ครม.ลูกกรอกแกล้งโง่ อ้างไม่กล้าเซ็นบันทึกความเข้าใจอาเซียน-ออสเตรเลีย และสารขยายภาคีความร่วมมือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อ้างกลัวผิดมาตรา 190 ส่งผลต่อการขึ้นเป็นประธานอาเซียนของไทยในวันที่ 24 ก.ค.นี้
วานนี้ (15 ก.ค.) นายวิทวัส ศรีวิหค อธิบดีกรมอาเซียน แถลงยอมรับว่า ในการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะจัดขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 17-24 กรกฎาคมนี้ คณะรัฐมนตรีได้แสดงความเป็นห่วงเรื่องที่ไทยจะต้องไปลงนามกับต่างประเทศ จำนวน 2 ฉบับ คือ บันทึกความเข้าใจระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลีย ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับออสเตรเลียจะให้ความช่วยเหลืออาเซียนในโครงการต่างๆ และ 2.เป็นสารขยายจำนวนภาคีในสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะมีการรับเกาหลีเหนือเข้ามาเป็นภาคีเพิ่ม จะต้องนำเข้าขอความเห็นชอบจากรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 หรือไม่
อธิบดีกรมอาเซียน กล่าวต่อว่า คณะรัฐมนตรีกังวลเรื่องนี้ถึงขั้นจะมีมติไม่ไปลงนาม จึงชี้แจงยืนยันว่า กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ ได้ดูแล้วว่าไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 และหากไม่ลงนามจะส่งผลเสียต่อภาพพจน์ของประเทศที่กำลังจะรับตำแหน่งประธานอาเซียนต่อจากสิงคโปร์ ในวันที่ 24 กรกฎาคมนี้
นายวิทวัส กล่าวว่า ตนรู้สึกประหลาดใจมากว่าคณะรัฐมนตรีมีความวิตกมากเกินไป จนถึงอาจทำให้เราไม่สามารถที่จะไปลงนามได้ อย่างไรก็ตาม ล่าสุด นายกรัฐมนตรีรับปากจะหาหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเดินทางไปร่วมประชุมและลงนามแทนนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่ได้ลาออกไปแล้ว แต่ยังไม่ชัดเจนว่าจะเป็นนายสหัส บัณฑิตกุล รองนายกรัฐมนตรี หรือนายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ทั้งนี้ หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติว่าแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาเรื่องการจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ที่นายนพดล ปัทมะ อดีต รมว.ต่างประเทศ เมื่อวันที่ 18 มิ.ย.51 นั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 190 เนื่องจากเป็นเอกสารที่อาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเขตแดนและอธิปไตยของประเทศ จึงเข้าข่ายหนังสือสัญญาที่ต้องผ่านความเห็นขอบของรัฐสภาก่อน ซึ่งการทำผิดรัฐธรรมนูญดังกล่าวทำให้ ครม.ทั้งคณะถูกยื่นถอดถอน และนายสมัคร สุนทรเวช นำไปกล่าวอ้างว่ามาตรา 190 เป็นปัญหาในการบริหารประเทศ
กรณีที่ ครม.ไม่ยอมลงนามในเอกสารดังกล่าว น่าจะเป็นการจงใจที่จะให้เห็นว่ามาตรา 190 เป็นปัญหา ทั้งที่ในข้อเท็จจริง น่าจะพิจารณาได้ไม่ยากว่า เนื้อหาในเอกสารที่เป็นบันทึกความร่วมมือด้านการพัฒนาจะส่งผลต่ออาณาเขตหรืออธิปไตยของประเทศหรือไม่
วานนี้ (15 ก.ค.) นายวิทวัส ศรีวิหค อธิบดีกรมอาเซียน แถลงยอมรับว่า ในการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะจัดขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 17-24 กรกฎาคมนี้ คณะรัฐมนตรีได้แสดงความเป็นห่วงเรื่องที่ไทยจะต้องไปลงนามกับต่างประเทศ จำนวน 2 ฉบับ คือ บันทึกความเข้าใจระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลีย ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับออสเตรเลียจะให้ความช่วยเหลืออาเซียนในโครงการต่างๆ และ 2.เป็นสารขยายจำนวนภาคีในสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะมีการรับเกาหลีเหนือเข้ามาเป็นภาคีเพิ่ม จะต้องนำเข้าขอความเห็นชอบจากรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 หรือไม่
อธิบดีกรมอาเซียน กล่าวต่อว่า คณะรัฐมนตรีกังวลเรื่องนี้ถึงขั้นจะมีมติไม่ไปลงนาม จึงชี้แจงยืนยันว่า กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ ได้ดูแล้วว่าไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 และหากไม่ลงนามจะส่งผลเสียต่อภาพพจน์ของประเทศที่กำลังจะรับตำแหน่งประธานอาเซียนต่อจากสิงคโปร์ ในวันที่ 24 กรกฎาคมนี้
นายวิทวัส กล่าวว่า ตนรู้สึกประหลาดใจมากว่าคณะรัฐมนตรีมีความวิตกมากเกินไป จนถึงอาจทำให้เราไม่สามารถที่จะไปลงนามได้ อย่างไรก็ตาม ล่าสุด นายกรัฐมนตรีรับปากจะหาหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเดินทางไปร่วมประชุมและลงนามแทนนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่ได้ลาออกไปแล้ว แต่ยังไม่ชัดเจนว่าจะเป็นนายสหัส บัณฑิตกุล รองนายกรัฐมนตรี หรือนายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ทั้งนี้ หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติว่าแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาเรื่องการจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ที่นายนพดล ปัทมะ อดีต รมว.ต่างประเทศ เมื่อวันที่ 18 มิ.ย.51 นั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 190 เนื่องจากเป็นเอกสารที่อาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเขตแดนและอธิปไตยของประเทศ จึงเข้าข่ายหนังสือสัญญาที่ต้องผ่านความเห็นขอบของรัฐสภาก่อน ซึ่งการทำผิดรัฐธรรมนูญดังกล่าวทำให้ ครม.ทั้งคณะถูกยื่นถอดถอน และนายสมัคร สุนทรเวช นำไปกล่าวอ้างว่ามาตรา 190 เป็นปัญหาในการบริหารประเทศ
กรณีที่ ครม.ไม่ยอมลงนามในเอกสารดังกล่าว น่าจะเป็นการจงใจที่จะให้เห็นว่ามาตรา 190 เป็นปัญหา ทั้งที่ในข้อเท็จจริง น่าจะพิจารณาได้ไม่ยากว่า เนื้อหาในเอกสารที่เป็นบันทึกความร่วมมือด้านการพัฒนาจะส่งผลต่ออาณาเขตหรืออธิปไตยของประเทศหรือไม่