นายจุลยุทธ์ หิรัญยะวสิต ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เปิดเผยว่า ภายในเดือนกรกฎาคมนี้ สปน. จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อรับทราบการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ ในส่วนของ สปน. (ภาครัฐ)เพื่อพิจารณาสูตรคำนวณค่าปรับ ค่าสัมปทานที่บริษัทไอทีวี จำกัด (มหาชน) ค้างค่าชำระกว่า 1 แสนล้านบาท (101,864,543,665.74 บาท) มากว่า 2 ปี ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ร่วมกับอนุญาโตตุลาการผ่านบริษัทไอทีวี
"จะมีการเสนอบุคคลที่สมควรได้รับการเป็นอนุญาโตตุลาการ ฝ่ายรัฐ เพื่อต่อสู้คดีค่าปรับแสนล้านบาทกับไอทีวี คาดว่าจะเป็น นายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด เพื่อเสนอครม.รับทราบ"
แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล ชี้แจงว่า การแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายรัฐก่อนหน้านั้น ในรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการเสนอ ครม.เพื่อแต่งตั้ง นายวิชช์ จีระแพทย์ อดีต อธิบดีอัยการฝ่ายคดีล้มละลาย ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด และผ่านเป็นมติคณะรัฐมนตรีไปแล้ว แต่นายวิชช์ ได้ขอลาออก โดยมีการเสนอเรื่องเพื่อให้ครม.ในรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช รับทราบ ในช่วงที่นายจักรภพ เพ็ญแข เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
"เรื่องนี้นายจักรภพ จะเสนอ ครม.อยู่แล้ว แต่เมื่อนายจักรภพ ลาออก เรื่องก็ต้องมาชะงักออกไป อย่างไรก็ตาม ตามระเบียบการจัดตั้งคณะอนุญาโตตุลาการ ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุดนั้น จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม 51 นี้"
**จับตาอุ้มค่าปรับแสนล."ทักษิณทีวี"
แหล่งข่าวจากผู้ถือหุ้น ไอทีวี เปิดเผยว่า จากการประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทไอทีวี จำกัด (มหาชน) ทราบว่าได้มีการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายไอทีวีแล้ว ได้แก่นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา อดีต รมว.ยุติธรรม สมัยรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ และปัจจุบันเป็นโฆษกส่วนตัวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รวมทั้งเป็นประธานมูลนิธิ 111 ไทยรักไทย ด้วย
แหล่งข่าว อดีตกรรมการ ยูเอชเอฟ ชี้แจ้งว่า เมื่อครม. เห็นชอบแล้ว ตามข้อกฎหมาย การตั้งอนุญาโตตุลาการ คณะอนุญาโตตุลาการทั้ง 2 ฝ่าย จะต้องมาประชุมกันเพื่อกำหนดตัวผู้ที่จะเข้ามาเป็นอนุญาโตตุลาการ (คนกลาง) เพื่อร่วมพิจารณาดีค่าปรับแสนล้านบาท
ทั้งนี้ ฝ่ายรัฐ (สปน.) ยืนยันทุกครั้งว่าไอทีวี ต้องจ่ายค่าปรับแสนล้านบาทให้กับรัฐ แต่ทางไอทีวีอ้างว่า รัฐใช้สูตรการคำนวณที่ไม่เป็นธรรม ดังนั้น หากมีการตั้งคนกลางขึ้นมาในลักษณะที่ฮั้วกัน ก็ทำให้หวั่นว่ารัฐจะเสียเปรียบ
นอกจากนี้ เมื่อกระบวนการอนุญาโตตุลาการเดินหน้า ก็จะมีการชี้ขาดใน 2 ประเด็น คือ 1.ชี้ขาดกรณีที่ สปน.ฟ้องบริษัทไอทีวี ผิดสัญญาต้องจ่ายค่าปรับให้รับแสนล้านบาท หรือไม่ และ 2. ชี้ขาดกรณีที่ บริษัท ไอทีวี ฟ้อง สปน.ว่าดำเนินการทำให้บริษัทไอทีวี และผู้ถือหุ้นเสียหาย และเสียโอกาสในการดำเนินธุรกิจ
*ค่าปรับแสนล้านที่ทักษิณทีวีต้องจ่าย
รายงานข่าวแจ้งว่า ค่าปรับไอทีวี ที่อยู่ในวงเงินประมาณ 75,000 ล้านบาท โดยคำนวณมาจากผลตอบแทนค้างจ่ายให้รัฐ ในปีที่ 9 และปีที่ 10 วงเงิน 1,440 ล้านบาท เมื่อรวมกับค่าปรับ 15% ต่อปี คิดเป็น 1,709 ล้านบาท
นอกจากนั้นยังมีค่าปรับจากการการปรับผังรายการที่ในสัญญาระบุไว้ว่า ต้องมีสารคดีและสารประโยชน์ 70% และบันเทิง 30% แต่ไอทีวี ไปปฏิบัติตามอนุญาโตตุลาการ โดยจัดทำผังรายการสารคดีและสารประโยชน์ 50% บันเทิง 50% โดยในส่วนนี้สัญญาเขียนว่า จะต้องถูกปรับไอทีวี จะต้องยินยอมชำระค่าปรับในอัตรา 10% ของค่าตอบแทนที่รัฐได้รับในแต่ละปีโดยให้คิดคำนวณค่าปรับเป็นรายวัน
จากประเด็นดังกล่าว หากนับตั้งแต่การจัดผังรายการ เดือน เม.ย.47 จนถึงวันที่ 9 พ.ค.49 ที่มีคำตัดสินของศาลปกครองกลาง หมายความว่าไอทีวีจะต้องเสียค่าปรับช่วงสัญญาปีที่ 9 วัน ๆ ละ 90 ล้านบาท และช่วงสัญญาปีที่ 10 อีกวันละ 100 ล้านบาท เมื่อคำนวณทั้งสิ้นแล้ว จึงคิดเป็นเงินที่ไอทีวี ต้องจ่ายให้รัฐกว่า 75,000 ล้านบาท
ทั้งนี้เป็น กรณีที่บริษัทไอทีวี ไม่จ่ายผลตอบแทนค้างจ่ายให้รัฐมาเป็นเวลา 2 ปี รวมทั้งค่าปรับจากการการปรับผังรายการที่ในสัญญาระบุไว้ จึงเป็นขั้นตอนที่ สปน. ต้องยึดสัมปทานคืน
**ชี้ "ทีวีไทย"ไม่มีผลต่อคดี
แหล่งข่าวจากทำเนียบ ระบุว่า ขณะที่สถานีโทรทัศน์ ไทยทีวี ที่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ พ.ศ.2551 ที่มีผลบังคับใช้ และได้ออกอากาศอยู่ขณะนี้ จะไม่มีผลเกี่ยวกับคดีการค้างค่าปรับ และค่าสัมปทานกว่า 1 แสนล้านบาท ระหว่าง สปน.กับบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) เพราะเป็นคนละเรื่องกัน เนื่องจากขณะนี้มีการตั้งคณะอนุญาโตตุลาการของ ทั้ง 2 ฝ่าย และจะมีอนุญาโตตุลาการคนกกลาง ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด
**ย้อนที่มาคดีไอทีวี
ทั้งนี้ จากรายงานผลการดำเนินการทางกฎหมาย กับบริษัทไอทีวี จำกัด (มหาชน) ต่อ ครม.คราวประชุมปรึกษา วันที่ 13 มี.ค. 50 ได้รับทราบกรณีสำนักงานปลัดสำนักนายกฯ ได้ดำเนินการตามนัยมติครม. เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 50 โดยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้มีหนังสือลงวันที่ 7 มี.ค.50 แจ้งบอกเลิกสัญญาเข้าร่วมงานและดำเนินการสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยูเอช เอฟ ฉบับลงวันที่ 3 ก.ค. 38 และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับลง วันที่ 25 เม.ย. 43 กับบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ผู้เข้าร่วมงาน เนื่องจากเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาที่สำนักงานสำนักปลัดนายกรัฐมนตรีได้แจ้งเตือนให้บริษัทฯ ชำระหนี้ตามสัญญาเข้าร่วมงานฯแล้ว บริษัทฯไม่ดำเนินการชำระหนี้ให้แก่สำนักงานสำนักปลัดนายกฯแต่อย่างใด
ตามคดีหมายเลขดำที่ 640/2550 เมื่อวันที่ 30 มี.ค. 50 สปน.โดยพนักงานอัยการผู้รับมอบอำนาจจาก สปน.ได้ยื่นฟ้องบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ 640/2550 ขอให้ศาลบังคับให้บริษัทฯชำระเงินค่าตอบแทนที่ค้างชำระพร้อมดอกเบี้ย รวมทั้งชำระเงินค่าปรับกรณีบริษัทฯ ปรับผังรายการไม่เป็นไปตามสัญญาเข้าร่วมงานฯ และชำระเงินตามมูลค่าของทรัพย์สินที่บริษัทฯ ได้ส่งมอบน้อยกว่าที่กำหนดในสัญญาเข้าร่วมงานฯ ให้แก่ สปน. เป็นเงินทั้งสิ้น 101,864,543,665.74 บาท
ขณะที่เมื่อวันที่ 18 พ.ค. 50 บริษัทฯได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลปกครองกลางมีคำสั่งจำหน่ายคดีหมายเลขดำที่ 640/2550 ออกจากสารบบความ เพื่อให้คู่สัญญาไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการตามสัญญาเข้าร่วมงานฯ ข้อ 5 ต่อไป
และเมื่อวันที่ 7 มิ.ย.50 และวันที่ 12 มิ.ย.50 พนักงานอัยการผู้รับมอบอำนาจจาก สปน. ได้ยื่นคำค้านคำร้องขอให้จำหน่ายคดีของบริษัทฯต่อศาลปกครองกลาง และขอให้ศาลปกครองกลางดำเนินคดีนี้ต่อไป
อย่างไรก็ตามวันที่ 22 มิ.ย.50 ศาลปกครองกลาง ได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีหมายเลขดำที่ 640/2550 ออกจากสารบบความ เพื่อให้คู่สัญญาไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการตามคำร้องของบริษัทฯ
ขณะที่เมื่อวันที่ 24 ก.ค.50 สปน.โดยพนักงานอัยการผู้รับมอบอำนาจจาก สปน.ได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด เพื่อขอให้ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ยกคำสั่งของศาลปกครองกลางที่ให้จำหน่ายคดีหมายเลขดำที่ 640/2550 ออกจากสารบบความ และให้ศาลปกครองกลางดำเนินกระบวนการพิจารณา
จนวันที่ 19 ธ.ค. 50 ศาลปกครองสูงสุด โดยนายจรัญ หัตถกรรม และคณะได้ออกบัลลังก์อ่านคำพิพากษายก ฟ้องคดีที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ยื่นฟ้องบจม.ไอทีวี ว่า ผิดสัญญาเข้าร่วมงานและดำเนินการสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ เนื่องจากไม่ชำระเงินค่าตอบแทนตามสัญญา และทำการปรับปรุงผังรายการไม่เป็นไปตามสัญญา ซึ่งเมื่อสปน.บอกเลิกสัญญาและเรียกให้ บจม.ไอทีวี ส่งมอบทรัพย์สินซึ่งใช้ในการดำเนินกิจการตามสัญญาแก่ผู้ฟ้องคดี ผู้ถูกฟ้องคดีกลับส่งมอบทรัพย์สินไม่ครบถ้วน เป็นเหตุให้สปน.ได้รับความเสียหาย ขอให้ศาลสั่ง บจม.ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 656,112,151.17บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5ต่อปี
ทั้งนี้ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า คำฟ้องของสปน.เป็นการฟ้องเกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาอนุญาโตตุลาการ และ บจม.ไอทีวีได้ยื่นคำร้องภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี ศาลจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่สัญญาดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการตามกฎหมาย
ดังนั้นข้ออ้างที่ สปน.อุทธรณ์ว่า ได้บอกเลิกสัญญากับ บจม.ไอทีวี แล้ว จึงไม่สามารถจะดำเนินการตามอนุญาโตตุลาการได้นั้น จึงฟังไม่ขึ้น และที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่สัญญาดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ ศาลปกครองสูงสุดเห็นพ้องด้วย พิพากษายกฟ้อง
"จะมีการเสนอบุคคลที่สมควรได้รับการเป็นอนุญาโตตุลาการ ฝ่ายรัฐ เพื่อต่อสู้คดีค่าปรับแสนล้านบาทกับไอทีวี คาดว่าจะเป็น นายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด เพื่อเสนอครม.รับทราบ"
แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล ชี้แจงว่า การแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายรัฐก่อนหน้านั้น ในรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการเสนอ ครม.เพื่อแต่งตั้ง นายวิชช์ จีระแพทย์ อดีต อธิบดีอัยการฝ่ายคดีล้มละลาย ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด และผ่านเป็นมติคณะรัฐมนตรีไปแล้ว แต่นายวิชช์ ได้ขอลาออก โดยมีการเสนอเรื่องเพื่อให้ครม.ในรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช รับทราบ ในช่วงที่นายจักรภพ เพ็ญแข เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
"เรื่องนี้นายจักรภพ จะเสนอ ครม.อยู่แล้ว แต่เมื่อนายจักรภพ ลาออก เรื่องก็ต้องมาชะงักออกไป อย่างไรก็ตาม ตามระเบียบการจัดตั้งคณะอนุญาโตตุลาการ ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุดนั้น จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม 51 นี้"
**จับตาอุ้มค่าปรับแสนล."ทักษิณทีวี"
แหล่งข่าวจากผู้ถือหุ้น ไอทีวี เปิดเผยว่า จากการประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทไอทีวี จำกัด (มหาชน) ทราบว่าได้มีการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายไอทีวีแล้ว ได้แก่นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา อดีต รมว.ยุติธรรม สมัยรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ และปัจจุบันเป็นโฆษกส่วนตัวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รวมทั้งเป็นประธานมูลนิธิ 111 ไทยรักไทย ด้วย
แหล่งข่าว อดีตกรรมการ ยูเอชเอฟ ชี้แจ้งว่า เมื่อครม. เห็นชอบแล้ว ตามข้อกฎหมาย การตั้งอนุญาโตตุลาการ คณะอนุญาโตตุลาการทั้ง 2 ฝ่าย จะต้องมาประชุมกันเพื่อกำหนดตัวผู้ที่จะเข้ามาเป็นอนุญาโตตุลาการ (คนกลาง) เพื่อร่วมพิจารณาดีค่าปรับแสนล้านบาท
ทั้งนี้ ฝ่ายรัฐ (สปน.) ยืนยันทุกครั้งว่าไอทีวี ต้องจ่ายค่าปรับแสนล้านบาทให้กับรัฐ แต่ทางไอทีวีอ้างว่า รัฐใช้สูตรการคำนวณที่ไม่เป็นธรรม ดังนั้น หากมีการตั้งคนกลางขึ้นมาในลักษณะที่ฮั้วกัน ก็ทำให้หวั่นว่ารัฐจะเสียเปรียบ
นอกจากนี้ เมื่อกระบวนการอนุญาโตตุลาการเดินหน้า ก็จะมีการชี้ขาดใน 2 ประเด็น คือ 1.ชี้ขาดกรณีที่ สปน.ฟ้องบริษัทไอทีวี ผิดสัญญาต้องจ่ายค่าปรับให้รับแสนล้านบาท หรือไม่ และ 2. ชี้ขาดกรณีที่ บริษัท ไอทีวี ฟ้อง สปน.ว่าดำเนินการทำให้บริษัทไอทีวี และผู้ถือหุ้นเสียหาย และเสียโอกาสในการดำเนินธุรกิจ
*ค่าปรับแสนล้านที่ทักษิณทีวีต้องจ่าย
รายงานข่าวแจ้งว่า ค่าปรับไอทีวี ที่อยู่ในวงเงินประมาณ 75,000 ล้านบาท โดยคำนวณมาจากผลตอบแทนค้างจ่ายให้รัฐ ในปีที่ 9 และปีที่ 10 วงเงิน 1,440 ล้านบาท เมื่อรวมกับค่าปรับ 15% ต่อปี คิดเป็น 1,709 ล้านบาท
นอกจากนั้นยังมีค่าปรับจากการการปรับผังรายการที่ในสัญญาระบุไว้ว่า ต้องมีสารคดีและสารประโยชน์ 70% และบันเทิง 30% แต่ไอทีวี ไปปฏิบัติตามอนุญาโตตุลาการ โดยจัดทำผังรายการสารคดีและสารประโยชน์ 50% บันเทิง 50% โดยในส่วนนี้สัญญาเขียนว่า จะต้องถูกปรับไอทีวี จะต้องยินยอมชำระค่าปรับในอัตรา 10% ของค่าตอบแทนที่รัฐได้รับในแต่ละปีโดยให้คิดคำนวณค่าปรับเป็นรายวัน
จากประเด็นดังกล่าว หากนับตั้งแต่การจัดผังรายการ เดือน เม.ย.47 จนถึงวันที่ 9 พ.ค.49 ที่มีคำตัดสินของศาลปกครองกลาง หมายความว่าไอทีวีจะต้องเสียค่าปรับช่วงสัญญาปีที่ 9 วัน ๆ ละ 90 ล้านบาท และช่วงสัญญาปีที่ 10 อีกวันละ 100 ล้านบาท เมื่อคำนวณทั้งสิ้นแล้ว จึงคิดเป็นเงินที่ไอทีวี ต้องจ่ายให้รัฐกว่า 75,000 ล้านบาท
ทั้งนี้เป็น กรณีที่บริษัทไอทีวี ไม่จ่ายผลตอบแทนค้างจ่ายให้รัฐมาเป็นเวลา 2 ปี รวมทั้งค่าปรับจากการการปรับผังรายการที่ในสัญญาระบุไว้ จึงเป็นขั้นตอนที่ สปน. ต้องยึดสัมปทานคืน
**ชี้ "ทีวีไทย"ไม่มีผลต่อคดี
แหล่งข่าวจากทำเนียบ ระบุว่า ขณะที่สถานีโทรทัศน์ ไทยทีวี ที่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ พ.ศ.2551 ที่มีผลบังคับใช้ และได้ออกอากาศอยู่ขณะนี้ จะไม่มีผลเกี่ยวกับคดีการค้างค่าปรับ และค่าสัมปทานกว่า 1 แสนล้านบาท ระหว่าง สปน.กับบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) เพราะเป็นคนละเรื่องกัน เนื่องจากขณะนี้มีการตั้งคณะอนุญาโตตุลาการของ ทั้ง 2 ฝ่าย และจะมีอนุญาโตตุลาการคนกกลาง ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด
**ย้อนที่มาคดีไอทีวี
ทั้งนี้ จากรายงานผลการดำเนินการทางกฎหมาย กับบริษัทไอทีวี จำกัด (มหาชน) ต่อ ครม.คราวประชุมปรึกษา วันที่ 13 มี.ค. 50 ได้รับทราบกรณีสำนักงานปลัดสำนักนายกฯ ได้ดำเนินการตามนัยมติครม. เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 50 โดยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้มีหนังสือลงวันที่ 7 มี.ค.50 แจ้งบอกเลิกสัญญาเข้าร่วมงานและดำเนินการสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยูเอช เอฟ ฉบับลงวันที่ 3 ก.ค. 38 และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับลง วันที่ 25 เม.ย. 43 กับบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ผู้เข้าร่วมงาน เนื่องจากเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาที่สำนักงานสำนักปลัดนายกรัฐมนตรีได้แจ้งเตือนให้บริษัทฯ ชำระหนี้ตามสัญญาเข้าร่วมงานฯแล้ว บริษัทฯไม่ดำเนินการชำระหนี้ให้แก่สำนักงานสำนักปลัดนายกฯแต่อย่างใด
ตามคดีหมายเลขดำที่ 640/2550 เมื่อวันที่ 30 มี.ค. 50 สปน.โดยพนักงานอัยการผู้รับมอบอำนาจจาก สปน.ได้ยื่นฟ้องบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ 640/2550 ขอให้ศาลบังคับให้บริษัทฯชำระเงินค่าตอบแทนที่ค้างชำระพร้อมดอกเบี้ย รวมทั้งชำระเงินค่าปรับกรณีบริษัทฯ ปรับผังรายการไม่เป็นไปตามสัญญาเข้าร่วมงานฯ และชำระเงินตามมูลค่าของทรัพย์สินที่บริษัทฯ ได้ส่งมอบน้อยกว่าที่กำหนดในสัญญาเข้าร่วมงานฯ ให้แก่ สปน. เป็นเงินทั้งสิ้น 101,864,543,665.74 บาท
ขณะที่เมื่อวันที่ 18 พ.ค. 50 บริษัทฯได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลปกครองกลางมีคำสั่งจำหน่ายคดีหมายเลขดำที่ 640/2550 ออกจากสารบบความ เพื่อให้คู่สัญญาไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการตามสัญญาเข้าร่วมงานฯ ข้อ 5 ต่อไป
และเมื่อวันที่ 7 มิ.ย.50 และวันที่ 12 มิ.ย.50 พนักงานอัยการผู้รับมอบอำนาจจาก สปน. ได้ยื่นคำค้านคำร้องขอให้จำหน่ายคดีของบริษัทฯต่อศาลปกครองกลาง และขอให้ศาลปกครองกลางดำเนินคดีนี้ต่อไป
อย่างไรก็ตามวันที่ 22 มิ.ย.50 ศาลปกครองกลาง ได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีหมายเลขดำที่ 640/2550 ออกจากสารบบความ เพื่อให้คู่สัญญาไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการตามคำร้องของบริษัทฯ
ขณะที่เมื่อวันที่ 24 ก.ค.50 สปน.โดยพนักงานอัยการผู้รับมอบอำนาจจาก สปน.ได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด เพื่อขอให้ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ยกคำสั่งของศาลปกครองกลางที่ให้จำหน่ายคดีหมายเลขดำที่ 640/2550 ออกจากสารบบความ และให้ศาลปกครองกลางดำเนินกระบวนการพิจารณา
จนวันที่ 19 ธ.ค. 50 ศาลปกครองสูงสุด โดยนายจรัญ หัตถกรรม และคณะได้ออกบัลลังก์อ่านคำพิพากษายก ฟ้องคดีที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ยื่นฟ้องบจม.ไอทีวี ว่า ผิดสัญญาเข้าร่วมงานและดำเนินการสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ เนื่องจากไม่ชำระเงินค่าตอบแทนตามสัญญา และทำการปรับปรุงผังรายการไม่เป็นไปตามสัญญา ซึ่งเมื่อสปน.บอกเลิกสัญญาและเรียกให้ บจม.ไอทีวี ส่งมอบทรัพย์สินซึ่งใช้ในการดำเนินกิจการตามสัญญาแก่ผู้ฟ้องคดี ผู้ถูกฟ้องคดีกลับส่งมอบทรัพย์สินไม่ครบถ้วน เป็นเหตุให้สปน.ได้รับความเสียหาย ขอให้ศาลสั่ง บจม.ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 656,112,151.17บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5ต่อปี
ทั้งนี้ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า คำฟ้องของสปน.เป็นการฟ้องเกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาอนุญาโตตุลาการ และ บจม.ไอทีวีได้ยื่นคำร้องภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี ศาลจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่สัญญาดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการตามกฎหมาย
ดังนั้นข้ออ้างที่ สปน.อุทธรณ์ว่า ได้บอกเลิกสัญญากับ บจม.ไอทีวี แล้ว จึงไม่สามารถจะดำเนินการตามอนุญาโตตุลาการได้นั้น จึงฟังไม่ขึ้น และที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่สัญญาดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ ศาลปกครองสูงสุดเห็นพ้องด้วย พิพากษายกฟ้อง