เอเอฟพี – อิหร่านยังเดินเกมสงคราม “ยั่วโทสะ” ต่อด้วยการทดสอบยิงขีปนาวุธอีกวานนี้ (10) หลังทำให้โลกหวั่นวิตกกับการทดสอบยิงขีปนาวุธ 9 ลูกไปแล้วในวันพุธ(9) จนรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ต้องออกโรงเตือนอีกรอบว่าพร้อมรักษาผลประโยชน์ของสหรัฐฯ และชาติพันธมิตร
สถานีโทรทัศน์ของอิหร่านรายงานว่าการยิงขีปนาวุธครั้งล่าสุดนี้มีขึ้นที่อ่าวเปอร์เซีย โดยเหล่าทหารเรือของกองกำลังเพื่อการปฏิวัติอิหร่าน ในช่วงกลางดึกของวันพุธ มีทั้งขีปนาวุธทั้งแบบพิสัยไกลและพิสัยกลาง และมีทั้งแบบยิงจากชายฝั่งสู่ทะเล แบบยิงจากพื้นดินสู่พื้นดิน และแบบยิงจากทะเลสู่อากาศ อีกทั้งยังมีการทดสอบยิงตอร์ปิโด “ฮูต” (วาฬ) ซึ่งอิหร่านเปิดตัวเมื่อเดือนเมษายน 2006 ว่าเป็นอาวุธความเร็วสูงมากที่มีศักยภาพโจมตีเรือดำน้ำของศัตรูได้
ก่อนหน้านี้ในวันพุธ (9) อิหร่านได้ทดสอบยิงขีปนาวุธไปแล้ว 9 ลูก โดยเป็นขีปนาวุธพิสัยไกล “ชาฮับ 3” ที่ยิ่งไปได้ถึงอิสราเอลและฐานทัพของสหรัฐฯ ในอ่าวเปอร์เซีย และขีปนาวุธพิสัยกลางอีก 8 ลูก จนทำให้โลกตะวันตกหวั่นวิตก เนื่องจากระแวงอยู่แล้วว่าการผลักดันโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านนั้นจะมีเป้าหมายอยู่ที่การผลิตอาวุธนิวเคลียร์ ถึงแม้อิหร่านปฏิเสธมาตลอด
ในวันอังคาร(8) ผู้ช่วยคนหนึ่งของอยาตุลเลาะห์ อาลี คาเมนี ผู้นำสูงสุดของอิหร่าน ยังได้กล่าวเตือนว่าอิหร่านจะ “เปิดศึก” กับอิสราเอลและกองทัพเรือของสหรัฐฯ ในอ่าวเปอร์เซียเพื่อตอบโต้หากสหรัฐฯ เข้าโจมตีโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน
ทางด้าน คอนโดลีซซา ไรซ์ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ออกมาแถลงตอบโต้วานนี้อิหร่าน โดยยืนยันว่า “เราจะปกป้องผลประโยชน์ของอเมริกันและผลประโยชน์ของพันธมิตรของเรา เราถือเป็นพันธกิจอย่างแข็งขันยิ่งที่จะปกป้องพันธมิตรของเราและเราตั้งใจจะทำเช่นนั้น”
นอกจากนั้น กอร์ดอน จอห์นโร โฆษกทำเนียบขาวออกมาประณามการทดสอบยิงขีปนาวุธว่า “เป็นการฝ่าฝืนมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงต่อประชาคมโลกอย่างสิ้นเชิง”
การทดสอบอาวุธของอิหร่านอีกวันหนึ่ง ทำให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดเอเชียวานนี้ขยับสูงพุ่งขึ้นอีกครั้ง เพราะเกรงว่าความขัดแย้งจะกระเทือนถึงการลำเลียงน้ำมันดิบมาจากอิหร่าน ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันอันดับสองในกลุ่มโอเปก
ขณะเดียวกัน คริสโตเฟอร์ เดอ มาร์เกรี ประธานบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของฝรั่งเศส “โทแทล” ให้สัมภาษณ์ว่า การลงทุนในอิหร่านขณะนี้มีความเสี่ยงทางการเมืองสูงมาก และทำให้คาดว่าโทแทลอาจยุติการมีส่วนร่วมลงทุนผลิตก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) ในแหล่งน้ำมันขนาดใหญ่ “เซาท์ พารส์” ในอิหร่านด้วย
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ในวันพุธ โรเบิร์ต เกตส์ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ ระบุว่ายังไม่ถึงเวลาทำสงครามกับอิหร่าน และโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านก็ยังไม่ถึงขั้นที่จะเป็นอันตรายในเร็ว ๆ นี้ แต่เตือนว่าประชาคมโลกพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับนโยบายที่ “ยั่วโทสะ” เช่นกัน
เกตส์เสริมว่า “ผมขอบอกว่ารัฐบาลชุดนี้ทำงานหนักมากเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการใช้วิธีการทางการทูตและทางเศรษฐกิจรับมือกับอิหร่านและพยายามทำให้รัฐบาลอิหร่านเปลี่ยนนโยบายของตนนั้นคือยุทธศาสตร์สำคัญของเรา และเป็นแนวทางที่จะดำเนินต่อไป”
ส่วนวิลเลียม เบิร์นส์ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ผู้รับผิดชอบประเด็นอิหร่าน แถลงต่อรัฐสภาสหรัฐฯ ว่าขณะนี้อิหร่านยังไม่สามารถเพิ่มความเข้มข้นแร่ยูเรเนียมได้อย่างสมบูรณ์ อีกทั้งการที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีมติแซงก์ชั่นอิหร่านไปถึงสามครั้ง
ทำให้เกิดการจำกัดช่องทางการจัดหาเทคโนโลยีหรืออุปกรณ์ประกอบสำคัญสำหรับโครงการขีปนาวุธ รวมทั้งอุปกรณ์ที่อาจใช้ประโยชน์ทั้งทางพลเรือนและทางทหาร
นอกจากนั้น เจ้าหน้าที่ระดับสูงที่เกี่ยวข้องกับการโครงการจัดหาเทคโนโลยีนิวเคลียร์ให้อิหร่านก็ถูก “ตัดขาด” จากระบบการเงินระหว่างประเทศและถูกจำกัดในเรื่องการเดินทาง ขณะที่ธนาคารของอิหร่านเองก็ถูกกดดันให้ไม่สามารถดำเนินการทางธุรกิจได้ตามปกติด้วย
ด้านรัฐสภาของสหรัฐฯ ก็เรียกร้องให้รัฐบาลเพิ่มความพยายามทางการทูตอย่างเต็มที่เพื่อยุติความดื้อรั้นผลักดันโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน
สถานีโทรทัศน์ของอิหร่านรายงานว่าการยิงขีปนาวุธครั้งล่าสุดนี้มีขึ้นที่อ่าวเปอร์เซีย โดยเหล่าทหารเรือของกองกำลังเพื่อการปฏิวัติอิหร่าน ในช่วงกลางดึกของวันพุธ มีทั้งขีปนาวุธทั้งแบบพิสัยไกลและพิสัยกลาง และมีทั้งแบบยิงจากชายฝั่งสู่ทะเล แบบยิงจากพื้นดินสู่พื้นดิน และแบบยิงจากทะเลสู่อากาศ อีกทั้งยังมีการทดสอบยิงตอร์ปิโด “ฮูต” (วาฬ) ซึ่งอิหร่านเปิดตัวเมื่อเดือนเมษายน 2006 ว่าเป็นอาวุธความเร็วสูงมากที่มีศักยภาพโจมตีเรือดำน้ำของศัตรูได้
ก่อนหน้านี้ในวันพุธ (9) อิหร่านได้ทดสอบยิงขีปนาวุธไปแล้ว 9 ลูก โดยเป็นขีปนาวุธพิสัยไกล “ชาฮับ 3” ที่ยิ่งไปได้ถึงอิสราเอลและฐานทัพของสหรัฐฯ ในอ่าวเปอร์เซีย และขีปนาวุธพิสัยกลางอีก 8 ลูก จนทำให้โลกตะวันตกหวั่นวิตก เนื่องจากระแวงอยู่แล้วว่าการผลักดันโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านนั้นจะมีเป้าหมายอยู่ที่การผลิตอาวุธนิวเคลียร์ ถึงแม้อิหร่านปฏิเสธมาตลอด
ในวันอังคาร(8) ผู้ช่วยคนหนึ่งของอยาตุลเลาะห์ อาลี คาเมนี ผู้นำสูงสุดของอิหร่าน ยังได้กล่าวเตือนว่าอิหร่านจะ “เปิดศึก” กับอิสราเอลและกองทัพเรือของสหรัฐฯ ในอ่าวเปอร์เซียเพื่อตอบโต้หากสหรัฐฯ เข้าโจมตีโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน
ทางด้าน คอนโดลีซซา ไรซ์ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ออกมาแถลงตอบโต้วานนี้อิหร่าน โดยยืนยันว่า “เราจะปกป้องผลประโยชน์ของอเมริกันและผลประโยชน์ของพันธมิตรของเรา เราถือเป็นพันธกิจอย่างแข็งขันยิ่งที่จะปกป้องพันธมิตรของเราและเราตั้งใจจะทำเช่นนั้น”
นอกจากนั้น กอร์ดอน จอห์นโร โฆษกทำเนียบขาวออกมาประณามการทดสอบยิงขีปนาวุธว่า “เป็นการฝ่าฝืนมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงต่อประชาคมโลกอย่างสิ้นเชิง”
การทดสอบอาวุธของอิหร่านอีกวันหนึ่ง ทำให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดเอเชียวานนี้ขยับสูงพุ่งขึ้นอีกครั้ง เพราะเกรงว่าความขัดแย้งจะกระเทือนถึงการลำเลียงน้ำมันดิบมาจากอิหร่าน ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันอันดับสองในกลุ่มโอเปก
ขณะเดียวกัน คริสโตเฟอร์ เดอ มาร์เกรี ประธานบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของฝรั่งเศส “โทแทล” ให้สัมภาษณ์ว่า การลงทุนในอิหร่านขณะนี้มีความเสี่ยงทางการเมืองสูงมาก และทำให้คาดว่าโทแทลอาจยุติการมีส่วนร่วมลงทุนผลิตก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) ในแหล่งน้ำมันขนาดใหญ่ “เซาท์ พารส์” ในอิหร่านด้วย
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ในวันพุธ โรเบิร์ต เกตส์ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ ระบุว่ายังไม่ถึงเวลาทำสงครามกับอิหร่าน และโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านก็ยังไม่ถึงขั้นที่จะเป็นอันตรายในเร็ว ๆ นี้ แต่เตือนว่าประชาคมโลกพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับนโยบายที่ “ยั่วโทสะ” เช่นกัน
เกตส์เสริมว่า “ผมขอบอกว่ารัฐบาลชุดนี้ทำงานหนักมากเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการใช้วิธีการทางการทูตและทางเศรษฐกิจรับมือกับอิหร่านและพยายามทำให้รัฐบาลอิหร่านเปลี่ยนนโยบายของตนนั้นคือยุทธศาสตร์สำคัญของเรา และเป็นแนวทางที่จะดำเนินต่อไป”
ส่วนวิลเลียม เบิร์นส์ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ผู้รับผิดชอบประเด็นอิหร่าน แถลงต่อรัฐสภาสหรัฐฯ ว่าขณะนี้อิหร่านยังไม่สามารถเพิ่มความเข้มข้นแร่ยูเรเนียมได้อย่างสมบูรณ์ อีกทั้งการที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีมติแซงก์ชั่นอิหร่านไปถึงสามครั้ง
ทำให้เกิดการจำกัดช่องทางการจัดหาเทคโนโลยีหรืออุปกรณ์ประกอบสำคัญสำหรับโครงการขีปนาวุธ รวมทั้งอุปกรณ์ที่อาจใช้ประโยชน์ทั้งทางพลเรือนและทางทหาร
นอกจากนั้น เจ้าหน้าที่ระดับสูงที่เกี่ยวข้องกับการโครงการจัดหาเทคโนโลยีนิวเคลียร์ให้อิหร่านก็ถูก “ตัดขาด” จากระบบการเงินระหว่างประเทศและถูกจำกัดในเรื่องการเดินทาง ขณะที่ธนาคารของอิหร่านเองก็ถูกกดดันให้ไม่สามารถดำเนินการทางธุรกิจได้ตามปกติด้วย
ด้านรัฐสภาของสหรัฐฯ ก็เรียกร้องให้รัฐบาลเพิ่มความพยายามทางการทูตอย่างเต็มที่เพื่อยุติความดื้อรั้นผลักดันโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน