจันทร์ (21) หลังจากหลบหนีคดีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาตินานร่วม 13 ปี
แถลงการณ์จากสำนักประธานาธิบดีบอริส ทาดิช แห่งเซอร์เบีย ในคืนวันจันทร์ระบุว่า หน่วยรักษาความปลอดภัยของเซอร์เบียได้จับกุมตัวคาราจิช ซึ่งปัจจุบันอายุ 63 ปี และได้รับการขนานนามว่าเป็น "อุซามะห์ บิน ลาเดน แห่งยุโรป" ได้สำเร็จ เจ้าหน้าที่ผู้หนึ่งระบุว่าคาราจิชอยู่ในสภาพ "ซึมเศร้า" แต่ "ไม่ได้ขัดขืน" การจับกุมแต่อย่างใด
หลังจากนั้น เขาถูกนำตัวไปส่งให้ผู้พิพากษาทำหน้าที่ไต่สวนของศาลคดีอาชญากรรมสงครามที่กรุงเบลเกรด โดยเป็นที่คาดหมายกันว่าเขาจะถูกส่งตัวต่อไปยังศาลอาชญากรรมระหว่างประเทศสำหรับอดีตประเทศยูโกสลาเวีย (ไอซีทีวาย) ที่กรุงเฮก
คาราจิชเป็นคนใกล้ชิดกับของอดีตประธานาธิบดีสโลโบดาน มิโลเซวิช แห่งยูโกสลาเวีย ซึ่งเสียชีวิตในระหว่างถูกคุมขังที่กรุงเฮกเมื่อปี 2006 ก่อนที่ไอซีทีวายจะตัดสินคดีของเขา
คาราจิชและราตโก มลาดิช อดีตผู้บัญชาการกองทัพบก ได้หลบหนีการพิจารณาคดีของไอซีทีวาย ตั้งแต่เมื่อปี 1995 โดยทั้งสองถูกกล่าวหาในคดีอาชญากรสงคราม ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติในช่วงสงครามบอสเนียระหว่างปี 1992-1995
ทั้งนี้ ข้อกล่าวหาต่อคาราจิชที่ร้ายแรงที่สุด ก็คือ กรณีเข้ายึดครองกรุงซาราเจโว เมืองหลวงของบอสเนีย เป็นเวลา 43 เดือน และมีการสังหารพลเรือนไปถึงราว 10,000 คน รวมทั้งเกิดกรณีสังหารหมู่ประชาชนที่เมืองเซรเบรนิกา ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของบอสเนีย
การจับกุมตัวคนทั้งสองให้ได้ เป็นเงื่อนไขสำคัญที่สหภาพยุโรป(อียู)เรียกร้องจากเซอร์เบีย ก่อนที่จะพิจารณายอมรับอดีตรัฐในสหพันธรัฐยูโกสลาเวียแห่งนี้ เข้าเป็นสมาชิกของอียู และการจับกุมตัวคาราจิชก็มีขึ้นสองสัปดาห์ ภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ภายใต้การนำของประธานาธิบดีทาดิชซึ่งสนับสนุนการเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป
ส่วนผู้หลบหนีคดีของศาลอาชญากรรมระหว่างประเทศอีกสองรายที่เหลือ นอกจากมลาดิชซึ่งอยู่ในวัย 65 ปีแล้ว ก็มี โกราน ฮาจิช วัย 49 ปี อดีตนักการเมืองชาวเซิร์บที่ต้องการให้มี "การล่างเผ่าพันธุ์" ยกเว้นในโครเอเชีย
การจับกุมตัวคาราจิชได้รับการขานรับทันทีจากสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และศาลไอซีทีวาย รวมทั้งสมาคมผู้ให้กำเนิดของเหยื่อที่เสียชีวิตในเหตุการณ์สังหารหมู่เซรเบรนิกาในปี 1995
บันคีมุน เลขาธิการสหประชาชาติกล่าวถึงการจับกุมตัวคาราจิชในครั้งนี้ว่าเป็น "ช่วงเวลาในประวัติศาสตร์สำหรับเหยื่อที่เฝ้ารอคอยการนำตัวนายคาราจิชเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมมานานถึง 13 ปี" และยังกล่าวชมทางการของเซอร์เบียที่ใช้มาตรการเด็ดขาดเพื่อไม่ให้อาชญากรสงครามหลบหนีไปอย่างลอยนวล
ขณะเดียวกัน เซอร์เก บรามเมิร์ตซ์ หัวหน้าอัยการคดีอาชญากรรมสงครามประจำสหประชาชาติ ได้กล่าวชมเชยรัฐบาลเซอร์เบียเช่นกัน
ส่วนทำเนียบขาวได้ออกแถลงการณ์ระบุว่า "การจับกุมตัวอาชญากรครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาอันเหมาะสม คือ เพียงไม่กี่วันหลังจากการรำลึกถึงเหตุการณ์สังหารหมู่ชาวบอสเนียกว่า 7,000 คนในเซรเบรนิกา และจะไม่มีสิ่งอื่นใดที่จะมอบให้แก่เหยื่อผู้เคราะห์ร้ายได้ดีไปกว่าการนำเอาตัวผู้กระทำผิดขึ้นสู่ศาล"
ฝรั่งเศสซึ่งเป็นประธานสหภาพยุโรปวาระปัจจุบัน กล่าวถึงการจับกุมตัวคาราจิชว่าเป็น "ขั้นตอนสำคัญ" ของเซอร์เบียบนเส้นทางเข้าสู่การเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปต่อไป ส่วนรัฐบาลเซอร์เบียนั้นก็หวังว่าจะได้สิทธิสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปภายในสิ้นปีนี้ และได้รับสมาชิกภาพโดยสมบูรณ์ภายในปี 2012
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีเสียงขานรับการจับกุมตัวคาราจิชจากนานาชาติรวมทั้งจากญาติของเหยื่อสงคราม ทว่าในวันอังคาร (22) ก็มีกลุ่มผู้คลั่งชาติราว 50 คนชุมนุมกันประท้วงการจับกุมตัวครั้งนี้ที่หน้าศาลอาชญากรรมสงครามในกรุงเบลเกรด โดยมีเจ้าหน้าที่คอยรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด
แถลงการณ์จากสำนักประธานาธิบดีบอริส ทาดิช แห่งเซอร์เบีย ในคืนวันจันทร์ระบุว่า หน่วยรักษาความปลอดภัยของเซอร์เบียได้จับกุมตัวคาราจิช ซึ่งปัจจุบันอายุ 63 ปี และได้รับการขนานนามว่าเป็น "อุซามะห์ บิน ลาเดน แห่งยุโรป" ได้สำเร็จ เจ้าหน้าที่ผู้หนึ่งระบุว่าคาราจิชอยู่ในสภาพ "ซึมเศร้า" แต่ "ไม่ได้ขัดขืน" การจับกุมแต่อย่างใด
หลังจากนั้น เขาถูกนำตัวไปส่งให้ผู้พิพากษาทำหน้าที่ไต่สวนของศาลคดีอาชญากรรมสงครามที่กรุงเบลเกรด โดยเป็นที่คาดหมายกันว่าเขาจะถูกส่งตัวต่อไปยังศาลอาชญากรรมระหว่างประเทศสำหรับอดีตประเทศยูโกสลาเวีย (ไอซีทีวาย) ที่กรุงเฮก
คาราจิชเป็นคนใกล้ชิดกับของอดีตประธานาธิบดีสโลโบดาน มิโลเซวิช แห่งยูโกสลาเวีย ซึ่งเสียชีวิตในระหว่างถูกคุมขังที่กรุงเฮกเมื่อปี 2006 ก่อนที่ไอซีทีวายจะตัดสินคดีของเขา
คาราจิชและราตโก มลาดิช อดีตผู้บัญชาการกองทัพบก ได้หลบหนีการพิจารณาคดีของไอซีทีวาย ตั้งแต่เมื่อปี 1995 โดยทั้งสองถูกกล่าวหาในคดีอาชญากรสงคราม ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติในช่วงสงครามบอสเนียระหว่างปี 1992-1995
ทั้งนี้ ข้อกล่าวหาต่อคาราจิชที่ร้ายแรงที่สุด ก็คือ กรณีเข้ายึดครองกรุงซาราเจโว เมืองหลวงของบอสเนีย เป็นเวลา 43 เดือน และมีการสังหารพลเรือนไปถึงราว 10,000 คน รวมทั้งเกิดกรณีสังหารหมู่ประชาชนที่เมืองเซรเบรนิกา ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของบอสเนีย
การจับกุมตัวคนทั้งสองให้ได้ เป็นเงื่อนไขสำคัญที่สหภาพยุโรป(อียู)เรียกร้องจากเซอร์เบีย ก่อนที่จะพิจารณายอมรับอดีตรัฐในสหพันธรัฐยูโกสลาเวียแห่งนี้ เข้าเป็นสมาชิกของอียู และการจับกุมตัวคาราจิชก็มีขึ้นสองสัปดาห์ ภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ภายใต้การนำของประธานาธิบดีทาดิชซึ่งสนับสนุนการเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป
ส่วนผู้หลบหนีคดีของศาลอาชญากรรมระหว่างประเทศอีกสองรายที่เหลือ นอกจากมลาดิชซึ่งอยู่ในวัย 65 ปีแล้ว ก็มี โกราน ฮาจิช วัย 49 ปี อดีตนักการเมืองชาวเซิร์บที่ต้องการให้มี "การล่างเผ่าพันธุ์" ยกเว้นในโครเอเชีย
การจับกุมตัวคาราจิชได้รับการขานรับทันทีจากสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และศาลไอซีทีวาย รวมทั้งสมาคมผู้ให้กำเนิดของเหยื่อที่เสียชีวิตในเหตุการณ์สังหารหมู่เซรเบรนิกาในปี 1995
บันคีมุน เลขาธิการสหประชาชาติกล่าวถึงการจับกุมตัวคาราจิชในครั้งนี้ว่าเป็น "ช่วงเวลาในประวัติศาสตร์สำหรับเหยื่อที่เฝ้ารอคอยการนำตัวนายคาราจิชเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมมานานถึง 13 ปี" และยังกล่าวชมทางการของเซอร์เบียที่ใช้มาตรการเด็ดขาดเพื่อไม่ให้อาชญากรสงครามหลบหนีไปอย่างลอยนวล
ขณะเดียวกัน เซอร์เก บรามเมิร์ตซ์ หัวหน้าอัยการคดีอาชญากรรมสงครามประจำสหประชาชาติ ได้กล่าวชมเชยรัฐบาลเซอร์เบียเช่นกัน
ส่วนทำเนียบขาวได้ออกแถลงการณ์ระบุว่า "การจับกุมตัวอาชญากรครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาอันเหมาะสม คือ เพียงไม่กี่วันหลังจากการรำลึกถึงเหตุการณ์สังหารหมู่ชาวบอสเนียกว่า 7,000 คนในเซรเบรนิกา และจะไม่มีสิ่งอื่นใดที่จะมอบให้แก่เหยื่อผู้เคราะห์ร้ายได้ดีไปกว่าการนำเอาตัวผู้กระทำผิดขึ้นสู่ศาล"
ฝรั่งเศสซึ่งเป็นประธานสหภาพยุโรปวาระปัจจุบัน กล่าวถึงการจับกุมตัวคาราจิชว่าเป็น "ขั้นตอนสำคัญ" ของเซอร์เบียบนเส้นทางเข้าสู่การเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปต่อไป ส่วนรัฐบาลเซอร์เบียนั้นก็หวังว่าจะได้สิทธิสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปภายในสิ้นปีนี้ และได้รับสมาชิกภาพโดยสมบูรณ์ภายในปี 2012
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีเสียงขานรับการจับกุมตัวคาราจิชจากนานาชาติรวมทั้งจากญาติของเหยื่อสงคราม ทว่าในวันอังคาร (22) ก็มีกลุ่มผู้คลั่งชาติราว 50 คนชุมนุมกันประท้วงการจับกุมตัวครั้งนี้ที่หน้าศาลอาชญากรรมสงครามในกรุงเบลเกรด โดยมีเจ้าหน้าที่คอยรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด