รอยเตอร์ – ถึงราคาหุ้นร่วงลงมิดฟลอร์ติดกันหลายวัน แต่พวกที่อยู่ในวอลสตรีทก็กำลังสนุกกับการคาดเดาว่าใครที่ประธานาธิบดีคนใหม่จะเลือกมาเป็นขุนคลัง แม้ว่ายังจะเหลืออีกมากกว่าสี่เดือนที่การเลือกตั้งประธานาธิบดีจะเริ่มต้นขึ้น และคู่แข่งขันยังคงอยู่ในระหว่างการเลือกตัวผู้ที่จะมาเป็นรองประธานาธิบดีเท่านั้น
“คุณอาจจะคาดว่าฟิล แกรมม์ จะอยู่ในรายชื่อที่แมคเคนจะเลือก” เกรก แวลเลียร์ หัวหน้านักยุทธศาสตร์ที่แสตนฟอร์ด วอชิงตัน รีเสิร์ช กรุ๊ป กล่าว แกรมม์นั้นเป็นรองประธานของธนาคารยูบีเอสอินเวสเมนท์ และเป็นอดีตวุฒิสมาชิกของเทกซัส ขณะนี้เป็นหนึ่งในทีมหาเสียงของจอห์น แมคเคน ว่าที่ตัวแทนพรรครีพับลิกันในการชิงชัยตำแหน่งประธานาธิบดี
แวลเลียร์ยังบอกอีกว่าผู้ที่อยู่ในอันดับต้น ๆของรายชื่อของแมคเคนอีกก็น่าจะมี คาร์ลี ฟิโอริน่า อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารของฮิวเล็ตต์-แพ็คการ์ด บริษัทคอมพิวเตอร์ยักษ์
สำหรับบารัค โอบามา ว่าที่ตัวแทนของพรรคเดโมแครตแล้ว พวกวงการการเงินกำลังตื่นเต้นเพราะมีความเป็นไปได้ที่ ทิโมธี เกธเนอร์ ประธานธนาคารกลางสาขานิวยอร์ก ซึ่งเป็นเคยอยู่ในคณะรัฐบาลของบิล คลินตันมาก่อน อาจจะได้รับการวางตัวในตำแหน่งขุนคลัง
“เกธเนอร์ได้รับความนิยมมากในวอลสตรีท เขาเข้าใจความซับซ้อนของตลาดและภาวะสินเชื่อตึงตัวได้เป็นอย่างดี แถมเขายังมีเครือข่ายสายสัมพันธ์กว้างขวางมากด้วย” แวลเลียร์บอก
ทั้งแวลเลียร์ และมาร์ค แชนด์เลอร์ ผู้เป็นนักยุทธศาสตร์อยู่ที่บราวน์ บราเธอร์ส ฮาร์ริแมน เห็นว่าผู้ที่เหมาะสมกับตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงการคลังอีกคนหนึ่งหากว่าโอบามาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีก็คือ ลอรา ไทสัน ที่เคยเป็นประธานที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจของประธานาธิบดีบิลล์ คลินตัน และตอนนี้สอนหนังสืออยู่ที่มหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเบิร์กเลย์ และเธอก็ได้เริ่มให้คำปรึกษาหลายอย่างแก่โอบามาในระยะหลัง
แม้จะเดากันมากมาย แต่กว่าประธานาธิบดีคนใหม่จะเริ่มการคัดเลือกรัฐมนตรีคลังและตำแหน่งอื่น ๆอย่างเป็นทางการได้ก็ต้องหลังการเลือกตั้งไปแล้ว นอกจากนี้ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุชและรัฐมนตรีคลัง เฮนรี่ พอลสันก็จะทำงานต่อไปจนถึงวันที่ 20 มกราคมปีหน้า
กระนั้นก็ตาม พวกนักลงทุนก็สนใจเรื่องใครจะมาเป็นรัฐมนตรีคลังอย่างมาก เพราะว่าตำแหน่งนี้เกี่ยวพันกับตลาดเงินและเศรษฐกิจของอเมริกันอย่างลึกซึ้งนับตั้งแต่การผลิตเหรียญไปจนถึงช่วยธนาคารกลางกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์
ตลาดวอลสตรีทนั้นมองว่ารัฐมนตรีคลังเป็นประชาสัมพันธ์หลักของนโยบายค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯของรัฐบาล รวมทั้งเป็นมือแก้ไขวิกฤตในช่วงเศรษฐกิจปั่นป่วนและก็เป็นหนึ่งในที่ปรึกษาที่ช่วยในการก่อรูปนโยบายเศรษฐกิจของประธานาธิบดี
และเมื่อเร็ว ๆนี้ รัฐมนตรีคลังก็ได้เพิ่มบทบาทการเป็นทูตกระชับสัมพันธ์ระหว่างประเทศเข้ามาอีกด้วย หน้าที่สำคัญอันหนึ่งของพอลสันก็คือนำการเจรจากับจีนในเรื่องค่าเงินและการค้า เพื่อแก้ไขความขัดแย้งระหว่างทั้งสองประเทศที่มีอยู่หลายเรื่องและโน้มน้าวให้จีนยอมทำตามสิ่งที่สหรัฐฯต้องการในหลายเรื่อง โดยเฉพาะ การเร่งปล่อยค่าเงินหยวนให้แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบเงินดอลลาร์สหรัฐฯเพื่อแก้การขาดดุลการค้าที่สหรัฐฯต่อมีจีนอย่างมหาศาล
เศรษฐกิจสหรัฐฯที่กำลังอ่อนแอ, ค่าเงินดอลลาร์ที่ร่วงลงเรื่อย ๆ, ราคาหุ้นตกต่ำ, วิกฤตบ้านยังคงดำเนินไป ขณะที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกทะยานขึ้น ล้วนแล้วแต่ทำให้คนในวงการทั้งหมดพุ่งความสนใจมายังตัวรัฐมนตรีคลัง ผู้ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษาคนสำคัญที่สุดของประธานาธิบดีในด้านเศรษฐกิจ
นอกจากแกรมม์กับฟิโอรินาแล้ว คนในวอลสตรีทบางคนก็ยังมอง มาร์ติน เฟลด์สไตน์ นักเศรษฐศาสตร์จากฮาร์วาร์ดเอาไว้ด้วยว่าอาจจะอยู่ในรายชื่อรัฐบาลของแมคเคนหากว่าเขาชนะการเลือกตั้ง ตัวเฟลด์สไตน์เองนั้นมีประสบการณ์ไม่น้อยเกี่ยวกับการวางนโยบายเศรษฐกิจมาเพราะเคยเป็นที่ปรึกษาในสมัยประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ในขณะที่บางคนบอกว่าแมคเคนอาจจะเจรจาให้พอลสันอยู่ในตำแหน่งต่อไป
ส่วนโอบามาก็อาจจะให้ ลอว์เรนซ์ ซัมเมอร์ส อดีตรัฐมนตรีคลังเข้ามารับตำแหน่งนี้อีกครั้งหนึ่ง หรือหากเขาต้องการที่เดินตามกระแสนิยมล่าสุดที่เอาอดีตผู้บริหารจากโกลด์แมนแซคส์ สถาบันการเงินที่กำลังเผชิญปัญหาตอนนี้เข้ามาเป็นรัฐมนตรี ก็น่าจะหันไปมองจอน คอร์ซีเน ซึ่งตอนนี้เป็นผู้ว่าการรัฐนิวเจอร์ซีเข้ามาเป็นขุนคลังก็ได้
แต่แชนด์เลอร์เองก็ยอมรับว่ามันยังเร็วเกินไปที่จะมาเดาตัวบุคคลในตอนนี้ แต่สิ่งที่เขากำลังตามดูก็คือทีมที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของทั้งแมคเคนและโอบาม่าซึ่งได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ซึ่งน่าจะแสดงให้เห็นว่าทั้งสองคนจะมีนโยบายต่อเศรษฐกิจแบบใดกันแน่
ฟิโอรินาซึ่งอยู่ในทีมของแมคเคนบอกว่าแมคเคนจะเลือกใช้ “ยาแรง” เพื่อเข้าแทรกแซงค่าเงินดอลลาร์ให้แข็งแกร่งมากขึ้นหากว่าสถานการณ์เรียกร้อง นอกจากนี้แมคเคนยังคงเชื่อมั่นในตัวเบอร์นันกี ประธานเฟดอย่างมากด้วย
ขณะที่โอบามาก็มีทีมงานอย่างเจสัน เฟอร์แมน ซึ่งเคยเป็นผู้ช่วยของโรเบิร์ต รูบิน อดีตรัฐมนตรีคลัง ตอนนี้เฟอร์แมนมาเป็นหัวหน้าฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจของโอบามาแล้ว และก็ยังมีออสตัน กูลสบีซึ่งเป็นผู้มีอิทธิพลสูงในการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจของโอบามาเมื่อหาเสียงเป็นวุฒิสมาชิกของอิลลินอยส์
“คุณอาจจะคาดว่าฟิล แกรมม์ จะอยู่ในรายชื่อที่แมคเคนจะเลือก” เกรก แวลเลียร์ หัวหน้านักยุทธศาสตร์ที่แสตนฟอร์ด วอชิงตัน รีเสิร์ช กรุ๊ป กล่าว แกรมม์นั้นเป็นรองประธานของธนาคารยูบีเอสอินเวสเมนท์ และเป็นอดีตวุฒิสมาชิกของเทกซัส ขณะนี้เป็นหนึ่งในทีมหาเสียงของจอห์น แมคเคน ว่าที่ตัวแทนพรรครีพับลิกันในการชิงชัยตำแหน่งประธานาธิบดี
แวลเลียร์ยังบอกอีกว่าผู้ที่อยู่ในอันดับต้น ๆของรายชื่อของแมคเคนอีกก็น่าจะมี คาร์ลี ฟิโอริน่า อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารของฮิวเล็ตต์-แพ็คการ์ด บริษัทคอมพิวเตอร์ยักษ์
สำหรับบารัค โอบามา ว่าที่ตัวแทนของพรรคเดโมแครตแล้ว พวกวงการการเงินกำลังตื่นเต้นเพราะมีความเป็นไปได้ที่ ทิโมธี เกธเนอร์ ประธานธนาคารกลางสาขานิวยอร์ก ซึ่งเป็นเคยอยู่ในคณะรัฐบาลของบิล คลินตันมาก่อน อาจจะได้รับการวางตัวในตำแหน่งขุนคลัง
“เกธเนอร์ได้รับความนิยมมากในวอลสตรีท เขาเข้าใจความซับซ้อนของตลาดและภาวะสินเชื่อตึงตัวได้เป็นอย่างดี แถมเขายังมีเครือข่ายสายสัมพันธ์กว้างขวางมากด้วย” แวลเลียร์บอก
ทั้งแวลเลียร์ และมาร์ค แชนด์เลอร์ ผู้เป็นนักยุทธศาสตร์อยู่ที่บราวน์ บราเธอร์ส ฮาร์ริแมน เห็นว่าผู้ที่เหมาะสมกับตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงการคลังอีกคนหนึ่งหากว่าโอบามาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีก็คือ ลอรา ไทสัน ที่เคยเป็นประธานที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจของประธานาธิบดีบิลล์ คลินตัน และตอนนี้สอนหนังสืออยู่ที่มหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเบิร์กเลย์ และเธอก็ได้เริ่มให้คำปรึกษาหลายอย่างแก่โอบามาในระยะหลัง
แม้จะเดากันมากมาย แต่กว่าประธานาธิบดีคนใหม่จะเริ่มการคัดเลือกรัฐมนตรีคลังและตำแหน่งอื่น ๆอย่างเป็นทางการได้ก็ต้องหลังการเลือกตั้งไปแล้ว นอกจากนี้ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุชและรัฐมนตรีคลัง เฮนรี่ พอลสันก็จะทำงานต่อไปจนถึงวันที่ 20 มกราคมปีหน้า
กระนั้นก็ตาม พวกนักลงทุนก็สนใจเรื่องใครจะมาเป็นรัฐมนตรีคลังอย่างมาก เพราะว่าตำแหน่งนี้เกี่ยวพันกับตลาดเงินและเศรษฐกิจของอเมริกันอย่างลึกซึ้งนับตั้งแต่การผลิตเหรียญไปจนถึงช่วยธนาคารกลางกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์
ตลาดวอลสตรีทนั้นมองว่ารัฐมนตรีคลังเป็นประชาสัมพันธ์หลักของนโยบายค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯของรัฐบาล รวมทั้งเป็นมือแก้ไขวิกฤตในช่วงเศรษฐกิจปั่นป่วนและก็เป็นหนึ่งในที่ปรึกษาที่ช่วยในการก่อรูปนโยบายเศรษฐกิจของประธานาธิบดี
และเมื่อเร็ว ๆนี้ รัฐมนตรีคลังก็ได้เพิ่มบทบาทการเป็นทูตกระชับสัมพันธ์ระหว่างประเทศเข้ามาอีกด้วย หน้าที่สำคัญอันหนึ่งของพอลสันก็คือนำการเจรจากับจีนในเรื่องค่าเงินและการค้า เพื่อแก้ไขความขัดแย้งระหว่างทั้งสองประเทศที่มีอยู่หลายเรื่องและโน้มน้าวให้จีนยอมทำตามสิ่งที่สหรัฐฯต้องการในหลายเรื่อง โดยเฉพาะ การเร่งปล่อยค่าเงินหยวนให้แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบเงินดอลลาร์สหรัฐฯเพื่อแก้การขาดดุลการค้าที่สหรัฐฯต่อมีจีนอย่างมหาศาล
เศรษฐกิจสหรัฐฯที่กำลังอ่อนแอ, ค่าเงินดอลลาร์ที่ร่วงลงเรื่อย ๆ, ราคาหุ้นตกต่ำ, วิกฤตบ้านยังคงดำเนินไป ขณะที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกทะยานขึ้น ล้วนแล้วแต่ทำให้คนในวงการทั้งหมดพุ่งความสนใจมายังตัวรัฐมนตรีคลัง ผู้ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษาคนสำคัญที่สุดของประธานาธิบดีในด้านเศรษฐกิจ
นอกจากแกรมม์กับฟิโอรินาแล้ว คนในวอลสตรีทบางคนก็ยังมอง มาร์ติน เฟลด์สไตน์ นักเศรษฐศาสตร์จากฮาร์วาร์ดเอาไว้ด้วยว่าอาจจะอยู่ในรายชื่อรัฐบาลของแมคเคนหากว่าเขาชนะการเลือกตั้ง ตัวเฟลด์สไตน์เองนั้นมีประสบการณ์ไม่น้อยเกี่ยวกับการวางนโยบายเศรษฐกิจมาเพราะเคยเป็นที่ปรึกษาในสมัยประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ในขณะที่บางคนบอกว่าแมคเคนอาจจะเจรจาให้พอลสันอยู่ในตำแหน่งต่อไป
ส่วนโอบามาก็อาจจะให้ ลอว์เรนซ์ ซัมเมอร์ส อดีตรัฐมนตรีคลังเข้ามารับตำแหน่งนี้อีกครั้งหนึ่ง หรือหากเขาต้องการที่เดินตามกระแสนิยมล่าสุดที่เอาอดีตผู้บริหารจากโกลด์แมนแซคส์ สถาบันการเงินที่กำลังเผชิญปัญหาตอนนี้เข้ามาเป็นรัฐมนตรี ก็น่าจะหันไปมองจอน คอร์ซีเน ซึ่งตอนนี้เป็นผู้ว่าการรัฐนิวเจอร์ซีเข้ามาเป็นขุนคลังก็ได้
แต่แชนด์เลอร์เองก็ยอมรับว่ามันยังเร็วเกินไปที่จะมาเดาตัวบุคคลในตอนนี้ แต่สิ่งที่เขากำลังตามดูก็คือทีมที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของทั้งแมคเคนและโอบาม่าซึ่งได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ซึ่งน่าจะแสดงให้เห็นว่าทั้งสองคนจะมีนโยบายต่อเศรษฐกิจแบบใดกันแน่
ฟิโอรินาซึ่งอยู่ในทีมของแมคเคนบอกว่าแมคเคนจะเลือกใช้ “ยาแรง” เพื่อเข้าแทรกแซงค่าเงินดอลลาร์ให้แข็งแกร่งมากขึ้นหากว่าสถานการณ์เรียกร้อง นอกจากนี้แมคเคนยังคงเชื่อมั่นในตัวเบอร์นันกี ประธานเฟดอย่างมากด้วย
ขณะที่โอบามาก็มีทีมงานอย่างเจสัน เฟอร์แมน ซึ่งเคยเป็นผู้ช่วยของโรเบิร์ต รูบิน อดีตรัฐมนตรีคลัง ตอนนี้เฟอร์แมนมาเป็นหัวหน้าฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจของโอบามาแล้ว และก็ยังมีออสตัน กูลสบีซึ่งเป็นผู้มีอิทธิพลสูงในการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจของโอบามาเมื่อหาเสียงเป็นวุฒิสมาชิกของอิลลินอยส์