เอาท์ดอร์ อินโนเวชั่น ปักธงโกอินเตอร์เซาท์อีสเอเชีย 5 ปี รีแบรนด์ "คาราน่า" ปรับภาพลักษณ์ใหม่ หวังเป็นรีจินัลแบรนด์ ลั่นปีหน้าบุกฟิลิปปินส์ ส่วนในประเทศเลี่ยงสงครามราคา ชูนวัตกรรม-แฟชั่นดีไซน์ สร้างความต่าง พร้อมปรับรูปแบบจำหน่าย ชูขายส่งหัวหอกแทนขายปลีก สิ้นปีโต 30% กวาด 150 ล้านบาท
นายวาสิต สิโรดม กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอาท์ดอร์ อินโนเวชั่น จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจอุปกรณ์แคมป์ปิ้งแบรนด์ คาราน่า เปิดเผยว่า นโยบายการตลาดปีนี้บริษัทจะมุ่งเน้นการนำเสนอนวัตกรรมใหม่ การออกแบบสินค้าให้เป็นแฟชั่นมากขึ้น เพื่อสร้างความแตกต่างจากสินค้าคู่แข่งภายในประเทศ หลังจากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาตลาดอุปกรณ์แคมป์ปิ้งงัดกลยุทธ์สงครามราคาลดลง 50% ส่งให้กำไรของผู้ประกอบการลดลง ขณะเดียวกันแนวทางดังกล่าวยังสอดคล้องกับเป้าหมายการขยายตลาดต่างประเทศ ซึ่งบริษัทต้องการผลักดันคาราน่าขึ้นเป็นรีจินัลแบรนด์และวางแผนขยายตลาดเซาท์อีสเอเชียในช่วง 5 ปีนี้
ล่าสุดบริษัทวางแผนรีแบรนด์ดิ้งสินค้าภายใต้แบรนด์คาราน่าใหม่ ซึ่งเป็น 1 ใน 3 แบรนด์ของอุปกรณ์แคมป์ปิ้ง โดยการปรับภาพลักษณ์ให้มีภาพลักษณ์ทันสมัย และมีความหลากหลายของสินค้ามากยิ่ง พร้อมทั้งเพิ่มบริการหลังการขาย อาทิ การเปิดศูนย์ให้บริการซ่อมแซมสินค้าและบริการเช่า-ยืม เป็นต้น ส่วนสินค้าใหม่เน้นกลุ่มเต็นท์ ชุดครัว เตาแก๊ส ตะเกียง ที่นอน และพัฒนาอุปกรณ์กันน้ำ เนื่องจากเป็นประเทศที่มีภูมิอากาศร้อนชื้น มีฤดูฝนที่นาน โดยปีนี้วางงบการตลาด 4% ของยอดขาย
ส่วนในต่างประเทศปีหน้าบริษัทวางแผนเปิดตลาดฟิลิปปินส์ ขณะที่สิงคโปร์กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณา เนื่องจากการแข่งขันสูง ซึ่งล่าสุดเปิดชอปในรูปแบบขายส่งที่ประเทศมาเลเซีย โดยก่อนหน้านี้บริษัทได้เข้าไปทำตลาด ไต้หวัน นอร์เวย์ มาเลเซีย บูรไน ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยมีสัดส่วนรายได้ 10% ภายในประเทศ 90% และจากการดำเนินการตลาดในเชิงรุกบริษัทตั้งเป้าหมายใน 5 ปี สัดส่วนรายได้จากต่างประเทศเพิ่มมากกว่า 50% ส่วนภายในประเทศเหลือไม่ถึง 50%
นอกจากนี้บริษัทยังได้ปรับรูปแบบการจำหน่ายใหม่ โดยเพิ่มการขายส่งจาก 40% เป็น 60% และค้าปลีก 60% เหลือเป็น 40% เนื่องจากช่องจำหน่ายค้าปลีกมีต้นทุนค่าใช้จ่ายสูง อีกทั้งยังเตรียมเปิดแฟลกชิพสโตร์ 1 แห่ง ขนาดพื้นที่ 1,000 ตร.ม. จากปัจจุบันมีทั้งหมด 40 เคาน์เตอร์ และ 5 สาขา ล่าสุดเปิดร้านใหม่ที่ศูนย์การค้าอัมรินทร์พลาซ่า เพื่อเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวจากทั้งในและต่างประเทศ ส่วนในช่วงไฮซีซันหรือฤดูกาลท่องเที่ยวช่วงปลายปีนี้ เตรียมจับมือร่วมกับกลุ่มพันธมิตรต่างๆ ในการจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นและส่งเสริมกิจกรรมแคมป์ปิ้ง เน้นเจาะกลุ่มครอบครัว เป็นหลัก
สำหรับตลาดอุปกรณ์แคมป์ปิ้งมูลค่า 300-400 ล้านบาท มีอัตราการเติบโต 20% อย่างไรก็ตามการที่จะทำให้ตลาดดังกล่าวมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น ภาครัฐต้องให้การสนับสนุนการโปรโมตท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ให้มากขึ้น จากปัจจุบันการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวยังเป็นแมสอยู่ ซึ่งขณะนี้มีแนวโน้มว่าภาครัฐโปรโมตการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์มากขึ้น เพื่อต้องการกระตุ้นให้คนไทยเที่ยวในประเทศมากขึ้น หลังจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเริ่มลดลง ส่วนผลประกอบการปีนี้บริษัทตั้งเป้าเติบโต 30% หรือราว 150 ล้านบาท จากปีที่ผ่านมา 120 ล้านบาท
นายวาสิต สิโรดม กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอาท์ดอร์ อินโนเวชั่น จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจอุปกรณ์แคมป์ปิ้งแบรนด์ คาราน่า เปิดเผยว่า นโยบายการตลาดปีนี้บริษัทจะมุ่งเน้นการนำเสนอนวัตกรรมใหม่ การออกแบบสินค้าให้เป็นแฟชั่นมากขึ้น เพื่อสร้างความแตกต่างจากสินค้าคู่แข่งภายในประเทศ หลังจากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาตลาดอุปกรณ์แคมป์ปิ้งงัดกลยุทธ์สงครามราคาลดลง 50% ส่งให้กำไรของผู้ประกอบการลดลง ขณะเดียวกันแนวทางดังกล่าวยังสอดคล้องกับเป้าหมายการขยายตลาดต่างประเทศ ซึ่งบริษัทต้องการผลักดันคาราน่าขึ้นเป็นรีจินัลแบรนด์และวางแผนขยายตลาดเซาท์อีสเอเชียในช่วง 5 ปีนี้
ล่าสุดบริษัทวางแผนรีแบรนด์ดิ้งสินค้าภายใต้แบรนด์คาราน่าใหม่ ซึ่งเป็น 1 ใน 3 แบรนด์ของอุปกรณ์แคมป์ปิ้ง โดยการปรับภาพลักษณ์ให้มีภาพลักษณ์ทันสมัย และมีความหลากหลายของสินค้ามากยิ่ง พร้อมทั้งเพิ่มบริการหลังการขาย อาทิ การเปิดศูนย์ให้บริการซ่อมแซมสินค้าและบริการเช่า-ยืม เป็นต้น ส่วนสินค้าใหม่เน้นกลุ่มเต็นท์ ชุดครัว เตาแก๊ส ตะเกียง ที่นอน และพัฒนาอุปกรณ์กันน้ำ เนื่องจากเป็นประเทศที่มีภูมิอากาศร้อนชื้น มีฤดูฝนที่นาน โดยปีนี้วางงบการตลาด 4% ของยอดขาย
ส่วนในต่างประเทศปีหน้าบริษัทวางแผนเปิดตลาดฟิลิปปินส์ ขณะที่สิงคโปร์กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณา เนื่องจากการแข่งขันสูง ซึ่งล่าสุดเปิดชอปในรูปแบบขายส่งที่ประเทศมาเลเซีย โดยก่อนหน้านี้บริษัทได้เข้าไปทำตลาด ไต้หวัน นอร์เวย์ มาเลเซีย บูรไน ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยมีสัดส่วนรายได้ 10% ภายในประเทศ 90% และจากการดำเนินการตลาดในเชิงรุกบริษัทตั้งเป้าหมายใน 5 ปี สัดส่วนรายได้จากต่างประเทศเพิ่มมากกว่า 50% ส่วนภายในประเทศเหลือไม่ถึง 50%
นอกจากนี้บริษัทยังได้ปรับรูปแบบการจำหน่ายใหม่ โดยเพิ่มการขายส่งจาก 40% เป็น 60% และค้าปลีก 60% เหลือเป็น 40% เนื่องจากช่องจำหน่ายค้าปลีกมีต้นทุนค่าใช้จ่ายสูง อีกทั้งยังเตรียมเปิดแฟลกชิพสโตร์ 1 แห่ง ขนาดพื้นที่ 1,000 ตร.ม. จากปัจจุบันมีทั้งหมด 40 เคาน์เตอร์ และ 5 สาขา ล่าสุดเปิดร้านใหม่ที่ศูนย์การค้าอัมรินทร์พลาซ่า เพื่อเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวจากทั้งในและต่างประเทศ ส่วนในช่วงไฮซีซันหรือฤดูกาลท่องเที่ยวช่วงปลายปีนี้ เตรียมจับมือร่วมกับกลุ่มพันธมิตรต่างๆ ในการจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นและส่งเสริมกิจกรรมแคมป์ปิ้ง เน้นเจาะกลุ่มครอบครัว เป็นหลัก
สำหรับตลาดอุปกรณ์แคมป์ปิ้งมูลค่า 300-400 ล้านบาท มีอัตราการเติบโต 20% อย่างไรก็ตามการที่จะทำให้ตลาดดังกล่าวมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น ภาครัฐต้องให้การสนับสนุนการโปรโมตท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ให้มากขึ้น จากปัจจุบันการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวยังเป็นแมสอยู่ ซึ่งขณะนี้มีแนวโน้มว่าภาครัฐโปรโมตการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์มากขึ้น เพื่อต้องการกระตุ้นให้คนไทยเที่ยวในประเทศมากขึ้น หลังจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเริ่มลดลง ส่วนผลประกอบการปีนี้บริษัทตั้งเป้าเติบโต 30% หรือราว 150 ล้านบาท จากปีที่ผ่านมา 120 ล้านบาท