กรณีสถานีโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 เผยแพร่เทปบันทึกภาพคน 3 คนประกาศหยุดยิงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2551 ที่ผ่านมานั้น จริงหรือไม่จริง ไม่สำคัญเท่ากับว่านี่เป็นปรากฏการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงความอ่อนด้อยไร้ประสิทธิภาพของชนชั้นนำและระบบการบริหารจัดการของประเทศไทยโดยองค์รวม
โดยเฉพาะเมื่อนำมาผนวกประสานกับวิกฤตที่เกิดขึ้นบริเวณปราสาทพระวิหาร และการร้องเพลงคลอท้ายรายการ “สนทนาประสาสมัคร” ของนายกรัฐมนตรีไทยคนปัจจุบันด้วยแล้ว
ยิ่งน่าประหวั่นพรั่นพรึง !
ผมจะไม่พูดถึงความไม่น่าเชื่อถือ และการที่คนส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 90 ไม่เชื่อถือ แต่ที่น่าพูดถึงก็คือเรื่องแบบนี้แพร่ภาพออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกได้ง่าย ๆ อย่างนั้นได้อย่างไร รัฐบาลชุดนี้ไม่รู้ไม่เห็นยังไม่เท่าไร เพราะพวกเขาแสดงชัดว่าไม่รู้เรื่องและไม่คิดจะเข้าไปรู้เรื่องวิกฤตในภาคใต้อยู่แล้ว โดยยกให้เป็นเรื่องของกองทัพเดี่ยว ๆ โดด ๆ
การที่กองทัพ “ไม่รู้เรื่อง” จึงเป็นปัญหาใหญ่ !!
ผมเข้าใจว่าผู้บัญชาการทหารบกคนปัจจุบันมีพื้นความรู้เรื่องภาคใต้ไม่มากนัก ซึ่งก็ไม่ผิด แต่สงสัยอยู่ว่าแม่ทัพกองทัพภาคที่ 4 และแกนนำของกองทัพคนอื่น ๆ พอจะช่วย “เสริม” จุดอ่อน – ถ้ามี – ของท่านได้มากน้อยเพียงใด
ด้วยความเคารพ ผมไม่เชื่อว่า พล.อ.เชษฐา ฐานะจโร อดีตผู้บัญชาการทหารบกรุ่นพี่ที่โตมาจากสาย “กองกำลังบูรพา” ด้วยกันของท่านจะมีความรู้เรื่องภาคใต้มากมายอะไรนัก
แต่ดูเหมือนท่านกระตือรือร้นเรื่องเจรจามาตั้งแต่สมัยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมช่วงสั้น ๆ ในรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรมาแล้ว เป็นช่วงเดียวกับที่ท่านจะ “แก้เคล็ด” ด้วยการกลับทิศปากกระบอกปืนใหญ่หน้ากระทรวงกลาโหมนั่นแหละ
ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีมิติของ “การเมืองระหว่างประเทศ” อยู่ใคร ๆ ก็รู้
จู่ ๆ “โทรทัศน์กองทัพบก” ที่มีส่วนสำคัญเป็น “Global network” จะแพร่ภาพอะไรไป “ทั่วโลก” มันควรจะต้องมีขั้นตอนมากกว่านี้ !
แต่ท่านก็แก้ไขกันง่าย ๆ แค่ปัดสวะให้พ้นตัวไปว่าเป็นการทำงานในฐานะ “สื่อมวลชน” เกิดจะเคารพสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนขึ้นมาฉับพลันกระนั้นแหละ
นี่แหละประเทศไทย
นี่หรือกองทัพไทย !
นี่หรือกองทัพไทย – ที่คนไทยทั้งแผ่นดินฝากภาระหน้าที่ “รักษาดินแดน” ไว้ !??
จะบอกให้นะครับเรื่องข้อเสนอ “หยุดยิงปลอม” นี้ไม่ใช่ไม่เคยเกิดขึ้น เคยเกิดขึ้นมาแล้วเมื่อกว่า 30 ปีก่อน หลังเหตุการณ์วันที่ 14 ตุลาคม 2516 หมาด ๆ ผมนึกขึ้นมาได้ทันที น่าจะนำมาเล่าไว้ ณ ที่นี้เพื่อให้เปรียบ เทียบกัน
เรื่องเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2516
เกิดกรณีมีจดหมายจาก “สหายจำรัส” หรือนายเปลื้อง วรรณศรี ผู้นำระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ส่งมาถึงรัฐบาลไทยเพื่อขอเจรจาหยุดยิง
ทำให้รัฐบาลไทยตื่นเต้นยกใหญ่ เตรียมการที่จะเจรจาหยุดยิงกับทางฝ่ายพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเป็นเวลา 1 เดือน
ต่อมาในวันที่ 4 มกราคม 2517 เรื่องกลับโอละพ่อ
องค์การซี.ไอ.เอ.ยอมรับว่านั่นเป็น “จดหมายปลอม” และขอโทษต่อรัฐบาลไทย !
ผมไม่กล้าพูเต็มร้อยหรอกว่านี่เป็น “ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย” แต่กล้าพูดว่าคน 3 คนในเทปที่ออกมาไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มาประมาณ 20 ปีขึ้นไป เป็นกลุ่มแบ่งแยกดินแดนรุ่นเก่าน่ะใช่ แต่วันนี้เป็นผู้ลี้ภัยอยู่ในประเทศตะวันตก เยอรมันบ้าง สวีเดนบ้าง และผมก็กล้าพูดว่าการก่อการร้ายใน 3 จังหวัดชาย แดนภาคใต้ปัจจุบัน “ส่วนใหญ่” เป็นฝีมือของขบวนการรุ่นใหม่ มีวิธีคิดและวิธีการที่แตกต่างไปจากเดิม
และผมยังกล้าพูดอีกเช่นกันว่า สหรัฐอเมริกายังคงมี “ส่วนได้ส่วนเสีย” สำคัญในวิกฤต 3 จังหวัดชาย แดนภาคใต้
ความสลับซับซ้อนของปัญหา ทั้งในด้านประวัติศาสตร์ที่ต่อเนื่องมากว่า 100 ปี และในด้านความเป็นไปของโลกยุคปัจจุบัน ไม่ใช่จะจบลงง่าย ๆ เพราะการเดินงานของอดีตผู้บัญชาการทหารบกคนหนึ่งที่ย้อนดูผลงานที่ผ่านมาไม่ปรากฏว่ามีฝีไม้ลายมืออะไรเท่าไรนักหรอก
ไม่อยากจะพูดว่าแถลงการณ์ที่ออกมาก็ไม่ “เนียน” เท่าไรนัก
เพราะเสมือนเป็นการนำ “วาทกรรมแบบไทย ๆ “เข้าไปใส่ไว้ในแถลงการณ์ที่ควรจะมีสารัตถะของ “วาทกรรมมุสลิม” และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง “วาทกรรมรัฐปัตตานี” มากกว่านี้
ขืนปล่อยอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ คือรัฐบาลก็ไม่สนใจ กองทัพก็ไม่เก่ง แถมระบบภายในยัง “หลวม” ผมคงไม่ผิดที่เริ่มหวั่นใจว่าเราอาจจะเสียดินแดน 3 จังหวัดภาคใต้ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งในอนาคตอันไม่ไกลนัก
อย่างน้อยเราก็ให้ “เครดิต” กับขบวนการที่อยู่นอกประเทศไปเรียบร้อยแล้ว
ย้อนมาดูทางชายแดนภาคตะวันออก ความประหวั่นพรั่นพรึงยิ่งทบเท่าทวีคูณ
ผมจะไม่พูดเรื่องรายละเอียดของปราสาทพระวิหาร แต่จะพูดในภาพรวมว่าแม้กัมพูชาจะเป็นประเทศเล็กกว่าไทยมากนัก แต่ก็เดินงานด้านการเมืองระหว่างประเทศเก่งกว่าเราหลายขุม
อย่าแก้ตัวแต่เพียงว่า “เพราะเราไม่เคยเป็นเมืองขึ้นใคร” ให้เอียนเลยนะครับ
และอย่าคิดแค่เรื่องปราสาทพระวิหารและพื้นที่ทับซ้อนเท่านั้นนะครับ ตลอดแนวชายแดนไทย-กัมพูชาที่ยังไม่ได้ปักปันเขตแดนชัดเจน ยังมีพื้นที่ปัญหาที่มีผลประโยชน์ไม่ด้อยไปกว่าอีกมากกว่ามากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ที่เป็นแหล่งพลังงานในอ่าวไทย
แค่เรื่องปราสาทพระวิหารอย่างเดียว คนไทยยังหา “ฉันทมติ” ไม่ได้ว่าใครผิดใครถูก
อะไรหลัก อะไรรอง ระหว่างศักดิ์ศรีของความเป็นชาติและความถูกความผิดบนพื้นฐานของข้อมูลและหลักวิชาการ กับผลประโยชน์จากการค้าชายแดนของคนในพื้นที่ เรายังตกลงกันไม่ได้ชัดเจน
ยังไม่ทันต้องไปเผชิญหน้ากับใครเพื่อปกป้องมาตุภูมิ คนไทยเราก็ “ตีกันเอง” ในลักษณะ “โชว์เพื่อนบ้าน” ถึงขนาดเลือดตกยางออกแล้ว
โอกาสที่เราจะ “เสียทีกัมพูชา” อีกครั้งไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้
และก็ไม่รู้ว่าจะก่อนหรือหลัง “เสียทีมหาอำนาจ” ในกรณีวิกฤต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
น่าเศร้านะครับ !!
โดยเฉพาะเมื่อนำมาผนวกประสานกับวิกฤตที่เกิดขึ้นบริเวณปราสาทพระวิหาร และการร้องเพลงคลอท้ายรายการ “สนทนาประสาสมัคร” ของนายกรัฐมนตรีไทยคนปัจจุบันด้วยแล้ว
ยิ่งน่าประหวั่นพรั่นพรึง !
ผมจะไม่พูดถึงความไม่น่าเชื่อถือ และการที่คนส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 90 ไม่เชื่อถือ แต่ที่น่าพูดถึงก็คือเรื่องแบบนี้แพร่ภาพออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกได้ง่าย ๆ อย่างนั้นได้อย่างไร รัฐบาลชุดนี้ไม่รู้ไม่เห็นยังไม่เท่าไร เพราะพวกเขาแสดงชัดว่าไม่รู้เรื่องและไม่คิดจะเข้าไปรู้เรื่องวิกฤตในภาคใต้อยู่แล้ว โดยยกให้เป็นเรื่องของกองทัพเดี่ยว ๆ โดด ๆ
การที่กองทัพ “ไม่รู้เรื่อง” จึงเป็นปัญหาใหญ่ !!
ผมเข้าใจว่าผู้บัญชาการทหารบกคนปัจจุบันมีพื้นความรู้เรื่องภาคใต้ไม่มากนัก ซึ่งก็ไม่ผิด แต่สงสัยอยู่ว่าแม่ทัพกองทัพภาคที่ 4 และแกนนำของกองทัพคนอื่น ๆ พอจะช่วย “เสริม” จุดอ่อน – ถ้ามี – ของท่านได้มากน้อยเพียงใด
ด้วยความเคารพ ผมไม่เชื่อว่า พล.อ.เชษฐา ฐานะจโร อดีตผู้บัญชาการทหารบกรุ่นพี่ที่โตมาจากสาย “กองกำลังบูรพา” ด้วยกันของท่านจะมีความรู้เรื่องภาคใต้มากมายอะไรนัก
แต่ดูเหมือนท่านกระตือรือร้นเรื่องเจรจามาตั้งแต่สมัยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมช่วงสั้น ๆ ในรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรมาแล้ว เป็นช่วงเดียวกับที่ท่านจะ “แก้เคล็ด” ด้วยการกลับทิศปากกระบอกปืนใหญ่หน้ากระทรวงกลาโหมนั่นแหละ
ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีมิติของ “การเมืองระหว่างประเทศ” อยู่ใคร ๆ ก็รู้
จู่ ๆ “โทรทัศน์กองทัพบก” ที่มีส่วนสำคัญเป็น “Global network” จะแพร่ภาพอะไรไป “ทั่วโลก” มันควรจะต้องมีขั้นตอนมากกว่านี้ !
แต่ท่านก็แก้ไขกันง่าย ๆ แค่ปัดสวะให้พ้นตัวไปว่าเป็นการทำงานในฐานะ “สื่อมวลชน” เกิดจะเคารพสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนขึ้นมาฉับพลันกระนั้นแหละ
นี่แหละประเทศไทย
นี่หรือกองทัพไทย !
นี่หรือกองทัพไทย – ที่คนไทยทั้งแผ่นดินฝากภาระหน้าที่ “รักษาดินแดน” ไว้ !??
จะบอกให้นะครับเรื่องข้อเสนอ “หยุดยิงปลอม” นี้ไม่ใช่ไม่เคยเกิดขึ้น เคยเกิดขึ้นมาแล้วเมื่อกว่า 30 ปีก่อน หลังเหตุการณ์วันที่ 14 ตุลาคม 2516 หมาด ๆ ผมนึกขึ้นมาได้ทันที น่าจะนำมาเล่าไว้ ณ ที่นี้เพื่อให้เปรียบ เทียบกัน
เรื่องเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2516
เกิดกรณีมีจดหมายจาก “สหายจำรัส” หรือนายเปลื้อง วรรณศรี ผู้นำระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ส่งมาถึงรัฐบาลไทยเพื่อขอเจรจาหยุดยิง
ทำให้รัฐบาลไทยตื่นเต้นยกใหญ่ เตรียมการที่จะเจรจาหยุดยิงกับทางฝ่ายพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเป็นเวลา 1 เดือน
ต่อมาในวันที่ 4 มกราคม 2517 เรื่องกลับโอละพ่อ
องค์การซี.ไอ.เอ.ยอมรับว่านั่นเป็น “จดหมายปลอม” และขอโทษต่อรัฐบาลไทย !
ผมไม่กล้าพูเต็มร้อยหรอกว่านี่เป็น “ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย” แต่กล้าพูดว่าคน 3 คนในเทปที่ออกมาไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มาประมาณ 20 ปีขึ้นไป เป็นกลุ่มแบ่งแยกดินแดนรุ่นเก่าน่ะใช่ แต่วันนี้เป็นผู้ลี้ภัยอยู่ในประเทศตะวันตก เยอรมันบ้าง สวีเดนบ้าง และผมก็กล้าพูดว่าการก่อการร้ายใน 3 จังหวัดชาย แดนภาคใต้ปัจจุบัน “ส่วนใหญ่” เป็นฝีมือของขบวนการรุ่นใหม่ มีวิธีคิดและวิธีการที่แตกต่างไปจากเดิม
และผมยังกล้าพูดอีกเช่นกันว่า สหรัฐอเมริกายังคงมี “ส่วนได้ส่วนเสีย” สำคัญในวิกฤต 3 จังหวัดชาย แดนภาคใต้
ความสลับซับซ้อนของปัญหา ทั้งในด้านประวัติศาสตร์ที่ต่อเนื่องมากว่า 100 ปี และในด้านความเป็นไปของโลกยุคปัจจุบัน ไม่ใช่จะจบลงง่าย ๆ เพราะการเดินงานของอดีตผู้บัญชาการทหารบกคนหนึ่งที่ย้อนดูผลงานที่ผ่านมาไม่ปรากฏว่ามีฝีไม้ลายมืออะไรเท่าไรนักหรอก
ไม่อยากจะพูดว่าแถลงการณ์ที่ออกมาก็ไม่ “เนียน” เท่าไรนัก
เพราะเสมือนเป็นการนำ “วาทกรรมแบบไทย ๆ “เข้าไปใส่ไว้ในแถลงการณ์ที่ควรจะมีสารัตถะของ “วาทกรรมมุสลิม” และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง “วาทกรรมรัฐปัตตานี” มากกว่านี้
ขืนปล่อยอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ คือรัฐบาลก็ไม่สนใจ กองทัพก็ไม่เก่ง แถมระบบภายในยัง “หลวม” ผมคงไม่ผิดที่เริ่มหวั่นใจว่าเราอาจจะเสียดินแดน 3 จังหวัดภาคใต้ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งในอนาคตอันไม่ไกลนัก
อย่างน้อยเราก็ให้ “เครดิต” กับขบวนการที่อยู่นอกประเทศไปเรียบร้อยแล้ว
ย้อนมาดูทางชายแดนภาคตะวันออก ความประหวั่นพรั่นพรึงยิ่งทบเท่าทวีคูณ
ผมจะไม่พูดเรื่องรายละเอียดของปราสาทพระวิหาร แต่จะพูดในภาพรวมว่าแม้กัมพูชาจะเป็นประเทศเล็กกว่าไทยมากนัก แต่ก็เดินงานด้านการเมืองระหว่างประเทศเก่งกว่าเราหลายขุม
อย่าแก้ตัวแต่เพียงว่า “เพราะเราไม่เคยเป็นเมืองขึ้นใคร” ให้เอียนเลยนะครับ
และอย่าคิดแค่เรื่องปราสาทพระวิหารและพื้นที่ทับซ้อนเท่านั้นนะครับ ตลอดแนวชายแดนไทย-กัมพูชาที่ยังไม่ได้ปักปันเขตแดนชัดเจน ยังมีพื้นที่ปัญหาที่มีผลประโยชน์ไม่ด้อยไปกว่าอีกมากกว่ามากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ที่เป็นแหล่งพลังงานในอ่าวไทย
แค่เรื่องปราสาทพระวิหารอย่างเดียว คนไทยยังหา “ฉันทมติ” ไม่ได้ว่าใครผิดใครถูก
อะไรหลัก อะไรรอง ระหว่างศักดิ์ศรีของความเป็นชาติและความถูกความผิดบนพื้นฐานของข้อมูลและหลักวิชาการ กับผลประโยชน์จากการค้าชายแดนของคนในพื้นที่ เรายังตกลงกันไม่ได้ชัดเจน
ยังไม่ทันต้องไปเผชิญหน้ากับใครเพื่อปกป้องมาตุภูมิ คนไทยเราก็ “ตีกันเอง” ในลักษณะ “โชว์เพื่อนบ้าน” ถึงขนาดเลือดตกยางออกแล้ว
โอกาสที่เราจะ “เสียทีกัมพูชา” อีกครั้งไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้
และก็ไม่รู้ว่าจะก่อนหรือหลัง “เสียทีมหาอำนาจ” ในกรณีวิกฤต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
น่าเศร้านะครับ !!