บทนำ
คำปฏิญาณ คือ การให้คำมั่นสัญญาอันศักดิ์สิทธิ์ จริงจัง และมั่นคงว่า ตนจะปฏิบัติตามคำปฏิญาณอย่างเคร่งครัด เป็นคำสัญญาที่ให้ไว้ เพื่อแสดงความซื่อสัตย์ สุจริต และความจงรักภักดีในการที่จะปฏิบัติงานตามหน้าที่ ของตนเอง ของคณะ ในฐานะที่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญ ในขณะเดียวกันคำปฏิญาณนั้นก็เป็นการให้คำสัญญาต่อตนเองว่า จะธำรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์แห่งคำปฏิญาณทุกคำพูด ทุกประโยค ด้วยจิตวิญญาณและด้วยจิตใต้สำนึกของบุคคลเหล่านั้น โดยให้คำปฏิญาณต่อหน้าพระมหากษัตริย์ ต่อหน้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในโบสถ์ วิหาร หรือต่อหน้าหมู่มหาประชาชน เช่น คำปฏิญาณในพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาของไทย คำปฏิญาณของเหล่าอัศวินในประเทศยุโรป และของเหล่าสวามินต่อโชกุนในญี่ปุ่น
คนไทยทุกคนคุ้นเคยและรู้จักคำปฏิญาณตั้งแต่เด็ก คือคำปฏิญาณของลูกเสือสำรอง คำปฏิญาณของลูกเสือสามัญ เป็นต้น ซึ่งมีคำกล่าวดังนี้
“ด้วยเกียรติของข้า ข้าขอสัญญาว่า
ข้อ 1 ข้าจะจงรักภักดี ต่อ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์”
นี่คือ คำปฏิญาณ ข้อที่ 1 ของ ด.ช. ด.ญ. อายุไม่เกิน 15 ปี คือลูกเสือสำรอง
1. นอกจากนั้น ยังมีคำปฏิญาณของสภาผู้แทนราษฎร์ และ สมาชิกวุฒิสภา ก่อนเข้ารับตำแหน่ง คำถวายสัตย์ปฏิญาณของคณะรัฐมนตรีก่อนเข้ารับตำแหน่ง เป็นต้น
2. ในห้วงเวลาสี่ห้าปีที่ผ่านมา องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระดำรัสย้ำให้นึกถึงคำปฏิญาณในการปฏิบัติหน้าที่และทรงเตือนให้ปฏิบัติตามคำปฏิญาณอยู่บ่อย
คุณทหาร “คุณรู้หรือเปล่า?”
บทตาม
1. สำหรับสถาบันทหาร ซึ่งเป็นสถาบันหลักของทุกประเทศที่จะปกป้องคุ้มครองและรักษา “ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประชาชน” คำปฏิญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของทหารที่ให้ไว้กับพระมหากษัตริย์และประชาชน เพื่อกระตุ้นต่อมความจำ จิตสำนึกสูงสุดของคำปฏิญาณของทหารมาแสดงให้เห็นดังต่อไปนี้
คำปฏิญาณของทหารในการถือน้ำพิพัฒน์สัตยา
“ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า (ออกชื่อผู้ถวายสัตย์สาบาน) ขอพระราชทานกระทำสัตย์ปฏิญาณตัวต่อประเทศชาติ และประชาชนชาวไทย เฉพาะพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เฉพาะพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ท่ามกลางมหาสันนิบาตนี้ว่า
ข้าพระพุทธเจ้า ผู้เป็นสมาชิกแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี จะภักดีต่อชาติบ้านเมือง จะซื่อสัตย์ต่อประชาชนและต่อหน้าที่ จะปฏิบัติการทุกอย่างโดยเต็มกำลังสติปัญญาความสามารถ และโดยความเสียสละ เพื่อความเจริญ ความสงบสุข และความมั่นคงไพบูลย์ของประเทศชาติไทย จนตราบเท่าชีวิตร่างกายจะหาไม่ หากข้าพระพุทธเจ้าประพฤติปฏิบัติฝืนคำสัตย์ปฏิญาณนี้เมื่อใด ขอความวิบัติจงบังเกิดแก่ข้าพระพุทธเจ้าเมื่อนั้นโดยฉับพลันทันที อย่าให้มีความสุขความสวัสดีด้วยประการใดๆ หากข้าพระพุทธเจ้าดำรงมั่นในสัตย์ปฏิญาณนี้ยั่งยืนไป ขออานุภาพพระรัตนตรัยและเทพยดาอารักษ์ พระสยามเทวาธิราช เป็นต้น จงบันดาลความสุขสวัสดีแก่ข้าพระพุทธเจ้าทุกเมื่อ ให้ข้าพระพุทธเจ้ามีความเจริญในหน้าที่ราชการ เป็นกำลังทะนุบำรุงประเทศชาติสืบไป ได้สมตามปณิธานปรารถนาทุกประการ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ”
คำปฏิญาณของทหารในวันกองทัพไทย
พิธีกระทำสัตย์ปฏิญาณตนต่อธงชัยเฉลิมพล กระทำในวันที่ 25 มกราคมของทุกปี เนื่องจากวันดังกล่าวเป็นวันกองทัพไทย และเดือนมกราคม เป็นเดือนที่ทหารใหม่ที่คัดเลือกเข้ารับราชการทหารได้รับการฝึกศึกษาฝึกบุคคลทำการรบ และการฝึกภาคสนามเสร็จสิ้นแล้วพร้อมที่จะทำการรบ เพื่อป้องกันประเทศชาติ และเป็นวันระลึกถึงวีรกรรมที่ยิ่งใหญ่ ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถี ได้รับชัยชนะต่อข้าศึก
คำปฏิญาณของทหาร
ข้าพเจ้า (ชื่อและนามสกุล) ขอกระทำสัตย์ปฏิญาณว่า
ข้าพเจ้า จักยอมตาย เพื่ออิสรภาพ และความสงบแห่งประเทศชาติ
ข้าพเจ้า จักรักษาไว้ ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ข้าพเจ้า จักอยู่ในศีลธรรมของศาสนา
ข้าพเจ้า จะเชิดชูและรักษาไว้ ซึ่งพระบรมเดชานุภาพแห่งพระมหากษัตริย์เจ้า
ข้าพเจ้า จะเชื่อถือผู้บังคับบัญชา และปฏิบัติตามคำสั่งโดยเคร่งครัด ทั้งจักปกครองแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาโดยยุติธรรม
ข้าพเจ้า จะไม่แพร่พรายความลับของราชการทหารเป็นอันขาด
คำปฏิญาณของทหารในวันเฉลิมพระชนมพรรษา
คำถวายสัตย์ปฏิญาณตนต่อหน้าพระพักตร์ ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็นประจำทุกปี มีใจความว่า “...ข้าพเจ้า จะยอมตาย เพื่อรักษาไว้ ซึ่งพระบรมเดชานุภาพแห่งพระมหากษัตริย์เจ้า จะจงรักภักดี และถวายความปลอดภัยต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท จนชีวิตจะหาไม่ ....”
(อ้างถึง : บทความคำปฏิญาณอันศักดิ์สิทธิ์ โดย ศ.ดร. ลิขิต ธีระเวคิน ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ)
2.จะเห็นได้ว่า ทุกคำ ทุกถ้อยคำ ทุกประโยค ประกอบเป็นคำปฏิญาณอันศักดิ์สิทธิ์เป็นคำมั่นสัญญาที่มีความผูกพันกับทหารทุกคนต้องยึดถือปฏิบัติทั้งร่างกาย และจิตวิญญาณจนชีวิตจะหาไม่
3. คุณทหาร และ ขุนทหารลองตั้งสติและใช้ปัญญาพิจารณาตัวเองว่า คุณทหารและขุนทหารได้ปฏิบัติตามคำปฏิญาณอย่างครบถ้วน เข้มงวด ด้วยจิตสำนึกของความเป็นทหาร ต่อเกียรติและศักดิ์ศรีของทหารและต่อวงศ์ตระกูลของตนเอง แล้วหรือยัง
ขุนทหาร : ท่านสำนึกหรือเปล่า?
บทยุติ
1. ทหารมีหน้าที่ดูแลปกป้อง คุ้มครอง สี่เสาหลักของประเทศ ซึ่งประกอบด้วย “ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาชน” ภายใต้คำปฏิญาณอันศักดิ์สิทธิ์ต่อหน้าพระมหากษัตริย์ ต่อหน้าธงชัยเฉลิมพล และต่อหน้ามหาประชาชน ที่จะต้องยึดถือคำปฏิญาณเป็นหลักปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เข้มงวด
2. ทหารต้องทำตัวเป็นหลัก ไม่ใช่เป็นกลาง เป็นหลักในการชี้ผิดชี้ถูก ในเรื่องความถูกและความผิด สีดำกับสีขาว ธรรมะกับอธรรม ความดีกับความชั่ว พิจารณาโดยใช้สติปัญญา และกล้าหาญ ในการแสดงออกโดยการพูด การเขียน ในสถานการณ์วิกฤตและชาติต้องการ
3. หน้าที่ของขุนทหารที่จะต้องยืนบนเส้นของความถูกต้อง ไม่เอนเอียงไปตาม อิทธิพลของนักการเมือง อำนาจเงินของนักการเมือง และไม่ยืนคร่อมเส้นของความถูกต้อง เอาตัวรอดแต่ต้อง ทำหน้าที่ด้วยความกล้าหาญและความมั่นคงต่อคำปฏิญาณที่เคยให้ไว้กับพระราชา พระราชินี และประชาชน
4. คุณทหาร และ ขุนทหาร คุณต้องเป็นทหารของพระราชา ของพระราชินี และของประชาชน และกล้าหาญที่จะประกาศด้วยเสียงดังฟังชัดว่า “ทหารเป็นทหารของชาติ ของศาสน์ ของกษัตริย์ และประชาชน ไม่ใช่ทหารของนักการเมือง”
5. เป็นการกระทำที่ง่ายๆ มิฉะนั้น คุณทหารและขุนทหารจะต้องอับอาย ลูกเสือสำรอง ซึ่งเป็น ด.ช. และ ด.ญ. อายุไม่เกิน 15 ปี ซึ่งกำลังตะโกนเสียงดังในใจว่า
“ด้วยเกียรติของข้า ข้าขอสัญญาว่า
ข้อ 1ข้าจะจงรักภักดี ต่อ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์”
6. สมการ การต่อสู้ทางคณิตศาสตร์ ไม่เปลี่ยนแปลง คือ พันธมิตรประชาชนฯ + ผู้ถืออาวุธ ชนะอำนาจรัฐ + อำนาจเงิน
ผู้ถืออาวุธ คือ ผู้ถืออำนาจรัฐ
ผบ.เหล่าทัพ แม่ทัพนายกอง ที่อ้างว่าเป็นทหารของพระราชา ของพระราชินี และของประชาชน ทราบหรือเปล่า?
สวัสดี
คำปฏิญาณ คือ การให้คำมั่นสัญญาอันศักดิ์สิทธิ์ จริงจัง และมั่นคงว่า ตนจะปฏิบัติตามคำปฏิญาณอย่างเคร่งครัด เป็นคำสัญญาที่ให้ไว้ เพื่อแสดงความซื่อสัตย์ สุจริต และความจงรักภักดีในการที่จะปฏิบัติงานตามหน้าที่ ของตนเอง ของคณะ ในฐานะที่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญ ในขณะเดียวกันคำปฏิญาณนั้นก็เป็นการให้คำสัญญาต่อตนเองว่า จะธำรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์แห่งคำปฏิญาณทุกคำพูด ทุกประโยค ด้วยจิตวิญญาณและด้วยจิตใต้สำนึกของบุคคลเหล่านั้น โดยให้คำปฏิญาณต่อหน้าพระมหากษัตริย์ ต่อหน้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในโบสถ์ วิหาร หรือต่อหน้าหมู่มหาประชาชน เช่น คำปฏิญาณในพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาของไทย คำปฏิญาณของเหล่าอัศวินในประเทศยุโรป และของเหล่าสวามินต่อโชกุนในญี่ปุ่น
คนไทยทุกคนคุ้นเคยและรู้จักคำปฏิญาณตั้งแต่เด็ก คือคำปฏิญาณของลูกเสือสำรอง คำปฏิญาณของลูกเสือสามัญ เป็นต้น ซึ่งมีคำกล่าวดังนี้
“ด้วยเกียรติของข้า ข้าขอสัญญาว่า
ข้อ 1 ข้าจะจงรักภักดี ต่อ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์”
นี่คือ คำปฏิญาณ ข้อที่ 1 ของ ด.ช. ด.ญ. อายุไม่เกิน 15 ปี คือลูกเสือสำรอง
1. นอกจากนั้น ยังมีคำปฏิญาณของสภาผู้แทนราษฎร์ และ สมาชิกวุฒิสภา ก่อนเข้ารับตำแหน่ง คำถวายสัตย์ปฏิญาณของคณะรัฐมนตรีก่อนเข้ารับตำแหน่ง เป็นต้น
2. ในห้วงเวลาสี่ห้าปีที่ผ่านมา องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระดำรัสย้ำให้นึกถึงคำปฏิญาณในการปฏิบัติหน้าที่และทรงเตือนให้ปฏิบัติตามคำปฏิญาณอยู่บ่อย
คุณทหาร “คุณรู้หรือเปล่า?”
บทตาม
1. สำหรับสถาบันทหาร ซึ่งเป็นสถาบันหลักของทุกประเทศที่จะปกป้องคุ้มครองและรักษา “ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประชาชน” คำปฏิญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของทหารที่ให้ไว้กับพระมหากษัตริย์และประชาชน เพื่อกระตุ้นต่อมความจำ จิตสำนึกสูงสุดของคำปฏิญาณของทหารมาแสดงให้เห็นดังต่อไปนี้
คำปฏิญาณของทหารในการถือน้ำพิพัฒน์สัตยา
“ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า (ออกชื่อผู้ถวายสัตย์สาบาน) ขอพระราชทานกระทำสัตย์ปฏิญาณตัวต่อประเทศชาติ และประชาชนชาวไทย เฉพาะพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เฉพาะพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ท่ามกลางมหาสันนิบาตนี้ว่า
ข้าพระพุทธเจ้า ผู้เป็นสมาชิกแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี จะภักดีต่อชาติบ้านเมือง จะซื่อสัตย์ต่อประชาชนและต่อหน้าที่ จะปฏิบัติการทุกอย่างโดยเต็มกำลังสติปัญญาความสามารถ และโดยความเสียสละ เพื่อความเจริญ ความสงบสุข และความมั่นคงไพบูลย์ของประเทศชาติไทย จนตราบเท่าชีวิตร่างกายจะหาไม่ หากข้าพระพุทธเจ้าประพฤติปฏิบัติฝืนคำสัตย์ปฏิญาณนี้เมื่อใด ขอความวิบัติจงบังเกิดแก่ข้าพระพุทธเจ้าเมื่อนั้นโดยฉับพลันทันที อย่าให้มีความสุขความสวัสดีด้วยประการใดๆ หากข้าพระพุทธเจ้าดำรงมั่นในสัตย์ปฏิญาณนี้ยั่งยืนไป ขออานุภาพพระรัตนตรัยและเทพยดาอารักษ์ พระสยามเทวาธิราช เป็นต้น จงบันดาลความสุขสวัสดีแก่ข้าพระพุทธเจ้าทุกเมื่อ ให้ข้าพระพุทธเจ้ามีความเจริญในหน้าที่ราชการ เป็นกำลังทะนุบำรุงประเทศชาติสืบไป ได้สมตามปณิธานปรารถนาทุกประการ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ”
คำปฏิญาณของทหารในวันกองทัพไทย
พิธีกระทำสัตย์ปฏิญาณตนต่อธงชัยเฉลิมพล กระทำในวันที่ 25 มกราคมของทุกปี เนื่องจากวันดังกล่าวเป็นวันกองทัพไทย และเดือนมกราคม เป็นเดือนที่ทหารใหม่ที่คัดเลือกเข้ารับราชการทหารได้รับการฝึกศึกษาฝึกบุคคลทำการรบ และการฝึกภาคสนามเสร็จสิ้นแล้วพร้อมที่จะทำการรบ เพื่อป้องกันประเทศชาติ และเป็นวันระลึกถึงวีรกรรมที่ยิ่งใหญ่ ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถี ได้รับชัยชนะต่อข้าศึก
คำปฏิญาณของทหาร
ข้าพเจ้า (ชื่อและนามสกุล) ขอกระทำสัตย์ปฏิญาณว่า
ข้าพเจ้า จักยอมตาย เพื่ออิสรภาพ และความสงบแห่งประเทศชาติ
ข้าพเจ้า จักรักษาไว้ ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ข้าพเจ้า จักอยู่ในศีลธรรมของศาสนา
ข้าพเจ้า จะเชิดชูและรักษาไว้ ซึ่งพระบรมเดชานุภาพแห่งพระมหากษัตริย์เจ้า
ข้าพเจ้า จะเชื่อถือผู้บังคับบัญชา และปฏิบัติตามคำสั่งโดยเคร่งครัด ทั้งจักปกครองแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาโดยยุติธรรม
ข้าพเจ้า จะไม่แพร่พรายความลับของราชการทหารเป็นอันขาด
คำปฏิญาณของทหารในวันเฉลิมพระชนมพรรษา
คำถวายสัตย์ปฏิญาณตนต่อหน้าพระพักตร์ ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็นประจำทุกปี มีใจความว่า “...ข้าพเจ้า จะยอมตาย เพื่อรักษาไว้ ซึ่งพระบรมเดชานุภาพแห่งพระมหากษัตริย์เจ้า จะจงรักภักดี และถวายความปลอดภัยต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท จนชีวิตจะหาไม่ ....”
(อ้างถึง : บทความคำปฏิญาณอันศักดิ์สิทธิ์ โดย ศ.ดร. ลิขิต ธีระเวคิน ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ)
2.จะเห็นได้ว่า ทุกคำ ทุกถ้อยคำ ทุกประโยค ประกอบเป็นคำปฏิญาณอันศักดิ์สิทธิ์เป็นคำมั่นสัญญาที่มีความผูกพันกับทหารทุกคนต้องยึดถือปฏิบัติทั้งร่างกาย และจิตวิญญาณจนชีวิตจะหาไม่
3. คุณทหาร และ ขุนทหารลองตั้งสติและใช้ปัญญาพิจารณาตัวเองว่า คุณทหารและขุนทหารได้ปฏิบัติตามคำปฏิญาณอย่างครบถ้วน เข้มงวด ด้วยจิตสำนึกของความเป็นทหาร ต่อเกียรติและศักดิ์ศรีของทหารและต่อวงศ์ตระกูลของตนเอง แล้วหรือยัง
ขุนทหาร : ท่านสำนึกหรือเปล่า?
บทยุติ
1. ทหารมีหน้าที่ดูแลปกป้อง คุ้มครอง สี่เสาหลักของประเทศ ซึ่งประกอบด้วย “ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาชน” ภายใต้คำปฏิญาณอันศักดิ์สิทธิ์ต่อหน้าพระมหากษัตริย์ ต่อหน้าธงชัยเฉลิมพล และต่อหน้ามหาประชาชน ที่จะต้องยึดถือคำปฏิญาณเป็นหลักปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เข้มงวด
2. ทหารต้องทำตัวเป็นหลัก ไม่ใช่เป็นกลาง เป็นหลักในการชี้ผิดชี้ถูก ในเรื่องความถูกและความผิด สีดำกับสีขาว ธรรมะกับอธรรม ความดีกับความชั่ว พิจารณาโดยใช้สติปัญญา และกล้าหาญ ในการแสดงออกโดยการพูด การเขียน ในสถานการณ์วิกฤตและชาติต้องการ
3. หน้าที่ของขุนทหารที่จะต้องยืนบนเส้นของความถูกต้อง ไม่เอนเอียงไปตาม อิทธิพลของนักการเมือง อำนาจเงินของนักการเมือง และไม่ยืนคร่อมเส้นของความถูกต้อง เอาตัวรอดแต่ต้อง ทำหน้าที่ด้วยความกล้าหาญและความมั่นคงต่อคำปฏิญาณที่เคยให้ไว้กับพระราชา พระราชินี และประชาชน
4. คุณทหาร และ ขุนทหาร คุณต้องเป็นทหารของพระราชา ของพระราชินี และของประชาชน และกล้าหาญที่จะประกาศด้วยเสียงดังฟังชัดว่า “ทหารเป็นทหารของชาติ ของศาสน์ ของกษัตริย์ และประชาชน ไม่ใช่ทหารของนักการเมือง”
5. เป็นการกระทำที่ง่ายๆ มิฉะนั้น คุณทหารและขุนทหารจะต้องอับอาย ลูกเสือสำรอง ซึ่งเป็น ด.ช. และ ด.ญ. อายุไม่เกิน 15 ปี ซึ่งกำลังตะโกนเสียงดังในใจว่า
“ด้วยเกียรติของข้า ข้าขอสัญญาว่า
ข้อ 1ข้าจะจงรักภักดี ต่อ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์”
6. สมการ การต่อสู้ทางคณิตศาสตร์ ไม่เปลี่ยนแปลง คือ พันธมิตรประชาชนฯ + ผู้ถืออาวุธ ชนะอำนาจรัฐ + อำนาจเงิน
ผู้ถืออาวุธ คือ ผู้ถืออำนาจรัฐ
ผบ.เหล่าทัพ แม่ทัพนายกอง ที่อ้างว่าเป็นทหารของพระราชา ของพระราชินี และของประชาชน ทราบหรือเปล่า?
สวัสดี