ผู้จัดการรายวัน - หลังพิงฝา หมอเลี้ยบสั่ง สศค.ศึกษาแนวทางลดภาษีนิติบุคคลกระตุ้นลงทุน เผยรัฐบาลเตรียมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะยาวเพิ่ม คาดครึ่งปีหลังเศรษฐกิจโตไตรมาสละ 5.3-5.5% ทั้งปีจีดีพีอยู่ในกรอบ 5-6%
นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ในการประชุมเรื่องการปรับโครงสร้างภาษี ที่กระทรวงการคลัง เมื่อวานนี้ (21 ก.ค.) นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง มอบหมายให้ศึกษาความเป็นไปได้ถึงแนวทางการลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ส่งเสริมการลงทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันรัฐบาลก็เตรียมจะออกมาตรการระยะกลางและระยะยาวควบคู่กันไป
"ช่วงที่ สศค.เสนอเรื่องการปรับโครงสร้างภาษีเพื่อให้แข่งขันได้ รัฐมนตรีคลังได้มอบ (เรื่องการลดภาษีนิติบุคคล) ให้เป็นการบ้าน เบื้องต้นท่านบอกให้ไปทำตัวเลขมา" นางพรรณีกล่าว
ขณะที่นายคณิศ แสงสุพรรณ ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง (สวค.) ยอมรับว่า น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ได้สั่งการในที่ประชุมฯ ให้ศึกษาแนวทางการลดภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อกระตุ้นการลงทุนในระยะต่อไป
ส่วนการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 51 ขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันที่เป็นปัจจัยเสี่ยงหลัก หากราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นไปสูงถึง 180 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ก็จะเป็นแรงกดดันให้เศรษฐกิจในปีนี้เติบโตไม่ถึง 6% แต่หากราคาน้ำมันลดลงต่ำกว่า 180 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล เศรษฐกิจก็อาจจะเติบโตได้ 6%
สวค.ได้ประเมินมาตรการ"6 มาตรการ 6 เดือนฝ่าวิกฤติเพื่อไทยทุกคน" ที่รัฐบาลได้ประกาศใช้ล่าสุด จะทำให้ภาคครัวเรือนประมาณ 4 คน/ครัวเรือน มีค่าใช้จ่ายลดลงครอบครัวละ 2 พันบาท/เดือน อย่างไรก็ตาม สวค.เห็นว่าสิ่งที่รัฐบาลต้องทำคือการเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มประชาชนที่ยังไม่ได้รับประโยชน์จากมาตรการที่ผ่านมา เพราะเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับสูง และต้องมีการปรับโครงสร้างด้านพลังงาน ซึ่งถือเป็นมาตรการระยะยาว
ทั้งนี้ ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่สุดคือราคาน้ำมันที่ยังผันผวนและยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะผันผวนไปถึงเมื่อใด รวมทั้งปัญหาซับไพร์มที่อาจลงลึกมากกว่าที่ผ่านมา แต่โครงสร้างการส่งออกของไทยได้ปรับตัวมาส่งไปยังเอเชียส่วนใหญ่ ทำให้ได้รับผลกระทบจากซับไพร์มไม่มากนัก แต่ก็ยังต้องเร่งเน้นขยายตลาดเอเชียให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มดีมานด์การส่งออก
"รัฐบาลคงไม่ต้องออกมาตรการระยะสั้นมากระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว เพราะที่ผ่านมาถือว่าเพียงพอ แต่ระยะต่อไปควรจะมีมาตรการระยะยาว เพื่อส่งสัญญาณให้เกิดการลงทุนให้มากขึ้น" นายคณิศกล่าว
***มั่นใจจีดีพีทั้งปีโต 5-6%
นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวถึงภาวะเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะเติบโตได้ตามประมาณการที่ 5-6% เนื่องจากช่วงครึ่งปีแรกเศรษฐกิจน่าจะเติบโตได้ถึง 5.9% ส่วนในช่วงครึ่งปีหลังคือไตรมาส 3/51 และไตรมาส 4/51 เศรษฐกิจมีแนวโน้มจะขยายตัวได้ในระดับไตรมาสละ 5.3-5.5% ภายใต้สมมติฐานราคาน้ำมันในระดับ 130-140 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล การเติบโตของเศรษฐกิจในช่วงต่อจากนี้ ขึ้นกับปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ทั้งเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า ราคาน้ำมัน และความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของไทย
"สศค.ได้รายงานข้อมูลด้านเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีแรกดังกล่าวให้ รมว.คลังรับทราบ นอกจากนั้น ช่วงที่ผ่านมายังได้มีการศึกษาการปรับโครงสร้างภาษีทั้งระบบไว้แล้ว แต่ยังไม่ถึงขั้นให้นำมาประกาศใช้เพราะภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันไม่เอื้ออำนวย ซึ่ง สศค.จะรายงานโครงสร้างภาษีใหม่ให้ รมว.คลังต่อไป" นางพรรณีกล่าว.
นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ในการประชุมเรื่องการปรับโครงสร้างภาษี ที่กระทรวงการคลัง เมื่อวานนี้ (21 ก.ค.) นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง มอบหมายให้ศึกษาความเป็นไปได้ถึงแนวทางการลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ส่งเสริมการลงทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันรัฐบาลก็เตรียมจะออกมาตรการระยะกลางและระยะยาวควบคู่กันไป
"ช่วงที่ สศค.เสนอเรื่องการปรับโครงสร้างภาษีเพื่อให้แข่งขันได้ รัฐมนตรีคลังได้มอบ (เรื่องการลดภาษีนิติบุคคล) ให้เป็นการบ้าน เบื้องต้นท่านบอกให้ไปทำตัวเลขมา" นางพรรณีกล่าว
ขณะที่นายคณิศ แสงสุพรรณ ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง (สวค.) ยอมรับว่า น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ได้สั่งการในที่ประชุมฯ ให้ศึกษาแนวทางการลดภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อกระตุ้นการลงทุนในระยะต่อไป
ส่วนการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 51 ขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันที่เป็นปัจจัยเสี่ยงหลัก หากราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นไปสูงถึง 180 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ก็จะเป็นแรงกดดันให้เศรษฐกิจในปีนี้เติบโตไม่ถึง 6% แต่หากราคาน้ำมันลดลงต่ำกว่า 180 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล เศรษฐกิจก็อาจจะเติบโตได้ 6%
สวค.ได้ประเมินมาตรการ"6 มาตรการ 6 เดือนฝ่าวิกฤติเพื่อไทยทุกคน" ที่รัฐบาลได้ประกาศใช้ล่าสุด จะทำให้ภาคครัวเรือนประมาณ 4 คน/ครัวเรือน มีค่าใช้จ่ายลดลงครอบครัวละ 2 พันบาท/เดือน อย่างไรก็ตาม สวค.เห็นว่าสิ่งที่รัฐบาลต้องทำคือการเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มประชาชนที่ยังไม่ได้รับประโยชน์จากมาตรการที่ผ่านมา เพราะเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับสูง และต้องมีการปรับโครงสร้างด้านพลังงาน ซึ่งถือเป็นมาตรการระยะยาว
ทั้งนี้ ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่สุดคือราคาน้ำมันที่ยังผันผวนและยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะผันผวนไปถึงเมื่อใด รวมทั้งปัญหาซับไพร์มที่อาจลงลึกมากกว่าที่ผ่านมา แต่โครงสร้างการส่งออกของไทยได้ปรับตัวมาส่งไปยังเอเชียส่วนใหญ่ ทำให้ได้รับผลกระทบจากซับไพร์มไม่มากนัก แต่ก็ยังต้องเร่งเน้นขยายตลาดเอเชียให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มดีมานด์การส่งออก
"รัฐบาลคงไม่ต้องออกมาตรการระยะสั้นมากระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว เพราะที่ผ่านมาถือว่าเพียงพอ แต่ระยะต่อไปควรจะมีมาตรการระยะยาว เพื่อส่งสัญญาณให้เกิดการลงทุนให้มากขึ้น" นายคณิศกล่าว
***มั่นใจจีดีพีทั้งปีโต 5-6%
นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวถึงภาวะเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะเติบโตได้ตามประมาณการที่ 5-6% เนื่องจากช่วงครึ่งปีแรกเศรษฐกิจน่าจะเติบโตได้ถึง 5.9% ส่วนในช่วงครึ่งปีหลังคือไตรมาส 3/51 และไตรมาส 4/51 เศรษฐกิจมีแนวโน้มจะขยายตัวได้ในระดับไตรมาสละ 5.3-5.5% ภายใต้สมมติฐานราคาน้ำมันในระดับ 130-140 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล การเติบโตของเศรษฐกิจในช่วงต่อจากนี้ ขึ้นกับปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ทั้งเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า ราคาน้ำมัน และความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของไทย
"สศค.ได้รายงานข้อมูลด้านเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีแรกดังกล่าวให้ รมว.คลังรับทราบ นอกจากนั้น ช่วงที่ผ่านมายังได้มีการศึกษาการปรับโครงสร้างภาษีทั้งระบบไว้แล้ว แต่ยังไม่ถึงขั้นให้นำมาประกาศใช้เพราะภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันไม่เอื้ออำนวย ซึ่ง สศค.จะรายงานโครงสร้างภาษีใหม่ให้ รมว.คลังต่อไป" นางพรรณีกล่าว.