วานนี้ (16ก.ค.) นายวิทวัส ศรีวิหค อธิบดีกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยภายหลัง
หารือร่วมกับ นายสหัส บัณฑิตกุล รองนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการเตรียมการเดินทางร่วมประชุมรัฐมนตรีต่าง
ประเทศอาเซียน ที่ประเทศสิงคโปร์ ภายหลังได้รับมอบหมายจากนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ให้เป็น
ตัวแทน รมว.ต่างประเทศ เดินทางไปร่วมประชุม ว่า นายสหัส จะเดินทางไปในวันที่ 20 ก.ค.นี้
ส่วนปัญหาการเมืองในประเทศที่เกิดขึ้น จะส่งผลต่อการเป็นประธานอาเซียนของไทยหรือไม่นั้น
นายวิทวัส กล่าวว่า ต้องแยกภาพ ระหว่างการเมืองภายในประเทศ และการเมืองระหว่างประเทศ คิดว่าในแง่
ความสัมพันธ์อาเซียนไม่มีผลกระทบอะไร เราพร้อมรับตำแหน่งประธานอาเซียน เรามียุทธศาสตร์ แผนงาน
โครงการ อยู่แล้ว และหลังจากวันที่ 24 ก.ค. ที่เราได้รับการแต่งตั้งไปจนถึงปลายปีหน้า ไทยจะเป็นประธาน
การจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนถึง 2 ครั้ง ในคือวันที่ 15-18 ธ.ค.51 และ ครั้งที่ 2 ในช่วงเดือนพ.ย.– ธ.ค. 52
และจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ในเดือนเม.ย. 52 ด้านการแต่งตั้งคณะกรรมการ
ระดับชาติ โดยนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ด้านความมั่นคง การรักษาความปลอดภัยได้เตรียมพร้อมอย่างเต็มที่
ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในวันที่ 15 -18 ธ.ค. นี้ ซึ่งกฎบัตรอาเซียนมีผลในทางปฏิบัติในประเทศไทย
ซึ่ง 41 ปีที่แล้ว นาย ถนัด คอมันต์ เป็นผู้ก่อตั้งองค์กรนี้ขึ้นมา
เมื่อถามว่า นายสหัส มีความกังวลหรือบ่นว่า เสียวในเรื่องใดหรือไม่ นายวิทวัส กล่าวว่าจริงๆแล้ว
นายสหัส มีความพร้อมพอสมควร
"ท่านมีประสบการณ์ในเวทีต่างประเทศมาเยอะ ซึ่งล่าสุดท่านเพิ่งกลับจากเวที เอฟเอโอ ที่กรุงโรม
ประเทศอิตาลี และก่อนหน้านี้ก็เดินทางมาเยอะ แต่ท่านจะเสียวเรื่องอะไรหรือไม่ ผมตอบแทนท่านไม่ได้ ที่แน่
ๆ เมื่อวานนี้ครม.ก็เสียวกันทั้งคณะ สำหรับกระทรวงต่างประเทศเสียวที่สุด แต่เราก็มั่นใจ ดีอย่างคือกระทรวง
ต่างประเทศมีสิทธิเสรีภาพในการทำงาน โดยไม่มีข้อครหามาเป็นเวลากว่าร้อยปี นับแต่ตั้งกระทรวงมา ไม่มี
เหตุใดๆ ความเห็นที่ให้ไปในเรื่องกฎหมายระหว่างประเทศ ถือเป็นทางการ ในขณะที่กฎหมายภายใน คณะ
กรรมการกฤษฎีกาเป็นผู้ให้ความเห็น ถ้ากฎหมายระหว่างประเทศ กระทรวงต่างประเทศเป็นคนให้คำแนะนำ
หมด เมื่อมีเหตุเกิดขึ้น ทำให้หน่วยงานนี้ต้องฟื้นฟูเกียรติภูมิ ภาพลักษณ์ขึ้นมา เพราะกระทรวงต่างประเทศ ให้
ความเห็นด้านกฎหมายโดยบริสุทธิ์ใจ" นายวิทวัสกล่าว
ส่วนการไปลงนามครั้งนี้ จะขัดมาตรา 190 หรือไม่ นายวิทวัส กล่าวว่า ในที่ประชุมครม.ได้เป็น
ห่วงกันมาก ซึ่งตนได้ยืนยันไปแล้วว่า การลงนามทั้ง 5 ฉบับ ไม่มีส่งผลใดๆ และไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญมาตรา
190 (2) ซึ่งใน 5 ฉบับนั้น จะเป็นเรื่องที่ต้องลงนาม 2 ฉบับ ซึ่งเป็นบันทึกความเข้าใจร่วมระหว่างไทย-
ออสเตรเลีย และไทยในที่นี้หมายถึงในฐานะประธานอาเซียน จะทำการแทน 10 ประเทศ เป็นเรื่องโครงการ
ด้านการพัฒนาให้ความช่วยเหลือประเทศในกลุ่มอาเซียน 10 ประเทศ ประมาณ 57 ล้านเหรียญออสเตรเลีย ซึ่ง
ไม่มีข้อใดๆ แสลง หรือขัดกับรัฐธรรมนูญ การลงนามฉบับนี้ สิงคโปร์สามารถลงนามในนามประธานอาเซียน
ได้ ส่วนอีก 3 ฉบับ เป็นเรื่องที่ต้องรับรอง
เมื่อถามว่า นายเสรี สุวรรณภานนท์ อดีตส.ส.ร. ระบุว่าการลงนามทั้ง 5 ฉบับ ถือเป็นการลงนาม
ระหว่างประเทศ เพราะฉะนั้นเข้าข่ายตามมาตรา 190 (2) นายวิทวัส กล่าวว่า คงต้องมีการปรึกษากับหน่วย
งานที่เกี่ยวข้อง แน่นอนว่าเราจะไม่ทำอะไรที่ผิดรัฐธรรมนูญ จะคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งเป็น
เรื่องที่ได้มีการตกลงกันไว้แล้ว และไม่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เราเตรียมการไว้
แล้วโดยจะมีการอธิบายบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญไทยให้กับประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าใจในเงื่อนไข
กฎหมายสูงสุด
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในการประชุม ครม.เมื่อวันที่ 15 ก.ค. ดูเหมือนนายกรัฐมนตรี และครม.เองก็ไม่
ค่อยมีความมั่นใจในคำแนะนำของกระทรวงการต่างประเทศ ภายหลังจากมีปัญหากรณีปราสาทพระวิหารมา
แล้ว อธิบดีกรมอาเซียน กระทรวงต่างประเทศ กล่าวว่า กรณีปราสาทพระวิหารก็เป็นส่วนหนึ่ง แต่นี่เป็น
เรื่องของสมาคมประชาชาติอาเซียน เป็นผลประโยชน์ของไทย ดังนั้นตนมั่นใจว่าสิ่งต่างๆ ที่ดำเนินตามกรอบ
ความสัมพันธ์อาเซียน จะมีความรอบด้าน แต่หากจะมีเหตุขัดกับกฎหมายสูงสุดของประเทศ ก็ย่อมทำไม่ได้จึง
ต้องอธิบายให้ประเทศสมาชิกเข้าใจ ไม่ใช่ว่าต้องการแก้ไขการเมืองภายในประเทศ แล้วไปกระทบกับความ
สัมพันธ์ระหว่างประเทศ
"ยืนยันว่าทุกฉบับสามารถลงนามได้โดยไม่ต้องผ่านสภา แต่ถ้ามีผู้รู้ชี้ขาด ก็เชื่อว่ารัฐบาลจะรับฟัง
และในที่ประชุมครม. ก็มีผู้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับเรื่องนี้เยอะ" อธิบดีกรมอาเซียน กล่าว
เมื่อถามว่า หากในอนาคตมีการตีความว่าขัดต่อ มาตรา 190 จะทำอย่างไร นายวิทวัส กล่าวว่า การ
ประชุมครั้งนี้ต้องบอกสมาชิกอาเซียนถึงข้อกฎหมายภายในไทยให้เขารับทราบ ซึ่งข้อตกลงทั้งหลายก็สามารถ
เปิดเผยได้ และสื่อสามารถนำไปดูได้
เมื่อถามถึงการเปิดสภาเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายวิทวัส กล่าวว่า ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ มาตรา 190
ไม่ทราบว่ามีการปฏิบัติอย่างไร อะไรบ้างที่เข้าข่าย หรือไม่เข้าข่าย จะต้องจัดทำประชาพิจารณ์หรือไม่ หรือ
ต้องเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภา การซักซ้อมสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ถือเป็นท่าทีการปกป้อง ท่าทีของไทยในเวที
ต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เช่นนั้น เราถือไพ่อะไรไปก็เท่ากับ เราเอาไพ่ใบนั้นเปิดเผยไปทั่ว
ประเทศก่อน ก่อนที่จะไปเจรจา ซึ่งไม่มีใครทำอย่างนั้น มันกว้างมากที่กฎหมายระบุว่า กระทบกระเทือนต่อ
สังคม เศรษฐกิจและความมั่นคง หากมีคนไม่พอใจมาถือป้ายชุมนุมประท้วงถึง 200 คน ก็เข้าข่ายแล้ว ดังนั้น
อะไรที่กว้างเกินไป ก็ต้องหาทาง
เมื่อถามว่า กระทรวงต่างประเทศมีการสอบถามถึงการใช้ มาตรา 190 ไปยังสภาหรือไม่ นายวิทวัส
กล่าวว่า พยายามทำอยู่ แต่จังหวะเวลาไม่อำนวย ตั้งแต่ 19 ก.ย. 49 รัฐบาลต้องฟื้นฟูภาพลักษณ์ แก้ไขปัญหา
ภาคใต้ เลือกตั้งใหม่ เข้ามาแล้วยังมีการโต้แย้งกันในประเทศ สภาเปิดก็มีเรื่องต่างๆ เต็มไปหมด จนสภาปิด
จังหวะเวลาเป็นอย่างนี้ เรามีแผนในการปฏิบัติการพร้อมเสมอ นักกฎหมายมีการเตรียมการ การเจรจาต้องให้
คนรับรู้ ในกระบวนการหารือทุกฝ่ายเข้าใจ ดังนั้นมาตรา 190 ต้องมีการปรับอย่างไรเพื่อให้ชาติไม่เสียท่าที การ
เจรจาระหว่างประเทศ คิดว่าเข้าใจ สมมติว่าถ้าเอาทุกอย่างมาเป็นประเด็นการเมือง จะเป็นอีกภาพหนึ่ง เป็น
การเอาชนะคะคานกัน แง่มุมทางการเมืองต่าง ๆ แต่ทางกระทรวงการต่างประเทศพยายามหลีกเลี่ยงภาพเหล่า
นั้น เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องซีเรียส ถ้าจะต้องแก้มาตรา 190 ก็ต้องแก้ ถ้าไม่แก้ก็ต้องมีเหตุผลกัน
หารือร่วมกับ นายสหัส บัณฑิตกุล รองนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการเตรียมการเดินทางร่วมประชุมรัฐมนตรีต่าง
ประเทศอาเซียน ที่ประเทศสิงคโปร์ ภายหลังได้รับมอบหมายจากนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ให้เป็น
ตัวแทน รมว.ต่างประเทศ เดินทางไปร่วมประชุม ว่า นายสหัส จะเดินทางไปในวันที่ 20 ก.ค.นี้
ส่วนปัญหาการเมืองในประเทศที่เกิดขึ้น จะส่งผลต่อการเป็นประธานอาเซียนของไทยหรือไม่นั้น
นายวิทวัส กล่าวว่า ต้องแยกภาพ ระหว่างการเมืองภายในประเทศ และการเมืองระหว่างประเทศ คิดว่าในแง่
ความสัมพันธ์อาเซียนไม่มีผลกระทบอะไร เราพร้อมรับตำแหน่งประธานอาเซียน เรามียุทธศาสตร์ แผนงาน
โครงการ อยู่แล้ว และหลังจากวันที่ 24 ก.ค. ที่เราได้รับการแต่งตั้งไปจนถึงปลายปีหน้า ไทยจะเป็นประธาน
การจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนถึง 2 ครั้ง ในคือวันที่ 15-18 ธ.ค.51 และ ครั้งที่ 2 ในช่วงเดือนพ.ย.– ธ.ค. 52
และจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ในเดือนเม.ย. 52 ด้านการแต่งตั้งคณะกรรมการ
ระดับชาติ โดยนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ด้านความมั่นคง การรักษาความปลอดภัยได้เตรียมพร้อมอย่างเต็มที่
ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในวันที่ 15 -18 ธ.ค. นี้ ซึ่งกฎบัตรอาเซียนมีผลในทางปฏิบัติในประเทศไทย
ซึ่ง 41 ปีที่แล้ว นาย ถนัด คอมันต์ เป็นผู้ก่อตั้งองค์กรนี้ขึ้นมา
เมื่อถามว่า นายสหัส มีความกังวลหรือบ่นว่า เสียวในเรื่องใดหรือไม่ นายวิทวัส กล่าวว่าจริงๆแล้ว
นายสหัส มีความพร้อมพอสมควร
"ท่านมีประสบการณ์ในเวทีต่างประเทศมาเยอะ ซึ่งล่าสุดท่านเพิ่งกลับจากเวที เอฟเอโอ ที่กรุงโรม
ประเทศอิตาลี และก่อนหน้านี้ก็เดินทางมาเยอะ แต่ท่านจะเสียวเรื่องอะไรหรือไม่ ผมตอบแทนท่านไม่ได้ ที่แน่
ๆ เมื่อวานนี้ครม.ก็เสียวกันทั้งคณะ สำหรับกระทรวงต่างประเทศเสียวที่สุด แต่เราก็มั่นใจ ดีอย่างคือกระทรวง
ต่างประเทศมีสิทธิเสรีภาพในการทำงาน โดยไม่มีข้อครหามาเป็นเวลากว่าร้อยปี นับแต่ตั้งกระทรวงมา ไม่มี
เหตุใดๆ ความเห็นที่ให้ไปในเรื่องกฎหมายระหว่างประเทศ ถือเป็นทางการ ในขณะที่กฎหมายภายใน คณะ
กรรมการกฤษฎีกาเป็นผู้ให้ความเห็น ถ้ากฎหมายระหว่างประเทศ กระทรวงต่างประเทศเป็นคนให้คำแนะนำ
หมด เมื่อมีเหตุเกิดขึ้น ทำให้หน่วยงานนี้ต้องฟื้นฟูเกียรติภูมิ ภาพลักษณ์ขึ้นมา เพราะกระทรวงต่างประเทศ ให้
ความเห็นด้านกฎหมายโดยบริสุทธิ์ใจ" นายวิทวัสกล่าว
ส่วนการไปลงนามครั้งนี้ จะขัดมาตรา 190 หรือไม่ นายวิทวัส กล่าวว่า ในที่ประชุมครม.ได้เป็น
ห่วงกันมาก ซึ่งตนได้ยืนยันไปแล้วว่า การลงนามทั้ง 5 ฉบับ ไม่มีส่งผลใดๆ และไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญมาตรา
190 (2) ซึ่งใน 5 ฉบับนั้น จะเป็นเรื่องที่ต้องลงนาม 2 ฉบับ ซึ่งเป็นบันทึกความเข้าใจร่วมระหว่างไทย-
ออสเตรเลีย และไทยในที่นี้หมายถึงในฐานะประธานอาเซียน จะทำการแทน 10 ประเทศ เป็นเรื่องโครงการ
ด้านการพัฒนาให้ความช่วยเหลือประเทศในกลุ่มอาเซียน 10 ประเทศ ประมาณ 57 ล้านเหรียญออสเตรเลีย ซึ่ง
ไม่มีข้อใดๆ แสลง หรือขัดกับรัฐธรรมนูญ การลงนามฉบับนี้ สิงคโปร์สามารถลงนามในนามประธานอาเซียน
ได้ ส่วนอีก 3 ฉบับ เป็นเรื่องที่ต้องรับรอง
เมื่อถามว่า นายเสรี สุวรรณภานนท์ อดีตส.ส.ร. ระบุว่าการลงนามทั้ง 5 ฉบับ ถือเป็นการลงนาม
ระหว่างประเทศ เพราะฉะนั้นเข้าข่ายตามมาตรา 190 (2) นายวิทวัส กล่าวว่า คงต้องมีการปรึกษากับหน่วย
งานที่เกี่ยวข้อง แน่นอนว่าเราจะไม่ทำอะไรที่ผิดรัฐธรรมนูญ จะคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งเป็น
เรื่องที่ได้มีการตกลงกันไว้แล้ว และไม่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เราเตรียมการไว้
แล้วโดยจะมีการอธิบายบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญไทยให้กับประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าใจในเงื่อนไข
กฎหมายสูงสุด
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในการประชุม ครม.เมื่อวันที่ 15 ก.ค. ดูเหมือนนายกรัฐมนตรี และครม.เองก็ไม่
ค่อยมีความมั่นใจในคำแนะนำของกระทรวงการต่างประเทศ ภายหลังจากมีปัญหากรณีปราสาทพระวิหารมา
แล้ว อธิบดีกรมอาเซียน กระทรวงต่างประเทศ กล่าวว่า กรณีปราสาทพระวิหารก็เป็นส่วนหนึ่ง แต่นี่เป็น
เรื่องของสมาคมประชาชาติอาเซียน เป็นผลประโยชน์ของไทย ดังนั้นตนมั่นใจว่าสิ่งต่างๆ ที่ดำเนินตามกรอบ
ความสัมพันธ์อาเซียน จะมีความรอบด้าน แต่หากจะมีเหตุขัดกับกฎหมายสูงสุดของประเทศ ก็ย่อมทำไม่ได้จึง
ต้องอธิบายให้ประเทศสมาชิกเข้าใจ ไม่ใช่ว่าต้องการแก้ไขการเมืองภายในประเทศ แล้วไปกระทบกับความ
สัมพันธ์ระหว่างประเทศ
"ยืนยันว่าทุกฉบับสามารถลงนามได้โดยไม่ต้องผ่านสภา แต่ถ้ามีผู้รู้ชี้ขาด ก็เชื่อว่ารัฐบาลจะรับฟัง
และในที่ประชุมครม. ก็มีผู้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับเรื่องนี้เยอะ" อธิบดีกรมอาเซียน กล่าว
เมื่อถามว่า หากในอนาคตมีการตีความว่าขัดต่อ มาตรา 190 จะทำอย่างไร นายวิทวัส กล่าวว่า การ
ประชุมครั้งนี้ต้องบอกสมาชิกอาเซียนถึงข้อกฎหมายภายในไทยให้เขารับทราบ ซึ่งข้อตกลงทั้งหลายก็สามารถ
เปิดเผยได้ และสื่อสามารถนำไปดูได้
เมื่อถามถึงการเปิดสภาเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายวิทวัส กล่าวว่า ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ มาตรา 190
ไม่ทราบว่ามีการปฏิบัติอย่างไร อะไรบ้างที่เข้าข่าย หรือไม่เข้าข่าย จะต้องจัดทำประชาพิจารณ์หรือไม่ หรือ
ต้องเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภา การซักซ้อมสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ถือเป็นท่าทีการปกป้อง ท่าทีของไทยในเวที
ต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เช่นนั้น เราถือไพ่อะไรไปก็เท่ากับ เราเอาไพ่ใบนั้นเปิดเผยไปทั่ว
ประเทศก่อน ก่อนที่จะไปเจรจา ซึ่งไม่มีใครทำอย่างนั้น มันกว้างมากที่กฎหมายระบุว่า กระทบกระเทือนต่อ
สังคม เศรษฐกิจและความมั่นคง หากมีคนไม่พอใจมาถือป้ายชุมนุมประท้วงถึง 200 คน ก็เข้าข่ายแล้ว ดังนั้น
อะไรที่กว้างเกินไป ก็ต้องหาทาง
เมื่อถามว่า กระทรวงต่างประเทศมีการสอบถามถึงการใช้ มาตรา 190 ไปยังสภาหรือไม่ นายวิทวัส
กล่าวว่า พยายามทำอยู่ แต่จังหวะเวลาไม่อำนวย ตั้งแต่ 19 ก.ย. 49 รัฐบาลต้องฟื้นฟูภาพลักษณ์ แก้ไขปัญหา
ภาคใต้ เลือกตั้งใหม่ เข้ามาแล้วยังมีการโต้แย้งกันในประเทศ สภาเปิดก็มีเรื่องต่างๆ เต็มไปหมด จนสภาปิด
จังหวะเวลาเป็นอย่างนี้ เรามีแผนในการปฏิบัติการพร้อมเสมอ นักกฎหมายมีการเตรียมการ การเจรจาต้องให้
คนรับรู้ ในกระบวนการหารือทุกฝ่ายเข้าใจ ดังนั้นมาตรา 190 ต้องมีการปรับอย่างไรเพื่อให้ชาติไม่เสียท่าที การ
เจรจาระหว่างประเทศ คิดว่าเข้าใจ สมมติว่าถ้าเอาทุกอย่างมาเป็นประเด็นการเมือง จะเป็นอีกภาพหนึ่ง เป็น
การเอาชนะคะคานกัน แง่มุมทางการเมืองต่าง ๆ แต่ทางกระทรวงการต่างประเทศพยายามหลีกเลี่ยงภาพเหล่า
นั้น เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องซีเรียส ถ้าจะต้องแก้มาตรา 190 ก็ต้องแก้ ถ้าไม่แก้ก็ต้องมีเหตุผลกัน