รอยเตอร์ - ธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์เรียกร้องทั้ง ยูบีเอส และ เครดีต์ สวิส สองแบงก์ยักษ์ใหญ่ของประเทศ ให้เพิ่มเม็ดเงินในกองทุน เป็นการรองรับความเสี่ยงทางการเงิน เพื่อให้รอดพ้นจากความหายนะจากการลงทุนในตราสารซับไพรม์ ซึ่งกำลังกัดกร่อนชื่อเสียงของประเทศในฐานะที่เป็นศูนย์กลางการเงินที่ทั่วโลกให้ความเชื่อมั่นสูงอย่างรุนแรง
และหากว่าทั้งยูบีเอสและเครดีต์ สวิสทำตามความต้องการของธนาคารกลาง ก็เท่ากับว่าธนาคารทั้งสองจะต้องสั่งสมปริมาณเงินทุน สูงกว่าคู่แข่งทั้งในอังกฤษและสหรัฐฯที่ประสบปัญหาเดียวกันมาก และก็จะกลายเป็นภาระอันมหาศาลของธุรกิจวาณิชธนกิจของธนาคารทั้งสอง
ความกังวลที่ว่าฐานะอันซวดเซของธนาคารทั้งสองจะกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างรุนแรง ทำให้ธนาคารกลางแห่งสวิสต้องออกพิมพ์เขียวเพื่อฟื้นฟูระบบธนาคารในประเทศแข็งแกร่งมากขึ้น เอาไว้ในรายงานด้านเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ ซึ่งได้นำออกเผยแพร่วานนี้ (19)
พิมพ์เขียวดังกล่าวได้เน้นถึงความจำเป็นที่ "ธนาคารขนาดใหญ่ทั้งหลายจะต้องมีเงินทุนสำรองป้องกันความเสี่ยงเพิ่มขึ้น" เพราะ "เมื่อคิดจากขนาดและความสำคัญของธนาคารเหล่านี้ต่อเศรษฐกิจของสวิตเซอร์แลนด์ ทำให้จำเป็นจะต้องมีการตัดสินที่แน่วแน่เกี่ยวกับระดับของเงินกองทุนที่รองรับความเสี่ยงต่าง ๆของธนาคารเหล่านี้"
สวิตเซอร์แลนด์ซึ่งมีชื่อเสียงมานานในฐานะสถานที่ฝากเงินที่มั่นคงที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ต้องสะท้านสะเทือนเมื่อได้รับรู้ว่า ธนาคารยูบีเอส อันเป็นสถาบันการเงินอันดับต้น ๆของประเทศ ต้องตัดยอดขาดทุนสูงถึง 37,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สูงกว่าธนาคารโรยัลแบงก์ออฟสก๊อตแลนด์ คู่แข่งสำคัญถึงสองเท่า
ยูบีเอส ซึ่งมีภาพลักษณ์เป็นเสาหลักของอุตสาหกรรมการเงินที่ชาวสวิสภาคภูมิใจ แต่มาบัดนี้ได้กลายสภาพเป็นเหยื่อรายใหญ่ที่สุดในยุโรปของวิกฤตการเงินโลกที่ลุกลามมาจากตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯไปเสียแล้ว และทำให้คณะกรรมาธิการการธนาคารแห่งสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งกำกับดูแลธุรกิจธนาคารพาณิชย์ของประเทศ ต้องออกมาแนะให้เพิ่มสัดส่วนการดำรงเงินกองทุนสำหรับธุรกิจวาณิชธนกิจให้มากกว่าเดิม เพื่อเรียกความแข็งแกร่งให้กลับมา
แต่เหตุการณ์ก็ย่ำแย่ลงไปอีก เมื่อมีสัญญาณว่าบรรดาลูกค้าที่ล้วนแล้วแต่เป็นอัครมหาเศรษฐีไม่ไว้วางใจธนาคารแห่งนี้ต่อไปอีกแล้ว เม็ดเงินที่เคยหลั่งไหลเข้ามาสู่ธุรกิจบริหารสินทรัพย์ของธนาคารอย่างมหาศาล ในช่วงสามเดือนแรกของปีนี้เหลือเพียงแค่หยดกระเซ็นกระสายเท่านั้น
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเสมือนกริ่งนาฬิกาปลุกที่สะท้อนสะท้านไปทั่วสวิตเซอร์แลนด์ เนื่องเพราะความรุ่งเรืองด้านเศรษฐกิจของดินแดนแห่งนี้ ผูกพันกับการให้บริการด้านธนาคารให้กับคนร่ำรวยระดับโลกอย่างแนบแน่น ระเบียบเรื่องความลับลูกค้าที่ธนาคารของสวิตเซอร์แลนด์ถือปฏิบัติมานาน ทำให้บรรดาเศรษฐีในประเทศที่มีระเบียบภาษีเข้มงวดอย่างเยอรมนี หรือประเทศที่ไร้กฎเกณฑ์และเต็มไปด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างรัสเซีย ได้อาศัยเป็นแหล่งฝากเงินมาเนิ่นนาน เพื่อให้ปกปิดสถานะความร่ำรวยของตนเอง
สิ่งที่ทำให้ทางการต้องปวดหัวซ้ำสองก็คือ ธนาคารทั้งสองแห่งยังมีบทบาทสูงทั้งด้านการเงินรายย่อย และเป็นกลไกสำหรับการดำเนินนโยบายการเงินของทางการ กล่าวคือ เนื่องจากธนาคารทั้งสองมีสาขากระจายอยู่ทั่วประเทศ ทำให้ทั้งเครดีต์ สวิสและยูบีเอสเป็นผู้เล่นรายใหญ่ที่สุดในตลาดการเงินรายย่อย แถมยังเป็นช่องทางให้ธนาคารกลางอัดฉีดเงินเข้าสู่ตลาดอินเตอร์แบงก์ในประเทศอีกด้วย
ระเบียบที่มีอยู่ในตอนนี้กำหนดว่าธนาคารพาณิชย์จะต้องสำรองเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงเป็นจำนวนเท่าไรนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของทรัพย์สินที่ธนาคารถือไว้ เช่น พันธบัตรรัฐบาล, สินเชื่อบัตรเครดิต, สินเชื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งแต่ละประเภทมีความเสี่ยงที่จะเรียกเงินที่ลงทุนไปคืนไม่ได้ในระดับที่ต่างกันไป และหากธนาคารมีทรัพย์สินที่มองกันว่ามีความเสี่ยงน้อย หรือ เข้าขั้น"ความปลอดภัย" ก็จะสามารถสำรองเม็ดเงินน้อยกว่าประเภทอื่น ๆ และตรงนี้เองที่ธนาคารกลางของสวิสต้องการเปลี่ยนแปลง เพราะวิกฤตที่เกิดขึ้นในขณะนี้ได้ทำให้ทรัพย์สินที่มี "ปลอดภัย" กลายเป็นทรัพย์สินที่ไม่อาจเปลี่ยนมือได้ หรืออีกนัยหนึ่ง ขายไม่ออก
ทางการสวิสต้องการแก้ไขปัญหานี้ โดยการนำเอาแนวคิดอัตราส่วนวัดความสามารถในการก่อหนี้ (leverage ratio)เข้ามาใช้ในการคิดสัดส่วนเงินกองทุนสำรองต่อสินทรัพย์เสี่ยง ซึ่งจะบีบให้ธนาคารต้องใส่เม็ดเงินเข้ามาในกองทุนเพิ่มขึ้น
"การก่อหนี้ที่มีความเสี่ยงของธนาคารในสวิตเซอร์แลนด์นั้นอยู่ในระดับที่สูงเป็นพิเศษ" ....ดังที่ความปั่นป่วนที่มีอยู่ในปัจจุบันได้แสดงให้เราเห็นแล้วว่า ผลของความเสี่ยงในการก่อหนี้ที่อยู่ในระดับสูงก็คือการขาดทุน ซึ่งแม้ว่าจะดูเหมือนน้อยนิดเมื่อเทียบกับทรัพย์สินที่ธนาคารมีอยู่ แต่ก็สามารถละลายเงินกองทุนของธนาคารไปได้เป็นจำวนมหาศาล" รายงานของธนาคารกลางชี้
และหากว่าทั้งยูบีเอสและเครดีต์ สวิสทำตามความต้องการของธนาคารกลาง ก็เท่ากับว่าธนาคารทั้งสองจะต้องสั่งสมปริมาณเงินทุน สูงกว่าคู่แข่งทั้งในอังกฤษและสหรัฐฯที่ประสบปัญหาเดียวกันมาก และก็จะกลายเป็นภาระอันมหาศาลของธุรกิจวาณิชธนกิจของธนาคารทั้งสอง
ความกังวลที่ว่าฐานะอันซวดเซของธนาคารทั้งสองจะกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างรุนแรง ทำให้ธนาคารกลางแห่งสวิสต้องออกพิมพ์เขียวเพื่อฟื้นฟูระบบธนาคารในประเทศแข็งแกร่งมากขึ้น เอาไว้ในรายงานด้านเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ ซึ่งได้นำออกเผยแพร่วานนี้ (19)
พิมพ์เขียวดังกล่าวได้เน้นถึงความจำเป็นที่ "ธนาคารขนาดใหญ่ทั้งหลายจะต้องมีเงินทุนสำรองป้องกันความเสี่ยงเพิ่มขึ้น" เพราะ "เมื่อคิดจากขนาดและความสำคัญของธนาคารเหล่านี้ต่อเศรษฐกิจของสวิตเซอร์แลนด์ ทำให้จำเป็นจะต้องมีการตัดสินที่แน่วแน่เกี่ยวกับระดับของเงินกองทุนที่รองรับความเสี่ยงต่าง ๆของธนาคารเหล่านี้"
สวิตเซอร์แลนด์ซึ่งมีชื่อเสียงมานานในฐานะสถานที่ฝากเงินที่มั่นคงที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ต้องสะท้านสะเทือนเมื่อได้รับรู้ว่า ธนาคารยูบีเอส อันเป็นสถาบันการเงินอันดับต้น ๆของประเทศ ต้องตัดยอดขาดทุนสูงถึง 37,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สูงกว่าธนาคารโรยัลแบงก์ออฟสก๊อตแลนด์ คู่แข่งสำคัญถึงสองเท่า
ยูบีเอส ซึ่งมีภาพลักษณ์เป็นเสาหลักของอุตสาหกรรมการเงินที่ชาวสวิสภาคภูมิใจ แต่มาบัดนี้ได้กลายสภาพเป็นเหยื่อรายใหญ่ที่สุดในยุโรปของวิกฤตการเงินโลกที่ลุกลามมาจากตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯไปเสียแล้ว และทำให้คณะกรรมาธิการการธนาคารแห่งสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งกำกับดูแลธุรกิจธนาคารพาณิชย์ของประเทศ ต้องออกมาแนะให้เพิ่มสัดส่วนการดำรงเงินกองทุนสำหรับธุรกิจวาณิชธนกิจให้มากกว่าเดิม เพื่อเรียกความแข็งแกร่งให้กลับมา
แต่เหตุการณ์ก็ย่ำแย่ลงไปอีก เมื่อมีสัญญาณว่าบรรดาลูกค้าที่ล้วนแล้วแต่เป็นอัครมหาเศรษฐีไม่ไว้วางใจธนาคารแห่งนี้ต่อไปอีกแล้ว เม็ดเงินที่เคยหลั่งไหลเข้ามาสู่ธุรกิจบริหารสินทรัพย์ของธนาคารอย่างมหาศาล ในช่วงสามเดือนแรกของปีนี้เหลือเพียงแค่หยดกระเซ็นกระสายเท่านั้น
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเสมือนกริ่งนาฬิกาปลุกที่สะท้อนสะท้านไปทั่วสวิตเซอร์แลนด์ เนื่องเพราะความรุ่งเรืองด้านเศรษฐกิจของดินแดนแห่งนี้ ผูกพันกับการให้บริการด้านธนาคารให้กับคนร่ำรวยระดับโลกอย่างแนบแน่น ระเบียบเรื่องความลับลูกค้าที่ธนาคารของสวิตเซอร์แลนด์ถือปฏิบัติมานาน ทำให้บรรดาเศรษฐีในประเทศที่มีระเบียบภาษีเข้มงวดอย่างเยอรมนี หรือประเทศที่ไร้กฎเกณฑ์และเต็มไปด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างรัสเซีย ได้อาศัยเป็นแหล่งฝากเงินมาเนิ่นนาน เพื่อให้ปกปิดสถานะความร่ำรวยของตนเอง
สิ่งที่ทำให้ทางการต้องปวดหัวซ้ำสองก็คือ ธนาคารทั้งสองแห่งยังมีบทบาทสูงทั้งด้านการเงินรายย่อย และเป็นกลไกสำหรับการดำเนินนโยบายการเงินของทางการ กล่าวคือ เนื่องจากธนาคารทั้งสองมีสาขากระจายอยู่ทั่วประเทศ ทำให้ทั้งเครดีต์ สวิสและยูบีเอสเป็นผู้เล่นรายใหญ่ที่สุดในตลาดการเงินรายย่อย แถมยังเป็นช่องทางให้ธนาคารกลางอัดฉีดเงินเข้าสู่ตลาดอินเตอร์แบงก์ในประเทศอีกด้วย
ระเบียบที่มีอยู่ในตอนนี้กำหนดว่าธนาคารพาณิชย์จะต้องสำรองเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงเป็นจำนวนเท่าไรนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของทรัพย์สินที่ธนาคารถือไว้ เช่น พันธบัตรรัฐบาล, สินเชื่อบัตรเครดิต, สินเชื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งแต่ละประเภทมีความเสี่ยงที่จะเรียกเงินที่ลงทุนไปคืนไม่ได้ในระดับที่ต่างกันไป และหากธนาคารมีทรัพย์สินที่มองกันว่ามีความเสี่ยงน้อย หรือ เข้าขั้น"ความปลอดภัย" ก็จะสามารถสำรองเม็ดเงินน้อยกว่าประเภทอื่น ๆ และตรงนี้เองที่ธนาคารกลางของสวิสต้องการเปลี่ยนแปลง เพราะวิกฤตที่เกิดขึ้นในขณะนี้ได้ทำให้ทรัพย์สินที่มี "ปลอดภัย" กลายเป็นทรัพย์สินที่ไม่อาจเปลี่ยนมือได้ หรืออีกนัยหนึ่ง ขายไม่ออก
ทางการสวิสต้องการแก้ไขปัญหานี้ โดยการนำเอาแนวคิดอัตราส่วนวัดความสามารถในการก่อหนี้ (leverage ratio)เข้ามาใช้ในการคิดสัดส่วนเงินกองทุนสำรองต่อสินทรัพย์เสี่ยง ซึ่งจะบีบให้ธนาคารต้องใส่เม็ดเงินเข้ามาในกองทุนเพิ่มขึ้น
"การก่อหนี้ที่มีความเสี่ยงของธนาคารในสวิตเซอร์แลนด์นั้นอยู่ในระดับที่สูงเป็นพิเศษ" ....ดังที่ความปั่นป่วนที่มีอยู่ในปัจจุบันได้แสดงให้เราเห็นแล้วว่า ผลของความเสี่ยงในการก่อหนี้ที่อยู่ในระดับสูงก็คือการขาดทุน ซึ่งแม้ว่าจะดูเหมือนน้อยนิดเมื่อเทียบกับทรัพย์สินที่ธนาคารมีอยู่ แต่ก็สามารถละลายเงินกองทุนของธนาคารไปได้เป็นจำวนมหาศาล" รายงานของธนาคารกลางชี้