เปิดวิสัยทัศน์ผู้อำนวยการ ธนาคารออมสินคนใหม่ “เลอศักดิ์ จุลเทศ” อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านลูกค้าธุรกิจ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) SCIB หลังเข้ารับตำแหน่งหมาดๆ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ซึ่งคนในแวดวงการเงินได้ตั้งข้อสังเกตว่าวันนี้อาจเป็นวันมงคลสำหรับธุรกิจการเงินการธนาคาร เนื่องจากวันที่ 14กรกฎาคมเป็นวันที่ซีอีโอของแบงก์ใหญ่ถึง 2 แห่งเริ่มต้นทำงานวันแรกเช่นกัน โดยอีกแห่งก็คือ ธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน) TMB ที่มี “บุญทักษ์ หวังเจริญ” ที่ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามาจากธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) KBANK ซึ่งเป็นความหวังของกลุ่มไอเอ็นจีต้องการให้เข้ามาแก้ปัญหาในแบงก์แห่งนี้
การทำงานของเลอศักดิ์ในตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดขององค์กรแห่งนี้หลายๆ คนคงเป็นห่วงว่าจะสามารถทำงานได้คล่องตัวเหมือนครั้งที่ยังทำงานที่ธนาคารนครหลวงไทยหรือไม่ เพราะองค์กรขนาดมหึมาแห่งนี้มีวัฒนธรรมองค์กรที่ยาวนานกว่า 95 ปี เขาจะมาให้ความกระจ่างกับข้อกังขาของหลายๆ คนต่อเรื่องต่างๆ ดังนี้
***มีความกังวลในการบริหารงานเพราะเป็นธนาคารของรัฐหรือไม่?
เรื่องนี้ยอมรับว่าก่อนที่จะเข้ามาที่นี่ผมเองและหลายๆ คนต่างมีคำถามขึ้นในใจว่าธนาคารออมสินจะมีความแตกต่างจากธนาคารพาณิชย์แห่งอื่นหรือไม่? ซึ่งเมื่อเข้ามาดูระบบข้อมูลต่างๆ แล้วกลับพบว่าไม่มีความแตกต่างจากธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่นๆ เลย โดยเฉพาะในด้านการบริหารจัดการองค์กรซึ่งผู้บริหารที่นี่ล้วนแต่เป็นมืออาชีพกันทั้งสิ้นและมีการบริหารงานภายใต้หลักธรรมาภิบาลอย่างเข้มงวด
แม้กระทั่งระบบปฏิบัติการของธนาคารยังใช้มาตรฐานเดียวกันกับธนาคารพาณิชย์ทั่วไป ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ทั้งเกณฑ์ BASEL II และ เกณฑ์ IAS 39 ซึ่งแม้ว่าตามกฎหมายแล้วธนาคารออมสินจะอยู่ใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลังแต่การดำเนินการก็ยึดถือเกณฑ์เดียวกับธนาคารพาณิชย์ และเมื่อดูในแง่ผลประกอบการแล้วปรากฎว่ามีกำไรสุทธิปีละกว่าหมื่นล้าน ซึ่งถือว่าไม่มีความแตกต่างกับธนาคารพาณิชย์แต่อย่างใด ที่สำคัญธนาคารแห่งนี้มีอะไรที่ดีและดีมากกว่าธนาคารพาณิชย์ด้วย
***ยกตัวอย่างความต่างจากธนาคารพาณิชย์
สิ่งที่ธนาคารออมสินแตกต่างจากธนาคารพาณิชย์อย่างเห็นได้ชัดก็คือเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่ของธนาคารและลูกค้าของสาขาที่มีความผูกพันกันยาวนาน รวมทั้งสาขากว่า 600 แห่งทั่วประเทศและหน่วยบริการอีกกว่า 200 แห่งตามชุมชนต่างๆ ถือเป็นจุดแข็งของธนาคารออมสินที่ธนาคารพาณิชย์ยากที่จะเอาชนะได้อย่างง่ายดาย และที่สำคัญที่สุดความเชื่อมั่นในแบรนด์ของธนาคารออมสินที่มีอายุยาวนานและรัฐบาลเป็นประกันซึ่งเรื่องนี้ประชาชนให้ความสำคัญมาก
ซึ่งนอกจากประเด็นดังกล่าวแล้วสิ่งที่ธนาคารออมสินได้เปรียบธนาคารแห่งอื่นๆ คือ การระดมเงินฝากที่หลากหลาย มีต้นทุนที่ต่ำและประชาชนมีความเชื่อมั่น ทั้งเงินฝากที่แข่งขันกันในระบบทั่วไป พันธบัตรออมสินที่มีความเสี่ยงต่ำและต้นทุนทางการเงินที่ต่ำ และสลากออมสินที่มีเงินรางวัลเป็นสิ่งดึงดูดเงินฝากเข้ามาในระบบ
***หนักใจกับการสนองนโยบายรัฐบาลหรือไม่ ?
ธนาคารออมสินเป็นเป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้น 100% โดยในระยะเวลาที่ผ่านมาไม่ว่าจะมีนโยบายใดที่รัฐบาลให้มาธนาคารออมสินก็สามารถรับมือและบริหารจัดการได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นนโยบายสินเชื่อสำหรับชุมชนประเภทใดธนาคารออมสินก็พร้อมที่จะดำเนินการ เพราะสินเชื่อที่สนองนโยบายรัฐบาลนั้นเป็นการให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนทำให้เศรษฐกิจสามารถขยายตัวได้
ทั้งนี้ประชาชนถือเป็นผู้มีพระคุณของธนาคารเราจึงต้องดูแลในส่วนนี้อย่างเหมาะสม จะต้องพยายามหาจุดสมดุลระหว่างการสนองนโยบายของรัฐบาลโดยไม่ให้กระทบต่อผลการดำเนินงานของธนาคาร ซึ่งการดำเนินงานของธนาคารจะเดินตามรอยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ผู้ก่อตั้งธนาคารออมสินในการเป็นเป็นสถาบันการเงินที่มั่นคงเพื่อการออม การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยเฉพาะเศรษฐกิจฐานราก
***จะใช้นโยบายดอกเบี้ยช่วยเหลือประชาชนอย่างไร ?
สำหรับเรื่องนโยบายอัตราดอกเบี้ยนั้นเนื่องจากธนาคารออมสินมีต้นทุนในการระดมเงินฝากที่ต่ำกว่าระบบธนาคารพาณิชย์จึงมีความได้เปรียบในจุดนี้ ทำให้การปล่อยสินเชื่อของธนาคารคิดดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำกว่าธนาคารพาณิชย์ได้ แต่ในเรื่องของนโยบายอัตราดอกเบี้ยนั้นจะต้องพิจารณาให้อยู่ในจุดที่เหมาะสมโดยส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของธนาคารในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 4.0% นั้นอาจดูว่าสูงกว่าธนาคารพาณิชย์ทั่วไปซึ่งมาจากต้นทุนเงินฝากที่ต่ำ
ทั้งนี้ลูกค้าของธนาคารส่วนใหญ่เป็นรายย่อยและมีจำนวนมากธนาคารจะช่วยเหลือเป็นรายกลุ่มโดยธนาคารจะพิจารณาจุดที่เหมาะสมระหว่างธนาคารและลูกค้าเพราะถ้าลูกค้าอยู่ได้ธนาคารก็อยู่ได้เช่นกัน ซึ่งในขณะนี้ลูกค้าของธนาคารได้รับความเดือดร้นจากราคาน้ำมันที่สูงรวมทั้งเงินเฟ้อที่ปรับเพิ่มขึ้น ธนาคารได้ปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ลงบางส่วนซึ่งสามารถลดส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยลงได้อีกถึง 1.25 – 2.0% สามารถสนองตอบนโยบายของกระทรวงการคลังที่ต้องการให้ลดส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเหลือประมาณ 2.0% เพื่อช่วยแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้
การทำงานของเลอศักดิ์ในตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดขององค์กรแห่งนี้หลายๆ คนคงเป็นห่วงว่าจะสามารถทำงานได้คล่องตัวเหมือนครั้งที่ยังทำงานที่ธนาคารนครหลวงไทยหรือไม่ เพราะองค์กรขนาดมหึมาแห่งนี้มีวัฒนธรรมองค์กรที่ยาวนานกว่า 95 ปี เขาจะมาให้ความกระจ่างกับข้อกังขาของหลายๆ คนต่อเรื่องต่างๆ ดังนี้
***มีความกังวลในการบริหารงานเพราะเป็นธนาคารของรัฐหรือไม่?
เรื่องนี้ยอมรับว่าก่อนที่จะเข้ามาที่นี่ผมเองและหลายๆ คนต่างมีคำถามขึ้นในใจว่าธนาคารออมสินจะมีความแตกต่างจากธนาคารพาณิชย์แห่งอื่นหรือไม่? ซึ่งเมื่อเข้ามาดูระบบข้อมูลต่างๆ แล้วกลับพบว่าไม่มีความแตกต่างจากธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่นๆ เลย โดยเฉพาะในด้านการบริหารจัดการองค์กรซึ่งผู้บริหารที่นี่ล้วนแต่เป็นมืออาชีพกันทั้งสิ้นและมีการบริหารงานภายใต้หลักธรรมาภิบาลอย่างเข้มงวด
แม้กระทั่งระบบปฏิบัติการของธนาคารยังใช้มาตรฐานเดียวกันกับธนาคารพาณิชย์ทั่วไป ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ทั้งเกณฑ์ BASEL II และ เกณฑ์ IAS 39 ซึ่งแม้ว่าตามกฎหมายแล้วธนาคารออมสินจะอยู่ใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลังแต่การดำเนินการก็ยึดถือเกณฑ์เดียวกับธนาคารพาณิชย์ และเมื่อดูในแง่ผลประกอบการแล้วปรากฎว่ามีกำไรสุทธิปีละกว่าหมื่นล้าน ซึ่งถือว่าไม่มีความแตกต่างกับธนาคารพาณิชย์แต่อย่างใด ที่สำคัญธนาคารแห่งนี้มีอะไรที่ดีและดีมากกว่าธนาคารพาณิชย์ด้วย
***ยกตัวอย่างความต่างจากธนาคารพาณิชย์
สิ่งที่ธนาคารออมสินแตกต่างจากธนาคารพาณิชย์อย่างเห็นได้ชัดก็คือเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่ของธนาคารและลูกค้าของสาขาที่มีความผูกพันกันยาวนาน รวมทั้งสาขากว่า 600 แห่งทั่วประเทศและหน่วยบริการอีกกว่า 200 แห่งตามชุมชนต่างๆ ถือเป็นจุดแข็งของธนาคารออมสินที่ธนาคารพาณิชย์ยากที่จะเอาชนะได้อย่างง่ายดาย และที่สำคัญที่สุดความเชื่อมั่นในแบรนด์ของธนาคารออมสินที่มีอายุยาวนานและรัฐบาลเป็นประกันซึ่งเรื่องนี้ประชาชนให้ความสำคัญมาก
ซึ่งนอกจากประเด็นดังกล่าวแล้วสิ่งที่ธนาคารออมสินได้เปรียบธนาคารแห่งอื่นๆ คือ การระดมเงินฝากที่หลากหลาย มีต้นทุนที่ต่ำและประชาชนมีความเชื่อมั่น ทั้งเงินฝากที่แข่งขันกันในระบบทั่วไป พันธบัตรออมสินที่มีความเสี่ยงต่ำและต้นทุนทางการเงินที่ต่ำ และสลากออมสินที่มีเงินรางวัลเป็นสิ่งดึงดูดเงินฝากเข้ามาในระบบ
***หนักใจกับการสนองนโยบายรัฐบาลหรือไม่ ?
ธนาคารออมสินเป็นเป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้น 100% โดยในระยะเวลาที่ผ่านมาไม่ว่าจะมีนโยบายใดที่รัฐบาลให้มาธนาคารออมสินก็สามารถรับมือและบริหารจัดการได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นนโยบายสินเชื่อสำหรับชุมชนประเภทใดธนาคารออมสินก็พร้อมที่จะดำเนินการ เพราะสินเชื่อที่สนองนโยบายรัฐบาลนั้นเป็นการให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนทำให้เศรษฐกิจสามารถขยายตัวได้
ทั้งนี้ประชาชนถือเป็นผู้มีพระคุณของธนาคารเราจึงต้องดูแลในส่วนนี้อย่างเหมาะสม จะต้องพยายามหาจุดสมดุลระหว่างการสนองนโยบายของรัฐบาลโดยไม่ให้กระทบต่อผลการดำเนินงานของธนาคาร ซึ่งการดำเนินงานของธนาคารจะเดินตามรอยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ผู้ก่อตั้งธนาคารออมสินในการเป็นเป็นสถาบันการเงินที่มั่นคงเพื่อการออม การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยเฉพาะเศรษฐกิจฐานราก
***จะใช้นโยบายดอกเบี้ยช่วยเหลือประชาชนอย่างไร ?
สำหรับเรื่องนโยบายอัตราดอกเบี้ยนั้นเนื่องจากธนาคารออมสินมีต้นทุนในการระดมเงินฝากที่ต่ำกว่าระบบธนาคารพาณิชย์จึงมีความได้เปรียบในจุดนี้ ทำให้การปล่อยสินเชื่อของธนาคารคิดดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำกว่าธนาคารพาณิชย์ได้ แต่ในเรื่องของนโยบายอัตราดอกเบี้ยนั้นจะต้องพิจารณาให้อยู่ในจุดที่เหมาะสมโดยส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของธนาคารในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 4.0% นั้นอาจดูว่าสูงกว่าธนาคารพาณิชย์ทั่วไปซึ่งมาจากต้นทุนเงินฝากที่ต่ำ
ทั้งนี้ลูกค้าของธนาคารส่วนใหญ่เป็นรายย่อยและมีจำนวนมากธนาคารจะช่วยเหลือเป็นรายกลุ่มโดยธนาคารจะพิจารณาจุดที่เหมาะสมระหว่างธนาคารและลูกค้าเพราะถ้าลูกค้าอยู่ได้ธนาคารก็อยู่ได้เช่นกัน ซึ่งในขณะนี้ลูกค้าของธนาคารได้รับความเดือดร้นจากราคาน้ำมันที่สูงรวมทั้งเงินเฟ้อที่ปรับเพิ่มขึ้น ธนาคารได้ปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ลงบางส่วนซึ่งสามารถลดส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยลงได้อีกถึง 1.25 – 2.0% สามารถสนองตอบนโยบายของกระทรวงการคลังที่ต้องการให้ลดส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเหลือประมาณ 2.0% เพื่อช่วยแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้