ไฟแนนเชียลไทมส์ - ประธานเฟด เบน เบอร์นันกี ขีดเส้นใต้ "ปัญหานานา" ในระบบเศรษฐกิจที่สหรัฐฯกำลังเผชิญ ระหว่างการให้ปากคำต่อรัฐสภาอเมริกันในวันอังคาร(15) ซึ่งส่งผลให้ตลาดการเงินผันผวนอย่างรุนแรงเมื่อเขาส่งสัญญาณว่า สหรัฐฯกำลังเผชิญความเสี่ยงรุนแรงทั้งด้านการเติบโตและเงินเฟ้อ
ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด กล่าวต่อคณะกรรมาธิการของวุฒิสภาว่า ความตึงตัวในตลาดการเงิน การตกต่ำของราคาที่พักอาศัย ความอ่อนแอในตลาดแรงงาน และภาวะน้ำมันแพง ล้วนเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดแรงกดดันอย่างรุนแรงต่ออนาคตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ
การที่เขายอมรับว่า ความเสี่ยงหลายด้านส่งผลให้การเติบโตทางเศรษฐกิจ "มีแนวโน้มเป็นขาลง" ทำให้นักลงทุนต้องประเมินสถานการณ์ใหม่อย่างฉับพลัน จากที่เคยเชื่อกันมากว่าน่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงปลายปี และการประเมินใหม่เช่นนี้ก็ส่งผลต่อมาทำให้ค่าเงินดอลลาร์ในวันอังคาร อ่อนตัวลงสู่ระดับต่ำสุดครั้งใหม่เมื่อเทียบกับเงินยูโร
ราคาหุ้นในตลาดสหรัฐฯ ซึ่งอ่อนตัวลงตั้งแต่ก่อนเบอร์นันกีจะไปให้ปากคำ ได้ดิ่งวูบลงอย่างรุนแรง ก่อนจะดีดตัวกลับขึ้นมาระดับหนึ่ง หลังราคาน้ำมันลดต่ำลงค่อนข้างมาก ซึ่งก็เห็นได้ชัดว่าเป็นผลมาจากการคาดการณ์อนาคตทางเศรษฐกิจของเขา
ราคาน้ำมันดิบในตลาดซื้อขายล่วงหน้านิวยอร์ควันอังคาร ปิดตลาดที่ระดับ 138.74 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จากระดับสูง 146.73 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลที่ทำได้ในช่วงต้นๆ เปิดการซื้อขาย ขณะที่เงินยูโรซึ่งแข็งค่าขึ้นสู่ระดับสูงสุดใหม่ที่ 1.6038 ดอลลาร์ในช่วงต้นๆ ตลาด อ่อนตัวลงเล็กน้อยในช่วงปลายตลาด
เบอร์นันกีให้คำมั่นว่า เฟดจะยังคงยึดถือการฟื้นฟูความแข็งแกร่งของตลาดเงินเป็นภารกิจที่มีลำดับความสำคัญสูงสุด ขณะเดียวกันก็กล่าวด้วยว่า ทางคณะผู้กำหนดนโยบายการเงินของเฟดเชื่อว่าความเสี่ยงในหลายด้านทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจ"มีแนวโน้มเป็นขาลง"
แต่เขาบอกเช่นกันว่าความเสี่ยงของเงินเฟ้อ "ทวีความรุนแรงขึ้น" เนื่องจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องและยังมีราคาสินค้าโภคภัณฑ์เป็นปัจจัยหนุนเสริมผลักดันให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มสูงขึ้นในระยะสั้นด้วย และว่า "จำเป็นอย่างยิ่ง" ที่ฝ่ายนโยบายจะต้องป้องกันไม่ให้อัตราเงินเฟ้อสูงกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างค่าจ้างแรงงานและราคาสินค้าภายในประเทศ
ประธานเฟดกล่าวว่า เขาไม่กังวลมากนักในประเด็นเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะเกิดปัญหาสถาบันการเงินล้มในวงกว้าง หากแต่รู้สึกกังวลต่อแนวโน้มที่ธนาคารพาณิชย์จะลดการปล่อยสินเชื่อลงเพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดทุนมากกว่า
เขากล่าวว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังคงเป็นกุญแจสำคัญสำหรับอนาคตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ พร้อมทั้งเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภามุ่งเน้นการดำเนินความพยายามเพื่อสนับสนุนตลาดที่พักอาศัย แทนการเตรียมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่
เบอร์นันกีกล่าวเรื่องนี้ในรัฐสภา ขณะที่ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ก็แถลงต่อสื่อมวลชนว่า บริษัทแฟนนี เมและเฟรดดี แมค ซึ่งเป็นบริษัทสินเชื่อเพื่อการเคหะรายใหญ่ของประเทศ เป็นวิสาหกิจที่มีสถานะเสมือนได้รับการค้ำประกันจากรัฐบาลอยู่แล้ว
ทางด้าน เฮนรี พอลสัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แถลงในสภาคองเกรสในเวลาต่อมา เรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภา มีมติอนุมัติกฎหมายฉบับใหม่ในทันที เพื่อให้กระทรวงการคลังสามารถดำเนินมาตรการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่แฟนนี เมและเฟรดดี แมคได้ทันการณ์
อย่างไรก็ดี ลู่ทางโอกาสที่ร่างกฎหมายฉบับนี้จะผ่านรัฐสภาออกมาได้อย่างรวดเร็วดูจะหมดสิ้นลง เมื่อสมาชิกรัฐสภาฝ่ายพรรครีพับลิกันหลายคน แสดงความวิตกว่ามาตรการ "อุ้ม" แฟนนี-เฟรดดี เหล่านี้จะกลายเป็นการสร้างภาระให้แก่ประชาชนผู้เสียภาษี โดยสมาชิกรัฐสภาบางคนแสดงการคัดค้านชนิดสุดลิ่มทิ่มประตูด้วย
สำหรับการให้ปากคำของเบอร์นันกีนั้น โจชัว ชาร์ปิโร หัวหน้านักเศรษฐกิจสหรัฐฯแห่งบริษัทที่ปรึกษาตลาดทั่วโลก เอ็มเอฟอาร์ บอกว่า ตลาดรู้สึกหวาดหวั่นมาก จากการที่การแถลงให้ปากคำของเบอร์นันกี ได้ตัดถ้อยคำที่เคยระบุไว้ในครั้งก่อนๆ ในเรื่องที่ว่าความเสี่ยงขาลงที่มีต่อการเติบโตของเศรษฐกิจนั้น กำลังหมดสิ้นไปแล้ว
ขณะที่ แอลเลน รัสกิน หัวหน้านักยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศแห่ง อาร์บีเอส กรีนิช แคปิตอล บอกว่า เฟดกำลังเผชิญ "สงครามใหญ่ในเรื่องการจัดลำดับความสำคัญ" และผลสรุปน่าจะมีอยู่ว่า อัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่เดิมนี้ไปอย่างน้อยในอีก 6 เดือนข้างหน้า ยกเว้นแต่อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์จะพุ่งสูงขึ้นเท่านั้น
ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด กล่าวต่อคณะกรรมาธิการของวุฒิสภาว่า ความตึงตัวในตลาดการเงิน การตกต่ำของราคาที่พักอาศัย ความอ่อนแอในตลาดแรงงาน และภาวะน้ำมันแพง ล้วนเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดแรงกดดันอย่างรุนแรงต่ออนาคตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ
การที่เขายอมรับว่า ความเสี่ยงหลายด้านส่งผลให้การเติบโตทางเศรษฐกิจ "มีแนวโน้มเป็นขาลง" ทำให้นักลงทุนต้องประเมินสถานการณ์ใหม่อย่างฉับพลัน จากที่เคยเชื่อกันมากว่าน่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงปลายปี และการประเมินใหม่เช่นนี้ก็ส่งผลต่อมาทำให้ค่าเงินดอลลาร์ในวันอังคาร อ่อนตัวลงสู่ระดับต่ำสุดครั้งใหม่เมื่อเทียบกับเงินยูโร
ราคาหุ้นในตลาดสหรัฐฯ ซึ่งอ่อนตัวลงตั้งแต่ก่อนเบอร์นันกีจะไปให้ปากคำ ได้ดิ่งวูบลงอย่างรุนแรง ก่อนจะดีดตัวกลับขึ้นมาระดับหนึ่ง หลังราคาน้ำมันลดต่ำลงค่อนข้างมาก ซึ่งก็เห็นได้ชัดว่าเป็นผลมาจากการคาดการณ์อนาคตทางเศรษฐกิจของเขา
ราคาน้ำมันดิบในตลาดซื้อขายล่วงหน้านิวยอร์ควันอังคาร ปิดตลาดที่ระดับ 138.74 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จากระดับสูง 146.73 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลที่ทำได้ในช่วงต้นๆ เปิดการซื้อขาย ขณะที่เงินยูโรซึ่งแข็งค่าขึ้นสู่ระดับสูงสุดใหม่ที่ 1.6038 ดอลลาร์ในช่วงต้นๆ ตลาด อ่อนตัวลงเล็กน้อยในช่วงปลายตลาด
เบอร์นันกีให้คำมั่นว่า เฟดจะยังคงยึดถือการฟื้นฟูความแข็งแกร่งของตลาดเงินเป็นภารกิจที่มีลำดับความสำคัญสูงสุด ขณะเดียวกันก็กล่าวด้วยว่า ทางคณะผู้กำหนดนโยบายการเงินของเฟดเชื่อว่าความเสี่ยงในหลายด้านทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจ"มีแนวโน้มเป็นขาลง"
แต่เขาบอกเช่นกันว่าความเสี่ยงของเงินเฟ้อ "ทวีความรุนแรงขึ้น" เนื่องจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องและยังมีราคาสินค้าโภคภัณฑ์เป็นปัจจัยหนุนเสริมผลักดันให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มสูงขึ้นในระยะสั้นด้วย และว่า "จำเป็นอย่างยิ่ง" ที่ฝ่ายนโยบายจะต้องป้องกันไม่ให้อัตราเงินเฟ้อสูงกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างค่าจ้างแรงงานและราคาสินค้าภายในประเทศ
ประธานเฟดกล่าวว่า เขาไม่กังวลมากนักในประเด็นเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะเกิดปัญหาสถาบันการเงินล้มในวงกว้าง หากแต่รู้สึกกังวลต่อแนวโน้มที่ธนาคารพาณิชย์จะลดการปล่อยสินเชื่อลงเพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดทุนมากกว่า
เขากล่าวว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังคงเป็นกุญแจสำคัญสำหรับอนาคตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ พร้อมทั้งเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภามุ่งเน้นการดำเนินความพยายามเพื่อสนับสนุนตลาดที่พักอาศัย แทนการเตรียมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่
เบอร์นันกีกล่าวเรื่องนี้ในรัฐสภา ขณะที่ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ก็แถลงต่อสื่อมวลชนว่า บริษัทแฟนนี เมและเฟรดดี แมค ซึ่งเป็นบริษัทสินเชื่อเพื่อการเคหะรายใหญ่ของประเทศ เป็นวิสาหกิจที่มีสถานะเสมือนได้รับการค้ำประกันจากรัฐบาลอยู่แล้ว
ทางด้าน เฮนรี พอลสัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แถลงในสภาคองเกรสในเวลาต่อมา เรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภา มีมติอนุมัติกฎหมายฉบับใหม่ในทันที เพื่อให้กระทรวงการคลังสามารถดำเนินมาตรการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่แฟนนี เมและเฟรดดี แมคได้ทันการณ์
อย่างไรก็ดี ลู่ทางโอกาสที่ร่างกฎหมายฉบับนี้จะผ่านรัฐสภาออกมาได้อย่างรวดเร็วดูจะหมดสิ้นลง เมื่อสมาชิกรัฐสภาฝ่ายพรรครีพับลิกันหลายคน แสดงความวิตกว่ามาตรการ "อุ้ม" แฟนนี-เฟรดดี เหล่านี้จะกลายเป็นการสร้างภาระให้แก่ประชาชนผู้เสียภาษี โดยสมาชิกรัฐสภาบางคนแสดงการคัดค้านชนิดสุดลิ่มทิ่มประตูด้วย
สำหรับการให้ปากคำของเบอร์นันกีนั้น โจชัว ชาร์ปิโร หัวหน้านักเศรษฐกิจสหรัฐฯแห่งบริษัทที่ปรึกษาตลาดทั่วโลก เอ็มเอฟอาร์ บอกว่า ตลาดรู้สึกหวาดหวั่นมาก จากการที่การแถลงให้ปากคำของเบอร์นันกี ได้ตัดถ้อยคำที่เคยระบุไว้ในครั้งก่อนๆ ในเรื่องที่ว่าความเสี่ยงขาลงที่มีต่อการเติบโตของเศรษฐกิจนั้น กำลังหมดสิ้นไปแล้ว
ขณะที่ แอลเลน รัสกิน หัวหน้านักยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศแห่ง อาร์บีเอส กรีนิช แคปิตอล บอกว่า เฟดกำลังเผชิญ "สงครามใหญ่ในเรื่องการจัดลำดับความสำคัญ" และผลสรุปน่าจะมีอยู่ว่า อัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่เดิมนี้ไปอย่างน้อยในอีก 6 เดือนข้างหน้า ยกเว้นแต่อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์จะพุ่งสูงขึ้นเท่านั้น