ผู้จัดการรายวัน - “อดุล” ร้อง “ปองพล” เปิดมติรับรองผลการประชุมอย่างเป็นทางการของคณะกรรมการมรดกโลกที่ให้เขมรขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเพียงผู้เดียว เผยเขมรมีสิทธิ์ทวงคืนตามอนุสัญญาว่าด้วยการส่งคืนทรัพย์สิน แต่กษัตริย์สีหนุประกาศชัดไม่ติดใจทวงคืน เตือนรัฐบาลคุมเขมรสอดไส้กำหนดพื้นที่อนุรักษ์เขตกันชน ด้านกลุ่มปกป้องอธิปไตยฯร่อนจม.เปิดผนึกถึงประธานสภาทวงคืนอธิปไตยไทย ไม่ยอรับมติมรดกโลก
ศ.ดร.อดุล วิเชียรเจริญ อดีตประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีข่าวทางกัมพูชาเตรียมจะทวงคืนโบราณวัตถุจากปราสาทพระวิหาร เพื่อนำไปสร้างพิพิธภัณฑ์ปราสาทพระวิหารเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว ภายหลังจากได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแห่งใหม่ว่า กัมพูชายังมีสิทธ์ทวงโบราณวัตถุคืนได้ตามอนุสัญญาว่าด้วยการส่งคืนทรัพย์สิน แต่ปัญหาก็คือโบราณวัตถุที่อาจจะถูกลักลอบนำออกมาก่อนหน้านี้ ปัจจุบันก็ไม่รู้ไปอยู่ที่ไหนบ้าง เพราะไม่มีการขึ้นบัญชีเอาไว้
อย่างไรก็ตาม เท่าที่สืบค้นข้อมูลย้อนหลังพบว่าสมเด็จพระนโรดมสีหนุ ซึ่งขึ้นไปฉลองบนตัวปราสาทภายหลังจากที่ไทยถอนกำลังออกมาและให้กัมพูชาไปยึดครองตามคำพิพากษาของศาลโลกได้ประกาศชัดว่าไม่ติดใจที่จะทวงคืนโบราณวัตถุใดๆ ที่ถูกเคลื่อนย้ายมาจากตัวปราสาทก่อนได้รับชัยชนะครอบครองปราสาทพระวิหาร
ทั้งนี้ เท่าที่ประเมินคิดว่าสิ่งที่กัมพูชาอยากได้คืนคงจะเป็นศิลาจารึกจากตัวปราสาทพระวิหาร เพราะเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่เชื่อมกับตัวปราสาท ความสำคัญของข้อความที่จารึกเอาไว้ ซึ่งจะบ่งบอกว่าทำขึ้นเมื่อไหร่ เพราะการก่อสร้างตัวปราสาททำในหลายยุค ส่วนปราสาทอื่นๆที่เป็นศิลปะเขมร อาทิ ปราสาทเมืองต่ำ หรือพนมรุ้ง กัมพูชาไม่มีสิทธิ์เอาคืนได้เพราะอยู่ในแผ่นดินไทย
อดีตประธานคณะกรรมการฯ กล่าวอีกว่า จนถึงขณะนี้ยังอยากเห็นมติรับรองผลการประชุมอย่างเป็นทางการของคณะกรรมการมรดกโลก สมัย 32 ในกรณีปราสาทพระวิหาร เนื่องจากจะทำให้เกิดความชัดเจนในรายละเอียดต่างๆ โดยเฉพาะกรณีการตั้งคณะกรรมการระหว่างรัฐบาล 7 ชาติเข้ามาดูแล แผนการจัดการพื้นที่ ซึ่งตนยังข้องใจว่าทำไมผู้แทนไทยที่เดินทางไป 10 คนโดยเฉพาะนายนพดล ปัทมะ และนายปองพล อดิเรกสาร จึงไม่คัดค้านตั้งแต่ตอนนั้น เพราะถือเป็นการละเมิดดินแดน และไม่เคยมีกรณีไหนที่จะมีกลไกจากภายนอกมาช่วยจัดการ และหากจะท้วงติงไปตอนนี้ก็คงจะสายแล้ว คงไม่มีผลอะไร และถ้าไทยจะทำเกรงว่าจะหมดความเชื่อถือ และกลายเป็นเด็กไร้เดียงสา
“ทางออกอย่างที่มีนักวิชาการบอกว่า ไทยควรจะบอกยกเลิกภาคี อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาตินั้น ในมาตรา 35 สามารถทำได้ แต่รัฐบาลไทยจะกล้าหรือประกาศแข็งกร้าวถอนตัวออกจากชุมชนนานาชาติได้หรือไม่ ตรงนี้คงต้องดูผลกระทบต่อประโยชน์ชาติให้ดีด้วย และเป็นปัญหาที่ประชาชนคนไทยต้องตัดสินใจว่าจะทำแบบนั้นหรือไม่ ทั้งนี้ต้องยอมรับว่าเรามีต่างประเทศเป็นตลาดสินค้า และไม่มีชาติมหาอำนาจมาหนุนหลังเหมือนกับบางประเทศ”
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องรับมือกับเรื่องเฉพาะหน้าการกำหนดพื้นที่อนุรักษ์เขตกันชนภายใต้อนุสัญญาฯ ซึ่งไทยต้องใช้กฎหมายของไทยมากำกับดูแล ไม่ให้เสียเปรียบอีก โดยสิ่งที่ต้องระวังอย่างยิ่ง คืออย่าให้อยู่ในพื้นที่ที่เดิมที่เขมรขอขึ้น เพราะข้างนอกกำหนดไว้ว่าเป็นที่พัฒนาของกัมพูชา เราติงได้ตามกฎหมาย และนิตินัย เนื่องจากจะเป็นการสวนทางกับการอนุรักษ์โดยตรง เพราะไม่ว่าจะเป็นทางธรรมชาติและวัฒนธรรม ต้องเป็นการใช้ให้สมประโยชน์ให้สืบทอดเป็นของโลก การที่จะมีนักท่องเที่ยวเข้าไปไม่ว่าไทยหรือต่างชาติไปชื่นชมความดีงาม ของตัวประวัติศาสตร์ แต่ถ้าจะมีการทำพื้นที่พัฒนา รองรับให้มีนักท่องเที่ยวเกินมากเกินจะมีปัญหาแน่ ไทยต้องมีจุดยืนชัดเจนว่าการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อดึงคนต้องค้าน และไม่เห็นด้วยอย่างเด็ดขาด
เผย 7 ชาติจอมจุ้นหนุนเขมรเต็มพิกัด
แหล่งข่าวจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า พื้นที่อนุรักษ์รอบสถานที่ที่ขอขึ้นทะเบียน ( Buffer Zones ) เพื่อกำหนดมาตรการอนุรักษ์คุ้มครองมรดกโลกปราสาทพระวิหารนั้น ก็คือพื้นที่ในเขตแดนไทย 4.6 ตร.กม.ที่ยังมีปัญหาเรื่องพื้นที่ทับซ้อนเขตแดนไทย - กัมพูชาที่ยังไม่มีข้อตกลงกันได้ และเป็นเหตุผลสำคัญที่ ศ.ดร.อดุล ได้พยายามบอกว่าไทยต้องคัดค้านอย่างแข็งขันในเวทีแล้ว ไม่ควรเสียค่าโง่ครั้งที่ 3
ทั้งนี้ เนื่องจากการตั้งกรรมการ 7 ชาติที่จะตั้งขึ้นมานั้นส่วนใหญ่ก็ คือบอร์ดกรรมการมรดกโลกที่สนับสนุนกัมพูชาอยู่และจะเข้ามามีปากเสียงแทนกัมพูชา และบีบให้ไทยต้องยอมรับเงื่อนไขที่จะกำหนดขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมาพื้นที่อนุรักษ์รอบปราสาททั้งไทยและกัมพูชา ยังไม่ได้จัดทำและไม่เคยมีใครยอมใครด้วย ดังนั้นไทยต้องไม่ยอมให้ประเทศอื่นมามีอำนาจเหนือดินแดนอธิปไตย โดยการทำหนังสือค้านเรื่องนี้
บุกสภา บี้ไม่ยอมรับมติคกก.มรดกโลก
ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า ในช่วงบ่าย กลุ่มปกป้องอธิปไตย นำโดยนาย เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์,ร.อ. กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ,ม.ร.ว.พีรานุพงศ์ ภานุพันธุ์ นาย พิเชียร อำนาจวรประเสริฐ ยื่นหนังสือต่อนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา เรียกร้องทางการไทยปกป้องอธิปไตย โดยประกาศจุดยืนไม่รับมติคณะกรรมการมรดกโลก ทั้งนี้นายคณพล ตุ้ยสุวรรณ ผอ.กลุ่มงานประสานการเมืองและรับเรื่องร้องทุกข์ สำนักงานประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้รับหนังสือแทน
นายเกรียงศักดิ์ กล่าวว่า คณะได้ยื่นจดหมายเปิดผนึกพร้อมเอกสารข้อเสนอเพื่อประกอบการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ทั้งต้นฉบับภาษาอังกฤษและฉบับแปลภาษาไทยให้ประธานรัฐสภา และจะไปยื่นให้นายกฯ และประธานศาลฎีกา พิจารณาให้ประกาศจุดยืนไม่ยอมรับมติคณะกรรมการมรดกโลกในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร โดยให้ทางการไทยทำหนังสือชี้แจงต่อคณะกรรมการมรดกโลกว่า การลงนามในแถลงการณ์ร่วมของรมว.ต่างประเทศของไทย ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยแล้ว ทำให้การลงนามดังกล่าวเป็นการกระทำโดยพลการ มิได้มีผลผูกพันต่อราชอาณาจักร องค์กรระหว่างประเทศจะเอาแถลงการณ์ดังกล่าวไปอ้างอิงไม่ได้
นายเกรียงศักดิ์ กล่าวต่อว่า ทางการไทยต้องประกาศจุดยืนอย่างเป็นทางการว่า ไม่ขอรับมติคณะกรรมการมรดกโลกที่กำหนดให้การบริหารจัดการบริเวณพื้นที่อนุรักษ์(buffer zone) ที่อยู่ในเขตแดนไทยกระทำโดยคณะกรรมการร่วมจาก 7 ประเทศ เพื่อไม่ให้เป็นบรรทัดฐานในอนาคต และทางการไทยต้องชี้แจงกรณีที่ยังไม่มีข้อสรุปเกี่ยวกับการปักปันเขตแดนในพื้นที่ที่มีข้อพิพาทบริเวณชายแดนไทย – กัมพูชา ตามสนธิสัญญาที่ไทยทำกับฝรั่งเศสว่า ทำไมรัฐบาลไทยปล่อยให้กองกำลังทหาร ประชาชนชาวกัมพูชาละเมิดอธิปไตยเข้ามาในเขตแดนไทย ตั้งแต่ปี 2544 โดยมีการสร้างวัดและที่อยู่อาศัยถาวร
“การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารจะส่งผลต่ออธิปไตยไทยบริเวณรอยต่อตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชารวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติใต้ทะเลที่มีค่า รวมถึงชายแดนไทยกับประเทศอื่นๆ จึงขอเรียกร้องให้ทางการไทยดำเนินการตามที่เสนอ ซึ่งไม่สายเกินไปที่จะรีบทำ โดยจะทำให้เป็นหลักฐานในการต่อสู้ในอนาคต”นายเกรียงศักดิ์กล่าว
ด้าน นายพิเชียร กล่าวว่า หากทางการไทยจะประกาศจุดยืนตามที่กลุ่มเสนอถือว่ายังทัน เพราะสมัยปี 2505 พ.อ.ถนัด คอมันตร์ รมว.ต่างประเทศในขณะนั้นก็ได้ทำหนังสือประกาศจุดยืนหลังจากศาลโลกตัดสินไปแล้วประมาณ 1 เดือน จึงสามารถสงวนสิทธิ์ไว้ได้ ฉะนั้นขอเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการโดยด่วน
"ปองพล" ออกปกขาว
นายปองพล อดิเรก ประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก กล่าวถึงกรณีกระแสข่าวเรียกร้องให้ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อเป็นการแสดงความรับผิดชอบว่า ตนยืนยันว่าจะไม่ลาออกแน่นอน เพราะที่ผ่านมาได้ทำหน้าที่อย่างดีที่สุด และไม่เคยทำอะไรผิด หรือทำให้ประเทศชาติเสียหาย ใครคิดว่าตนบกพร่องในการปฏิบัติหน้าหรือคิดว่าสามารถทำหน้าที่ได้ดีกว่าตนก็ ไปเรียกร้องให้คณะกรรมการมรดกโลกยกเลิกมติดังกล่าว ถ้าทำได้ตนจะลาออกทันที แต่ถ้าทำไม่ได้ควรหยุดวิพากษ์วิจารณ์
ทั้งนี้ในวันที่ 14 กรกฎาคม เวลา 13.30 น. ที่สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ตนเองจะเข้าร่วมประชุมและรายงานผลการไปร่วมประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 32 ที่เมืองคิวบิก ประเทศแคนดา ต่อคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ซึ่งการประชุมชุมครั้งนี้ยังจะเป็นการกำหนด ทิศทางการทำงานของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกให้ชัดเจน ว่าจะเดินไปในทิศทางไหน
นายปองพล กล่าวต่อว่า เร็วนี้ๆ ตนจะเสนอให้คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกจัดทำสมุดปกขาว โดยจะรวบรวมรายงานของ ICOMOS ฉบับที่ใช้พิจารณาในประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ทั้งฉบับภาษาอังกฤษ และแปลเป็นภาษาไทย คำแถลงการณ์คัดค้านของตนที่ได้แถลงต่อคณะกรรมการมรดกโลก และผลสรุปจากประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 32 ที่เมืองคิวเบก ประเทศแคนดา เพื่อเป็นการชี้แจงกรณีปราสาทพระวิการให้ประชาชนได้ทราบถึงข้อเท็จจริง และคลายข้อกังขา
ศ.ดร.อดุล วิเชียรเจริญ อดีตประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีข่าวทางกัมพูชาเตรียมจะทวงคืนโบราณวัตถุจากปราสาทพระวิหาร เพื่อนำไปสร้างพิพิธภัณฑ์ปราสาทพระวิหารเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว ภายหลังจากได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแห่งใหม่ว่า กัมพูชายังมีสิทธ์ทวงโบราณวัตถุคืนได้ตามอนุสัญญาว่าด้วยการส่งคืนทรัพย์สิน แต่ปัญหาก็คือโบราณวัตถุที่อาจจะถูกลักลอบนำออกมาก่อนหน้านี้ ปัจจุบันก็ไม่รู้ไปอยู่ที่ไหนบ้าง เพราะไม่มีการขึ้นบัญชีเอาไว้
อย่างไรก็ตาม เท่าที่สืบค้นข้อมูลย้อนหลังพบว่าสมเด็จพระนโรดมสีหนุ ซึ่งขึ้นไปฉลองบนตัวปราสาทภายหลังจากที่ไทยถอนกำลังออกมาและให้กัมพูชาไปยึดครองตามคำพิพากษาของศาลโลกได้ประกาศชัดว่าไม่ติดใจที่จะทวงคืนโบราณวัตถุใดๆ ที่ถูกเคลื่อนย้ายมาจากตัวปราสาทก่อนได้รับชัยชนะครอบครองปราสาทพระวิหาร
ทั้งนี้ เท่าที่ประเมินคิดว่าสิ่งที่กัมพูชาอยากได้คืนคงจะเป็นศิลาจารึกจากตัวปราสาทพระวิหาร เพราะเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่เชื่อมกับตัวปราสาท ความสำคัญของข้อความที่จารึกเอาไว้ ซึ่งจะบ่งบอกว่าทำขึ้นเมื่อไหร่ เพราะการก่อสร้างตัวปราสาททำในหลายยุค ส่วนปราสาทอื่นๆที่เป็นศิลปะเขมร อาทิ ปราสาทเมืองต่ำ หรือพนมรุ้ง กัมพูชาไม่มีสิทธิ์เอาคืนได้เพราะอยู่ในแผ่นดินไทย
อดีตประธานคณะกรรมการฯ กล่าวอีกว่า จนถึงขณะนี้ยังอยากเห็นมติรับรองผลการประชุมอย่างเป็นทางการของคณะกรรมการมรดกโลก สมัย 32 ในกรณีปราสาทพระวิหาร เนื่องจากจะทำให้เกิดความชัดเจนในรายละเอียดต่างๆ โดยเฉพาะกรณีการตั้งคณะกรรมการระหว่างรัฐบาล 7 ชาติเข้ามาดูแล แผนการจัดการพื้นที่ ซึ่งตนยังข้องใจว่าทำไมผู้แทนไทยที่เดินทางไป 10 คนโดยเฉพาะนายนพดล ปัทมะ และนายปองพล อดิเรกสาร จึงไม่คัดค้านตั้งแต่ตอนนั้น เพราะถือเป็นการละเมิดดินแดน และไม่เคยมีกรณีไหนที่จะมีกลไกจากภายนอกมาช่วยจัดการ และหากจะท้วงติงไปตอนนี้ก็คงจะสายแล้ว คงไม่มีผลอะไร และถ้าไทยจะทำเกรงว่าจะหมดความเชื่อถือ และกลายเป็นเด็กไร้เดียงสา
“ทางออกอย่างที่มีนักวิชาการบอกว่า ไทยควรจะบอกยกเลิกภาคี อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาตินั้น ในมาตรา 35 สามารถทำได้ แต่รัฐบาลไทยจะกล้าหรือประกาศแข็งกร้าวถอนตัวออกจากชุมชนนานาชาติได้หรือไม่ ตรงนี้คงต้องดูผลกระทบต่อประโยชน์ชาติให้ดีด้วย และเป็นปัญหาที่ประชาชนคนไทยต้องตัดสินใจว่าจะทำแบบนั้นหรือไม่ ทั้งนี้ต้องยอมรับว่าเรามีต่างประเทศเป็นตลาดสินค้า และไม่มีชาติมหาอำนาจมาหนุนหลังเหมือนกับบางประเทศ”
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องรับมือกับเรื่องเฉพาะหน้าการกำหนดพื้นที่อนุรักษ์เขตกันชนภายใต้อนุสัญญาฯ ซึ่งไทยต้องใช้กฎหมายของไทยมากำกับดูแล ไม่ให้เสียเปรียบอีก โดยสิ่งที่ต้องระวังอย่างยิ่ง คืออย่าให้อยู่ในพื้นที่ที่เดิมที่เขมรขอขึ้น เพราะข้างนอกกำหนดไว้ว่าเป็นที่พัฒนาของกัมพูชา เราติงได้ตามกฎหมาย และนิตินัย เนื่องจากจะเป็นการสวนทางกับการอนุรักษ์โดยตรง เพราะไม่ว่าจะเป็นทางธรรมชาติและวัฒนธรรม ต้องเป็นการใช้ให้สมประโยชน์ให้สืบทอดเป็นของโลก การที่จะมีนักท่องเที่ยวเข้าไปไม่ว่าไทยหรือต่างชาติไปชื่นชมความดีงาม ของตัวประวัติศาสตร์ แต่ถ้าจะมีการทำพื้นที่พัฒนา รองรับให้มีนักท่องเที่ยวเกินมากเกินจะมีปัญหาแน่ ไทยต้องมีจุดยืนชัดเจนว่าการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อดึงคนต้องค้าน และไม่เห็นด้วยอย่างเด็ดขาด
เผย 7 ชาติจอมจุ้นหนุนเขมรเต็มพิกัด
แหล่งข่าวจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า พื้นที่อนุรักษ์รอบสถานที่ที่ขอขึ้นทะเบียน ( Buffer Zones ) เพื่อกำหนดมาตรการอนุรักษ์คุ้มครองมรดกโลกปราสาทพระวิหารนั้น ก็คือพื้นที่ในเขตแดนไทย 4.6 ตร.กม.ที่ยังมีปัญหาเรื่องพื้นที่ทับซ้อนเขตแดนไทย - กัมพูชาที่ยังไม่มีข้อตกลงกันได้ และเป็นเหตุผลสำคัญที่ ศ.ดร.อดุล ได้พยายามบอกว่าไทยต้องคัดค้านอย่างแข็งขันในเวทีแล้ว ไม่ควรเสียค่าโง่ครั้งที่ 3
ทั้งนี้ เนื่องจากการตั้งกรรมการ 7 ชาติที่จะตั้งขึ้นมานั้นส่วนใหญ่ก็ คือบอร์ดกรรมการมรดกโลกที่สนับสนุนกัมพูชาอยู่และจะเข้ามามีปากเสียงแทนกัมพูชา และบีบให้ไทยต้องยอมรับเงื่อนไขที่จะกำหนดขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมาพื้นที่อนุรักษ์รอบปราสาททั้งไทยและกัมพูชา ยังไม่ได้จัดทำและไม่เคยมีใครยอมใครด้วย ดังนั้นไทยต้องไม่ยอมให้ประเทศอื่นมามีอำนาจเหนือดินแดนอธิปไตย โดยการทำหนังสือค้านเรื่องนี้
บุกสภา บี้ไม่ยอมรับมติคกก.มรดกโลก
ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า ในช่วงบ่าย กลุ่มปกป้องอธิปไตย นำโดยนาย เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์,ร.อ. กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ,ม.ร.ว.พีรานุพงศ์ ภานุพันธุ์ นาย พิเชียร อำนาจวรประเสริฐ ยื่นหนังสือต่อนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา เรียกร้องทางการไทยปกป้องอธิปไตย โดยประกาศจุดยืนไม่รับมติคณะกรรมการมรดกโลก ทั้งนี้นายคณพล ตุ้ยสุวรรณ ผอ.กลุ่มงานประสานการเมืองและรับเรื่องร้องทุกข์ สำนักงานประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้รับหนังสือแทน
นายเกรียงศักดิ์ กล่าวว่า คณะได้ยื่นจดหมายเปิดผนึกพร้อมเอกสารข้อเสนอเพื่อประกอบการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ทั้งต้นฉบับภาษาอังกฤษและฉบับแปลภาษาไทยให้ประธานรัฐสภา และจะไปยื่นให้นายกฯ และประธานศาลฎีกา พิจารณาให้ประกาศจุดยืนไม่ยอมรับมติคณะกรรมการมรดกโลกในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร โดยให้ทางการไทยทำหนังสือชี้แจงต่อคณะกรรมการมรดกโลกว่า การลงนามในแถลงการณ์ร่วมของรมว.ต่างประเทศของไทย ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยแล้ว ทำให้การลงนามดังกล่าวเป็นการกระทำโดยพลการ มิได้มีผลผูกพันต่อราชอาณาจักร องค์กรระหว่างประเทศจะเอาแถลงการณ์ดังกล่าวไปอ้างอิงไม่ได้
นายเกรียงศักดิ์ กล่าวต่อว่า ทางการไทยต้องประกาศจุดยืนอย่างเป็นทางการว่า ไม่ขอรับมติคณะกรรมการมรดกโลกที่กำหนดให้การบริหารจัดการบริเวณพื้นที่อนุรักษ์(buffer zone) ที่อยู่ในเขตแดนไทยกระทำโดยคณะกรรมการร่วมจาก 7 ประเทศ เพื่อไม่ให้เป็นบรรทัดฐานในอนาคต และทางการไทยต้องชี้แจงกรณีที่ยังไม่มีข้อสรุปเกี่ยวกับการปักปันเขตแดนในพื้นที่ที่มีข้อพิพาทบริเวณชายแดนไทย – กัมพูชา ตามสนธิสัญญาที่ไทยทำกับฝรั่งเศสว่า ทำไมรัฐบาลไทยปล่อยให้กองกำลังทหาร ประชาชนชาวกัมพูชาละเมิดอธิปไตยเข้ามาในเขตแดนไทย ตั้งแต่ปี 2544 โดยมีการสร้างวัดและที่อยู่อาศัยถาวร
“การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารจะส่งผลต่ออธิปไตยไทยบริเวณรอยต่อตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชารวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติใต้ทะเลที่มีค่า รวมถึงชายแดนไทยกับประเทศอื่นๆ จึงขอเรียกร้องให้ทางการไทยดำเนินการตามที่เสนอ ซึ่งไม่สายเกินไปที่จะรีบทำ โดยจะทำให้เป็นหลักฐานในการต่อสู้ในอนาคต”นายเกรียงศักดิ์กล่าว
ด้าน นายพิเชียร กล่าวว่า หากทางการไทยจะประกาศจุดยืนตามที่กลุ่มเสนอถือว่ายังทัน เพราะสมัยปี 2505 พ.อ.ถนัด คอมันตร์ รมว.ต่างประเทศในขณะนั้นก็ได้ทำหนังสือประกาศจุดยืนหลังจากศาลโลกตัดสินไปแล้วประมาณ 1 เดือน จึงสามารถสงวนสิทธิ์ไว้ได้ ฉะนั้นขอเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการโดยด่วน
"ปองพล" ออกปกขาว
นายปองพล อดิเรก ประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก กล่าวถึงกรณีกระแสข่าวเรียกร้องให้ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อเป็นการแสดงความรับผิดชอบว่า ตนยืนยันว่าจะไม่ลาออกแน่นอน เพราะที่ผ่านมาได้ทำหน้าที่อย่างดีที่สุด และไม่เคยทำอะไรผิด หรือทำให้ประเทศชาติเสียหาย ใครคิดว่าตนบกพร่องในการปฏิบัติหน้าหรือคิดว่าสามารถทำหน้าที่ได้ดีกว่าตนก็ ไปเรียกร้องให้คณะกรรมการมรดกโลกยกเลิกมติดังกล่าว ถ้าทำได้ตนจะลาออกทันที แต่ถ้าทำไม่ได้ควรหยุดวิพากษ์วิจารณ์
ทั้งนี้ในวันที่ 14 กรกฎาคม เวลา 13.30 น. ที่สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ตนเองจะเข้าร่วมประชุมและรายงานผลการไปร่วมประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 32 ที่เมืองคิวบิก ประเทศแคนดา ต่อคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ซึ่งการประชุมชุมครั้งนี้ยังจะเป็นการกำหนด ทิศทางการทำงานของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกให้ชัดเจน ว่าจะเดินไปในทิศทางไหน
นายปองพล กล่าวต่อว่า เร็วนี้ๆ ตนจะเสนอให้คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกจัดทำสมุดปกขาว โดยจะรวบรวมรายงานของ ICOMOS ฉบับที่ใช้พิจารณาในประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ทั้งฉบับภาษาอังกฤษ และแปลเป็นภาษาไทย คำแถลงการณ์คัดค้านของตนที่ได้แถลงต่อคณะกรรมการมรดกโลก และผลสรุปจากประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 32 ที่เมืองคิวเบก ประเทศแคนดา เพื่อเป็นการชี้แจงกรณีปราสาทพระวิการให้ประชาชนได้ทราบถึงข้อเท็จจริง และคลายข้อกังขา