xs
xsm
sm
md
lg

งุบงิบได้ใจ..“ฮุนเซน” ยังไม่คายแผนที่พระวิหาร

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#FF0000>ปราสาทพระวิหารกับอาณาบริเวณความยาวกว่า 800 เมตรจากชะง่อนผา ซึ่งเป็นแนวสันปันน้ำที่ควรจะเป็นเส้นพรมแดนธรรมชาติไทย-กัมพูชา ตามหลักสากล ทั้งที่ตั้งและอาณาบริเวณโดยรอบจึงเป็นกรณีพิพาทมายาวนานเกือบครึ่งศตวรรษ แม้ว่าศาลโลกจะตัดสินให้ปราสาทเก่าแก่อายุกว่า 1,000 ปี ตกเป็นของกัมพูชาไปแล้วก็ตาม</FONT></CENTER>

ผู้จัดการออนไลน์ -- คณะกรรมาธิการการต่างประเทศรัฐสภากัมพูชาทนไม่ไหว รัฐบาลไม่โปร่งใสกรณีเซ็นแถลงการณ์ร่วมกับไทยโดยไม่ปรึกษารัฐสภา และ จนกระทั่งบัดนี้ก็ยังไม่มีการเปิดเผย “แผนที่ปริศนา” ที่เสนอประกอบการจดทะเบียนตัวปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก

นายสนชัย (Son Chhay) ประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ ซึ่งเป็น ส.ส.พรรคสมรังสี พรรคฝ่ายค้านเพียงพรรคเดียวในขณะนี้ได้เรียกร้องให้รัฐบาลของสมเด็จฯ ฮุนเซน เปิดเผยแผนที่ซึ่งฝ่ายกัมพูชาจัดร่างขึ้น และนำไปเสนอให้ฝ่ายไทยอนุมัติเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

ไม่มีการเปิดเผยแผนที่ฉบับดังกล่าวจากฝ่ายไทยเช่นเดียวกัน นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีการต่างประเทศให้สัมภาษณ์รายการข่าวสถานีวิทยุเอฟเอ็ม 97 เมกะเฮิรส สัปดาห์ที่แล้วระบุว่า ได้รับการร้องขอจากรัฐบาลกัมพูชาให้ปิดเรื่องนี้เป็นความลับ เพราะอาจจะกระเทือนถึงสถานการณ์การเมืองภายในประเทศนั้นได้

รมว.ต่างประเทศของไทย กล่าวด้วยว่า หากเกิดความไม่เข้าใจกันขึ้น ก็อาจจะมีนำไปสู่การเผาสถานทูตไทยในกรุงพนมเปญอีก “แล้วใครจะรับผิดชอบ?”

วันพุธสัปดาห์ที่แล้วไทยกับกัมพูชาได้ร่วมกันลงนามในแถลงการณ์ร่วมฉบับหนึ่งเกี่ยวกับการจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกซึ่งไทยให้การรับรองแผนที่ที่ฝ่ายกัมพูชานำเสนอ และสองฝ่ายยังเก็บเป็นความลับจนกระทั่งบัดนี้
<CENTER><FONT color=#FF0000> ดั้งเดิมเมื่อยื่นขอจดทะเบียนปี 2549 กัมพูชาจะจดทะเบียนปราสาทกับอาณาบริเวณโดยรอบพื้นที่กว่า 10 ตร.กม. เป็นมรดกโลก โดยยึดเส้นพรมแดน (เส้นประหนาสีม่วงแดง) ตามแผนที่ที่ฝรั่งเศสที่ขึ้นเมื่อ 100 ปีมาแล้ว </FONT></CENTER>
<CENTER><FONT color=#FF0000>แต่ประเทศไทยได้ยืนยันในแนวเส้นเขตแดนที่สันปันน้ำมาตลอด 46 ปี มิใช่เพิ่งจะหยิบยกขึ้นมาเป็นกรณีพิาพาท ในช่วงที่กัมพูชาขอจดทะเบียนปราสาทพระวิหารกับอาณาบริเวณโดยรอบเป็นมรดก คณะกรรมาธิการรัฐสภากัมพูชาเรียกร้องให้รัฐบาลเปิดเผยแผนที่ที่ งุบงิบ นำเสนอต่อไทยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว </FONT></CENTER>
รมว.การต่างประเทศของไทย ยืนยันว่า การจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของฝ่ายกัมพูชาไม่ส่งผลกระทบต่อเขตพื้นที่อาณาบริเวณโดยรอบ ที่ไทยกล่าวอ้างอธิปไตยแต่อย่างไร และผู้แทนของฝ่ายทหารก็ยืนยันว่าไม่กระทบต่อเขตแดนไทย

แต่หลายฝ่ายกล่าวว่า การยอมรับให้นำปราสาทหินอายุกว่า 1,000 ปีเข้าจดทะเบียนเป็นมรดกโลก จะส่งผลต่อการเจรจาปักปันเขตแดน ซึ่งตลอด 46 ปีที่ผ่านมาไทยได้ยืนยันอธิปไตยเหนือดินแดนโดยรอบปราสาท อันเป็นดินแดนที่อยู่ในเขตสันปันน้ำตามหลักสากล

สำหรับกัมพูชานั้น นักวิเคราะห์กล่าวว่า เป็นครั้งแรกในระยะเวลากว่า 46 ปี ที่ไทยยอมรับอย่างเป็นทางการว่า ปราสาทพระวิหารกับผืนดินที่ตั้งอยู่เป็นของกัมพูชาโดยสมบูรณ์ แม้ว่าอาณาบริเวณทั้งหมด รวมทั้งผืนดินโดยรอบๆ จะอยู่ในเขตสันปันน้ำของไทยก็ตาม

ศาลโลกในกรุงเฮกได้พิพากษาวันที่ 15 มิ.ย.2505 ให้ปราสาทพระวิหารกับผืนดินที่ตั้งตกเป็นของกัมพูชา โดยยึดแผนที่ฝรั่งเศส-สยามเมื่อปี 1907 อ้างอิง

แผนที่ดังกล่าวไม่ได้ใช้สันปันน้ำในการแบ่งเขตแดนซึ่งผิดหลักสากลในการปักปันเขตแดน และไทยได้ยื่นประท้วง พร้อมทั้งยืนยันสิทธิที่จะโต้แย้งเกี่ยวกับเส้นเขตแดนช่วงนี้มาตั้งแต่เดือน ก.ค.2505
<CENTER><FONT color=#FF0000>โคปุระชั้น 1 ที่อยู่ติดกับองค์ปราสาท ยังคงสภาพเป็นห้องโถงใหญ่ให้เห็น สภาพงดงาม กัมพูชาหวังว่าการจดทะเบียนเป็นมรดกโลกจะได้รับความช่วยเหลือมในการฟื้นฟูบูรณะขึ้นมาใหม่เช่นเดียวกันกับปราสาทเก่าแก่อีกหลายหลังในขณะนี้ </FONT></CENTER>
ขณะเดียวกันผู้อ่านหนังสือพิมพ์และเว็บไซต์ในกัมพูชากำลังรอคอยการแถลงของรัฐบาลอย่างกระวนกระวายใจ ขณะที่เฝ้าติดตามการชุมนุมประท้วงของคนหลายหมื่นที่บริเวณทำเนียบรัฐบาลในกรุงเทพฯ อย่างใกล้ชิด

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ในกัมพูชากล่าวว่า นายกรัฐมนตรีสมเด็จฯ ฮุนเซน จะ “ประกาศชัยชนะ” ที่สามารถฟันฝ่ายอุปสรรคนำปราสาทพระวิหารเข้าจดทะเบียนเป็นมรดกโลกจนสำเร็จ ระหว่างการหาเสียงครั้งใหญ่สำหรับการเลือกตั้งวันที่ 27 ก.ค.ศกนี้

ในเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา หลังพิธีเปิดใช้ทางหลวงเลข 48 สายเกาะกง-สีหนุวิลล์-พนมเปญ ซึ่งสร้างขึ้นโดยความช่วยเหลือจากรัฐบาลไทย สมเด็จฯ ฮุนเซนก็ได้ประกาศว่า ทั้งหมดเป็นผลงานของรัฐบาลภายใต้การนำของตนเอง

สัปดาห์ที่แล้ว ได้มีการนำเอกสารข้อเสนอจดทะเบียนพระวิหารเป็นมรดกโลกความยาว 47 หน้าออกเผยแพร่ เป็นฉบับล่าสุดที่ออกภายหลังมีการลงนามในแถลงการณ์ไทย-กัมพูชาในกรุงเทพฯ ในนั้นได้กล่าวถึงเพียงรายละเอียดที่มาที่ไปของแผนการ
<CENTER><FONT color=#FF0000>บริเวณโคปุระชั้น 3 ที่อยู่กึ่งกลางจากบันได 149 ขั้นไปยังทางเดินสายหลักกับองค์ปราสาทใหญ่ ได้รับการยกย่องว่าสวยงามที่สุดและยังคงสภาพดีที่สุดในบรรดาโคปะรุทั้ง 5 หลัง การเดินทางไปชมปราสาทพระวิหารต้องขึ้นจากดินแดนไทย หรือไม่ก็จะต้องไต่หน้าผาทางฝั่งกัมพูชาขึ้นไปตามความลาดราว 500 เมตร </FONT></CENTER>
ไม่มีการเปิดเผยแผนที่ฉบับใหม่ในเอกสารดังกล่าว โดยระบุในส่วนที่เกี่ยวข้องแต่เพียงว่า ฝ่ายกัมพูชาได้ตกลงที่จะไม่กำหนด “เขตกันชน” (Buffer Zone) โดยรอบเพื่อนำเข้าจดทะเบียนด้วย

ประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศรัฐสภา กล่าวว่า สาธารณชนต่างข้องใจและสงสัยว่า แผนที่ที่รัฐบาลจัดทำและนำไปเสนอต่อฝ่ายไทยนั้น อาจจะไม่ได้ยึดถือแผนที่ที่ฝรั่งเศสทำเอาไว้เมื่อกว่า 100 ปีก่อนในการอ้างอิง

คณะกรรมการมรดกโลกมีกำหนดประชุมพิจารณาข้อเสนอของกัมพูชาในวันที่ 2 ก.ค.ศกนี้ ในนครควีเบ็ค แคนาดา
ภาพ: เอกสารเสนอจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก

กำลังโหลดความคิดเห็น