นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฏร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ออกมาระบุว่า เป็นคนสั่งฆ่า ส.ส.ฝ่ายค้าน และส.ว. โดยสั่งให้มีการตรวจสอบการถือหุ้นในบริษัทต่างๆ ของส.ส.และส.ว. ว่า เรายอมรับการตรวจสอบ ผิดเป็นผิด ถูกเป็นถูก และไม่คิดที่จะใช้ข้ออ้าง เพื่อทำให้สิ่งที่ผิดเป็นถูก แต่ตนรู้สึกเสียใจที่นายสมัคร ซึ่งเป็นผู้นำประเทศ และได้ประกาศนโยบายสมานฉันท์ต่อสภา ได้ออกมาพูดถึงการเข่นฆ่ากัน ซึ่งนายกฯจะคิดอย่างไรตนไม่ทราบ หากจะมีการฆ่ากันด้วยการตรวจสอบ พวกตนยอมรับได้เสมอ เพราะเราอยู่ภายใต้กฎหมาย แต่ขอย้ำว่า พรรคฝ่ายค้านไม่เคยคิดฆ่าฝ่ายรัฐบาล ทุกเรื่องที่มีการตรวจสอบ มีการตัดสินใจแล้วว่าสมควรจะดำเนินการเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศ ไม่มีการยื่นถอดถอน หรืออภิปรายพร่ำเพรื่อ แต่จะทำเฉพาะกรณีที่เห็นว่าชัดเจน แม้กระทั่งหนังสือสัญญาที่นายกฯ ออกมาโวยวายว่า ต่อไปนี้ไม่มีใครกล้าเซ็นต์ ตนบอกได้เลยว่า หนังสือสัญญาหลายเรื่องที่ผ่านคณะรัฐมนตรี (ครม.)ไปแล้ว ฝ่ายค้านได้มีการตรวจสอบว่า สัญญาเรื่องไหนไม่เข้าข่าย เราไม่ต้องการส่งไปเพื่อให้หน่วยงานทำงานไม่ได้
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า หากนายกฯ มองว่า การตรวจสอบเป็นการพยายามจะฆ่า และต้องการฆ่ากลับ ตนมองว่า นอกจากจะไม่สมานฉันท์ และยังไม่เข้าใจหลักการพื้นฐานประชาธิปไตย คือ รัฐบาลภายใต้ระบบประชาธิปไตย จะต้องตรวจสอบได้ หากฝ่ายค้านไปตรวจสอบในเรื่องที่ไม่เป็นสาระ ประชาชนก็จะตรวจสอบฝ่ายค้านเอง แต่กับตรงกันข้าม หลายเรื่องที่ฝ่ายค้านตรวจสอบ จนรัฐมนตรีต้องลาออก เพราะศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องวินิจฉัยเป็นไปตามที่ฝ่ายค้านตรวจสอบ แทนที่นายกฯ จะยอมรับกับไปโทษว่า ศาลและองค์กรอิสระ เป็นพวกฝ่ายค้าน
"ผมขอยืนยันว่า ฝ่ายค้านไม่คิดไปฆ่าใคร ถ้านายกฯ อยากฆ่าเราอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เราก็ยอมรับ แต่ขอให้เดินไปตามกฎหมาย ถ้าถูกฆ่าทางการเมือง เพราะผมทำผิดกฎหมาย ผมก็ต้องยอมตาย และยืนยันว่า ไม่มีนักการเมืองคนไหนในประเทศไทยที่หายไปแล้วประเทศไทย จะอยู่ไม่ได้และผมต้องการเห็นนักการเมืองที่ปฏิบัติตามกฎหมายมาอยู่ในการเมือง" นายอภิสิทธิ์กล่าว
นายกรณ์ จาติกวนิช ส.ส.กทม พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเกมของรัฐบาลอยู่แล้ว ซึ่งส่งผลกระทบวงกว้างอยู่พอสมควร ตนได้อ่านรัฐธรรมนูญในมาตราที่เกี่ยวข้อง โดยประเมินจากความเข้าใจในประเด็นการถือหุ้นของสมาชิก ตนคิดว่าไม่น่าจะเป็นปัญหา โดยเฉพาะ มาตรา 265 ที่บัญญัติถึงการเข้าไปถือหุ้นในกิจการที่เป็นคู่สัญญาของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ จะต้องมีลักษณะเป็นการผูกขาด ตัดตอนด้วย คือหากผู้ร่างรัฐธรรมนูญเพียงแค่ต้องการมองว่า การเข้าไปถือหุ้นในบริษัทที่เป็นคู่สัญญาของรัฐ ถือว่าผิดก็ไม่น่ามีความจำเป็นที่ต้องขยายความว่า อันมีลักษณะเป็นการผู้ขาดตัดตอน
ดังนั้นจึงต้องเข้าไปดูว่า กิจการที่สมาชิกถือ มีอำนาจผู้ขาดเหนือตลาดหรือไม่ เช่น บริษัท ปูนซีเมนต์ ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทที่เป็นประเด็น ก็ชัดเจนว่ามีคู่แข่ง 4-5 แห่ง ในประเทศ หรือแม้แต่บริษัททรู คอปเปอร์เรชั่น ที่มีส่วนแบ่งตลาด ไม่มาก และมีคู่แข่งที่ใหญ่กว่าอย่างน้อย 2 บริษัท ดังนั้นจึงไม่มีลักษณะของกิจการที่มีการผูกขาด ตนไม่คิดว่าการเข้าไปถือหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ และไม่ได้มีหุ้นในบริษัทที่มีการผูกขาดจะเป็นปัญหาแต่อย่างใด แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยอย่างไร หากวินิจฉัยว่าผิด พวกเราก็ยอมรับ และไม่คิดที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อรักษาสถานภาพของตัวเอง
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า หากนายกฯ มองว่า การตรวจสอบเป็นการพยายามจะฆ่า และต้องการฆ่ากลับ ตนมองว่า นอกจากจะไม่สมานฉันท์ และยังไม่เข้าใจหลักการพื้นฐานประชาธิปไตย คือ รัฐบาลภายใต้ระบบประชาธิปไตย จะต้องตรวจสอบได้ หากฝ่ายค้านไปตรวจสอบในเรื่องที่ไม่เป็นสาระ ประชาชนก็จะตรวจสอบฝ่ายค้านเอง แต่กับตรงกันข้าม หลายเรื่องที่ฝ่ายค้านตรวจสอบ จนรัฐมนตรีต้องลาออก เพราะศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องวินิจฉัยเป็นไปตามที่ฝ่ายค้านตรวจสอบ แทนที่นายกฯ จะยอมรับกับไปโทษว่า ศาลและองค์กรอิสระ เป็นพวกฝ่ายค้าน
"ผมขอยืนยันว่า ฝ่ายค้านไม่คิดไปฆ่าใคร ถ้านายกฯ อยากฆ่าเราอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เราก็ยอมรับ แต่ขอให้เดินไปตามกฎหมาย ถ้าถูกฆ่าทางการเมือง เพราะผมทำผิดกฎหมาย ผมก็ต้องยอมตาย และยืนยันว่า ไม่มีนักการเมืองคนไหนในประเทศไทยที่หายไปแล้วประเทศไทย จะอยู่ไม่ได้และผมต้องการเห็นนักการเมืองที่ปฏิบัติตามกฎหมายมาอยู่ในการเมือง" นายอภิสิทธิ์กล่าว
นายกรณ์ จาติกวนิช ส.ส.กทม พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเกมของรัฐบาลอยู่แล้ว ซึ่งส่งผลกระทบวงกว้างอยู่พอสมควร ตนได้อ่านรัฐธรรมนูญในมาตราที่เกี่ยวข้อง โดยประเมินจากความเข้าใจในประเด็นการถือหุ้นของสมาชิก ตนคิดว่าไม่น่าจะเป็นปัญหา โดยเฉพาะ มาตรา 265 ที่บัญญัติถึงการเข้าไปถือหุ้นในกิจการที่เป็นคู่สัญญาของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ จะต้องมีลักษณะเป็นการผูกขาด ตัดตอนด้วย คือหากผู้ร่างรัฐธรรมนูญเพียงแค่ต้องการมองว่า การเข้าไปถือหุ้นในบริษัทที่เป็นคู่สัญญาของรัฐ ถือว่าผิดก็ไม่น่ามีความจำเป็นที่ต้องขยายความว่า อันมีลักษณะเป็นการผู้ขาดตัดตอน
ดังนั้นจึงต้องเข้าไปดูว่า กิจการที่สมาชิกถือ มีอำนาจผู้ขาดเหนือตลาดหรือไม่ เช่น บริษัท ปูนซีเมนต์ ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทที่เป็นประเด็น ก็ชัดเจนว่ามีคู่แข่ง 4-5 แห่ง ในประเทศ หรือแม้แต่บริษัททรู คอปเปอร์เรชั่น ที่มีส่วนแบ่งตลาด ไม่มาก และมีคู่แข่งที่ใหญ่กว่าอย่างน้อย 2 บริษัท ดังนั้นจึงไม่มีลักษณะของกิจการที่มีการผูกขาด ตนไม่คิดว่าการเข้าไปถือหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ และไม่ได้มีหุ้นในบริษัทที่มีการผูกขาดจะเป็นปัญหาแต่อย่างใด แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยอย่างไร หากวินิจฉัยว่าผิด พวกเราก็ยอมรับ และไม่คิดที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อรักษาสถานภาพของตัวเอง