ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา ร้องเรียนต่อ กกต. ขอให้ตรวจ
สอบว่า การที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นพิธีกรรายการ"ชิมไปบ่นไป" เข้าข่ายขาดคุณสมบัติการ
เป็นรัฐมนตรีหรือไม่ และคณะอนุกรรมการ ที่มี พล.อ. ยอดชาย เทพยสุวรรณ เป็นประธานฯได้สรุปผลการ
สอบสวนโดย กกต. จะมีการพิจารณาในการประชุมวันที่ 16 ก.ค.นั้น มีรายงานว่าอนุกรรมการชุดดังกล่าวไม่
ได้มีการวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงว่า การเป็นพิธีกรรายการ ชิมไปบ่นไป ของนายสมัคร ถือว่ามีความผิด
หรือไม่ แต่มีความเห็นในข้อกฎหมาย โดยเสียงข้างมาก เห็นควรที่ กกต.จะส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ
พิจารณาวินิจฉัย เนื่องจากเป็นปัญหาข้อกฎหมาย
ขณะที่อนุกรรมการฯ เสียงข้างน้อย เห็นว่า กรณีดังกล่าว กกต.ไม่จำเป็นต้องส่งให้ศาลรัฐ
ธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยอีก เพราะจะเป็นการส่งสำนวนที่ซ้ำซ้อนกับกรณีที่สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ได้เข้าชื่อ
กันตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 ส่งเรื่องการตรวจสอบคุณสมบัตินายกรัฐมนตรีให้ประธานวุฒิสภาส่งศาลรัฐ
ธรรมนูญเรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้ สำนวนร้องเรียนคุณสมบัตินายสมัคร นั้น เคยมีประเด็นถกเถียงกันเรื่องอำนาจของกกต. ใน
การสืบสวนสอบสวนกรณีดังกล่าวมาแล้ว เนื่องจากมีการมองว่า เรื่องดังกล่าวไม่ใช่การร้องเรียนเกี่ยวกับ
คุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกตั้ง และการร้องเรียนของนายเรืองไกร ก็มีช่องทางในการยื่นเรื่องผ่านประธานวุฒิสภา
แทนการมาร้องต่อ กกต.ได้อยู่แล้ว แต่ในขณะนั้น ที่ประชุม กกต.ก็มีมติด้วยคะแนนเสียง 4 ต่อ 1 เห็นว่า
อนุกรรมการฯมีอำนาจสืบสวนสอบสวนต่อไป โดยให้เพิ่มบทบัญญัติกฎหมายที่มีอยู่แล้วเข้าไปในคำสั่งเพื่อให้
มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งการสอบสวนอนุฯ ได้ขอขยายเวลาการสอบถึง 2 ครั้ง โดยครั้งแรกขยายเวลา 15 วัน
ระหว่างวันที่ 7-21 มิ.ย. ครั้งที่ 2 ขยายเวลาออกไประหว่าง 21 มิ.ย.- 6 ก.ค.
อย่างไรก็ตาม การจะพิจารณาของ กกต.ว่าจะส่งเรื่องดังกล่าวให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย
หรือไม่ ในวันที่ 16 ก.ค. มีข้อสังเกตที่น่าสนใจว่า กกต.จะสามารถมีมติ ยืนตามอนุกรรมการเสียงข้างน้อย ไม่
ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้หรือไม่ เพราะก่อนหน้านี้ กกต. เคยมีมติเสียงข้างมาก ส่งคำร้องกรณี
คุณสมบัตินายไชยยา สะสมทรัพย์ รมว.สาธารณสุข ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย แม้ว่าขณะนั้นประธานวุฒิสภา
จะส่งคำร้องดังกล่าว ที่สมาชิกวุฒิสภาเข้าชื่อกันยื่นเรื่องไปให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคุณสมบัติแล้วก็ตาม
โดยที่ประชุม กกต.ได้ให้เหตุผลว่า ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 182 วรรคท้าย ได้ให้อำนาจกกต. ในการส่งเรื่อง
คุณสมบัติไปยังศาลรัฐธรรมนูญได้ด้วย ดังนั้นจะเท่ากับว่ากกต. สร้างบรรทัดฐานไว้ก่อนหน้านี้แล้วหรือไม่ว่า
แม้มีองค์กรอื่นส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญก่อน กกต. ก็สามารถส่งเรื่องเดียวกันไปให้ศาลรัฐธรรมนูญ
วินิจฉัยได้อีกเช่นกัน
**ศาลรธน.ยืดเวลาให้"หมัก" ชี้แจง
นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวภายหลังการประชุมคณะ
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวานนี้ว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้นัดให้มีการแถลงด้วยวาจาก่อนและลงมติ
ในคำร้องที่ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่าย
รัฐสภา พ.ศ.2518 มาตรา 6ว รรคหนึ่ง (เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเป็นประธานกรรมการข้าราชการรัฐสภา
(ก.ร.) ของประธานรัฐสภาและการเป็นรองประธานก.ร.ของรองประธานรัฐสภา พ.ร.บ.สถาบันพระปกเกล้า
พ.ศ.2541 มาตรา 8 (1) (2) (3) เฉพาะกรณีผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และ (4) และพ.ร.บ.สภาพัฒนาการ
เมือง พ.ศ.2551 มาตรา 7 (3) และ (5) มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 265และ 266 หรือไม่
ในวันอังคารที่ 22 ก.ค.นี้ เวลา 9.30 น.
ส่วนกรณีการขาดคุณสมบัติการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ที่
ไปจัดรายการ "ชิมไปบ่นไป" และ"ยกโขยง 6 โมงเช้า" ปรากฎว่า นายสมัคร ได้ประสานมายังศาลรัฐธรรมนูญ
เพื่อขอขยายเวลาในการชี้แจงออกไปอีก โดยศาลรัฐธรรมนูญได้อนุญาตไปตามที่นายสมัครร้องขอแล้ว
นอกจากนี้ ที่ประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยังมีคำสั่งรับคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาของ นายวิรุฬ เต
ชะไพบูลย์ รมช.พาณิชย์ กรณีประธานวุฒิสภา ส่งคำร้องขอให้วินิจฉัยว่า ขาดคุณสมบัติการดำรงตำแหน่ง
รัฐมนตรีหรือไม่ รวมไว้ในสำนวนคำร้องแล้ว ซึ่งก็จะส่งให้ประธานวุฒิสภารับทราบต่อไป ส่วนศาลรัฐ
ธรรมนูญจะนัดอภิปรายคำร้องดังกล่าวเมื่อใด จะแจ้งให้ทราบอีกครั้งโดยในสัปดาห์หน้าตุลาการได้นัดประชุม
ในวันอังคารที่ 22 ก.ค. และ วันพุธที่ 23 ก.ค.
สอบว่า การที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นพิธีกรรายการ"ชิมไปบ่นไป" เข้าข่ายขาดคุณสมบัติการ
เป็นรัฐมนตรีหรือไม่ และคณะอนุกรรมการ ที่มี พล.อ. ยอดชาย เทพยสุวรรณ เป็นประธานฯได้สรุปผลการ
สอบสวนโดย กกต. จะมีการพิจารณาในการประชุมวันที่ 16 ก.ค.นั้น มีรายงานว่าอนุกรรมการชุดดังกล่าวไม่
ได้มีการวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงว่า การเป็นพิธีกรรายการ ชิมไปบ่นไป ของนายสมัคร ถือว่ามีความผิด
หรือไม่ แต่มีความเห็นในข้อกฎหมาย โดยเสียงข้างมาก เห็นควรที่ กกต.จะส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ
พิจารณาวินิจฉัย เนื่องจากเป็นปัญหาข้อกฎหมาย
ขณะที่อนุกรรมการฯ เสียงข้างน้อย เห็นว่า กรณีดังกล่าว กกต.ไม่จำเป็นต้องส่งให้ศาลรัฐ
ธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยอีก เพราะจะเป็นการส่งสำนวนที่ซ้ำซ้อนกับกรณีที่สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ได้เข้าชื่อ
กันตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 ส่งเรื่องการตรวจสอบคุณสมบัตินายกรัฐมนตรีให้ประธานวุฒิสภาส่งศาลรัฐ
ธรรมนูญเรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้ สำนวนร้องเรียนคุณสมบัตินายสมัคร นั้น เคยมีประเด็นถกเถียงกันเรื่องอำนาจของกกต. ใน
การสืบสวนสอบสวนกรณีดังกล่าวมาแล้ว เนื่องจากมีการมองว่า เรื่องดังกล่าวไม่ใช่การร้องเรียนเกี่ยวกับ
คุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกตั้ง และการร้องเรียนของนายเรืองไกร ก็มีช่องทางในการยื่นเรื่องผ่านประธานวุฒิสภา
แทนการมาร้องต่อ กกต.ได้อยู่แล้ว แต่ในขณะนั้น ที่ประชุม กกต.ก็มีมติด้วยคะแนนเสียง 4 ต่อ 1 เห็นว่า
อนุกรรมการฯมีอำนาจสืบสวนสอบสวนต่อไป โดยให้เพิ่มบทบัญญัติกฎหมายที่มีอยู่แล้วเข้าไปในคำสั่งเพื่อให้
มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งการสอบสวนอนุฯ ได้ขอขยายเวลาการสอบถึง 2 ครั้ง โดยครั้งแรกขยายเวลา 15 วัน
ระหว่างวันที่ 7-21 มิ.ย. ครั้งที่ 2 ขยายเวลาออกไประหว่าง 21 มิ.ย.- 6 ก.ค.
อย่างไรก็ตาม การจะพิจารณาของ กกต.ว่าจะส่งเรื่องดังกล่าวให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย
หรือไม่ ในวันที่ 16 ก.ค. มีข้อสังเกตที่น่าสนใจว่า กกต.จะสามารถมีมติ ยืนตามอนุกรรมการเสียงข้างน้อย ไม่
ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้หรือไม่ เพราะก่อนหน้านี้ กกต. เคยมีมติเสียงข้างมาก ส่งคำร้องกรณี
คุณสมบัตินายไชยยา สะสมทรัพย์ รมว.สาธารณสุข ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย แม้ว่าขณะนั้นประธานวุฒิสภา
จะส่งคำร้องดังกล่าว ที่สมาชิกวุฒิสภาเข้าชื่อกันยื่นเรื่องไปให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคุณสมบัติแล้วก็ตาม
โดยที่ประชุม กกต.ได้ให้เหตุผลว่า ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 182 วรรคท้าย ได้ให้อำนาจกกต. ในการส่งเรื่อง
คุณสมบัติไปยังศาลรัฐธรรมนูญได้ด้วย ดังนั้นจะเท่ากับว่ากกต. สร้างบรรทัดฐานไว้ก่อนหน้านี้แล้วหรือไม่ว่า
แม้มีองค์กรอื่นส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญก่อน กกต. ก็สามารถส่งเรื่องเดียวกันไปให้ศาลรัฐธรรมนูญ
วินิจฉัยได้อีกเช่นกัน
**ศาลรธน.ยืดเวลาให้"หมัก" ชี้แจง
นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวภายหลังการประชุมคณะ
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวานนี้ว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้นัดให้มีการแถลงด้วยวาจาก่อนและลงมติ
ในคำร้องที่ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่าย
รัฐสภา พ.ศ.2518 มาตรา 6ว รรคหนึ่ง (เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเป็นประธานกรรมการข้าราชการรัฐสภา
(ก.ร.) ของประธานรัฐสภาและการเป็นรองประธานก.ร.ของรองประธานรัฐสภา พ.ร.บ.สถาบันพระปกเกล้า
พ.ศ.2541 มาตรา 8 (1) (2) (3) เฉพาะกรณีผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และ (4) และพ.ร.บ.สภาพัฒนาการ
เมือง พ.ศ.2551 มาตรา 7 (3) และ (5) มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 265และ 266 หรือไม่
ในวันอังคารที่ 22 ก.ค.นี้ เวลา 9.30 น.
ส่วนกรณีการขาดคุณสมบัติการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ที่
ไปจัดรายการ "ชิมไปบ่นไป" และ"ยกโขยง 6 โมงเช้า" ปรากฎว่า นายสมัคร ได้ประสานมายังศาลรัฐธรรมนูญ
เพื่อขอขยายเวลาในการชี้แจงออกไปอีก โดยศาลรัฐธรรมนูญได้อนุญาตไปตามที่นายสมัครร้องขอแล้ว
นอกจากนี้ ที่ประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยังมีคำสั่งรับคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาของ นายวิรุฬ เต
ชะไพบูลย์ รมช.พาณิชย์ กรณีประธานวุฒิสภา ส่งคำร้องขอให้วินิจฉัยว่า ขาดคุณสมบัติการดำรงตำแหน่ง
รัฐมนตรีหรือไม่ รวมไว้ในสำนวนคำร้องแล้ว ซึ่งก็จะส่งให้ประธานวุฒิสภารับทราบต่อไป ส่วนศาลรัฐ
ธรรมนูญจะนัดอภิปรายคำร้องดังกล่าวเมื่อใด จะแจ้งให้ทราบอีกครั้งโดยในสัปดาห์หน้าตุลาการได้นัดประชุม
ในวันอังคารที่ 22 ก.ค. และ วันพุธที่ 23 ก.ค.