รอยเตอร์ – อัตราการว่างงานทั่วโลกกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว บริษัทจำนวนมากพากันลดคนงานนับตั้งแต่จำนวน 200 ตำแหน่งของแอร์นิวซีแลนด์ ไปจนถึงกว่า 50,000 ตำแหน่งของซิติกรุ๊ป ซึ่งทำให้ความพยายามของรัฐบาลที่จะสลัดวิกฤตการเงินให้พ้นไปนั้นยากลำบากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ตลาดสินเชื่อที่ยังมีสัญญาณด้วยว่าจะฟื้นตัวอย่างเชื่องช้า สวนทางกับเศรษฐกิจที่อ่อนตัวลงอย่างรวดเร็ว และน่าจะอยู่ในสภาพเลวร้ายลงไปอีกในช่วงหลายๆ เดือนต่อจากนี้ไป
รัฐบาลของประเทศต่างๆ ที่กำลังลังเลว่า จะนำเงินของผู้เสียภาษีมาช่วยเหลือภาคธนาคารดีหรือไม่ ก็เผชิญหน้ากับแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นให้ต้องรีบลงมือทำเสียแต่บัดนี้ เพราะว่าแถวคนว่างงานกำลังยาวขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่เงินคงคลังก็ร่อยหรอลงทุกที เพราะการใช้จ่ายที่พุ่งขึ้น แต่เก็บภาษีได้น้อยลง
ตัวเลขคนว่างงานในยูโรโซนและญี่ปุ่นที่จะประกาศออกมาในสัปดาห์นี้ ได้รับการคาดหมายจะเพิ่มขึ้นไม่น้อย ในขณะที่อังกฤษอาจจะต้องเพิ่มงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจเข้าไปอีก 1% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี) เพื่อให้มีผลกว้างขวางและลึกซึ้งมากขึ้น
ในช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา รายชื่อของบริษัทที่ประกาศลดตำแหน่งงานลงมีหลากหลายตั้งแต่ ซิติกรุ๊ป, เปอโยต์ –ซีตรอง, โรลสรอยส์, แอสตราเซเนก้า ซึ่งเป็นบริษัทยายักษ์ใหญ่, แอร์นิวซีแลนด์, ฟรีพอร์ท แม็คโมแรน คอปเปอร์แอนด์โกลด์ อันเป็นบริษัทเหมืองแร่ เรื่อยไปจนถึงบริษัทบรรจุขวดน้ำอัดลมอย่าง เป๊ปซี่ บอตตลิ่ง กรุ๊ป
ช่างน่าสมเพชที่ความปั่นป่วนชนิดพลิกฟ้าป่วนดินในตลาดการเงินนั้น ลุกลามเข้าสู่เศรษฐกิจที่แท้จริงอย่างรวดเร็วยิ่ง ทำให้ผู้บริโภคพากันรัดเข็มขัดจนเอวกิ่วรวมทั้งผลักให้ธุรกิจในแทบทุกภาคต้องหันมาลดค่าใช้จ่ายในบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลดคนงาน ซึ่งผลก็ย้อนกลับไปที่บริษัทการเงินอีกครั้ง เพราะคนไม่มีรายได้ก็ไม่จ่ายหนี้ที่ยืมมา ส่งผลให้หนี้เสียในสถาบันการเงินดีดขึ้นมหาศาล
ในสหรัฐฯ ตัวเลขผู้ที่ไปขอรับเงินช่วยเหลือเมื่อตกงานนั้นพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 16 ปี และนักเศรษฐศาสตร์ยังคงเห็นว่าสถานการณ์ยังคงจะย่ำแย่ได้มากกว่านี้อีกในอีกหลายเดือนข้างหน้า โกลด์แมนแซคส์คาดว่าอัตราการว่างงานในสหรัฐฯจะแตะระดับ 9% ในปลายปีหน้า เทียบกับ 6.5% ของปัจจุบัน
“สถานการณ์ที่เลวร้ายลงอย่างรวดเร็วในตลาดแรงงานจะกลายเป็นแรงกดดันต่อรัฐบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลของโอบามา ที่จะเข้ารับตำแหน่งในเร็ว ๆนี้ ให้ออกแผนกระตุ้นเศรษฐกิจและมาตรการอื่น ๆที่มีความเข้มข้นมากขึ้นเพื่อพลิกเศรษฐกิจสู่ความมั่นคงอีกครั้ง” แอนดริว ทิลตัน นักเศรษฐศาสตร์ของโกลด์แมน แซ็ฃคส์กล่าว
ว่าที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามาของสหรัฐฯประกาศว่า แผนการกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นนโยบายที่สำคัญที่สุดของรัฐบาล และหากว่ารัฐสภาไม่อนุมัติแผนนี้ก่อนที่เขาจะเข้ารับตำแหน่งในเดือนมกราคมแล้วไซร้ “มันจะเป็นงานแรกที่ผมทำจนสำเร็จในฐานะตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐฯ”
โอบามาจะประกาศรายชื่อทีมเศรษฐกิจของเขาในวันจันทร์ (24) โดยที่ตั้งแต่เมื่อวันศุกร์(21)ก็มีรายงานว่าเขาจะตั้งประธานธนาคารกลางสาขานิวยอร์ก ทิโมธี ไกธ์เนอร์เป็นรัฐมนตรีคลัง ซึ่งทำให้หุ้นพุ่งขึ้นรุนแรง
นักวิเคราะห์คาดด้วยว่ารัฐบาลใหม่จะเพิ่มเม็ดเงินใช้จ่ายอีก 300,000 ล้านดอลลาร์ และส่วนหนึ่งจะนำไปจ่ายเป็นเงินช่วยเหลือสำหรับผู้ตกงาน
ในการประชุมระดับผู้นำกลุ่มจี 20 เมื่อต้นเดือนนี้ที่วอชิงตัน ก็มีการประกาศข้อตกลงออกมาเพื่อให้ประเทศต่าง ๆเร่งจับจ่ายใช้สอยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในบ้านของตนเอง และในยามที่ตลาดแรงงานชะลอตัวลงเร็วเช่นนี้ รัฐบาลเกือบทุกแห่งจึงน่าจะถูกเร่งรัดให้ดำเนินมาตรการเช่นนี้ให้เร็วมากขึ้นอีก โดยนักการเมืองที่นั่งไม่ติดที่แล้วเมื่อเห็นประชาชนที่เป็นฐานเสียงของตัวเองตกงานกันแทบทุกวันวันละไม่ใช่น้อยๆ
นอกจากนี้บรรดาอุตสาหกรรมต่าง ๆที่ต้องการความช่วยเหลือก็จะเข้ากดดันรัฐบาลให้ขยายความช่วยเหลือให้แก่พวกเขาด้วย อย่างเช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ของอเมริกาก็ขู่ว่าหากไม่ได้เม็ดเงินใหม่ 25,000 ล้านดอลลาร์เข้ามา พนักงานหลายล้านคนก็จะถูกลอยแพแน่นอน
ส่วนที่อังกฤษ หนี้สินรวมของภาครัฐนั้นพุ่งแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มเก็บข้อมูลมาในปี 1946 และการคลังทุกด้านต่างก็ได้รับการคาดหมายว่าจะว่าย่ำแย่ลงไปอีกเพราะเศรษฐกิจที่ไม่ดีทำให้เก็บภาษีได้น้อย รวมทั้งต้องเพิ่มรายจ้ายด้านสวัสดิการสำหรับประชาชนเพิ่มขึ้นด้วย
ในรายงานก่อนงบประมาณประจำปีของอังกฤษที่กำหนดออกมาในวันจันทร์(24) น่าที่จะมีข้อเสนอเรื่องการลดหย่อนภาษี และมาตรการความช่วยเหลือแก่ภาคครัวเรือนและธุรกิจขนาดเล็กๆ โดยที่จะเป็นส่วนหนึ่งของแพกเกจชุดมาตรการกระตุ้นเสรษฐกิจ ที่อาจอยู่ในระดับ 15,000 ล้านปอนด์ (22,000 ล้านดอลลาร์) หรือเท่ากับ 1% ของจีดีพี
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) บอกว่า เป็นเรื่องชอบธรรมสมเหตุสมผลที่ทั่วโลกจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับประมาณ 2% ของจีดีพี ทั้งนี้หากคำนวณจากการคาดการณ์ล่าสุดเกี่ยวกับผลผลิตของทั่วโลกแล้ว นั่นจะเป็นจำนวนเงินที่สูงกว่า 1.2 ล้านล้านดอลลาร์นิดหน่อย
จีนนั้นให้คำมั่นสัญญาแล้วที่จะใช้จ่ายเป็นปริมาณเกือบครึ่งหนึ่งของตัวเลขรวมที่ไอเอ็มเอฟระบุ เพื่อผลักดันเศรษฐกิจแดนมังกร ขณะที่เยอรมนีและสเปนก็ประกาศแล้วที่จะทุ่มเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วจะอยู่ในระดับสูงกว่า 100,000 ล้านดอลลาร์นิดๆ เมื่อรวมกับที่ทางสหรัฐฯน่าจะใช้จ่ายกันประมาณ 300,000 ล้านดอลลาร์เข้าด้วย มันก็จะใกล้เคียงกับตัวเลข 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ของไอเอ็มเอฟ
นอกจากนี้ตลาดสินเชื่อที่ยังมีสัญญาณด้วยว่าจะฟื้นตัวอย่างเชื่องช้า สวนทางกับเศรษฐกิจที่อ่อนตัวลงอย่างรวดเร็ว และน่าจะอยู่ในสภาพเลวร้ายลงไปอีกในช่วงหลายๆ เดือนต่อจากนี้ไป
รัฐบาลของประเทศต่างๆ ที่กำลังลังเลว่า จะนำเงินของผู้เสียภาษีมาช่วยเหลือภาคธนาคารดีหรือไม่ ก็เผชิญหน้ากับแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นให้ต้องรีบลงมือทำเสียแต่บัดนี้ เพราะว่าแถวคนว่างงานกำลังยาวขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่เงินคงคลังก็ร่อยหรอลงทุกที เพราะการใช้จ่ายที่พุ่งขึ้น แต่เก็บภาษีได้น้อยลง
ตัวเลขคนว่างงานในยูโรโซนและญี่ปุ่นที่จะประกาศออกมาในสัปดาห์นี้ ได้รับการคาดหมายจะเพิ่มขึ้นไม่น้อย ในขณะที่อังกฤษอาจจะต้องเพิ่มงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจเข้าไปอีก 1% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี) เพื่อให้มีผลกว้างขวางและลึกซึ้งมากขึ้น
ในช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา รายชื่อของบริษัทที่ประกาศลดตำแหน่งงานลงมีหลากหลายตั้งแต่ ซิติกรุ๊ป, เปอโยต์ –ซีตรอง, โรลสรอยส์, แอสตราเซเนก้า ซึ่งเป็นบริษัทยายักษ์ใหญ่, แอร์นิวซีแลนด์, ฟรีพอร์ท แม็คโมแรน คอปเปอร์แอนด์โกลด์ อันเป็นบริษัทเหมืองแร่ เรื่อยไปจนถึงบริษัทบรรจุขวดน้ำอัดลมอย่าง เป๊ปซี่ บอตตลิ่ง กรุ๊ป
ช่างน่าสมเพชที่ความปั่นป่วนชนิดพลิกฟ้าป่วนดินในตลาดการเงินนั้น ลุกลามเข้าสู่เศรษฐกิจที่แท้จริงอย่างรวดเร็วยิ่ง ทำให้ผู้บริโภคพากันรัดเข็มขัดจนเอวกิ่วรวมทั้งผลักให้ธุรกิจในแทบทุกภาคต้องหันมาลดค่าใช้จ่ายในบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลดคนงาน ซึ่งผลก็ย้อนกลับไปที่บริษัทการเงินอีกครั้ง เพราะคนไม่มีรายได้ก็ไม่จ่ายหนี้ที่ยืมมา ส่งผลให้หนี้เสียในสถาบันการเงินดีดขึ้นมหาศาล
ในสหรัฐฯ ตัวเลขผู้ที่ไปขอรับเงินช่วยเหลือเมื่อตกงานนั้นพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 16 ปี และนักเศรษฐศาสตร์ยังคงเห็นว่าสถานการณ์ยังคงจะย่ำแย่ได้มากกว่านี้อีกในอีกหลายเดือนข้างหน้า โกลด์แมนแซคส์คาดว่าอัตราการว่างงานในสหรัฐฯจะแตะระดับ 9% ในปลายปีหน้า เทียบกับ 6.5% ของปัจจุบัน
“สถานการณ์ที่เลวร้ายลงอย่างรวดเร็วในตลาดแรงงานจะกลายเป็นแรงกดดันต่อรัฐบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลของโอบามา ที่จะเข้ารับตำแหน่งในเร็ว ๆนี้ ให้ออกแผนกระตุ้นเศรษฐกิจและมาตรการอื่น ๆที่มีความเข้มข้นมากขึ้นเพื่อพลิกเศรษฐกิจสู่ความมั่นคงอีกครั้ง” แอนดริว ทิลตัน นักเศรษฐศาสตร์ของโกลด์แมน แซ็ฃคส์กล่าว
ว่าที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามาของสหรัฐฯประกาศว่า แผนการกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นนโยบายที่สำคัญที่สุดของรัฐบาล และหากว่ารัฐสภาไม่อนุมัติแผนนี้ก่อนที่เขาจะเข้ารับตำแหน่งในเดือนมกราคมแล้วไซร้ “มันจะเป็นงานแรกที่ผมทำจนสำเร็จในฐานะตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐฯ”
โอบามาจะประกาศรายชื่อทีมเศรษฐกิจของเขาในวันจันทร์ (24) โดยที่ตั้งแต่เมื่อวันศุกร์(21)ก็มีรายงานว่าเขาจะตั้งประธานธนาคารกลางสาขานิวยอร์ก ทิโมธี ไกธ์เนอร์เป็นรัฐมนตรีคลัง ซึ่งทำให้หุ้นพุ่งขึ้นรุนแรง
นักวิเคราะห์คาดด้วยว่ารัฐบาลใหม่จะเพิ่มเม็ดเงินใช้จ่ายอีก 300,000 ล้านดอลลาร์ และส่วนหนึ่งจะนำไปจ่ายเป็นเงินช่วยเหลือสำหรับผู้ตกงาน
ในการประชุมระดับผู้นำกลุ่มจี 20 เมื่อต้นเดือนนี้ที่วอชิงตัน ก็มีการประกาศข้อตกลงออกมาเพื่อให้ประเทศต่าง ๆเร่งจับจ่ายใช้สอยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในบ้านของตนเอง และในยามที่ตลาดแรงงานชะลอตัวลงเร็วเช่นนี้ รัฐบาลเกือบทุกแห่งจึงน่าจะถูกเร่งรัดให้ดำเนินมาตรการเช่นนี้ให้เร็วมากขึ้นอีก โดยนักการเมืองที่นั่งไม่ติดที่แล้วเมื่อเห็นประชาชนที่เป็นฐานเสียงของตัวเองตกงานกันแทบทุกวันวันละไม่ใช่น้อยๆ
นอกจากนี้บรรดาอุตสาหกรรมต่าง ๆที่ต้องการความช่วยเหลือก็จะเข้ากดดันรัฐบาลให้ขยายความช่วยเหลือให้แก่พวกเขาด้วย อย่างเช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ของอเมริกาก็ขู่ว่าหากไม่ได้เม็ดเงินใหม่ 25,000 ล้านดอลลาร์เข้ามา พนักงานหลายล้านคนก็จะถูกลอยแพแน่นอน
ส่วนที่อังกฤษ หนี้สินรวมของภาครัฐนั้นพุ่งแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มเก็บข้อมูลมาในปี 1946 และการคลังทุกด้านต่างก็ได้รับการคาดหมายว่าจะว่าย่ำแย่ลงไปอีกเพราะเศรษฐกิจที่ไม่ดีทำให้เก็บภาษีได้น้อย รวมทั้งต้องเพิ่มรายจ้ายด้านสวัสดิการสำหรับประชาชนเพิ่มขึ้นด้วย
ในรายงานก่อนงบประมาณประจำปีของอังกฤษที่กำหนดออกมาในวันจันทร์(24) น่าที่จะมีข้อเสนอเรื่องการลดหย่อนภาษี และมาตรการความช่วยเหลือแก่ภาคครัวเรือนและธุรกิจขนาดเล็กๆ โดยที่จะเป็นส่วนหนึ่งของแพกเกจชุดมาตรการกระตุ้นเสรษฐกิจ ที่อาจอยู่ในระดับ 15,000 ล้านปอนด์ (22,000 ล้านดอลลาร์) หรือเท่ากับ 1% ของจีดีพี
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) บอกว่า เป็นเรื่องชอบธรรมสมเหตุสมผลที่ทั่วโลกจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับประมาณ 2% ของจีดีพี ทั้งนี้หากคำนวณจากการคาดการณ์ล่าสุดเกี่ยวกับผลผลิตของทั่วโลกแล้ว นั่นจะเป็นจำนวนเงินที่สูงกว่า 1.2 ล้านล้านดอลลาร์นิดหน่อย
จีนนั้นให้คำมั่นสัญญาแล้วที่จะใช้จ่ายเป็นปริมาณเกือบครึ่งหนึ่งของตัวเลขรวมที่ไอเอ็มเอฟระบุ เพื่อผลักดันเศรษฐกิจแดนมังกร ขณะที่เยอรมนีและสเปนก็ประกาศแล้วที่จะทุ่มเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วจะอยู่ในระดับสูงกว่า 100,000 ล้านดอลลาร์นิดๆ เมื่อรวมกับที่ทางสหรัฐฯน่าจะใช้จ่ายกันประมาณ 300,000 ล้านดอลลาร์เข้าด้วย มันก็จะใกล้เคียงกับตัวเลข 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ของไอเอ็มเอฟ